การพัฒนาศักยภาพผู้นิเทศงาน(2)


 ผู้เขียนขอเล่าเรื่องการทำกิจกรรมของผู้นิเทศงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของเขตตรวจราชการที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดต่างๆเช่นอยุธยา นนทบุรี สระบุรี ปทุมธานีเป็นต้น กิจกรรมแรกที่ผู้เขียนทำคือกิจกรรมปมมนุษย์(ปมมนุษย์  อ่านจุดประสงค์การดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการประเมินกิจกรรม  ได้ที่นี่ครับ) กิจกรรมแม่น้ำพิษ(อ่านจุดประสงค์ของกิจกรรม ขั้นตอนการทำกิจกรรมและการประเมินผลของกิจกรรมได้ที่นี่ครับ)และการฝึกการฟัง

 

 

 

  หลังจากนั้นผู้ร่วมกิจกรรมก็แบ่งกลุ่มกันช่วยกันระดมความคิดว่าผู้นิเทศที่ดีความมีลักษณะอย่างไร ทำให้ได้คุณสมบัติของผู้นิเทศที่ดีตอนหลอมรวม

 

 

 

 

 หลังจากที่พักกลางวันก็มีกิจกรมผ่อนพักตระหนักรู้และกิจกรรมนวดคลายเครียด( อ่านจุดประสงค์การดำเนินกิจกรรม ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมและการประเมินกิจกรรม  ได้ที่นี่ครับ  )

 

 

 

 

  เริ่มกิจกรรมด้วยการทำกิจกรรมวิวัฒนาการ หลังจากนั้นก็เป็นกิจกรรม ตะกร้าสองใบ ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเขียนว่า ผู้นิเทศควรนิเทศอะไร ผู้รับการนิเทศควรมีเตรียมอะไรบ้าง สิ่งใดที่ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศไม่ควรทำ แล้วนำไปเขียนรวมกันเพื่อสรุปในภาพรวม

 

 

 

กิจกรรมช่วงท้ายๆเป็นกิจกรรมอ่างปลาให้ผู้เคยนิเทศงานมาช่วยกันตอบคำถามผู้ที่ไม่เคยนิเทศงาน ในด้านกลับกันผู้ที่ไปนิเทศงานก็สามารถถามคำถามผู้รับการนิเทศด้วย ทำให้ได้ข้อมูลของทั้งสองฝ่าย

 

 

 

 

 

 กิจกรรมก่อนจะกลับบ้านวันนี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สรุปว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างโดยการสรุปเป็นคำพูดหรือทำแผนที่ความคิด มีหลายประเด็นที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนตัวเองว่าได้อะไรไปบ้าง

 

หนังสือการนิเทศแบบกัลยาณมิตร  

 วันนี้มีกิจกรรมวันสุดท้าย รออ่านนะครับ…ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน…

 

หมายเลขบันทึก: 445297เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2011 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2013 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

น่านำไปใช้กะทุกองค์กรเลยนะครับ

ละเอียดมากครับท่านอาจารย์ แบบนี้ทำตามได้ไม่ยากเลยครับผม

  • ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ
  • โอโหพี่ใหญ่เราทันสมัยน่าดู
  • นมัสการขอบคุณท่าน Phra Anuwat ครับ
  • คาดว่าต้องเอาไปปรับใช้ครับ
  • ขอบคุณอาจารย์หนานวัฒน์มากครับ
  • พยายามเขียนให้ละเอียดเพื่อให้พี่พยาบาล พี่เจ้าหน้าที่ รพสต.ได้
  • นำไปประยุกต์ใช้ในกลุ่มครับ
  • อาจารย์ขจิตไม่มาช่วยเขต ๑๖ บ้างหรือครับ
  • เห็นกระบวนการแล้วดีครับ เดี๋ยวจะชักชวนงานยุทธ์นำไปใช้ในจังหวัดบ้างครับ
  • ชอบการนิเทศแบบกัลยาณมิตรครับ

ตามมาชื่นชมครับ เชื่อฝีมือ "คุณอำนวย" ของอาจารย์ขจิต

 

เชื่อมั่น "ประสบการณ์" และ "ความมุ่งมั่น" ของผู้เข้าร่วม

 

"พลังร่วม" ระหว่างจัดกระบวนการเกิดแล้ว จะหล่อเลี้ยง ธำรงไว้ต่ออย่างไร น่าจะเป็น practical collective WISDOM อย่างที่ Nonaka ย้ำ

 

ในการสัมมนา KM ถอดรหัส Nonaka เมื่อ 29 เม.ย. ปีนี้ อาจารย์ ดร.ประพนธ์ ลองใจผู้เข้าร่วม เกี่ยวกับ "การประเมิน" เป็นการประเมินการวาดรูป ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่ ซึ่งชินกับ KM ลปรร.มานาน ประเมินแบบ "อิงเกณฑ์" บ้าง "อิงผลลัพธ์รวม" บ้าง

มีผู้เข้าร่วมส่วนหนึ่งซึ่ง "ประเมินแบบเสริมพลัง หรือ ประเมินโอกาส" คือ ประเมินให้ผู้วาดมีกำลังใจสร้างสรรค์งานศิลปะต่อ แม้ภาพแรกๆ ที่มาประเมินจะอ่อนด้อยในเทคนิคแทบทุกด้าน ครูใหม่ ผม และอีกหลายท่านเป็นคนหนึ่งในกลุ่มเล็กๆ นี้ ด้วยเหตุสมัยเด็กๆ พ่อบอกว่า วาดไปเถอะ วาดอย่างที่อยากวาด ภาพจะออกมาอย่างไร มันเป็นเรื่องที่มาทีหลัง ใจต้องอยากวาดก่อน

บทบาทการนิเทศแบบเดิมๆ นั้น เราอาจคุ้นชิน และเผลอปล่อยไปตามกระแสเดิม คือ กระแสการตรวจสอบ-เทียบเป้า มากกว่าการ ลปรร. ถ้าเปรียบ paradigm เดิมเป็น "ผี" ก็เป็น "ผีที่แรง"

ต้องอาศัยคาถา ลปรร. ลปรร. อย่างใจเย็นๆ ทอดเวลาให้กันและกันได้เรียนรู้น่ะครับ

ขอบคุณคุณอิง มากครับ สบายดีไหม

ขอบคุณคุณยายดอกไม้สวยจัง

ขอบคุณพ่อน้องซอมพอด้วยความยินดีครับ

ขอบคุณคุณหมอชาตรีมากครับ การนิเทศและการประเมิน ต้องใช้ใจ ใช้เวลาในการพูดคุย ใช้การฟังมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท