ชีวิตที่พอเพียง : 254. ธรรมกาย


        มีคนส่ง อี-เมล์นี้มาถามผม ว่าผมมีความเห็นเกี่ยวกับธรรมกายอย่างไร

Dear .......,
 
we have got a problem here that may become serious and should you be able to help please do so:
 
Dhammakaya has been trying to get accepted as a member of the german buddhist union, thereby gaining acceptance and respectability, those attempts have been stalled up to now. Recently though they invited some of the commity members to Thailand and won them over. They say they have cleaned up their act and everything were just rumors or things of the past. So unless we can come up with some hard facts that have validity today or some clear statements of people like you with knowledge of the situation, we?ll have them take over theravada buddhism in germany pretty soon I?m convinced.
Could you please write a few lines on Dhammakaya and send them to me and maybe even ask others you know to write something too.
 
Thanks a lot,
..........

         ผมเอาชื่อคนออกเสีย     คิดว่าเป็นมารยาท และไม่อยากให้เขาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้ง

         ผมตอบไปว่า    ผมเข้าใจว่าผมไม่รู้จักธรรมกาย     เพราะไม่เคยเอาใจใส่     เคยแต่อ่านหนังสือ "สวนโมกข์  สันติอโศก  และธรรมกาย" ที่ อ. หมอประเวศเขียนเมื่อนานมาแล้ว     และเคยทราบว่าท่านมโนที่เรียนจบแพทย์และไปบวชอยู่กับธรรมกาย     ไปศึกษาต่อต่างประเทศ    กลับมาอยู่กับธรรมกายจนทนวิธีการหลายอย่างไม่ไหว      จึงแยกตัวออกมา     เกิดเป็น scandal หรือเรื่องอื้อฉาวอยู่พักหนึ่งก็เงียบไป     แต่ผมก็ไม่เคยสนใจรายละเอียด

          อ. หมอประเวศ บอกว่า     สวนโมกข์เน้นปัญญา     สันติอโศกเน้นศีล    และธรรมกายเน้นสมาธิ     ซึ่งต่างก็มีส่วนดี  

         ผมชื่นชมธรรมกายในความสามารถในเทคนิควิปัสสนากรรมฐาน     และชื่นชมความสามารถด้านการจัดการ

         แต่ผมเคยได้ยินว่า ธรรมกายสอนว่าทำบุญมาก ได้บุญมาก    ทำบุญล้าน ได้บุญ ๑๐ เท่าของทำบุญแสน     ซึ่งไม่ทราบว่าสอนอย่างนี้จริงหรือไม่     ผมไม่เห็นด้วยกับคำสอนแบบโฆษณาชวนเชื่อแบบนี้

          อีกอย่างหนึ่งที่ผมไม่เห็นด้วย คือการทำกิจกรรมแบบมุ่งความยิ่งใหญ่อลังการ     โดยบางครั้งก็ใช้เทคนิคทางภาพ หรือทางอื่นๆ ที่ผมมองว่าคล้ายเป็นการสร้างภาพแบบหลอกๆ     ผมมองว่าวงการศาสนาควรจะบริสุทธิ์จากวิธีการแนวนั้น     ที่ผมเรียกว่าเป็น "การตลาด"     ผมรู้สึกว่าธรรมกายใช้ยุทธศาสตร์การตลาดมากไป     จนคนอย่างผมจั๊กกะจี้ในด้านความบริสุทธิ์ในศีล

         ผมมองว่า ธรรมกายขาดความพอดี    ไม่อยู่ในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง     มุ่งทำใหญ่ คิดการใหญ่ ด้วยกลอุบายที่คนจำนวนไม่น้อย (รวมทั้งผม) ไม่ยอมรับ     แต่ก็มีคนศรัทธาไม่ใช่น้อย   

          แต่ผมก็ไม่ยืนยันว่าผมเข้าใจธรรมกายอย่างถูกต้อง    เพราะผมไม่เคยทำความเข้าใจอย่างจริงจังเลย

วิจารณ์ พานิช
๒ เม.ย. ๕๐

หมายเลขบันทึก: 89235เขียนเมื่อ 9 เมษายน 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

ขอบพระคุณครับ
    อยากให้ทุกวัด ทุกสำนักที่อ้างตัวว่าเป็นพุทธ ได้ทำหน้าที่อันบริสุทธิ์ นำผู้คนสู่อิสระครับ 
    ผมมีเกณฑ์ส่วนตัว ที่จะใช้พิจารณาวัดหรือสำนักทางพุทธว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ดังนี้ครับ

  • สำนักใดยิ่งสอนยิ่งทำให้คนติดยึดสถานที่หรือวัตถุ และยึดติดครูอาจารย์ ทุกข์มาเมื่อไรต้องไปหา .. จะแก้ทุกข์ต้องไปวัดนั้น หรือพบอาจารย์เจ้าสำนักนั้น .. ผมตอบตัวเองทันทีว่า ไม่ใช่
  • สำนักใดยิ่งสอนยิ่งทำให้คนหลุดพ้นจากทุกข์ ไม่แบกของหนักอย่างโง่ๆอีกต่อไป .. ลดอัตตา ตัวตนลงได้ .. สร้างประโยชน์เกื้อกูลโลกได้มาก .. ผลักคนให้อิสระจากวัดและครูอาจารย์ โดยไม่หวังอามิสกระจอกๆ .. นั่นแหละ ใช่เลย ของผมล่ะ

 

ขออนุญาตเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า

 

"ผมรู้สึกว่าธรรมกายใช้ยุทธศาสตร์การตลาดมากไป     จนคนอย่างผมจั๊กกะจี้ในด้านความบริสุทธิ์ในศีล" 

 

ครับ  

ผมเชื่อหลายคนเป็นพุทธ เพียงในนาม ในทะเบียนบ้าน เคยลองเข้าวัดทำบุญ ปฏิบัติธรรม กันบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่เคยเลย ก็ไม่สมควรที่จะวิพากวิจารณ์ในสิ่งที่เราไม่รู้ ไม่เข้าใจ ผมเองเคยบวชและปฏิบัติธรรมอยู่ที่สวยโมกข์ มีความรู้เพียงน้อยนิด แต่เคยกราบเรียนถามพระอาจารย์ เรื่องธรรมกาย ท่านเองบอกว่าการปฏิบัติธรรมมีตั้ง 40 กว่าวิธีที่เราจะสามารถเข้าถึงนิพพานได้ แล้วแต่จริตของคน เพราะฉนั้นไม่มีอะไรถูกอะไรผิด เรื่องการตลาดถ้าใครเคยอ่านพระไตรปิฏก ก็จะเห็นว่ามีตั้งแต่สมัยพุธทกาล ไม่แปลกอะไร ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่พระองค์ท่านใช้ในการเผยแผ่พระศาสนา .... ถ้าเราคิดว่าไม่ใช่จริตของเรา ก็อย่าไปยุ่งครับ หาแนวทางที่เหมาะกับเรา และขอให้ลองศึกษาธรรมกันจริงๆ ดีกว่าครับ จะได้ไม่มีบาปติดตัว โดยไม่รู้ตัว และสำหรับท่านที่ไม่มีศาสนา หรือนับถือศาสนาอื่นละก็ ผมว่าอย่าเที่ยววิจารณ์เลยจะดีกว่าครับ...

เกี่ยวกับ"ธรรมกาย" ส่วนตัวไม่รู้ลึกซึ้งมากมายนัก  ก็เคยอ่านหนังสือของนพ.ประเวศ  วะสี  ที่เขียนผ่าตัด "สวนโมกข์  สันติอโศก  ธรรมกาย"

เคยพานักเรียนไปไปสัมผัส"วัดธรรมกาย" ตอนที่พานักเรียนไปสอบแข่งขัน"มงคลชีวิต"   การจัดสถานที่ และการต้อนรับผู้ไปเยือนนับว่าดีมาก  อาศัยเครือข่าย
นิสิตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยบางแห่งมาช่วย ...

นับว่าการจัดการดี

การปฏิบัติเน้นสมถกรรมฐาน(สมาธิ)  โดยอาศัยเพ่งลูกแก้วในศูนย์กลางกายก็เป็นอุบายวิธีเพื่อให้จิตสงบ ตั้งมั่น หากฝึกและนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ก็ดี

แต่ที่ไม่ค่อยสบายใจและข้องใจก็เกี่ยวกับเรื่อง"นิพพาน"ของธรรมกายซึ่งเคยอ่านวิวาทะเรื่องนี้ในหนังสือนิตยสาร"สมาธิ"ระหว่างผู้รู้แต่ละสำนัก
ไม่ตรงกัน  ถ้าจำไม่ผิดทางธรรมกายบอกว่าสามารถไปเฝ้าเห็นพระพุทธเจ้าได้    ทั้งที่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าพระองค์ดับขันธปรินิพพานแล้ว  พระพุทธเจ้าดับสิ้นทั้งกิเลศและสังขาร  จึงไม่น่าจะมีปรากฎให้เห็นองค์จริง

อีกเรื่องคือเรื่องการทำบุญ  ทราบจากผู้ที่เคยเข้าไปนั่งปฎิบัติสมาธิในกรด จะมีคนมากระซิบถามว่าจะทำบุญเท่าไหร่    ทำนองว่า ทำบุญเยอะๆจะได้รับผลบุญเยอะตามไปด้วย   ทุกปีจะมีผ้าป่าหรือกฐินส่งเป็นเครือข่ายออกไปเรียไรเป็นสายๆ  กล่าวกันว่าค่าใช้จ่ายของวัดธรรมกายเดือนหนึ่งๆตกถึง  15  ล้านบาท   ทำให้เกิดการ"เมาบุญ"กันยกใหญ่   บางคนทะเลาะกันภายในครอบครัวเรื่องเอาเงินไปทำบุญ กับว้ดนี้

ตอนหลังทราบว่าวัดนี้ใช้เป็นที่ประชุมมีนัยทางการเมืองแอบแฝง  เนื่องจากผู้สนับสนุนรายใหญ่ของวัดนี้เป็นภริยานักการเมืองคนดังเสียด้วยซี

สรุปโดยรวม ผมไม่ศรัทธาแนวทางการดำเนินการด้าน"การตลาด" ของทุกว้ดที่เน้นเงินเป็นสำคัญ

 

เข้ามารับฟัง และยกมือเห็นด้วยกับ อ.
P
 ครับ

แต่ผมก็ไม่ยืนยันว่าผมเข้าใจธรรมกายอย่างถูกต้อง    เพราะผมไม่เคยทำความเข้าใจอย่างจริงจังเลย.....

 ถ้าคุณยังไม่เคยทำความเข้าใจอย่างจริงจัง .... แล้วที่พูดมาอย่างนี้ ไม่ดีเลยครับ ทำไมไม่ลองศึกษาก่อนล่ะครับก่อนที่จะนำมาเผยแผ่แบบนี้ ศึกษาแบบทุกองศานะครับ คืออย่าฟังความข้างเดียวครับ

 

 

   ที่นี่น่าจะเป็นที่สะท้อนความเชื่อ ความคิด ไม่ได้สรุปถูกผิด โดยเชื่อว่าทุกคนมีปัญญาที่จะรับข้อมูลอย่างฉลาด  โดยไม่ต้องตกเป็นทาสความคิดใคร .. ท่านเจ้าของบันทึกก็บอกชัดแจ้งว่าจากข้อมูลที่ท่านมีและรับรู้มา  ทำให้ท่านคิด และรู้สึกอย่างนั้น .. ทั้งยังสารภาพว่าไม่ยืนยันว่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง .. ท่านก็บอกเป็นนัยๆอยู่นะครับว่า  อย่าเชื่อตามท่านอย่างไร้เหตุผล .. ผมว่ากาลามสูตรคือเครื่องมือชั้นยอด  นำมาใช้เถอะครับ .. ถ้าใครจะมาต่อตรงนี้ผมว่าควรเสนอมุมมองความคิดของท่านแต่อย่าได้ไปวิจารณ์ความคิดใคร .. หากข้อมูลใดที่เห็นว่า ไม่ใช่  ก็จงเสนอสิ่งที่ท่านคิดว่า ใช่ มา หักล้างอย่างสร้างสรรค์ 
     ทำความจริงแท้ให้ปรากฏ เป็นกุศลกรรมครับ  ผมอยากอ่าน  อยากเรียนรู้  แต่ไม่อยากรับรู้การระบายอารมณ์ของใคร
    ขอบคุณครับ
ผู้ปกครองของเด็กที่ถูกชักชวนให้บวชต่อ
เป็นผู้ปกครองเด็กและทางวัดชักชวนให้บวชต่อทั้งๆที่เด็กยังเรียนไม่จบปริญญา   ต้องใช้วิธีจะไปฟ้องหนังสือพิมพ์จึงสามารถเอาลูกออกมาได้   ระหว่างไปวัดเห็นหลวงพ่อสอนใครให้เงินมากบุญก็มากก็คิดว่าไม่ใช่สิ่งที่เราคิด   หลังจากลูกสึกก็มีขบวนการติดตามและชักชวนทั้งโทรศัพท์และจดหมายจนรู้สึกกลัวเกือบห้าปีจึงจางหายไป   ไม่บอกว่าดีหรือไม่ดีเพียงแต่มาเล่าให้ฟังตามที่ประสบมาเพื่อให้ยุติธรรมต่อผู้อ่าน

ขอบคุณคุณ Handy ที่มาช่วยชี้แจง การออกความเห็นของท่านอ.หมอวิจารณ์และของพวกเราค่ะ

เห็นด้วยว่า เรามีสิทธิจะออกความเห็นของเรา (ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้จนถ่องแท้ ขอเพียงบอกให้ชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่เราคิดไม่ใช่ fact) แต่ไม่ควรวิจารณ์ความคิด การคิดของผู้อื่น ควรเพ่งเล็งที่"เนื้อหา"ที่ต้องการเสนอให้แตกต่างมากกว่า

เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดจังนะคะ ที่เขาว่า "รักจะคุยกันนานๆ อย่าคุยเรื่อง การเมือง หรือศาสนา"

แต่นี่เรากำลังช่วยกันส่งเสริมวัฒนธรรมการออกความคิดเห็น เรื่องไหนๆก็ควรทำได้ ขอให้อยู่บนพื้นฐานของความเคารพผู้อื่นเท่านั้นเอง ใช่ไหมคะ

ไม่เคยทำความเข้าใจธรรมกายจริงจังเหมือนกันค่ะ ทั้งๆที่มีผู้ชักชวนมากมายในสมัยหนึ่ง เพราะไม่ชอบวิถีปฏิบัติหลายๆประการ แต่ก็คิดเหมือนอ.หมอเกือบ 90% ค่ะ อยากให้คนที่เป็นผู้ที่รู้เข้าใจเกี่ยวกับธรรมกายจริงๆ มาแสดงความเห็นเหมือนกันนะคะ อยากทราบมุมมองที่เรายังไม่เข้าใจน่ะค่ะ ให้ขวนขวายเองก็ไม่ใช่สิ่งที่อยากทำ

ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องของธรรมกายมากเท่าไหร่เหมือนกันครับ

 

่นี่ผมก็ออกความเห็นของผมเหมือนกันครับ

 

ผมว่าความรู้สึกของพวกคุณที่ผมเสียมารยาทออกความเห็นเชิงคัดค้าน 

อ.หมอ ของทุกคน คงเหมือนความรู้สึกที่ผมที่มาอ่านบทความนี้ครับ

มีคนส่งบทความที่ลงใน The Nation 27 September 2006 ดังต่อไปนี้มาให้

TRT and Dhammakaya Temple - perfect match

Being a former core member of Phra Dhammakaya Temple for nineteen years, I am compelled to write this article after having observed the latest developments in both Thailand's largest Buddhist community and its largest political party. It is my hope that this might shed light on certain aspects of the new socio-spiritual relationship, which may jeopardise national security.

I believe that the Thai Rak Thai Party and Phra Dhammakaya Temple make a perfect couple. The only difference between them is that one is a political party and the other a Buddhist monastery. They share the same philosophies of management and administration and both use the media relentlessly for self-promotion. Thai Rak Thai and Phra Dhammakaya Temple are huge organisations - two of the largest and most powerful in the country. Their leaders are known to be shrewd investors, bold enough to take on new risks - both are equally fond of the latest technologies, capitalism and modernism in general. However, while their leaders are strong, they have also both been tainted by allegations of corruption and embezzlement. Not only are their goals the same - to assume power - but they also share common enemies.

Seven years ago, while Thailand was in the midst of an economic crisis, Phra Dhammakaya Temple launched a massive fundraising campaign to assist in its ambitious plans to construct a gigantic pagoda. This pagoda, worth over US$500 million (Bt18.7 billion) was named the Dhammakaya-cedi. In order to encourage the public to support this project, the leadership of the temple claimed that its guru possessed supernatural powers. This brought the temple a great deal of criticism in the media.

The crisis the temple's administrators faced at the time was the worst a Thai Buddhist monk could ever imagine. First, there was a series of four letters issued by the Supreme Patriarch of Thailand commanding that the abbot be defrocked. Then, a series of investigations of the temple's finances followed. The temple's abbot was charged with several counts of embezzlement and public fraud, including one count of lese majeste against HRH Crown Prince Maha Vajiralongkorn. All of these were serious charges. Criticisms against Phra Dhammakaya Temple extended not only to its aggressive fundraising, but also regarding the heterodox promotion of Buddhism and the abbot's lavish lifestyle. In retaliation, the abbot of Phra Dhammakaya Temple, Dhammajayo, retaliated aggressively. His lawyer filed a lawsuit against every individual who had (supposedly) incorrectly quoted his name or misinformed the public. The abbot also expanded his mission by whatever means were available before he was forced to officially resign from his position. Phra Dattajivo, his deputy, became abbot, however for practical purposes Phra Dhammajayo remained in control.

Realising that his true enemy was neither the Ecclesiastical Council nor the Thammayuttikanikaya sect, the former abbot turned to politics in order to restore his power. In the senatorial elections of 2000, Dhammajayo supported candidates with links to the Thai Rak Thai Party.

The former abbot of Phra Dhammakaya Temple was the first one to initiate contact with members of Thai Rak Thai. It was decided that the Thai Rak Thai Party would have Dhammakaya's backing. Thai Rak Thai representatives were given the opportunity to speak to the temple's followers, who were urged to cast their votes for the party, as it would naturally be beneficial for their master and temple.

According to the law of karma as promoted by the temple, Thaksin Shinawatra was hailed as the ideal lay Buddhist, who had been blessed by the merit of his past lives and was endowed with a great many virtues. The temple played a song praising Thaksin composed by the Phra Dhammajayo himself on its Dow Tham satellite television channel - broadcasting 24 hours a day. However, the gathering clouds of controversies and criminal investigations surrounding him prevented Thaksin from visiting the temple. Nevertheless, senior Thai Rak Thai leaders, such as Sudarat Keyuraphan and Suriya Jungrungreangkit, began regularly attending the monastery.

The Thai Rak Thai-Phra Dhammakaya Temple relationship proved mutually beneficial. It allowed the Thai Rak Thai Party to promote itself with greater efficiency. Phra Dhammakaya Temple also began broadcasts on Dow Tham. Using a massive budget and having recruited qualified personnel - all inspired by the Doctrine of Dhammakaya - the satellite television channel produced a series of programmes, enriched with computerised images and attractive animations, thus capturing the eyes of the younger generation. The star of the channel is Phra Dhammajayo, whose talk-shows have dealt with the retribution of karma - ie the whereabouts of people after their deaths, thus revealing his transcendental insight.

However, the Tipitaka (the Buddhist canon) reserves this insight for the Buddha only.

Never before in its history was the temple able to expand its powers so quickly. The temple was able to significantly build up its local, national and international networks after Thai Rak Thai came to power.

At the end of August of this year, all legal cases against Phra Dhammajayo were released from the judicial process. These decisions were based on utilitarian grounds - in consideration of the former abbot having returned all the money he and his disciples had taken for the pagoda, and because he had contributed to the public good by teaching Buddhism. The former abbot of Phra Dhammakaya Temple has now been cleared of all criminal charges, much to the delight of his followers. However, this is a source of great dismay to other Buddhists, who feel that justice was not served. The political turmoil facing Thaksin Shinawatra's leadership this year cemented the relationship between the Thai Rak Thai Party and Phra Dhammakaya Temple.

For Phra Dhammajayo, victory for the Thai Rak Thai was the equivalent of a victory of his own, and votes for that party were the same as votes for the security of his temple.

The political turmoil of this past year has completely changed the nature of politics and the religious landscape of Thailand for good. Followers of Phra Dhammakaya Temple and Thaksin believe that the alliance between the two serves their best interests. It must be remembered that the overarching threat to Thailand is no longer just Thaksinomics, but the real menace is the Dhammakaya-TRT consortium.

General Sonthi Boonyaratglin said that last week's coup was triggered by the deep divisions in Thai society. There is little doubt that the unholy alliance between Phra Dhammakaya Temple and Thai Rak Thai has contributed in no small part to this polarisation.

In the wake of the coup, both Thai Rak Thai and Phra Dhammakaya Temple have kept a low profile. They can be expected to lay low for the time being waiting for an opportunity to spring back. Their greatest concern is what the coup-makers and the interim civilian government plan to do with them in the course of trying to uproot the culture of deceit and corruption by the Thai Rak Thai Party and what the likely repercussions of this would be for Phra Dhammakaya Temple.

Mettanando Bhikkhu

Special to The Nation

จึงนำมาลงไว้

วิจารณ์

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพและท่านผู้ออกความเห็นทุกท่าน

       ผมอยากเรียนให้ทราบข้อเท็จจริงข้อหนึ่งว่า คำว่า"ธรรมกาย" จริงๆ นั้นเป็นชื่อของ "วิชา" หนึ่ง ที่สอนโดยหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มิได้หมายถึงชื่อของ สถานที่, สำนัก, หรือวัดใดๆ

      ผมเองก็ศึกษาในแนววิชานี้มาบ้าง พบเห็นว่า คนทั่วไปมักจะสับสนระหว่าง "วิชาธรรมกาย" กับ "วัดพระธรรมกาย" ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน

      หลวงพ่อวัดปากน้ำมีศิษย์มากมาย วัดธรรมกายก็เป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของท่าน แต่หลังจากที่อาจารย์คือ หลวงพ่อวัดปากน้ำได้มรณภาพลง ศิษย์แต่ละคนก็แยกย้ายกันออกไปคนละทิศคนละทาง ต่างก็ไปตั้งสำนัก วัด หรือสอนกันเอง 

      เมื่อมองผิวเผินจะดูคล้ายกัน แต่เมื่อศึกษาเข้าจริง แนววิชาต่างกันโดยสิ้นเชิงครับ

      ท่านผู้สนใจจริงๆ สามารถตามมาอ่านหนังสือซึี่งเป็นเนื้อหาวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับวัดใดทั้งสิ้น เขียนโดยท่านอดีตผู้ช่วยศึกษาธิการจังหวัดจันทบุรี หนึ่งในศิษย์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำคนหนึ่ง ได้ที่ www.kayadham.org หรือผลงานเผยแพร่ที่ www.wisdominside.org ได้เลยครับ

       ท่านจะไม่เคยพบเห็นเนื้อหาวิชาธรรมกายจริงๆ ที่ไหนที่เป็นแบบนี้อีกแน่นอนครับ

เดลินิวส์ 5/1/2542

  

 
ที่สุดแห่งธรรม"หลวงพ่อสด"
พ้นกับดัก"ธรรมกาย"43ปี

ในบรรดา 1 ใน 4 ปัญหาของวัดพระธรรมกาย ที่มีแนวทางผิดเพี้ยนจากศาสนา ซึ่งกรมการศาสนาสรุปออกมาแล้วได้แก่ คือ คำสั่ง สอนของวัด ไม่ว่าจะเป็นการสอนเพื่อเน้นการทำบุญอย่างเดียว การสอนว่านิพพาน เป็นสถานที่มีพระพุทธเจ้าไปนั่งอยู่ในนั้น
 
โดยสามารถเห็นได้จากการนั่งสมาธิแนวธรรมกาย ขนาดที่ในการเทศนาวันอาทิตย์ที่ 3 ม.ค. พระไชยบูลย์ ธัมมฺชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังยืนยันต่อหน้าลูกศิษย์ว่า แนวทางของธรรมกายนิพพานเป็นสถานที่ มีตัวตนคืออัตตา เป็นนิจจัง เที่ยง และเป็นสุข ซึ่งไม่สนใจหลักศาสนาที่ว่าทุกสิ่งเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยง ทุกขัง คือเป็นทุกข์ และอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน
อย่างไรก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีเอกสาร และหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า วิชชาธรรมกายที่ก่อกำเนิดโดยหลวงพ่อสด จันฺทสโร หรือหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น เป็นแนวทางที่ทำให้เกิดการหลงงมงายได้ง่าย ๆ
ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานจากคำสอนใน พระไตรปิฎกที่ พระธรรมปิฎก หรือเจ้าคุณปยุต ปยุตฺโต เรียบเรียงออกมาเป็นหนังสือชื่อ "นิพพาน อนัตตา" ที่ยืนยันนิพพานไม่ใช่สถานที่ และไม่มีตัวตนไปจนถึงหลักฐานการที่ เสฐียร พงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ไปยื่นต่อคณะกรรมา ธิการการศาสนาฯ ว่า ในช่วงที่หลวงพ่อสดมีชีวิตได้เกิดติดขัดในการปฏิบัติภาวนา และต้องไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐานวัด มหาธาตุ ให้แก้ให้ จึงสามารถผ่านต่อไปได้ โดยมีหลักฐานรูปถ่ายหลวงพ่อสดลงนามถวายไว้ มีข้อความว่า
"ให้สำนักวิปัสสนาวัดมหาธาตุไว้เป็นที่ระลึก ในโอกาสที่ฉันได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนา ตามแบบที่วัดมหาธาตุสอนอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว ยืนยันได้ว่าการปฏิบัติแบบนี้ถูกต้องร่องรอยในมหาสติปัฎฐานสูตรทุกประการ" และลงชื่อโดยพระภาวนาโกศลเถร วัดปากน้ำ ธนบุรี
เล่ากันว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำสำนึกที่เข้าใจผิดว่านิมิตเป็นการบรรลุธรรม แต่จะประกาศออกไปก็เกรงว่าศิษย์จะสับสน ด้วยว่ามีคนทำตามมากแล้ว และวิธีปฏิบัติธรรมกายเป็นสิ่งที่หลวงพ่อสดทิ้งแล้ว แต่ศิษย์ยังคงสืบต่อกันมา
นอกจากหลักฐานจากภาพถ่าย รวมถึงคำพูดของเสฐียรพงษ์แล้ว ยังมีหลักฐานชิ้นสำคัญที่สามารถอ้างถึงได้นั่นคือ เทปการสอนธรรมะของ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาสิทฺธิ ป.9) หรือเจ้าคุณโชดกอาจารย์ใหญ่ ฝ่ายวิปัสสนา วัดมหาธาตุที่ยืนยันได้อีก เพราะ เจ้าคุณโชดกคือพระรูปที่หลวงพ่อสดไปพบ และแก้ไขเรื่องกัมมัฏฐานให้นั่นเอง
เทปดังกล่าวเคยออกอากาศเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2541 ในรายการธรรมร่วมสมัย รวมถึงมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางด้วย
แต่ก่อนที่จะเข้าไปในเนื้อหาของเทปนี้ ต้องเข้าใจพื้นฐานของศาสนาพุทธก่อนว่าจะเริ่มจากการให้ทาน ถือศีล และการภาวนา ซึ่ง การภาวนาจะถือว่าเป็นกุศล เป็นแนวทางสูงสุดของศาสนาพุทธ
ในแง่การภาวนายังแยกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ "สมาธิหรือสมถะ" ซึ่งเป็นการภาวนาขั้นต้น กับ "การวิปัสสนา" ที่เป็นการภาวนาขั้นสูงสุดของศาสนา ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด
การทำสมาธิ คือ การเพ่ง หรือการทำจิตให้หยุดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนทำให้จิตมีพลังขึ้นมาได้ เช่น การเพ่งกำหนดไปที่ลมหายใจ จิตในขั้นนี้จะมีฤทธิ์ มีอำนาจ ตามหลักศาสนาจะใช้จิตประเภทนี้เข้ามาหนุน เนื่องสติปัญญา โดย เมื่อจิตมีพลังเต็มเปี่ยมก็ค่อยถอนจิตออกจากสมาธิเข้ามาสู่การวิปัสสนา คือ การใช้ปัญญาพิจารณาธรรมะ ตามลำดับชั้นโดยเฉพาะในแง่สติปัฏฐาน 4 อาทิ การพิจารณาให้เห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิตและเห็นธรรมในธรรม ภาวะการบรรลุธรรมขั้นสูงจะเกิดได้ต่อเมื่อเป็นผลของการวิปัสสนาเท่านั้น
สำหรับสมาธิแนวทางวิชชาธรรมกายก็คือ การเพ่งให้เห็น "ลูกแก้ว" ในร่างกาย นั่นเอง แต่ปัญหาของสมาธิแนวทางนี้คือ ทำให้เกิดการหลงทางได้ง่าย ๆ โดยภาพที่เห็นเป็น "นิมิต" หรือการเพ่งจนปรากฏรูปขึ้นมาได้ด้วยอำนาจของพลังจิต แต่ถือว่ายังอยู่ในขั้นสมถะไม่สามารถก้าวขึ้นไปสู่การวิปัสสนาได้
จากเทปของเจ้าคุณโชดกได้กล่าวว่า การปฏิบัติสมาธิแต่อย่างเดียวเมื่อปฏิบัติมาก ๆ และจะก้าวเข้าสู่การวิปัสสนานั้นอาจทำให้เกิดการหลง หรือเกิดอุปกิเลสได้ถึง 10 ข้อ อาทิ การเกิดแสงสว่าง และเข้าไปยึดติดกับภาพนั้น
"บางอาจารย์ก็นึกเป็นธรรมกาย เป็นปฐมมรรค เป็นแสงสว่าง ไปดูนรก สวรรค์ อธิษฐาน สร้างภาพนรก สร้างสวรรค์ จิตนึกไปเรื่อย เป็นจิตนึกมาเอง แล้วไปยึดติด บางครั้งคิดว่ากิเลสหายไปหมดแล้ว และกลายเป็นพระอรหันต์แล้วทั้งที่ไม่ใช่" เจ้าคุณโชดก กล่าว
นอกจากนั้น เจ้าคุณโชดกยังกล่าวอีกว่า เจ้าคุณวัดปากน้ำหรือหลวงพ่อสด ที่ปฏิบัติด้านสมาธิหรือสมถะมา 43 ปีมาให้ช่วย โดยแนวทางที่หลวงพ่อสดปฏิบัติคือการเพ่งดวงแก้ว และภาวนาว่าสัมมาอรหัง เห็นธรรมกาย เห็นแสงสว่าง
"ท่าน (หลวงพ่อสด) เข้าใจว่าสิ่งที่เห็นเป็นธรรมกาย อันที่จริงธรรมกายในพระไตรปิฎกมีกล่าวไว้หมายถึง ชื่อพระพุทธเจ้าแต่ไม่ใช่วิชาของพระพุทธเจ้า"
ดังนั้นเจ้าคุณโชดกจึงให้หลวงพ่อสดปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน โดยให้เดินจงกรม นั่งสมาธิ ระยะแรกหลวงพ่อสด ก็ยังยืนยันเห็นพระพุทธเจ้าในนิพพาน ซึ่งเข้าไปจับมือถือแขนก็ได้,เห็นพระเต็มศาลา ฯลฯ
เจ้าคุณโชดก จึงแนะนำให้กำหนดอารมณ์ใหม่ โดยเมื่อเห็นนิมิตหรือภาพติดตานั้น ซึ่งให้พิจารณาว่า "เห็นหนอ ๆ" เพื่อเป็นการยกเอาจิตหรือเอาสติออกมาจากสมาธิ เพื่อใช้ปัญญาพิจารณาตามหลักศาสนา ปรากฏว่าหลวงพ่อสดกำหนดสติตามแนวดังกล่าว ในที่สุดภาพพระที่เคยเห็นเต็มไปหมดก็หายวับไปกับตา และเข้าใจในหลักไตรลักษณ์ศาสนาคือทุกสิ่งเป็นอนิจจังไม่เที่ยง เป็นทุกขังหรือเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาคือไม่ใช่ตัวตน
หลวงพ่อสดถึงกับกล่าวว่า เราติดอยู่ในญาณหรืออำนาจที่เกิดจากสมาธิมาหลายสิบปี เพิ่งมาหลุดได้ในวันนี้ และเป็นที่มาของรูปถ่าย พร้อมกับลายมือที่หลวงพ่อสดให้ไว้เป็นประจักษ์พยาน
เจ้าคุณโชดกเองเคยกล่าวว่า ที่เล่าถึงเรื่องหลวงพ่อวัดปากน้ำไม่ใช่เอามาพูดเสีย ๆ หาย ๆ แต่เอาความดีของท่านมาเล่าให้ฟัง เพราะท่านเป็นพระที่มุ่งศึกษาในการปฏิบัติธรรม และต่อมาท่านก็ได้สู่แนวทางของการวิปัสสนาอย่างแท้จริง
ปัญหาของวิชชาธรรมกายนี้ เสฐียรพงษ์ได้สรุปว่า ธรรมกายของหลวงพ่อสดคือการปฏิบัติสมาธิโดยเข้าใจว่าเป็นมรรคผล แต่ในยุคหลวงพ่อสดก็เป็นแค่การสัมผัสได้เฉพาะตน ไม่ได้นำมาเผยแผ่จนใหญ่โต และสร้างศรัทธาอย่างวัดพระธรรมกายกระทำ เพื่อให้ลูกศิษย์มาทำบุญ
และปัจจุบันก็กลายเป็นการ จัดสรรนิมิต จนทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นภาพ และก็มีการบอกว่าได้บรรลุธรรมเป็นขั้น ๆ โดยคนที่ไม่เคยเห็นก็ได้เห็น พอเห็นเข้าก็เกิดศรัทธา มีเท่าไหร่ก็ทุ่มเททำบุญไปหมด
นี่คือขบวนการสูบบุญที่แท้จริง !!!!
  • ท่านสัมผัส ท่านเห็นด้วยตนเอง ท่านจึงเชื่อเหนือศรัทธา
  • แต่ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าที่เห็นที่สัมผัสนั้นไม่ได้ปรุงแต่งเอาเอง การเชื่อเหนืองมงาย จึงเกิดขึ้น
  • สิ่งที่เกิดนั้นเกิดจริง แต่ผู้รู้ว่าเกิด ไม่จริง

gigantic pagoda. This pagoda, worth over US$500 million (Bt18.7 billion) was named the Dhammakaya-cedi

โอ้....พระเจ้าช่วยกล้วยทอดมันทอดยาก 18.7 พันล้าน เขาต้องการสร้างสุดยอดสิ่งมหัสจรรย์ของโลกอยู่หรือไง สร้างแล้วโลกจะรอดพ้นหายนะจากสงครามศาสนา หรือภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อนงั้นหรือ

ประชาชนตาดำๆอดอยาก ตกอยู่ในบ่วงอบายมุข สุรา บุหรี่ สิ่งเสพติดและการพนัน ทำไมไม่ใช้เงินที่ทำบุญนั้นมากระจายสร้างบุญช่วยเหลือผู้ยากไร้ต่อ

พัฒนาคนพัฒนาสาธารณะประโยชน์ไม่ดีกว่าหรือ  

  • สร้างเจดีย์เจ็ดชั้น ไม่เท่าช่วยชีวิตคนเพียงคนเดียว

น่าเสียดายเงินมากมายเลยครับ  ถ้าเรามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเปรียบเทียบด้วยใจที่เป็นกลาง เราก็จะรู้ว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ดี และใช่ดีแท้หรือไม่

  

                 TZUCHI

..................

     เชิญศึกษากันครับ

     "องค์กร,สถานที่,สำนัก ฯลฯ"  คนละส่วนกับ "เนื้อหาวิชา"

     ตำราเหล่านี้ที่จริงมีบางวัดก็ห้ามอ่าน ลองอ่านดูนะครับ ไม่มีบอกให้สร้า่งสถานที่ใหญ่โตแน่นอน รับรองได้ 

 

  • หลวงปู่ดูลย์กล่าวว่า "ที่เห็นนั้น  เขาเห็นจริง  แต่สิ่งที่ถูกเห็น  ไม่จริง."
  • ลองศึกษาวิปัสสนากรรมฐานดูบ้างนะครับ
  • สมถกรรมฐานนั้นช่วยได้แค่ระยะต้นๆ เท่านั้นครับ
  • มากกว่านั้นจะหลงได้ครับ  แล้วถอนตัวลำบากด้วย

ธรรมะสวัสดีครับ

"อ. หมอประเวศ บอกว่า     สวนโมกข์เน้นปัญญา     สันติอโศกเน้นศีล    และธรรมกายเน้นสมาธิ     ซึ่งต่างก็มีส่วนดี"

 ไม่จริงครับวัดพระธรรมกายมุ่งเน้นให้คนรักษาศีล 5 เป็นปกติเเต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนมากที่ถือศีล 8 เป็นปกติ  มุ่งเน้นให้คนปฏิบัติธรรมให้ได้ทุกวัน ส่วนปัญญาจะมีได้ต้องเกิดจากความบริสุทธิ์ คือถือศีลบริสุทธิ์เเละเจริญสมาธิภาวนาเพื่อดับทุกข์เเละการทำทั้งสองอย่างจะทำให้มองทุกสิ่งเป็นอริยสัจคือมีดวงปัญญาเกิดขึ้น

ศึกษาสมาธิภาวนาวิชชาธรรมกายทุกแง่มุมได้ที่เวป http://khunsamatha.com/

 

คุณเข้าใจผิดแล้ว คุณไม่ได้เข้าใจธรรมกายเลย

ผมแนะนำให้คุณไปสัมผัสด้วยตัวของคุณเอง ลองปฏิบัติดู ก่อนที่จะมานั่งหาเหตุผลด้วยข้อมูลที่มีอยู่ไม่มากในหัวสมองคุณ

วัดธรรมกายสร้างคนดีมากมามตั้งแต่วัดถูกสรา้งขึ้นมาจนกระทั้งวันนี้

และ ผมกล้าท้าพวกคุณเลย สิ่งที่วัดธรรมกายกำลังทำอยู่ จะปรากฏผลสัมฤทธ์ในอนาคตแน่ๆ คนทั้งโลกจะมีคุณธรรมมากขึ้น

และรู้จักหาความสุขภายใน ที่ซึ่งทุกคนมีอยู่แล้วในตัว นั่นคือธรรมกาย

นี่คือแก่นของสิ่งที่วัดพระธรรมกายกำลังดำเนินการ เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมให้เจริญขึ้นทั่วโลก ซึ่งแน่นอน เป็นเรื่องใหญ่มาก

การทำเรื่องใหญ่เช่นนี้ ก็ต้องอาศัยปัจจัยที่พร้อม ซึ่งก็ปรากฏผลออกมาในรูปของความใหญ่โตของวัดหรือเจดีย์ ซึ่งก็เป็นเป้าในการโจมตีของกลุ่มบุคคลที่ไม่เข้าใจวัด หาว่าวัดเป็นพวกวัตถุนิยม ผมไปบวชที่วัดนี่มา แล้วได้เห็นความจริงว่า พระวัดนี่ มีความมักน้อยสันโดษอย่างที่สุด พวกท่านฉันน้อย นอนน้อย ปฏิบัติธรรมและเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นงานหลัก ผมไม่เห็นความละโมบ หรือความบ้าวัตถุเลย วัตถุต่างๆที่เกิดขึ้นก็เพื่อประโยชน์ต่อการเผยแผ่ศาสนาทั้งสิ้น

ดังนั้น ผมคิดว่า การที่จะมานั่งวิจาณแล้วก็ใช้ความรู้แค่เพียงผิวเผินมาตัดสินวัด ผมว่ามันบาปนะครับ ควรจะเข้าไปดูจริงๆว่ามันเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องดูลึกไปถึงพื้นฐานจิตใจของคนที่เข้าวัดด้วย แล้วจึงมาดูอีกทีว่า สิ่งที่เราเข้าใจ เข้าใจถูกหรือไม่

มีอะไรสงสัยก็อีเมลมานะครับ

อีเมลครับ [email protected]

มีข้อสงสัย หรือสนใจเรื่องพระธรรมกาย ติดต่อผมได้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท