5. ข้อยกเว้นสำหรับการแสดงนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม
มาตรา 36 การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจากการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมและนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ข้อยกเว้นข้อนี้เป็นเรื่องของสิทธิข้างเคียง (Neighboring Rights) ของนักแสดง แต่อย่างไรก็ตามงานเพลงปัจจุบันมีการรวบรวมงานที่มีลิขสิทธิ์แต่ละอย่างมาด้วยกัน เช่น แผ่นซีดีเพลง จะมีลิขสิทธิ์หลายอย่างอยู่ในอันเดียว ประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้โลกไซเบอร์เป็นที่เผยแพร่อันเป็นช่องทางในการละมิดลิขสิทธิ์ที่รวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับการนำไฟล์เพลงที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในบล็อก ทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)ได้ขอความร่วมมือกับผู้ดูแลบล็อกและเว็บไซต์ต่างๆเกี่ยวกับการนำเอาเพลงที่มีลิขสิทธิ์ของทางบริษัทมาเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นการนำโค้ดที่มีเพลงของบริษัทมาใช้ประกอบในบล็อกหรือเว็บไซต์ ทั้งแบบสามารถควบคุมเพลงได้ (เช่นที่มีแผงควบคุมเพลงที่เราสามารถให้มันเล่นหรือหยุดได้) หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง แม้แต่ไฟล์เพลงที่ฝากไว้ในเครื่อง server ของตัวเองหรือผู้อื่น แล้วเปิดให้ดาวน์โหลด ไม่สามารถทำได้ (ดุษณี โสภณอดิศัย, 2551.)
6. ข้อยกเว้นสำหรับงานศิลปกรรม
6.1 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง ฯลฯซึ่งงานศิลปกรรม
มาตรา 37 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการกระทำใดๆ ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานศิลปกรรม และงานศิลปประยุกต์ปัจจุบันมีมากมาย ช่องทางในการละเมิดลิขสิทธิ์ก็มีมากไปด้วยตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น งานภาพถ่าย งานศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น
6.2 การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานอันมีศิลปกรรมเป็นส่วนประกอบ
มาตรา 39 การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใดๆ อันมีศิลปกรรมใดรวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น หัวข้อนี้มีข้อยกเว้นตามช่องทางก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะโลกไซเบอร์ดังกล่าวแล้ว
การนำ "ภาพ" มาประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการ (วสวัต ดีมาร. Ibid.)
ในการเขียนตำรับตำรา หนังสือต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกบน BLOG นั้น เราอาจจะต้องใช้ "ภาพ" ประกอบคำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อความมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้เขียนดาวน์โหลดภาพจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือสแกนมาจากหนังสืออื่น มาใช้ประกอบการเขียนผลงานได้หรือไม่ ?
ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ "เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ว่า "... กรณีนี้ต้องพิจารณาและระมัดระวังว่า ภาพที่ผู้เขียนจะนำมานั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ หลักการในพิจารณา คือ หากภาพนั้น เป็นภาพที่มีการถ่ายโดยไม่ได้สร้างสรรค์ใด ๆ ภาพนั้นก็ไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น ภาพโต๊ะ, ภาพเก้าอี้ อาคาร เป็นต้น แต่หากภาพนั้นมีการใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ เช่น ผู้ถ่ายได้ใช้ความพยายามอดทนเฝ้ารอเพื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก หรือมีการจัดแสง ปรับแต่งภาพเป็นพิเศษ ภาพที่สร้างสรรค์เช่นนี้จะเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
ดังนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จำต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ย่อมสามารถนำมาใช้ประกอบการเขียนได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาต นอกจากนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ แม้ผู้เขียนจะนำภาพนั้นจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือนำมาจากที่ใดก็ตาม แล้วนำมาตกแต่งดัดแปลงจนไม่เหมือนของเดิม ในกรณีนี้ ยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเข้าข่ายดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ ..." ภาพที่อยู่ในระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งต่าง ๆ มีความยากลำบากที่เราจะทราบว่า ภาพใดผ่านการสร้างสรรค์มา
6.3 ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย
มาตรา 40 ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ข้อยกเว้นข้อนี้เป็นเรื่องของเจ้าของร่วม หรือเป็นผู้สร้างสรรค์ร่วมในงานศิลปะ ศิลปประยุกต์ ซึ่งโลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางหลากหลายในการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น
7. ข้อยกเว้นสำหรับงานสถาปัตยกรรม
7.1 การวาดเขียน การเขียนระบายสี ฯลฯงานสถาปัตยกรรม
มาตรา 38 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการออกแบบก่อสร้าง ก็เช่นกันที่โลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางที่กว้างขวางในการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
7.2 การบูรณะอาคารที่เป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์
มาตรา 41 อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานสถาปัตยกรรมบูรณะอาคารก่อสร้าง เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยเหตุผลทางด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของสังคม
8. ข้อยกเว้นสำหรับงานลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ในภาพยนตร์
มาตรา 42 ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นงานอุตสาหกรรมที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ ซึ่งมีงานลิขสิทธิ์สิทธิข้างเคียงนักแสดง งานเพลง งานดนตรีประกอบ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์โปรโมทของชำร่วย ของฝาก ของที่ระลึก ตุ๊กตาจากภาพยนตร์ ฯลฯ เป็นต้น เป็นแหล่งทำเงินเข้าประเทศได้คราวละมาก ๆ บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ถึงขนาดกำหนดนโยบายเป็น “ภาพยนตร์สร้างชาติ” โลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางที่กว้างขวางในการละเมิดลิขสิทธิ์ได้มากเช่นกัน
9. ข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ
มาตรา 43 การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ในงานราชการถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะราชการเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ดูแลปกครองสังคม การดำเนินการใด ๆ ของทางราชการย่อมต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) เป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตามการละเมิดเอกชน ทางราชการก็อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หากเกินขอบเขต “การใช้ที่เป็นธรรม”
บทสรุป
ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ปี 1776 ระบุว่า “การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ภายในขอบเขตอย่างจำกัด” เพื่อให้เอกชนได้นำคืนสู่สาธารณะได้เร็วขึ้น จากหลักข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยทั้ง 9 หัวข้อ(ประเภท)ของงานอันมีลิขสิทธิ์ 12 การกระทำในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในแต่ละหัวข้อดังกล่าวจึงมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นมากมายว่าเพียงใดคือความเหมาะสมในการใช้ (fair use) เนื่องจากกฎหมายไทยไม่ระบุถึงจำนวนความเหมาะสมไว้ หากมีการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศกรณีของไทยใช้ระบบ “Dualism” ก็จะต้องมีการอนุวัตร กฎหมายภายในออกมาใช้บังคับด้วย ปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าสื่อสารทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information technology)มาก ทำให้ช่องการละเมิดลิขสิทธิ์มีขอบข่ายที่รวดเร็วและกว้างขวางขึ้นโดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ที่ไร้พรมแดน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกคู่มือการใช้งาน (Guidelines)ที่เป็นธรรมไว้ดังนี้
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท
•คู่มือใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการรายงานข่าว
•คู่มือการจัดซื้อและตรวจรับซอฟต์แวร์สำหรับหน่วยงานราชการ
•คู่มือสิทธิของนักแสดง
•คู่มือลิขสิทธิ์สำหรับนักเขียน
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทำให้การใช้งานที่มีลิขสิทธิ์สามารถมีการใช้งานที่ๆไม่เกินเลยไประหว่างเจ้าของผู้สร้างสรรค์งาน กับผู้ใช้ให้อยู่ในจุดที่พอดีกัน จากคู่มือในแต่ละประเภทที่จัดทำไว้จะแยกถึงความแตกต่างได้
มีกรณีตัวอย่างต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นน่าสนใจว่าจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เพียงใด อาทิเช่น เรื่อง การเขียนรายงานนักศึกษาส่งอาจารย์, การละเมิดลิขสิทธิ์ของห้องสมุด, การนำไฟล์เพลงมาใช้ในบลอกเวบ การโหลดเพลงจากเวบ, การละเมิดลิขสิทธิ์ไอที, โปรแกรมห้องเรียนออนไลน์, การนำรูปภาพของเขาไปลงประกอบเวบของตน, การนำภาพมาประกอบการเขียน, การวิเคราะห์นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ฯ, การแปลหนังสือต่างประเทศ,การนำภาพเขียนขณะเป็นลูกจ้างมาประกอบการเขียนตำราของผู้วาดภาพ, การนำบทความนิตยสารมาศึกษาวิเคราะห์, โหลดข้อมูลอินเตอร์เน็ตฟรี, นำรูปหน้าเวบเพจมาเขียนตำรา, นำหนังสือหรือบทความที่ลงเวบมหาวิทยาลัยมาให้นักศึกษาศึกษา, การนำบทความของตนที่ลงในนิตยสารมารวบรวมเป็นหนังสือ, การนำวิทยานิพนธ์ของตนมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรา, การนำข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐมาเขียนตำรา ฯลฯ
เหล่านี้หลายประเด็นปัญหาล้วนเกี่ยวข้องกับ “การใช้ที่เป็นธรรม” (fair use) อันเป็นหลักข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์เกือบทั้งสิ้น ซึ่งในบางกรณียังไม่มีกฎหมายใดมาบังคับได้โดยตรง สมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการแก้ไข เพื่อให้การคุ้มครองปัจเจกบุคคลในผลงานอันสร้างสรรค์ของเขาให้มีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development - R&D) ไปสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศและสังคมโลกสืบไป
บรรณานุกรม
Edward Samuels. The Illustrated Story of Copyright. 2002. [Online]. Available URL : http://www.edwardsamuels.com/illustratedstory/index.htm
กรมทรัพย์สินทางปัญญา, “คู่มือการใช้งาน.”
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. “คู่มือการปฏิบัติและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.” 2551. [Online].Available URL: http://www.thaihotline.org/images/handbook-MICT.pdf
ดินสอสีส้ม(นามแฝง). “ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ... ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study ครับ.” 3 พฤษภาคม 2550. [Online].Available URL:
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/05/K5374965/K5374965.html
ดุษณี โสภณอดิศัย. “บล็อก : แนะนำการนำไฟล์เพลงมาใช้ในบล็อก.” 15 ธันวาคม 2551. [Online].Available URL:http://www.gotoknow.org/blogs/posts/229721
ปรัชญนันท์ นิลสุข. “กรณีศึกษา : ประเทศไทยอันดับ 4 การละเมิดลิขสิทธิ์ไอทีภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค.” เดลินิวส์ 1 พฤศจิกายน 2550. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/143436
ปรัชญนันท์ นิลสุข. “กรณีศึกษา : ข้อพิพาทลิขสิทธิ์ ห้องเรียนออนไลน์.” มติชน 12 เมษายน 2550. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/89869
ไมตรี สุเทพากุล, “การคุ้มครองลิขสิทธิ์และข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย.” 22 เมษายน 2551. [Online].Available URL: http://61.47.2.69/~midnight/midnighttext/0009999953.html
วสวัต ดีมาร. "กฎหมายลิขสิทธิ์ : ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์."19 ธันวาคม 2551. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/230733
วัส ติงสมิตร, “การศึกษาหรือวิจัยอันเป็นข้อยกเว้นการละเมืดลิขสิทธิ์.” บทบัณฑิตย์ 57, 1(มีนาคม 2544). [Online].Available URL: http://elib.coj.go.th/Article/intellectual5.htm
สิริพร ทิวะสิงห์. “การละเมิดลิขสิทธิ์ที่ห้องสมุดควรตระหนัก.” 30 เมษายน 2552. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/258401
อรพรรณ พนัสพัฒนา, การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในคำบรรยายของผู้สอน, มปป. [Online].Available URL: http://elib.coj.go.th/Article/intellectual9.htm
มานิตย์ จุมปา. เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537. http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (19 ธันวาคม 2551).
อุดม งามเมืองสกุล. "รับสัญญาณภาพมาจากต่างประเทศ...เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในประเทศไทยหรือไม่???." คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, 14 มกราคม 2555. [Online]. Available URL : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/474601
สรุปสาระสำคัญและความแตกต่างในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ มาตรา 32-43 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
5. ข้อยกเว้นสำหรับการแสดงนาฏกรรม หรือดนตรีกรรม
มาตรา 36 การนำงานนาฏกรรม หรือดนตรีกรรมออกแสดงเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามความเหมาะสมโดยมิได้จัดทำขึ้น หรือดำเนินการเพื่อหากำไรเนื่องจากการจัดให้มีการเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้น และมิได้จัดเก็บค่าเข้าชมไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อมและนักแสดงไม่ได้รับค่าตอบแทนในการแสดงนั้น มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากเป็นการดำเนินการโดยสมาคม มูลนิธิ หรือองค์การอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสาธารณกุศล การศึกษา การศาสนา หรือการสังคมสงเคราะห์ และได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ข้อยกเว้นข้อนี้เป็นเรื่องของสิทธิข้างเคียง (Neighboring Rights) ของนักแสดง แต่อย่างไรก็ตามงานเพลงปัจจุบันมีการรวบรวมงานที่มีลิขสิทธิ์แต่ละอย่างมาด้วยกัน เช่น แผ่นซีดีเพลง จะมีลิขสิทธิ์หลายอย่างอยู่ในอันเดียว ประกอบกับวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้โลกไซเบอร์เป็นที่เผยแพร่อันเป็นช่องทางในการละมิดลิขสิทธิ์ที่รวดเร็วและกว้างขวางมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น เกี่ยวกับการนำไฟล์เพลงที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในบล็อก ทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน)ได้ขอความร่วมมือกับผู้ดูแลบล็อกและเว็บไซต์ต่างๆเกี่ยวกับการนำเอาเพลงที่มีลิขสิทธิ์ของทางบริษัทมาเผยแพร่ ไม่ว่าจะเป็นการนำโค้ดที่มีเพลงของบริษัทมาใช้ประกอบในบล็อกหรือเว็บไซต์ ทั้งแบบสามารถควบคุมเพลงได้ (เช่นที่มีแผงควบคุมเพลงที่เราสามารถให้มันเล่นหรือหยุดได้) หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง แม้แต่ไฟล์เพลงที่ฝากไว้ในเครื่อง server ของตัวเองหรือผู้อื่น แล้วเปิดให้ดาวน์โหลด ไม่สามารถทำได้ (ดุษณี โสภณอดิศัย, 2551.)
6. ข้อยกเว้นสำหรับงานศิลปกรรม
6.1 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง ฯลฯซึ่งงานศิลปกรรม
มาตรา 37 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การก่อสร้าง การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์ การแพร่ภาพ หรือการกระทำใดๆ ทำนองเดียวกันนี้ซึ่งศิลปกรรมใดอันตั้งเปิดเผยประจำอยู่ในที่สาธารณะ นอกจากงานสถาปัตยกรรม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานศิลปกรรม และงานศิลปประยุกต์ปัจจุบันมีมากมาย ช่องทางในการละเมิดลิขสิทธิ์ก็มีมากไปด้วยตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น งานภาพถ่าย งานศิลปะต่าง ๆ เป็นต้น
6.2 การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานอันมีศิลปกรรมเป็นส่วนประกอบ
มาตรา 39 การถ่ายภาพหรือการถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานใดๆ อันมีศิลปกรรมใดรวมอยู่เป็นส่วนประกอบด้วย มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น หัวข้อนี้มีข้อยกเว้นตามช่องทางก้าวหน้าของเทคโนโลยี โดยเฉพาะโลกไซเบอร์ดังกล่าวแล้ว
การนำ "ภาพ" มาประกอบการเขียนผลงานทางวิชาการ (วสวัต ดีมาร. Ibid.)
ในการเขียนตำรับตำรา หนังสือต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเขียนบันทึกบน BLOG นั้น เราอาจจะต้องใช้ "ภาพ" ประกอบคำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เนื้อความมีความชัดเจนยิ่งขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ ผู้เขียนดาวน์โหลดภาพจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือสแกนมาจากหนังสืออื่น มาใช้ประกอบการเขียนผลงานได้หรือไม่ ?
ประเด็นนี้ รศ.ดร.มานิตย์ จุมปา แห่งคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ "เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์" ว่า "... กรณีนี้ต้องพิจารณาและระมัดระวังว่า ภาพที่ผู้เขียนจะนำมานั้นเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์หรือไม่ หลักการในพิจารณา คือ หากภาพนั้น เป็นภาพที่มีการถ่ายโดยไม่ได้สร้างสรรค์ใด ๆ ภาพนั้นก็ไม่มีลิขสิทธิ์ เช่น ภาพโต๊ะ, ภาพเก้าอี้ อาคาร เป็นต้น แต่หากภาพนั้นมีการใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างสรรค์ เช่น ผู้ถ่ายได้ใช้ความพยายามอดทนเฝ้ารอเพื่อถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก หรือมีการจัดแสง ปรับแต่งภาพเป็นพิเศษ ภาพที่สร้างสรรค์เช่นนี้จะเป็นภาพที่มีลิขสิทธิ์
ดังนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ การเอาภาพเขามาประกอบการเขียนผลงาน จำต้องดำเนินการขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน ส่วนภาพนั้นไม่มีลิขสิทธิ์ ย่อมสามารถนำมาใช้ประกอบการเขียนได้ โดยไม่จำต้องขออนุญาต นอกจากนั้น หากภาพใดมีลิขสิทธิ์ แม้ผู้เขียนจะนำภาพนั้นจากระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือนำมาจากที่ใดก็ตาม แล้วนำมาตกแต่งดัดแปลงจนไม่เหมือนของเดิม ในกรณีนี้ ยังคงเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะเข้าข่ายดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ ..." ภาพที่อยู่ในระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต หรือแหล่งต่าง ๆ มีความยากลำบากที่เราจะทราบว่า ภาพใดผ่านการสร้างสรรค์มา
6.3 ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วย
มาตรา 40 ในกรณีที่ลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมใดมีบุคคลอื่นนอกจากผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของอยู่ด้วยการที่ผู้สร้างสรรค์คนเดียวกันได้ทำศิลปกรรมนั้นอีกในภายหลังในลักษณะที่เป็นการทำซ้ำบางส่วนกับศิลปกรรมเดิม หรือใช้แบบพิมพ์ ภาพร่าง แผนผัง แบบจำลอง หรือข้อมูลที่ได้จากการศึกษาที่ใช้ในการทำศิลปกรรมเดิม ถ้าปรากฏว่าผู้สร้างสรรค์มิได้ทำซ้ำหรือลอกแบบในส่วนอันเป็นสาระสำคัญของศิลปกรรมเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในศิลปกรรมนั้น
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ข้อยกเว้นข้อนี้เป็นเรื่องของเจ้าของร่วม หรือเป็นผู้สร้างสรรค์ร่วมในงานศิลปะ ศิลปประยุกต์ ซึ่งโลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางหลากหลายในการละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น
7. ข้อยกเว้นสำหรับงานสถาปัตยกรรม
7.1 การวาดเขียน การเขียนระบายสี ฯลฯงานสถาปัตยกรรม
มาตรา 38 การวาดเขียน การเขียนระบายสี การแกะลายเส้น การปั้น การแกะสลัก การพิมพ์ภาพ การถ่ายภาพ การถ่ายภาพยนตร์หรือการแพร่ภาพซึ่งงานสถาปัตยกรรมใด มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานสถาปัตยกรรมนั้น
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการออกแบบก่อสร้าง ก็เช่นกันที่โลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางที่กว้างขวางในการละเมิดลิขสิทธิ์ได้
7.2 การบูรณะอาคารที่เป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์
มาตรา 41 อาคารใดเป็นงานสถาปัตยกรรมอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ การบูรณะอาคารนั้นในรูปแบบเดิม มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานสถาปัตยกรรมบูรณะอาคารก่อสร้าง เป็นข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ด้วยเหตุผลทางด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมของสังคม
8. ข้อยกเว้นสำหรับงานลิขสิทธิ์ต่าง ๆ ในภาพยนตร์
มาตรา 42 ในกรณีที่อายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในภาพยนตร์ใดสิ้นสุดลงแล้ว มิให้ถือว่าการนำภาพยนตร์นั้นเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในวรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ สิ่งบันทึกเสียงหรืองานที่ใช้จัดทำภาพยนตร์นั้น
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น งานภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นงานอุตสาหกรรมที่เชิดหน้าชูตาของประเทศ ซึ่งมีงานลิขสิทธิ์สิทธิข้างเคียงนักแสดง งานเพลง งานดนตรีประกอบ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์โปรโมทของชำร่วย ของฝาก ของที่ระลึก ตุ๊กตาจากภาพยนตร์ ฯลฯ เป็นต้น เป็นแหล่งทำเงินเข้าประเทศได้คราวละมาก ๆ บางประเทศ เช่น เกาหลีใต้ถึงขนาดกำหนดนโยบายเป็น “ภาพยนตร์สร้างชาติ” โลกไซเบอร์ทำให้มีช่องทางที่กว้างขวางในการละเมิดลิขสิทธิ์ได้มากเช่นกัน
9. ข้อยกเว้นเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ
มาตรา 43 การทำซ้ำ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการโดยเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานดังกล่าวซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้และที่อยู่ในความครอบครองของทางราชการ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม(ตัวอย่าง)
ความแตกต่างและความเชื่อมโยงของข้อยกเว้นข้อนี้กับข้ออื่น ในงานราชการถือเป็นข้อยกเว้นสำหรับการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะราชการเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจ ดูแลปกครองสังคม การดำเนินการใด ๆ ของทางราชการย่อมต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) เป็นที่ตั้ง อย่างไรก็ตามการละเมิดเอกชน ทางราชการก็อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้หากเกินขอบเขต “การใช้ที่เป็นธรรม”
บทสรุป
ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ปี 1776 ระบุว่า “การใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ภายในขอบเขตอย่างจำกัด” เพื่อให้เอกชนได้นำคืนสู่สาธารณะได้เร็วขึ้น จากหลักข้อยกเว้นตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยทั้ง 9 หัวข้อ(ประเภท)ของงานอันมีลิขสิทธิ์ 12 การกระทำในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ในแต่ละหัวข้อดังกล่าวจึงมีประเด็นปัญหาเกิดขึ้นมากมายว่าเพียงใดคือความเหมาะสมในการใช้ (fair use) เนื่องจากกฎหมายไทยไม่ระบุถึงจำนวนความเหมาะสมไว้ หากมีการลงนามอนุสัญญาระหว่างประเทศกรณีของไทยใช้ระบบ “Dualism” ก็จะต้องมีการอนุวัตร กฎหมายภายในออกมาใช้บังคับด้วย ปัจจุบันโลกมีความก้าวหน้าสื่อสารทางเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร (Information technology)มาก ทำให้ช่องการละเมิดลิขสิทธิ์มีขอบข่ายที่รวดเร็วและกว้างขวางขึ้นโดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ที่ไร้พรมแดน อย่างไรก็ตาม กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ออกคู่มือการใช้งาน (Guidelines)ที่เป็นธรรมไว้ดังนี้
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์แต่ละประเภท
•คู่มือใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการรายงานข่าว
•คู่มือการจัดซื้อและตรวจรับซอฟต์แวร์สำหรับหน่วยงานราชการ
•คู่มือสิทธิของนักแสดง
•คู่มือลิขสิทธิ์สำหรับนักเขียน
•คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมสำหรับการเรียนการสอน
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทำให้การใช้งานที่มีลิขสิทธิ์สามารถมีการใช้งานที่ๆไม่เกินเลยไประหว่างเจ้าของผู้สร้างสรรค์งาน กับผู้ใช้ให้อยู่ในจุดที่พอดีกัน จากคู่มือในแต่ละประเภทที่จัดทำไว้จะแยกถึงความแตกต่างได้
มีกรณีตัวอย่างต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นน่าสนใจว่าจะเข้าข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ เพียงใด อาทิเช่น เรื่อง การเขียนรายงานนักศึกษาส่งอาจารย์, การละเมิดลิขสิทธิ์ของห้องสมุด, การนำไฟล์เพลงมาใช้ในบลอกเวบ การโหลดเพลงจากเวบ, การละเมิดลิขสิทธิ์ไอที, โปรแกรมห้องเรียนออนไลน์, การนำรูปภาพของเขาไปลงประกอบเวบของตน, การนำภาพมาประกอบการเขียน, การวิเคราะห์นวนิยาย เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ฯ, การแปลหนังสือต่างประเทศ,การนำภาพเขียนขณะเป็นลูกจ้างมาประกอบการเขียนตำราของผู้วาดภาพ, การนำบทความนิตยสารมาศึกษาวิเคราะห์, โหลดข้อมูลอินเตอร์เน็ตฟรี, นำรูปหน้าเวบเพจมาเขียนตำรา, นำหนังสือหรือบทความที่ลงเวบมหาวิทยาลัยมาให้นักศึกษาศึกษา, การนำบทความของตนที่ลงในนิตยสารมารวบรวมเป็นหนังสือ, การนำวิทยานิพนธ์ของตนมาเป็นส่วนหนึ่งของตำรา, การนำข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐมาเขียนตำรา ฯลฯ
เหล่านี้หลายประเด็นปัญหาล้วนเกี่ยวข้องกับ “การใช้ที่เป็นธรรม” (fair use) อันเป็นหลักข้อยกเว้นของการละเมิดลิขสิทธิ์เกือบทั้งสิ้น ซึ่งในบางกรณียังไม่มีกฎหมายใดมาบังคับได้โดยตรง สมควรที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรีบดำเนินการแก้ไข เพื่อให้การคุ้มครองปัจเจกบุคคลในผลงานอันสร้างสรรค์ของเขาให้มีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development - R&D) ไปสู่การสร้างความเจริญก้าวหน้าของประเทศและสังคมโลกสืบไป
บรรณานุกรม
Edward Samuels. The Illustrated Story of Copyright. 2002. [Online]. Available URL : http://www.edwardsamuels.com/illustratedstory/index.htm
กรมทรัพย์สินทางปัญญา, “คู่มือการใช้งาน.”
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. “คู่มือการปฏิบัติและแนวทางการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.” 2551. [Online].Available URL: http://www.thaihotline.org/images/handbook-MICT.pdf
ดินสอสีส้ม(นามแฝง). “ละเมิดลิขสิทธิ์ภาพ... ผมเอาความผิดของตัวเอง มาให้ดูเป็น case study ครับ.” 3 พฤษภาคม 2550. [Online].Available URL:
http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/05/K5374965/K5374965.html
ดุษณี โสภณอดิศัย. “บล็อก : แนะนำการนำไฟล์เพลงมาใช้ในบล็อก.” 15 ธันวาคม 2551. [Online].Available URL:http://www.gotoknow.org/blogs/posts/229721
ปรัชญนันท์ นิลสุข. “กรณีศึกษา : ประเทศไทยอันดับ 4 การละเมิดลิขสิทธิ์ไอทีภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค.” เดลินิวส์ 1 พฤศจิกายน 2550. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/143436
ปรัชญนันท์ นิลสุข. “กรณีศึกษา : ข้อพิพาทลิขสิทธิ์ ห้องเรียนออนไลน์.” มติชน 12 เมษายน 2550. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/89869
ไมตรี สุเทพากุล, “การคุ้มครองลิขสิทธิ์และข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย.” 22 เมษายน 2551. [Online].Available URL: http://61.47.2.69/~midnight/midnighttext/0009999953.html
วสวัต ดีมาร. "กฎหมายลิขสิทธิ์ : ข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์."19 ธันวาคม 2551. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/230733
วัส ติงสมิตร, “การศึกษาหรือวิจัยอันเป็นข้อยกเว้นการละเมืดลิขสิทธิ์.” บทบัณฑิตย์ 57, 1(มีนาคม 2544). [Online].Available URL: http://elib.coj.go.th/Article/intellectual5.htm
สิริพร ทิวะสิงห์. “การละเมิดลิขสิทธิ์ที่ห้องสมุดควรตระหนัก.” 30 เมษายน 2552. [Online].Available URL: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/258401
อรพรรณ พนัสพัฒนา, การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในคำบรรยายของผู้สอน, มปป. [Online].Available URL: http://elib.coj.go.th/Article/intellectual9.htm
มานิตย์ จุมปา. เขียนผลงานวิชาการอย่างไรไม่ละเมิดลิขสิทธิ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537. http://www.thnic.co.th/docs/copyright-law.pdf (19 ธันวาคม 2551).
อุดม งามเมืองสกุล. "รับสัญญาณภาพมาจากต่างประเทศ...เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้มีสิทธิแต่ผู้เดียวในประเทศไทยหรือไม่???." คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ, 14 มกราคม 2555. [Online]. Available URL : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/474601