“ซอฟต์แวร์เถื่อน” ทำอุตฯพีซีเสียหาย $63,400 ดอลลาร์ในปี 2011
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059841 โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2555 15:47 น. เอเอฟพี - การผลิตและใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมพีซีถึง 63,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2011 โดยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ถือเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของซอฟต์แวร์เถื่อนมากที่สุด รายงานการศึกษาประจำปีเผย วันนี้(15) มูลค่าความเสียหายในปีที่แล้วสูงขึ้นเกือบ 8% จากสถิติเดิม 58,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2010 สหพันธ์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ระบุในรายงาน มูลค่าความสูญเสียจากการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงจีน ยังทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 12% จากเมื่อปี 2010 ตลาดเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วน 82% ของตลาดพีซีทั่วโลก “ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แพร่หลายยิ่งขึ้น จนทุกวันนี้ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์แซงหน้าตลาดที่เติบโตเต็มที่แล้ว” ผลการศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เผย “ผลิตภัณฑ์พีซีใหม่ๆถูกส่งไปขายยังประเทศเหล่านี้ถึง 56% ในปี 2011 และผู้ใช้พีซีกว่าครึ่งหนึ่งของโลกก็อยู่ในประเทศเหล่านี้” จีน เป็นประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุดในเอเชีย โดยมีมูลค่าซอฟต์แวร์เถื่อนสูงถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2011 ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายมีมูลค่าเพียง 2,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น ด้านสหรัฐฯซึ่งแม้จะเป็นตลาดซอฟต์แวร์เถื่อนที่ใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าสูงถึง 9,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าราว 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บีเอสเอ เผย “เอเชียมีตลาดพีซีที่เติบโตเร็วมาก แต่ปัญหาก็คือ ขณะที่ตลาดพีซีโต 9% ต่อปี การละเมิดลิขสิทธิ์กลับยังลดลงเพียงปีละ 1% เท่านั้น” โรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดภูมิภาคของ บีเอสเอ ระบุ “ฉะนั้น รัฐบาลต่างๆจึงต้องหามาตรการแก้ไข เพื่อให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงเร็วกว่าการโตของตลาดพีซี” บีเอสเอ เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ และมีบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเป็นสมาชิกด้วย เช่น แอปเปิล, ไมโครซอฟต์, ไซแมนเทค และ อะโดบี
สรุปสาระสำคัญและความแตกต่างในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา 32-43 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
“ซอฟต์แวร์เถื่อน” ทำอุตฯพีซีเสียหาย $63,400 ดอลลาร์ในปี 2011
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9550000059841
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2555 15:47 น.
เอเอฟพี - การผลิตและใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์สร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมพีซีถึง 63,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2011 โดยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ถือเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของซอฟต์แวร์เถื่อนมากที่สุด รายงานการศึกษาประจำปีเผย วันนี้(15)
มูลค่าความเสียหายในปีที่แล้วสูงขึ้นเกือบ 8% จากสถิติเดิม 58,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2010 สหพันธ์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) ระบุในรายงาน
มูลค่าความสูญเสียจากการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกรวมถึงจีน ยังทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปีที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 12% จากเมื่อปี 2010
ตลาดเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วน 82% ของตลาดพีซีทั่วโลก
“ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์แพร่หลายยิ่งขึ้น จนทุกวันนี้ อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์แซงหน้าตลาดที่เติบโตเต็มที่แล้ว” ผลการศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เผย
“ผลิตภัณฑ์พีซีใหม่ๆถูกส่งไปขายยังประเทศเหล่านี้ถึง 56% ในปี 2011 และผู้ใช้พีซีกว่าครึ่งหนึ่งของโลกก็อยู่ในประเทศเหล่านี้”
จีน เป็นประเทศที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุดในเอเชีย โดยมีมูลค่าซอฟต์แวร์เถื่อนสูงถึง 9,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2011 ขณะที่ตลาดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายมีมูลค่าเพียง 2,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น
ด้านสหรัฐฯซึ่งแม้จะเป็นตลาดซอฟต์แวร์เถื่อนที่ใหญ่ที่สุด โดยมีมูลค่าสูงถึง 9,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าราว 41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ บีเอสเอ เผย
“เอเชียมีตลาดพีซีที่เติบโตเร็วมาก แต่ปัญหาก็คือ ขณะที่ตลาดพีซีโต 9% ต่อปี การละเมิดลิขสิทธิ์กลับยังลดลงเพียงปีละ 1% เท่านั้น” โรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายการตลาดภูมิภาคของ บีเอสเอ ระบุ
“ฉะนั้น รัฐบาลต่างๆจึงต้องหามาตรการแก้ไข เพื่อให้อัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ลดลงเร็วกว่าการโตของตลาดพีซี”
บีเอสเอ เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรซึ่งทำหน้าที่ต่อต้านการละเมิดลิขสิทธิ์ และมีบริษัทด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเป็นสมาชิกด้วย เช่น แอปเปิล, ไมโครซอฟต์, ไซแมนเทค และ อะโดบี