อนุทิน 142272


Wasawat Deemarn
เขียนเมื่อ

| อนุทิน ... ๖๔๘๕ |

"การศึกษาไทย คือ ตาม ๆ กันไป"

เมื่อใครสักหนึ่งที่อยู่ใน ศธ. คิดเรื่องวิธีการสอนใหม่ ๆ ที่ไม่ได้คิดเอง
แต่นำมาจากต่างประเทศบ้าง จากผู้รู้บ้าง

เมื่อนำเสนอและได้รับการยอมรับจากที่ประชุมบนหอคอยงาช้างแล้ว
ก็สั่งการลงไปยังเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบให้จัดการเรื่องวิธีการสอนใหม่ ๆ
เหล่านี้ลงไปทุกโรงเรียน

ให้ยกตัวอย่างตอนนี้ที่มีการตืี่นตัวกัน ก็คือ BBL (Brain-based Learning)
เพื่อนที่เป็น ผอ.โรงเรียนขนาดเล็กก็ระดมทุน หาทุน
มาจัดซื้อของเข้าโรงเรียน เพื่อทำให้มีห้องเรียนสำหรับโครงการ BBL นี้
มีโต๊ะ มีเก้าอี้ มีกระดานดำ และที่ขาดไม่ได้ คือ สีทาไม้

จนมีข่าวออกมาว่า รณรงค์กันจน "สีทาไม้" ขาดตลาดจังหวัดนั้น ๆ ไปเลย
เป็นเรื่องตลกร้ายของวงการการศึกษาไทยจริง ๆ

เหมือนเห็นใครทำอะไร ก็ทำตามบ้าง แต่ไม่รู้ว่า ดีหรือไม่ดีอย่างไร
เสมือนเด็กนักเรียนที่ ศธ. คิด มันมีระดับความสามารถเท่ากันอย่างนั้นแหละ

ไม่คิดที่จะแหวกแนว คิดนอกกรอบ หาอะไร ๆ ให้เหมาะกับบริบทของตัวเอง
ไม่ดีกว่าหรือ ... หรือไม่เชื่อเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลกัน

ศธ. บังคับเขตฯ ส่วนเขตฯ บังคับโรงเรียน
ทุกอย่างก็ล้วนแต่ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของตัวเอง
มากกว่าทำเพื่อเด็ก ๆ ...

(มันจึงเป็นเช่นนั้นเองเสมอ)



ความเห็น (4)

กำลังจับตาสะเต็ม STEM (Science, Technology, Engineering and Mathemaics Education) อยู่ ทาสัก สองปีได้แล้วค่ะ

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่พูดเรื่องนี้..ตรงไปตรงมา สั้น ชัดเจน…ซึ่งทั้งหมด ที่โรงเรียนผมนั้น ไม่ได้ทำ หรือทำน้อยมาก น้อยที่สุด จากโรงเรียนทั้งหมดของเขต เพราะ มีความเชื่อว่า..เป็นแนวคิด ที่สนองคนบางคน…ตามก้นฝรั่ง..ตามก้น นักบริหารข้างบน จนลืมไปว่า..มันมีวิธีการที่หลากหลาย ที่จะให้เด็กมีพัฒนาการทางสมอง หรืออ่านคล่อง เขียนคล่อง..โดยไม่ต้องทำให้มันผิดธรรมชาติ

STEM ผมก็แอบเห็นแว่บ ๆ เหมือนกันครับ ท่านอาจารย์ GD … จะลองตามดูต่อเหมือนกันครับ ;)…

ขออนุญาตกด LIKE ให้ท่าน ผอ.ชยันต์ครับ … นี่แหละ คือ บริบทที่แท้จริงครับ ;)…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท