มอบอำนาจให้เด็กอย่างไร โดยผู้ใหญ่ไม่เสียอำนาจ เพื่อโอกาสให้เด็ก "คิดเป็น"


เรียนรู้สู่วัฒนธรรมการ "คิดเป็น"

   

        เมื่อวานผมได้ไปจัดเวทีครอบครัว หลักสูตร "ครอบครัวสื่อสารด้วยหัวใจ"  ที่อำเภอคลองใหญ่  ผู้เข้าร่วมเวที มีทั้งพระ ครู ผู้ปกครอง เป็นเวทีที่สนุกครับ  และที่ประทับใจ คือ มีพระมาเข้ากระบวนการกับเวทีตลอด ทุกกิจกรรม ท่านร่วมกิจกรรมและก็ร่วมเรียนรู้ร่วมกันอย่างไม่ถือตัว  ท่านบอกว่าท่านจะนำไปใช้สือสารกับเด็กวัด   มีการแซวพระเล็กๆ  ท่านก็ยิ้มๆ

 

     ช่วงหนึ่งผมจัดกระบวนการ เรื่อง Active listening เริ่มแรกสาธิตด้วยการฟังแบบไม่ฟัง

 

                 

 

     พร้อมกับยกตัวอย่างเรื่อง เด็กมีปัญหา ปรึกษาดีเจ  เพราะทั้งพ่อแม่ และ ครู ไม่ฟังเขา คือ ฟังแล้วชอบสอน

 

    ผมเลยบอกว่า Active listening  ผมใช้คำว่า การฟังด้วยใจ   คือ  ฟังให้เข้าใจ แล้ว สะท้อนความรู้สึกของเขา  โดยไม่ต้องไปสอน และไปแก้ปัญหาให้เขา เพราะปัญหาของเด็ก เด็กเขาจะหาวิธีแก้ปัญหาของเขาเองได้  เพียงแต่เขาต้องการคนเข้าใจและรับรู้ความรู้สึกของเขา

 

   เท่านั้นละครับ  ทั้งผู้ปกครองทั้งคุณครู ต่างก็มีข้อโต้แย้งมาว่า  "เป็นไปไม่ได้ ที่จะไม่สอน ไม่บอกเด็ก  เด็กยังไงก็ต้องสอน ต้องบอก ปล่อยให้แก้ปัญหาเองไม่ได้ แล้วถ้าเด็กแก้ปัญหาผิดๆ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ต้องปล่อยไปทั้งผิดๆ อย่างนั้นหรือ"

 

              

 

    ผมเลยบอกว่า  การไม่สอน ไม่ใช่ปล่อยไปตามใจโดยเสรี  แต่ให้เขาคิดเองบ้าง อยู่ในกรอบของความถูกต้อง โดยเราต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของเขาด้วย  เรื่องนี้ มีกระบวนการมีขั้นตอน  ขอให้อยู่ครบทั้งวัน แล้วก็จะเข้าใจ   เมื่ออยู่ครบทั้งวันแล้ว  เห็นว่าวิธีของผม ใช้ไม่ได้  ไม่ถูกต้อง  ก็ไม่ต้องนำไปใช้

 

   แล้วผมก็นำเข้าสู่กระบวนการของการสื่อสารด้วยหัวใจ จุดสุดท้ายของกระบวนการนี้ คือ  เวลามีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่าง พ่อแม่กับลูก  หรือ ครูกับนักเรียน   ให้ใช้วิธี  การหาทางออกร่วมกัน   โดยให้ฝ่ายเด็ก  คือ  นักเรียนหรือลูก  เสนอวิธีการมาก่อน ว่าจะทำอย่างไร  เสร็จแล้วให้ครูหรือผู้ปกครอง พิจารณาว่า  วิธีการของเด็กนั้น  ครูหรือผู้ปกครอง พอใจหรือไม่  ถ้าไม่พอใจก็ต่อรองกันจนกว่าจะพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย

 

    ผมเน้นย้ำว่า ทำไมถึงต้องให้เด็กเสนอวิธีการก่อน แทนที่ผู้ปกครองหรือครู จะเสนอวิธีการของตัวเองก่อน   ผู้ปกครองก็เข้าใจและตอบได้ว่า ถ้าให้ผู้ใหญ่เสนอวิธีการมาก่อน เด็กก็จะไม่กล้าคิด

 

      ผมถามว่าวิธีนี้ ปล่อยเด็กคิดเองตามใจโดยเสรีใช่หรือไม่   ทั้งผู้ปกครองและคุณครูตอบว่า ไม่ใช่  และผมถามต่อไปว่า วิธีการนี้ ใช่วิธีที่พ่อแม่ใช้อำนาจเอาชนะให้ลูกเชื่อฟังและยอมตามใช่หรือไม่ ผู้ปกครองตอบ ไม่ใช่  ถามว่าวิธีการนี้  มีใครแพ้ใครชนะ  ผู้ปกครองบอก "ชนะด้วยกันทั้งคู่"

 

            

 

      ครับ  เป็นการสร้างวัฒนธรรมการคิดเป็น  โดยผู้ใหญ่ไม่สูญเสียอำนาจ และ เด็กก็ได้อำนาจในการ "คิดเป็น"  ผ่านวิธีการที่เรียกว่า "การหาทางออกร่วมกัน"

หมายเลขบันทึก: 461459เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2011 07:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ธรรมชาติคนเราน่าจะ ชอบคำถาม มากกว่า คำสั่ง คะ
ถึงมีเกมส์ crosswords, sodoku  ไม่เห็นมีเกมส์แบบจงทำดังต่อไปนี้..:-)

ชื่นชมตรงนี้ด้วยคะ

เมื่ออยู่ครบทั้งวันแล้ว  เห็นว่าวิธีของผม ใช้ไม่ได้  ไม่ถูกต้อง  ก็ไม่ต้องนำไปใช้

นำไปปรับก็น่าจะได้ครับ

  • รอบนี้มีพระด้วยนะครับ
  • ดีจังเลย
  • เอาเด็กๆมาฝากก่อน
  • กำลังเขียนเรื่องครับ

Ico48คุณ CMUpal ครับ

    กิจกรรมในวันนั้น  ผมใส่ "ตัวกวน"   มากไปหน่อยครับ เลยมีแรงต้าน   ผมก็เลยต้องยอมรับแรงเข้ามา  เพื่อให้แรงต้านเบาลง ก็ผ่านไปด้วยดีครับ  (แต่กว่าจะผ่าน ก็ทำเอา "จิตตก"  ไปมากอยู่เหมือนกัน  เป็นบทเรียนที่ดี เรื่อง การใส่ตัวกวนครับ)

     ครับ ธีรรมชาติ  เราจะชอล คำถาม มากกว่า   คำสั่ง  แต่  พ่อแม่และคุณครูหลายคน ก็ยังนิยมการใช้คำสั่งมากกว่าคำถาม  เป็นคำตอบจากเวทีครับ

                   ขอบคุณครับ

 

Ico48อาจารย์ JJ  ครับ ขอบคุณมากครับ

Ico48อาจารย์ขจิตครับ   เด็กๆเรียนรู้อย่างมีความสุข  พร้อมกับได้ซึมซับการเรียนรู้ คุณค่า ของ "เรารักษ์เกาะช้าง"  อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติครับ

                              ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่มอบสิ่งที่ดีๆ ให้กับเด็กเกาะช้าง

ขอบคุณค่ะ..เลี้ยงหลานเหมือนเป็นเพื่อน..จึงได้+ให้ความไว้วางใจและมีความสุขมากๆค่ะ..//(^_^)//..

แล้วลูกคิดว่าจะทำแบบไหน อย่างไร ....

น่าจะเป็นสิ่งที่ควรใช้ก่อน  มากกว่า...... ลูกทำแบบนี้สิ.....

ใช่มั้ยคะ อาจารย์

เปิดโอกาสให้ทำ คิด  เสนอ แล้วเราค่อยเสนอของเราบ้าง  ส่วนการที่เขาจะทำตามแบบเราหรือไม่  ขึ้นอยู่กับฝีมือในการเจรจา ต่อรอง ไกล่เกลี่ย  ของแม่  อิ อิ

 

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ขจิต   ที่มอบกิจกรรมที่ดี ๆ และความสุขให้เด็กๆ  ผมติดตามไปดูแล้ว เด็กมีความสุข  โดยซึมซับทั้งความรู้ ทักษะ และ จิตสำนึกในการอนุรักษ์ครับ

อ.นงนาท ครับ

    ตรงนี้ตรงประเด็นเลยครับ

เลี้ยงหลานเหมือนเป็นเพื่อน..จึงได้+ให้ความไว้วางใจและมีความสุขมากๆค่ะ..

                    ขอบคุณครับ

 

คุณกระติก ครับ   (ผมมีเพื่อนเป็นพยาบาลหนึ่งคน ชื่อ กระติบ)

    ถูกต้องแล้วครับ ให้ลูกเขาเสนอวิธีการก่อน ประมาณว่า "ลูกคิดว่าอย่างไร  ลูกจะทำอย่างไร"   แล้วค่อยต่อรองวิธีการของพ่อแม่ จนกว่าจะพอใจด้วยกันทั้งคู่ครับ

                                     ขอบคุณครับ

  • ท่านรองครับ
  • มีหนังสือแล้วจะเอาไปฝากนะครับ

ครับ ขอบคุณครับ อาจารย์ครับ

 

 

  • อาจารย์หมอ JJ ไปตราดครับ
Ico48

ไปวันเสาร์ที่ ๑๕ กลับ จันทร์ที่ ๑๗ ครับ

ครับ ขอบคุณครับอาจารย์

 

  • ท่านรองครับ
  • รบกวนทำหนังสือ ขออนุญาตเข้าชม  อุทยานแมลงเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  • ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม 2554 เวลา 08.30-12.00 น.
  • ส่งหนังสือมาที่ ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนา  กำแพงแสน
  • 1 หมู่ 6 ต. กำแพงแสน อ.กำแพงแสน
  • จังหวัด นครปฐม
  • รหัสไปรษณีย์ 73140
  •  email

[email protected]

  •  โทรศัพท์

034281090

  •  Fax มาที่

034281091

 

 

 

 

 

 

 

 

  • ทางโรงแรมมหาวิทยาลัย
  • อยากได้รายชื่อเด็กเพื่อทำ porfolio ให้ครับ
  • ส่งทางเมล์ก็ได้ครับ

หนังสือขออนุญาต  พรุ่งนี้จะส่งไปครับ   ส่วนรายชื่อเด็ก พรุ่งนี้ จะประสานไปครับ

สวัสดีค่ะ..ยายธีแวะมาเยี่ยมเยียน..และขอแสดงความยินดีกับสิ่งที่..ท่านกำลังทำอยู่..มาเป็นกำลังใจค่ะ..ยายธีดีใจที่เห็นข้อเขียนและการฝึกฝนเรียนรู้..กับคำว่า"คิดเป็น"..ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่...ขอบคุณเจ้าค่ะ..ยายธี

คุณยายธีครับ  ขอบคุณมากครับ สำหรับกำลังใจที่มีคุณค่าครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท