เรียนรู้เรื่องสมองก่อนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Backward Design(2)


การเรียนรู้แบบไหน..ที่มีประสิทธิภาพสูง
เถียงกันดีนักว่า..จะเรียนรู้แบบไหนกันดีนะ   นักเรียนจึงจะพบกับความสำเร็จในการเรียนรู้ 
เหล่าครูผู้ปฏิบติจะงงแย่  แล้วนักเรียนผู้เป็นเหมือนหนูทดลองอยู่ร่ำไปนี่ 
แต่อย่างไรก็ตาม  เมื่อเป็นหน้าที่  เราก็ต้องทำ  และต้องทำให้ดีที่สุด  เมื่อบันทึกที่แล้ว  ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับสมอง   และเราผู้จัดการเรียนรู้  มีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เรื่องสมอง  จึงเป็นบันทึกเรื่อง  เรียนรู้เรื่องสมองก่อนออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Backward Design  
ส่วนตอนนี้  จะเป็นเรื่อง  การเรียนรู้แบบไหน  ที่มีประสิทธิภาพสูง  อยากรู้ล่ะสิ  ครูอ้อยก็เหมือนกันค่ะ  ตามไปดูให้รู้แน่ค่ะ.... 
สมองเรียนรู้ได้ดี..เมื่อสมองรับรู้ภาพและเสียงพร้อมกัน   ถ้าสมองรับรู้เสียงพร้อมกับมองเห็น  ภาพที่สอดคล้องกัน  คลื่นเสียงก็จะเปลี่ยนแปลง  หรือทำให้เกิดสัญญาณ  อารมณ์  ซึ่งตามมาด้วยการเพิ่มขึ้นของระดับสารเคมีต่างๆในสมอง   สารเคมีเหล่านี้บางตัวเกี่ยวข้องกับระบบการคิด  ความจำในสมอง  และมีส่วนทำให้สมองมีประสิทธิภาพมากขึ้นในกระบวนการเรียนรู้  ภาพ  และเสียง 
นอกจากจะมีความพิเศษคือ  เป็นข้อมูลที่ดึงดูด  และเข้าสู่สมองได้จำนวนมหาศาลในคราวเดียวกันมากกว่าข้อมูลอื่นๆ  แล้วการใช้ภาพจะช่วยในกระบวนการเรียนรู้ได้มากในการสร้างความเข้าใจระดับนามธรรม 
สมองเรียนรู้ได้ดี...เมื่อสมองสร้างแผนภาพความคิด   แผนภาพ  เป็นการจัดระบบความคิดที่กระจัดกระจายขึ้นมาเป็นระบบมีจุดตั้งต้น  มีบทลงท้าย  มีกระบวนการชัดเจน  การคิดเป็นแบบแผนภาพทำให้รูปธรรมเป็นนามธรรม   แต่ปรากฏออกมาเป็นกระดาษ   เป็นสิ่งที่ดูคล้ายรูปธรรมใหม่อีกครั้งหนึ่ง  เป็นการย้ำเสริมเสถียรภาพของวงจรร่างแหเซลล์สมองที่กำลังทำงานคิดอยู่ในขณะนั้น 
สมองเรียนรู้ได้ดี..เมื่อผ่านการปฏิบัติ   การลงมือปฏิบัติ  เป็นการใช้...ผัสสะรับข้อมูลทั้งในรูปของภาพ  เสียง  สัมผัส  ทั้งยังประกอบด้วยประสบการณ์ของเหตุการณ์ต่างๆ  ยิ่งใช้วงจรร่างแหเซลล์สมองพร้อมๆกัน (หลายผัสสะ)  มากเท่าใด  เสถียรภาพ  ความเชื่อมโยงของวงจร  ก็เกิดได้เร็วเท่านั้น  และยังใช้วงจรเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างผัสสะ   พร้อมกับวงจรความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์  ซึ่งเป็นวงจรความจำหลายมิติ  ยิ่งทำให้ความจำในการเรียนรู้ตกผลึกเร็วขึ้น 
สมองจะเรียนรู้ได้ดี.....เมื่อท่องจำ ทำซ้ำ ฝึกทักษะ  เมื่อนักเรียนออกเสียง  ท่องจำ  ลงมือทำซ้ำ  เจ้าของสมอง  ได้ยินเสียงด้วยตัวเอง  ได้ลงมือ  และเห็นสิ่งที่ตัวเองทำ  สิ่งที่ปรากฎ  กลายเป็นข้อมูลย้อนกลับเข้าไปในสมองใหม่  ถือว่า  เป็นการลงมือสอนตัวเองด้วยตัวเอง (Use Output from Oneself to Reinput to Self)  เป็นการเสริมเส้นทางเดินของวงจรเซลล์สมองที่มีอ่ยู่ก่อนให้มีเสถียรภาพขึ้น  อันเป็นเหตุให้จดจำได้  และเกิดความชำนาญ 
สรุป..เรียนรู้โดย  ภาพเสียง  ภาพความคิด  ลงมือปฏิบัติ  ทำซ้ำ
หมายเลขบันทึก: 100490เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
สวัสดีค่ะได้ความรู้มากๆและจริงๆเลยค่ะ

จะเอาไปเป็นคู่มือสอนหลานค่ะ ขอบคุณนะคะ

ตอนนี้สอนอะไร ก็จำหมดค่ะ

สมองจะเรียนรู้ได้ดี.....เมื่อท่องจำ ทำซ้ำ ฝึกทักษะ 

ครับคุณครู

P

มาดู มาแล มาศึกษา มาทักทาย มาชิมชา

ครับผม

สวัสดีค่ะคุณพี่..sasinanda

  • ดีมากเลยค่ะ  หากได้สอน  ได้เรียนรู้แบบนี้ตั้งแต่ยังเล็ก  สมองของหลานจะเติบโตอย่างมีคุณค่า

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะท่านพี่เหลียง...สิทธิรักษ์

  • การศึกษาคือ..ชีวิต
  • อ่านที่นี่..การศึกษาไม่ได้ลงทุนค่ะ

ขอบคุณค่ะน้ำชาที่แสนอร่อย

ยอดเยี่ยมมากครับสำหรับองค์ความรู้ที่ได้จากบล็อคนี้ เหมาะสมกับรางวัลสุดคะนึงแล้วครับ

สวัสดีค่ะคุณครู...บินหลาดง

  • ครูอ้อยกำลังจะนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดทำเป็นตัวอย่างเป็น pdf ลงในบันทึกค่ะ  รออ่านนะคะ
  • ครูอ้อยไปเยี่ยมในบันทึกของคุณครูแล้ว  เขียน Backward Design ผิดไปค่ะ  ช่วยลบให้ครูอ้อย  ได้ไปเขียนใหม่ค่ะ  ขอบคุณค่ะสำหรับคำชมและกำลังใจให้เป็นอย่างดีค่ะ...
  • สวัสดีครับ ร.ร.อู่ทอง เพิ่งจัด ขยายผล อบรม เรื่อง Backward Design ให้กับครู กว่า ร้อยคนไป เมื่อ 31 พ.ค.50  นี้เอง ครับ เป็นประโยชน์มากครับ

สวัสดีค่ะครูบัว...ครู บัว ทองกะไลย

  • ก็ต้องทำความเข้าใจกันอย่างมากค่ะ  เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการทำผลงานเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะ....

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท