ความสำเร็จของ GotoKnow อยู่ที่ใคร?


ความสำเร็จสัมผัสได้ด้วยตัวคุณเอง "GotoKnow : ความสำเร็จของเครือข่ายทางสังคมแบบไทยๆ"

อ่านชื่อบันทึกนี้แล้วทีแรกผมก็ไม่ได้คิดว่าจะให้เป็นแบบนั้น  ทีแรกตั้งชื่อว่าเป็น "GotoKnow : ความสำเร็จของเครือข่ายทางสังคมแบบไทยๆ" แต่พอมาคิดถึงความสำเร็จแล้วนอกจากผู้พัฒนา ส่วนหนึ่งอยู่ที่ ผู้ใช้หรือ Blogger (ลองคิดดูครับว่า...หากไม่มีผู้ใช้จะเกิดอะไรขึ้น) ใน GotoKnow ที่เป็นสังคมออนไลน์ (Online Community) ที่ blogger ทั้งหลายชอบเรียก B2B นั้นแหละ

มาดูกันครับว่ามีเหตุผลอะไรบ้างที่ทำให้ GotoKnow จะก้าวสู่ความสำเร็จ..ได้อย่างไร?

หลักการพิ้นฐานของสังคมทั่วไป ที่จะทำให้สังคมนั้นๆ น่าอยู่ อยู่ได้นานๆ และขยายตัวได้ มีการเจริญเติบโตตามสมควร นั่นคือ พื้นฐานของการให้และรับ (Give&Take) การแบ่งปัน (Sharing & Contribution) เป็นหลักการพื้นฐานของจิตวิทยาด้านสังคม (Social Psychology) และสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฏีทางเศรษฐศาตร์

Peter Kollock ได้ให้กรอบจำกัดความเรื่อง แรงจูงใจในการ Contribute ใน Online Communities มีเหตุผล 4 ประการ คือ    

  1. Anticipated Reciprocity : การที่นาย Blogger A ได้ให้ข้อมูล ความรู้ กับ Online Community นั้นบ่อยๆ มีแรงจูงใจมาจากการที่ ตัวของ Blogger A เอง ก็ต้องการจะได้รับข้อมูล ความรู้ อื่นๆ กลับคืนมาด้วยเช่นเดียวกัน
     เช่น Blogger A มาโพสต์ข้อความตอบกระทู้บ่อยๆ ใน GotoKnow จนคนรู้จัก มีความคุ้นเคยกัน ถ้ามีการถามกระทู้ใน GotoKnow กระทู้ของ Blogger A จะมีคนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการตอบเร็วกว่าประเด็นของคนอื่นที่เป็นคนแปลกหน้ามาโพสต์ไว้

  2. Increased Recognition : ความต้องการมีชื่อเสียง และเป็นที่จดจำของคนใน Online Community นั้นๆ ลองนึกดูเองครับว่ามีใครบ้าง เช่น การให้คะแนน ให้ดาว คนที่ตอบคำถามเก่งๆใน Community ทำให้คนคนนั้นดูมียศเหนือกว่าคนอื่น  อย่างใน GotoKnow ก็เช่นเดียวกัน มีการให้เสื้อสามารถจากรางวัลต่างๆ ทั้งจาก สคส. ก็มี สุดคะนึง จตุรพลัง และ มมส. เอง ก็มีรางวัล "ฅ km มมส." เพื่อให้รางวัลแก่ blogger ที่เขียนถ่ายทอดความรู้ของตน

  3. Sense of efficacy : ความรู้สึกภาคภูมิใจ คนที่ Contribute อะไรแล้วเกิด Impact กับ community นั้น ย่อมทำให้ Blooger คนนั้นมีความภาคภูมิใจ เช่น Blogger A เขียนประเด็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน GotoKnow และมีคนเข้ามาโพสต์ตอบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามมาอีกหลายสิบคน  ย่อมรู้สึกดีกว่าตั้งกระทู้แล้วไม่มีคนเข้ามาตอบเลย

  4. Sense of Community : เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันหรือการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างคนในสังคมนั้นๆ เหมือนมี Blogger มาตั้งกระทู้เป็นประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือเขียนบทความอะไร แล้วเรามาอ่านเจอเข้าก็คันไม้คันมือ อยากแสดงความคิดเห็นของตัวเอง การที่ความคิดคนหนึ่ง มีอิทธิพลเหนือคนกลุ่มหนึ่ง หรือ การมีอารมณ์ความรู้สึกบางอย่างร่วมกัน เช่น การรวมตัวกันเพื่อแสดงออกอะไรบางอย่างบน Online Community เช่น Blog tag ล่าสุดตอนนี้ก็มีการเล่น Blogger ในดวงใจ อะไรทำนองนี้เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในชุมชนนั้นเอง

(อ้างอิงจากหนังสือ "The Economies of Online Cooperation: Gifts and Public Goods in Cyberspace" ของ Peter Kollock)

มาถึงตรงนี้ Blogger หรือ user (ไม่ใช่ ยูส จน เซ่อ) ทั้งหลายไม่ต้องตกใจว่ากำลังโดนหลอกนะครับ เพราะ ทีมพัฒนา และโดยเฉพาะผู้สนับสนุนหลัก ที่ท่านเห็นใน banner ด้านล่างนี้ เขาตั้งใจพัฒนาเพื่อเป็นฐานก้าวไปสู่ "สังคมฐานความรู้ (Knoeledge base soceity)" ในบริบทแบบไทยๆ อย่างแท้จริง ด้วยมือคุณเอง..ได้อย่างไร

อย่าลืมติดตามตอนต่อไปครับ ...บอกใบ้ให้ก็ได้ว่าเกี่ยวกับ "เทคโนโลยี"

หมายเลขบันทึก: 86986เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2007 04:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สายน้ำแห่งความคิด

เข้ามาเยี่ยม ยามตี 4

เจริญพร

 

สวัสดีค่ะ  สายน้ำแห่งความคิด

  • อ่านแล้วดีจังนะคะบันทึกนี้  โดนใจไปหลายข้อ  แต่ไม่คิดมากอะไร  GotoKnow  ก็คือสังคมหนึ่งที่อยู่ได้ด้วยการร่วมกันคิด  ร่วมกันทำ 
  • ดีแล้วล่ะค่ะ  ที่จะได้เป็นเวทีแห่งการแสดงความคิด  รู้สึกบ้างที่เขียนแล้วไม่มีการตอบรับ   แต่ก็สุขใจทุกทีไปที่ได้เขียน  จึงลบล้างกันไป...ขึ้นอยู่กับการตั้งวัตถุประสงค์ของการเข้ามาที่นี่นะค่ะ

อยากเขียนต่ออีกค่ะ 

  • เวลามีน้อย  คอยเสริม  เติมต่อ

ให้หัวข้อ ดูดี  มีสีสัน

เวลามีน้อย  ค่อยค่อยเติม  กันและกัน

ทุกทุกวัน  ฉันและเธอ  จำนรรจา

  • บันทึกนี้ดีค่ะ  มีประโยชน์ค่ะ..ขอบคุณ

ขอบคุณ

P

ที่ให้กำลังใจ ในภาคปฏิบัติ ถือว่า...สอดคล้องกับภาคทฤษฎี

 

เรียนพี่วิชิต

  • สำหรับผมแล้ว G2K ได้ให้ประโยชน์แบบซึมซับ อาหารสมอง ทั้งในฐานะผู้บันทึก ผู้อ่าน และผู้แสดงความคิดเห็น
  • ได้เห็นความแตกต่างระหว่างความคิดของแต่ละบุคคล นำมาเปิดโลกแห่งความคิด อ่านไปคิดตามไป
  • จริงๆแล้วเว็บที่มีการบันทึกบล็อกก็มีมาก ยกตัวอย่างเช่น oknation.net/blog แต่เป็นเฉพาะด้านทาง "คอข่าว" ซึ่งยังไม่มีความหลากหลายอย่างเช่น G2K
  • สำหรับผมแล้ว "คนทำงาน" คงต้องใช้เวทีนี้ในการพัฒนาตนเอง ความรู้ ความคิด โดยไม่มีค่าลงทะเบียน มีกูรูมากมายที่บันทึกสิ่งดีดีให้เราได้อ่าน
  • และที่สำคัญความตั้งใจของผม คือ สร้างเครือข่ายการทำงานกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ด้านการประกันคุณภาพ ครับ

ขอบคุณครับ

กัมปนาท

ก้าวต่อไปอยากจะเห็นบริการที่ทำให้ blog หลายๆ ที่เข้ามารวมกันได้ อาจจะเป็นแบบ technorati
P ตอนได้อ่านชื่อบันทึกก็นึกไปด้วย
นึกคำตอบเองเพื่อมาตอบค่ะว่า
  • ผู้เขียนโปรแกรม&ดูแลระบบ
  • ผู้ใช้ ทั้ง Blogger และผู้เข้ามาอ่านหรือเก็บเกี่ยวความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำไปขยายผล
  • และสุดท้ายน่าจะเป็นตัวเครื่องมือเอง คือ G2K ที่จะตอบสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
พอมาอ่านรายละเอียด OK ค่ะอืมม..ประทับใจขอไปเล่าต่อนะคะ 
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ  ได้ความรู้เยอะมาก ๆ เลย   ยังไม่เคยเข้าร่วมอบรม KM สักครั้งเลยค่ะ  ได้แต่อ่านบทความแต่ก็มีความเข้าใจเรื่อง KM  นิดหน่อย  บทความที่อ่านก็ได้ความรู้มาจาก สายน้ำแห่งความคิด(คุณวิชิต) เป็นส่วนใหญ่ บทความน่าอ่านมาก ๆ ไม่น่าเบื่อ  เหมือนนักเขียนมืออาชีพเลยค่ะ   เก่งมาก ๆค่ะ

สวัสดีค่ะ

เห็นชื่อเรื่องแล้ว น่าเปิดอ่าน ดีนะคะ มีหลายข้อที่เหมือนใจตัวเองคิดไว้

ที่นี่ มีคนเขียนในหัวข้อหลากหลาย เขียนหลายสไตล์ ได้เห็นมุมมองหลาบแบบ  มีประโยชน์ค่ะ ดิฉันอ่านบันทึกของคนรุ่นหนุ่มสาวแล้ว ก็คิดถึงตัวเอง ในวัยนี้ ก็คล้ายๆอย่างนี้ มีไฟเยอะ ชื่นชมนะคะ

แต่เวลาผ่านไป ชีวิตมาอยู่ในระดับหนึ่ง ก็ชอบอะไรที่เป็นความสุนทรีย์ในชีวิตมากขึ้น เช่น ชอบถ่ายรูป วาดรูป แต่งสวน ไปเรียนรู้กิจกรรมทางspiritualแบบต่างๆ แต่ไม่เคร่งครัดเช่นที่ม.จุฬา ก็หลายแบบ  แค่อยากรู้อยากเห็น เปิดใจกว้างๆ  แต่มีหลักและมีวัดของตัวเองอยู่แล้ว   ไม่เปลี่ยนใจ  แต่ไม่อยากshareในส่วนนี้ เพราะเรื่องศรัทธาเป็นเรื่องเฉพาะตัว

เขียนอะไรเบาๆไป มีคนตอบรับบ้าง ก็ดีใจค่ะ แสดงว่าความสนใจของคนมีหลากหลาย และในคนเดียวกัน ก็สนใจหลายอย่าง ชีวิตมีหลายแง่มุมมากๆค่ะ

ขอบคุณ

P

ที่ให้ข้อมูลดีๆ ครับ ...เรื่องของ oknation.net/blog ก็เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในบันทึกต่อไปที่จะเขียน

ขอบคุณ

P

คิดว่าในไม่ช้านี้..เมืองไทยคงไปถึงแน่นอนครับ

ขอบคุณ

P

ที่แวะเวียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกู่สร้างสรรค์เหมือนท่าน อ.หมอ jj ว่าไว้

ขอบคุณ

ไม่มีรูป
กนกนุช

ที่เข้ามาเรียนรู้ ...แหมชมเกินไปแล้วครับ...มืออาชีพอะไรกัน

เห็นด้วยกับทุกท่านเลยค่ะ

และนอกเหนือจากนั้น  คือ  สังคมไทยค่ะ  ความรู้สู่สังคมอุดมปัญญา  และ go inter ด้วย  ^__*

สวัสดีและขอขอบคุณ
P

ที่แม้ว่าจะไม่เคยรู้จักมาก่อน ..แต่ก็นี้แหละครับ Social Networking เริ่มก่อเกิดแล้วครับ

เห็นด้วยกับแง่มุมในการใช้ชีวิตให้สุนทรีย์

ขอบคุณกัลยาณมิตร km
P
ที่กลับมา...ร่วมสร้างสรรค์ สังคมความรู้แบบไทยๆ

อ่านแล้วก็ใช่ครับ...

เหนือสิ่งอื่นใด อยู่ที่ตัวเราครับว่าเราจะเลือกรับอะไรและให้อะไร...

ความสำเร็จของ gotoknow ขึ้นอยู่กับทุก ๆ คนครับ...

ขอบคุณครับ...

ขอบคุณ

P
 ที่ให้เกียรติแวะมาให้ข้อคิดครับ

เรียนท่านวิชิต

 ความสำเร็จของ G2K อยู่ที่

  "เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ได้เริ่ม ผลิ แตกดอก ออกไป เป็น เวที ให้ชาวไทย ได้ ลปรร ครับ"

เรียน อ.หมอ jj ที่นับถือ (คนที่ 100 พอดี)

เห็นด้วยกับ..ธง...ที่ทุกภาคส่วนจะต้องไปให้ถึง ..แม้จะไกลแสนไกลเพียงใด...ก็ตาม

"การเรียนรู้ และการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมไทย เป้าหมายหลัก "สังคม อยู่ดี มีสุข เก่ง แกร่ง สามัคคี พลานามัยที่สมบูรณ์ เสมือนหนึ่งสายน้ำแห่งกาลเวลา ทุกคนสามารถเรียนรู้ร่วมกัน ก่อเกิด "พลังร่วม" ก็ขึ้นอยู่ทุกคนที่มีส่วน ช่วยรังสรรค์สังคมให้มีสุข เป็นสังคมที่ยั่งยืน ประหนึ่งมิได้หมายถึงสังคม gotoknow แต่เพียงอย่างเดียว รวมถึง สงัคมทั้งแวดวงการศึกษา สังคมชุมชน สังคมภาครัฐ เอกชน ประชาชน และทุกภาคส่วน ร่วมกันเป็น "สังคมแห่งการเรียนรู้และต่อยอดอยู่ตลอดเวลา "

สวัสดีครับคุณวิชิต

สบายดีไหมครับ ผมเข้ามาอ่านแล้วครับ แต่ไม่ได้ฝากรอยไว้นะครับ ได้อะไรหลายๆ อย่างๆ ครับ

สมาชิกจะเป็นผู้ขับเคลื่อนให้ผู้พัฒนาระบบเดินไปอย่างมีกำลังใจเช่นกันครับ...ความสุขจะเกิดร่วมกันในการเดินทางครับ

หากความรู้ตกถึงชุมชนและเกิดความสุขถึงชุมชนด้วยจะเกิดพลังให้สังคมร่มเย็นขึ้นครับ

ขอบคุณมากครับ

นับถือครับ

เ้ม้งครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท