อนุทิน 136386


โอ๋-อโณ
เขียนเมื่อ

จากงาน meta-analysis นี้ทำให้มีข้อสรุปว่า การใช้เฉพาะดรรชนีมวลกาย (BMI) เท่านั้นจะทำให้มีเด็กอ้วน 25% ที่ไม่ถูกวินิจฉัยว่าอ้วน เพราะงานนี้เขาประเมินว่าการใช้ BMI ประเมินความอ้วนนั้นถึงแม้จะมีความจำเพาะสูง (เก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์) แต่มีความไวปานกลางคือเพียงเจ็ดสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เท่านั้น ก็คือจะมีเด็กมีไขมันสะสมเกินอยู่อีกประมาณ 25% ที่ค่า BMI ไม่แสดงว่าเด็กอ้วนแล้ว เขาแนะนำว่าควรจะต้องมีการวัดอย่างอื่นๆร่วมด้วย เช่นความหนาของชั้นผิวหนัง เพราะการที่เด็กกลุ่มนี้ไม่โดนจัดว่าอ้วนก็จะไม่ได้ระวังตัวเอง ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นอ่านบทคัดย่อได้จาก Diagnostic performance of body mass index to identify obesity as defined by body adiposity in children and adolescents: a systematic review and meta-analysis. Pediatric Obesity. ตีพิมพืออนไลน์ June 24, 2014.



ความเห็น (1)

อาจจะหาจุดตัดใหม่ คือลดค่า BMI เพิ่อเพิ่ม Sensitivity งานนี้ต้องอาศัย ROC curve

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท