คำรับรองการปฏิบัติราชการระดับสำนัก กศน.


มิติที่ 4 ด้านการพัฒนา ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด มิติที่ 4 ด้านการพัฒนาองค์กร ของ กศน.มีรายละเอียดดังนี้

  • ตัวชี้วัดที่11 ระดับความสำเร็จของแผนปฏิบัติราชการระดับสำนัก
  • ตัวชี้วัดที่12 จำนวนวันเฉลี่ยในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะการปฏิบัติงาน
  • ตัวชี้วัดที่13 ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในหน่วยงาน
  • ตัวชี้วัดที่14 ระดับความสำเร็จการปรับกระบวนทัศน์การปฏิบัติราชการแบบมุ่งเน้นผลงาน
  • ตัวชี้วัดที่15 ระดับความสำเร็จของการจัดทำมาตรการป้องกันการจัดกลุ่มการเรียนการสอนที่ไม่เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  • ตัวชี้วัดที่16 ระดับความสำเร็จของการถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายของระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล
  • ตัวชี้วัดที่17 ระดับความสำเร็จของการจัดทำระบบบริหารความเสี่ยง

สำหรับตัวชี้วัดที่ 12  : จำนวนวันเฉลี่ยในการพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับสมรรถนะการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุภารกิจในตัวชี้วัดนี้สถานศึกษาหรือหน่วยงานต้องดำเนินการประเมินสมรรถนะรายบุคคล เพื่อหาช่องว่างในการพัฒนา (Competency Gap)นำผลมาจัดเรียงลำดับสมรรถนะตามความสำคัญเร่งด่วน กำหนดเป็นแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) แล้วจึงกำหนด ระยะเวลา/วิธีการพัฒนาบุคลากรในสังกัดเป็นรายบุคคล เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการปฏิบัติงานในหน้าที่ การพัฒนาตามมติคณะรัฐมนตรี อย่างน้อยต้อง 10 วัน : คน : ปี  โดยเป้าหมายการพัฒนา จะต้องปลุกจิตสำนึกการปฏิบัติงานในหน้าที่ พัฒนากระบวนการคิด สร้างทัศนคติและค่านิยมที่ดีต่อองค์กร พัฒนาประสิทธิภาพ ทักษะ ความชำนาญในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่าและดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน  

     ทราบแล้วเร่งมือช่วยกันคนละไม้คนละมือทั้งแนวคิดแนวปฏิบัติในการบรรลุ เป้าหมายตามตัวชี้วัดที่ได้ลงนามรับรองระดับสำนักไปแล้วปีหน้า 2551 คงต้องลงนามรับรองระดับตัวบุคคล เร่งช่วยกันสร้างความรู้ ความเข้าใจโดยด่วนเน้อ.

สำหรับตัวชี้วัดที่13 ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในหน่วยงาน  

ระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ในหน่วยงาน หมายถึง การที่หน่วยงานสถานศึกษามีรูปแบบที่ชัดเจนของการรวบรวมฐานความรู้ที่มีอยู่ในตัวคน/องค์กร ซึ่งลักษณะของความรู้มี 2 ประเภท คือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ในตัวคน  ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์จึงต้องมีกระบวนการในการจัดการความรู้วิธีการต่าง ๆ ที่จะสกัดเอาความรู้ที่มีอยู่  ในตัวคนออกมาเผยแพร่ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป ความรู้ที่ชัดแจ้ง(Explicit  Knowledge) เป็นความรู้ที่ปรากฎในเอกสาร บันทึก หรือรายงานต่าง ๆ ขององค์กร เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ ดังนั้น จึงต้องมีระบบการจัดการความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือในเอกสารขององค์กร นำมาพัฒนาเป็นองค์ความรู้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพ และมีการถ่ายทอดและเผยแพร่แบ่งปันความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าถึงความรู้และพัฒนาหน่วยงาน/สถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่ยั่งยืนต่อไป เกณฑ์การให้คะแนนบรรลุเป้าหมายกำหนดดังนี้

ระดับที่

เกณฑ์การให้คะแนน

1

จำแนกองค์ความรู้เพื่อปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และอย่างน้อย 1 ในองค์ความรู้ ทั้งหมดที่ระบุต้องเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ   หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2

จัดทำแผนการจัดการความรู้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ของหน่วยงานและองค์ความรู้อย่างน้อย 2 องค์ความรู้ จะต้องสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอย่างน้อย 1 ในองค์ความรู้ที่เลือกต้องเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3

ผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานทราบแผนและภารกิจที่ต้องดำเนินการตามแผนและจัดส่งแผนให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนตามกำหนดเวลา

4

มีการดำเนินการตามแผนที่กำหนด และสามารถดำเนินการครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย  ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่กำหนดไว้  ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

5

มีการติดตามผลและรายงานการจัดการความรู้ตามกำหนดเวลา

ชาวกศน. ช่วยกันหน่อยนะให้บรรลุเป้าหมาย และส่งให้เกิดผลผลิตของงานที่มีคุณภาพต่อไป

หมายเลขบันทึก: 88917เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2007 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

                ข้อ 12 และ 13 ดีจังเลยครับ คนและองค์กรที่ได้รับการพัฒนาดีแล้วจะส่งผลต่องาน กศน.ให้ดีตามได้อย่างแน่นอน เรื่องนี้ผู้บริหารระดับต้นระดับกลางก็มีสำคัญไม่ยิ่งหย่อนนะครับ เข้าใจแล้วก็จะนำสู่การเปลี่ยนแปลงได้ ดูแล้วยังนิ่งๆอยู่ครับอาจารย์ ขันน๊อตหน่อยนะครับ

                 รายละเอียดตัวชี้วัดข้ออื่นอาจารย์อย่าลืมบอกต่อไปนะครับ

สวัสดีค่ะครูนง

  • ขอบคุณที่เข้ามาเป็นแฟนประจำของเจ็
  • ขอตอบคำถาม : ชี้วัดตัวอื่นๆ จะมีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบดูแลวิธีการก็แล้วแต่ผู้รับผิดชอบจะคิดแล้วดำเนินการ
  • ส่วนตัวชี้วัดที่ 12 และ 13 เป็นหน้าที่ของเจ๊และน้องส่องหล้า จากสถาบันสิรินธรจึงได้นำรายละเอียดมาเผยแพร่ให้ทราบก่อนบนบล็อกนี้  
  • สัปดาห์หน้าจะมีหนังสือแจ้ง(เป็นไปตามระบบราชการ)ให้สถานศึกษา/หน่วยงานดำเนินการ เป็นแบบสำรวจผลการดำเนินงานเรื่องการพัฒนาบุคคล และการจัดKMในหน่วยงาน
  • พอดีครูนงสนันสนุนให้เจ๊เขียนอะไรก็ได้ที่อยากเขียนจึงนำเสนอเรื่องนี้ไว้บนบล็อกด้วย       เผื่อชาว กศน.ผ่านเข้ามาพบเห็นจะได้ช่วยกันกระตุ้นเตือนและดำเนินการ ซึ่งทั้งสองเรื่องเป็นเรื่องที่ท้าท้ายและเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มากหากผู้เกี่ยวข้องดำเนินการแบบไม่แยกส่วน คือ ดำเนินการพัฒนาตามมติครม.ให้ได้อย่างน้อย 10 วัน : คน : ปี โดยใช้การจัดการความรู้เป็นกระบวนการพัฒนาซึ่งเชื่อมโยงเข้าไปในเนื้องานของ กศน.อย่างที่ครูนงเคยบอกไว้ เช่น งานพัฒนาคุณภาพชิวิต งานแก้ไขปัญหาความยากจน ฯลฯ ถ้าทำได้อย่างนี้จะเห็นชัดว่า KMเข้าไปช่วยในการแก้ปัญหาให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ครูนงช่วยคิดและแนะนำวิธีการว่าจะเผยแพร่ให้รู้ทั่วกันอย่างไรต่อไปนะ

                                  ขอบคุณหลายหลายเด้อ

 

 

         ยิ่งอ่านก็ยิ่งเห็นถึงความพยายามของเจ๊แอ๊วและของสำนักฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จะให้บุคลากรแต่ละคนมีแผนพัฒนารายบุคคล (Individual Development Plan) โอ! สุดยอดมาก อย่างงี้ทุกคนไม่ทราบไม่ได้แล้ว ถือเป็นหน้าที่ของทุกคนไปแล้วนี่ การที่จะให้ทุกคนได้รับทราบภารกิจที่ตนจะต้องทำ จะต้องพัฒนางาน พัฒนาตน พัฒนาองค์กรเป็นองค์กรเรียนรู้ LO หากเราไม่โยนกลองโทษคนโน้นคนนี้ ผมคิดว่าเริ่มที่ตัวเรา ตัวบุคลากรแต่ละคนนี่แหละครับ

        แต่ทำอย่างไรให้บุคลากรแต่ละท่านได้รับทราบเรื่องนี้ เรื่องความตั้งใจและความพยายามของสำนักฯ ความพยายามของเจ๊แอ๊วนี่ ผมว่ายากอยู่เหมือนกันนะครับ ว่าไปแล้ว การเรียนรู้ผ่าน ICT ผ่านบล็อก gotoKnow มีประสิทธิภาพมาก แต่ก็คิดว่ายังมีบุคลากร กศน.ที่เข้าถึงแบบนี้ยังมีกันน้อยอยู่ ยังนิยมเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเป็นแบบธรรมเนียมราชการคือรอหนังสือราชการอยู่เป็นส่วนใหญ่ อาจจะต้องยอมไปก่อนดีไหมครับ รอให้เขาได้ปฏิบัติไปตามนั้นก่อน แต่พร้อมๆกันนั้นเราก็ช่วยกันสร้างสังคมเสมือน สังคมชาวบล็อกควบคู่ไปด้วย อย่างที่ผมได้เรียนเจ๊แอ๊วไปแล้วว่าท้ายหนังสือราชการ อาจจะหยอดไว้ว่ารายละเอียด หรือรู้ข้อมูลเพิ่มเติม รู้ส่วนขยายความได้จากบล็อกของเจ๊ ของสถาบันฯสิรินธร ส่วนในระยะยาว ระยะที่แต่ละคนเข้าสู่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ เพิ่มขีดความสามารถตนเองในเรื่องใด ในงานใด หรือของสถานศึกษา ของหน่วยงานใด บอกหรือเล่าความรู้ฝังลึกในงานออกมา เรื่องบล็อกก็อาจจะใช่หนทางหนึ่งที่จะต้องสุมหัวกันคิดร่วมกันหลายๆฝ่ายเพื่อเสริมหนุนการเคลื่อนงานกันต่อไป

        ขอบคุณครับเจ๊แอ๊ว

       

ไอเดียพี่นงเข้าท่าดีครับ หยอดชื่อบล็อกไว้ท้ายหนังสือเลยนะเจ๊ จะได้มีคนเข้ามาดูเยอะ ๆ พึ่งกลับจากพะเยามาถึงหมาด ๆ เลย (พอดีไปธุระ)  เดี๋ยววันหลังจะให้ อ.ณัฐพรเข้ามาแจมด้วยครับ ช่วงอาทิตย์หลังสงกรานต์ ผมจะไปวางระบบ Internet ให้ ศบอ.จุน จ.พะเยา แล้วจะพาบุคลากรที่นั่นให้เรียนรู้เรื่องบล็อก แล้วเข้ามาเป็นแนวร่วมครับ

เรียน น้องรัฐเขต ผ่านเจ๊แอ๊ว

          ชอบวิธีสร้างแนวร่วมเขียนบล็อกแบบของน้องรัฐเขต รู้สึกว่าเป็นธรรมชาติดี ตั้งวงคุยเล็กๆกับกลุ่มเป้าหมายที่อยากทำจริง ในที่สุดกลายหลายวงก็จะใหญ่เองแหละครับ อย่างงี้จะยั่งยืนกว่าแนะนำเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ยิ่งแนะนำอย่างไม่เป็นทางการได้ ซึมลึกแบบคอมมูนิสต์นั่น สุดยอดเลย

         เจ๊แอ๊วคงปลีกเวลาเข้าในบล็อกไม่ได้ใช่ไหม หรือไม่เจ๊ก็อยู่ในช่วงเดินไปติดตามอะไรที่ไหนสักที่หนึ่งใช่ไหมเอ่ย ไม่เข้ามาคุยกันเลย คิดถึงครับ

 

สวัสดีค่ะครูนง

  • กำลังยุ่งเรื่องโครงการสถาบันพระปกเกล้าและการแจ้งเวียนตัวชี้วัดจะเอาบล็อกใส่ท้ายหนังสือราชการอย่างไรให้ดูดีเพราะเป็นเรื่องใหม่ใครที่ไม่คุ้นเคยจะหาว่าทำอะไรนี่บนหนังสือราชการ กำลังคิดอยู่อะ
  • ใครกันแน่ที่ยังไม่ตอบคำถามเจ๊ หาดูซิหน้าไหนเอย ที่ขาดหายไปไม่ได้ไปไหนท่องบล็อกอยู่ตลอดแต่ไม่ได้คุย ยังติดตามอ่านบล็อกของ ครูนงตลอดแต่บ้างเรื่องไม่ถนัดเช่นสูตร 555
  • พอดีพบบล็อกที่น่าเสียดายมากที่สุดที่คุณหมอวิจารณ์แนะนำวิธีการทำ KM กศน.ไว้ไม่ได้มีใครมาต่อยอดความคิด เพิ่งอ่านเจอน่าเสียดายมาก แต่จะพยามหาแนวทางทำตามกระบวนการที่ท่านแนะนำ  อาจต้องใช้เวลาแต่ก็มีแนวร่วมอย่างครูนง น้องรัฐเขต ท่านดิศกุล คิดว่าคงสำเร็จก่อนเจ๊เกษียณล่ะมั้ง แหะ แหะ

เจ๊แอ๊ว ครับ

          ระหว่างที่รอคน กศน.คนอื่นๆมาร่วมพูดคุยด้วย เราก็พูดคุยไปพลางๆก่อนนะครับ ดีไหมเจ๊ บันทึกเก่าของท่าน อ.หมอวิจารณ์ ใช่บันทึกนี้ ลิ้งค์อ่าน
หรือบันทึกนี้ ลิ้งค์อ่าน

         หรือบันทึกไหนครับ ช่วยไขขานด้วยนะเจ๊

         เออ ว่าแต่ว่าผมค้างตอบคำถามใดเจ๊อยู่บ้างหรือครับ

แวะมาเยี่ยมบ้าน อ.แอ๊ว ค่ะ  ทำให้รู้จัก กศน.มากขึ้น

ช่วงนี้กำลังไปหาประสบการณ์ค่ะ

 

เอาไงเอากันครับ ว่าแต่ช่วงสงกรานต์จะหยุดยาวเน้อ.... วันที่ 18 - 20 เม.ย.50 จะไปราชการที่ จ.พะเยาครับ จะไป set ระบบ internet ให้ ศบอ.ที่นู่น แล้วจะสอนให้เค้าเข้ามาแลกเปลี่ยนในบล็อกด้วย ถ้าสำเร็จก็จะได้แนวร่วมจากทางเหนือเพิ่มขึ้นอีกครับ......

ท่านรองน้องรัก

  • ขับรถดีๆๆเน้อ เดินทางปลอดภัยนะ
  • แล้วพบกันหลังสงกรานต์นะจะ ฝากความระลึกถึงไปยังครูณัฐด้วยอะ

ขอบคุณในคำอวยพรครับ

ว่าแต่ว่า วันที่ 24 - 28 เม.ย.นี้ ต้องไปประชุมเรื่องพัฒนาบุคลากรฯของศูนย์ภาคฯ ที่ จ.ลำปาง (จากเดิมจะจัดที่ภาคตะวันออก เค้าเปลี่ยนไปจัดที่ลำปางเจ๊คงรู้แล้วนะ) ผมไปกับ อ.ส่องหล้า ส่วน อ.ติ๊ก ต้องไปอยุธยา ผอ.ไปสำนักฯ  ช่วงนี้ชาวสถาบันฯ เดินสายกันเพียบเลย ส่วนเรื่องโครงการพัฒนาบุคลากรที่เจ๊เสนอสำนัก วันนี้ อ.ติ๊กพยายามติดต่อเจ๊กะ อ.แดง เพื่อขอสำเนาหนังสือว่า ผอ.สำนักฯ สั่งการว่ายังไง ให้ ผอ.สถาบันฯทราบ สงสัยต้องขอรบกวนเจ๊ตรงนี้ให้ช่วย Fax ให้ด้วยนะครับ  เพื่อทางสถาบันฯ จะได้เอามาวางแผนเบื้องต้น ก่อนไปหารือกับเจ๊ในช่วงต่อไปครับ

ขอบคุณ อาจารย์ประทุมทิพย์ รศ.นพ.จิตรเจริญ และคุณศุภราภรณ์  ที่ให้เกียรติเข้ามาเยี่ยมชม blog ของผม และ ส่งข้อความมาให้กำลังใจ 

หากมีโอกาสหวังว่า ท่านคงให้เกียรติแวะเข้ามาเยี่ยมชมอีก

ขอถือโอกาส สวัสดีปีใหม่ ไทย  ขออำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อำนวยพรให้ท่านและครอบครัวมีแต่ความสุขและความสำเร็จยิ่งๆ ขึ้นไป

 

สวัสดีครับ

สวัสดีครับ อ.แอ๊ว คุณราณี  และผู้อ่านทุกท่าน

 

ต้องขอขอบคุณทั้งสองท่านที่ให้เกียรติ แวะมาติดตามอ่าน สาระจาก Blog ที่ผมเขียนไว้ ดีใจครับที่ทราบว่า อ.แอ๊ว ชอบบทความที่ผมเขียนไว้ และดีใจที่ คุณราณี ได้แชร์ประสบการณ์มาด้วย

 

 

จากข้อความข้างต้นของคุณราณี  ผมจับประเด็นได้หลายประเด็น  ที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง องค์กร ทั้งรัฐและเอกชน ทั้งเล็กและใหญ่ ผมเขียนอธิบายแนะนำ ตามความรู้และประสบการณ์ ไว้เป็นสีน้ำเงิน ครับ 

เรียนเชิญทั้งสองท่าน อ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/HRM-YOM5/57899

เกี่ยวกับการคำรับรองการปฏิบัติราชการระดับสำนัก กศน น่าสนใจครับ  ขณะนี้ ผมกับ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้เข้าไปช่วยแนะนำ ให้กับ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ  เกี่ยวกับ มาตรฐานบริหารงานบุคคล ตามแนว HR Scorecard   ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำระบบมารตรฐานการบริหารให้กับราชการ คงได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ต่อกันน๊ะครับ  ขอบคุณอาจารย์ ที่ให้เกียรติ ติดตามอ่านบทความที่ผมเขียนไว้ สงกรานต์ปีใหม่ไทย ขอให้ อาจารย์มีความสุข มาก ๆ ยิ่งขึ้น ตลอดไป ครับ 

สวัสดี

สวัสดีครับ อ. แอ๊ว
    ขอขอบคุณมากครับ ที่ไปเขียนให้กำลังใจผมในการปฏบัติงาน ผมเพิ่งกลับจากการประชุมที่นนทบุรี มาเปิดอ่านบล็อค ได้เห็นข้อความที่เป็นกำลังใจในการทำงาน ดีใจครับ จึงตามมาอ่านข้อเขียนของอาจารย์ทุกเรื่อง มีประโยชน์มากครับ เพราะผมทำงานเรื่อง ICT และเรื่องพัฒนาบุคลากรด้วย และปีนี้จะทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง e-Training จึงได้แนวทางจากอาจารย์มากมายเลยครับ จะนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติ 

    เรื่องการนำเอาบล็อคไปเข้าแพลนเน็ต ความจริงครูนงไม่ได้บังคับนะครับ เพราะตามปกติแล้ว ถ้าผมเห็นบล็อคของ กศน. ผมจึงนำมาเข้าแพลนเน็ตทันที

  ต้องขอขอบคุณมากครับ ที่ให้กำลังใจในความพยายามในการทำงาน ไม่ทัอถอยแน่ครับ แต่ถึงท้อ ก็ไม่ถอย ยิ่งมีความพยายามมากขึ้น และยิ่งได้รับกำลังใจอย่างนี้ ยิ่งไม่ถอย

วรินทร์ธร กมลภูธนาพันธุ์
ขอเป็นกำลังใจให้พี่แอ๊วค่ะ มีความพยายามมากๆ และจะติดตามข่าวตลอดไปค่ะ

ขอบคุณค่ะวรินทร์ธร กมลภูธนาพันธุ์

  • ที่เข้ามาเป็นกำลังใจให้พี่
  • หายเหนื่อยไปตั้งเยอะ
  • แจ้งที่อยู่ในบล็อกของน้องให้ทราบด้วย
  • พี่จะได้เข้าไปเยียมเยียนน้องบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท