ชาวนาวันหยุด ตอนที่่ 3 : การวางระบบ การจัดการน้ำในเเปลงนา อย่างมีประสิทธิภาพ


"น้ำ" เป็นปัจจัยที่สำคัญมาก สำหรับการปลูกข้าว สำคัญคือการวางเเผน วางระบบการจัดการน้ำในเเปลงนาอย่างมีประสิทธิภาพ

บันทึกชาวนาวันหยุด ตอนที่ 3 ว่าด้วยการวางระบบ การจัดการน้ำในเเปลงนา อย่างมีประสิทธิภาพ 

เป็นชาวนาวันหยุด มาเรียนรู้และปฏิบัติ เพิ่มเติม นอกจากจะมา เพาะต้นกล้า ดำนาปลูกข้าว  แล้วต้องเรียนรู้ แบบบูรณาการเรื่องอื่นๆ ด้วยครับ ตอนนี้นำเสนอ

"เรื่องการจัดการน้ำ" ครับ  

 

ข้อมูลที่เคยได้รับไม่แน่ใจว่าเปลี่ยนเเปลง ไปหรือยัง สำหรับ พื้นที่นาข้าวที่มีระบบชลประทาน รองรับ

-ประเทศไทย ประมาณ ร้อยละ 25 (น้ำมาก-ท่วม น้ำน้อย-ก็เเห้งแล้ง)

-ประเทศพม่า ประมาณ ร้อยละ 50 (เคยเป็นประเทศส่งออกข้าวอันดับ 1 และกำลังกลับมาในอีกไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า)

-ประเทศเวียดนาม ประมาณ ร้อยละ 80 

-ประเทศญี่ปุ่น ประมาณ ร้้อยละ 90 

การเพิ่มผลผลิตของข้าว (ตันต่อไร่) คือ การได้รับการจัดสรรน้ำ อย่างถูกที่ ถูกเวลา เป็นปัจจัยต้นๆ

ด้วยระบบชลประทานที่มีประสิทธิภาพ ลองเข้าไปศึกษาผลผลิตต่อไร่ ของแต่ละประเทศ ก็จะสอดคล้องกับร้อยละของชลประทาน ในพื้นที่นาข้าว ครับ (ลองค้นหาดูครับ)


 ข้อมูลเพิ่มเติม "ปริมาณการใช้น้ำของข้าวของไทย" ไปศึกษาได้ที่ ข้อมูลกรมชลประทาน 

 


       

      บางพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยเรื่องน้ำ ก็ต้องเอาตัวรอด หรือเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มี  สำคัญคือ การช่วยตัวเองได้ในระดับพื้นฐาน ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง 

 

      ที่เเปลงนา นี้ เเปลงนาลุงมี ข้อจำกัด คือ อยู่นอกเขตชลประทาน ต้องใช้น้ำบาดาล สำหรับการปลูกข้าว ปัญหาที่ตามมาคือ ธาตุอาหารไม่เพียงพอ(ไม่เหมือนน้ำเหมือง น้ำคลอง น้ำแม่น้ำ เเหล่งน้ำธรรมชาติผิวดิน) และต้นทุนการสูบน้ำสำหรับการทำนาที่ผ่านมาสูงมาก ... 

      แต่ไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหา เพราะทุกอย่างต้อง วางเเผน จัดการป้องกันปัญหา 


หลักการ :ออกแบบระบบน้ำในเเปลงนาลุงมี

 

1.ต้องพึ่งพาตัวเองได้ในเรื่องน้ำ  


2.น้ำต้องมีธาตุอาหารเพียงพอสำหรับข้าว(สูบน้ำบาดาล ลงนาโดยตรงข้าวไม่ค่้อยแตกกอ) ->ต้องมีการพัก และปรุงน้ำ ก่อนปล่อยลงนา 


3.ลดการใช้พลังงานในสูบน้ำ สามารถใช้แรงโน้มถ่วงในการควบคุมน้ำได้


4.ต้องมีการหมุนเวียนของระบบน้ำในเเปลงนา


5.มีพื้นที่การเก็บน้ำ จากน้ำฝนเพียงพอสำหรับการปลูกข้าว 


6.เพิ่มพืชคลุมหน้าดิน ต้นไม้ใหญ่ เพื่อสร้างความชุ่มชื้น และอาศัยการร่วงหล่นของใบ มาเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ ในคลองน้ำ 

(อยู่ระหว่างการหาต้นทองหลางกินใบมาปลูกริมคลองน้ำ ครับ)


นอกเหนือจากนี้ ก็คือการ นำระบบ "เปียก-สลับ-เเห้ง" แกล้งข้าว Altinate Wetting and Drying มาปรับใช้ เพื่อลดการใช้ ทรัพยากรน้ำ ในการปลูกข้าว โดยไม่กระทบกับผลผลิตข้าวด้วย ...

    รูปภาพประกอบ ...

เป็นแบบภาพประกอบอธิบาย ใช้หลักจัดการแปลงนาเเบบขั้นบันไดและการหมุนเวียน น้ำในเเปลงนา   

บ่อพักน้ำด้านหน้า 

ด้านหน้าขวามือของเเปลงนา ฝูงเป็ด กำลังเล่่้นน้ำ

เเปลงนาด้านขวา กำลังหมักฟางข้าว

ต้นมะม่วงริมเเปลงนา ออกลูกกินได้ รักษาความชุ่มชื้นหน้าดิน 

บ่อพักน้ำท้ายนาก่อนนำ น้ำกลับ

ภาพจากด้านท้ายเเปลงนา

พื้นที่ว่าง กำลังหา "ต้นทองหลางกินใบ" มาปลูกริมคันคลอง  

บ่อน้ำด้านหน้า เลี้ยงปลากินพืชไว้ หลายชนิดครับ ตอนนี้ตัวยังไม่พอดีจาน ต้องเก็บไว้รอ>>> พร้อมเกี่ยวข้าว คร้าบบ

 

ท่านใดมีประสบการณ์ วางระบบน้ำในเเปลงนา มาเเลกเปลี่ยนกันได้นะครับ 

ชาวนาวันหยุด ตอนต่อไป : ลงแขกดำนา แบบร่วมสมัยครับ 

 

 


ดาวเรืองมีประโยชน์ กับระบบนาข้าว  อย่างไร??? 

 

หมายเลขบันทึก: 440461เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2011 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สวัสดีค่ะ

แค่ชมภาพก็รู้สึกมีความสุขแทนเจ้าของนามากค่ะ

หวังว่าคงสบายดีนะคะ  จะไปทางโน้นอีกวันไหน  ต้นเดือนไปจัดค่ายที่พังงาค่ะ

ตอนนี้อยู่ช่วยงานที่โรงเรียนค่ะ

Ico48 พี่คิมมาแบบรวดเร็วปานกามนิตหนุ่มครับ

 สบายดีครับ อยู่กับทุ่งนา และหมู่ไม้ ธรรมชาติมากๆครับ 

ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพนะครับ  ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมครับ

ขอบคุณแทนชาวนาทุกคนสำหรับสาระน่ารู้ดีๆอย่างเป็นรูปธรรมเช่นนี้ค่ะ...

Ico48 สวัสดีครับพี่ใหญ่ 

ลองมาเป็นชาวนาวันหยุดแล้วรู้เลยว่าไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินที่จะนำเอาหลักการใหม่ๆมาประยุกต์ใช้ในเเปลงนาครับ โดยมีพี่เลี้ยง อย่างลุงมี พี่หริด และเพื่อนบ้าน มาทำงานร่วมกันครับ 

 

สวัสดีครับ คุณต้นกล้า

เข้ามาแสดงความสนับสนุนการใช้หลักบริหารจัดการมาประยุกต์กับการทำนาของคุณต้นกล้าครับ

สักวันประเทศเราจะได้สามารถผลิตข้าวได้อย่าวมีประสิทธิภาพ และ ประสิทธิผล อย่างเต็มที่สะที

Ico48 สวัสดีครับ คุณอภิชิต ไม่ได้ทักทายกันนานแล้ว สบายดีนะครับ

"เพราะจำกัด จึงต้องจัดการ" ครับ รอใครไม่ได้ รอไปรอมามันจะอดตายซะก่อน (โดยเฉพาะ พวกที่กำลังหาเสียงเลือกตั้ง อะครับ ฮ่าๆๆ)

 

          อย่างที่เรียนคุณต้นกล้าไปแล้วนะคะว่า บันทึก Blog "เส้นทางสายนาดำ" ของคุณต้นกล้า เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ทั้งข้อมูลและภาพประกอบที่ละเอียดชัดเจนดีมาก และเนื่องจากมี BLog นี้อยู่ใน Plannet "Plants and Agriculture" อยู่แล้วตั้งแต่บันทึกที่ 1 จึงติดตามอ่าน ตอนที่ 2-3 ได้สะดวก ยิ่งติดตามก็ยิ่งรู้สึกอยากทำนา เพราะเห็นทุ่งนาเขียวๆ แล้วมีความสุข เช้าวันที่ 19 พ.ค. เดินทางโดยรถด่วนจากกทม.กลับอุบลฯ พนักงานบอกว่ารถเสียเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ไม่มีอะไรทำเพราะ Notebook ใช้ตอนต้นของการเดินทางจนแบ็ตเตอรี่หมดไปแล้ว หนังสือที่ติดตัวไปก็อ่านจบหมดแล้ว จึงนั่งชมวิวสองข้างทางจากนครราชสีมา บุรีรีมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ และเลือกถ่ายภาพเฉพาะทุ่งนาของแต่ละท้องที่ เห็นภาพแปลงนาที่ไถเสร็จแล้ว และกำลังไถ ภาพควายไถนาไม่มีให้เห็นอย่างที่เคยเห็นตอนเป็นเด็ก เหลือแต่ภาพการไถนาด้วยรถไถเดินตาม และรถแทรกเตอร์ บางแปลงก็มีต้นกล้าขึ้นเขียวแล้ว แม้จะไม่มีประสบการณ์ในการทำนาเพราะคุณพ่อคุณแม่เป็นครู แต่ก็ได้อาศัยตามญาติทางพ่อไปเที่ยวทุ่งนาในช่วงที่เรียนชั้นป.3-4 และเคยช่วยดำนาบ้างแต่ถูกสั่งห้ามเพราะดำแล้วใช้ไม่ได้ ต้นข้าวลอยทุกต้น ที่พอได้ก็คือนวดข้าว แต่ที่ถนัดสุดๆ คือเล่นซ่อนหากันกับลูกๆ ของญาติโดยไปฝังตัวในกองฟาง

          เมื่อไหร่มีที่นาเป็นของตนเอง หรือขอเช่าได้จึงจะมีโอกาสใช้ความรู้จากวิทยาทานที่คุณต้นกล้าให้ไว้ ตอนนี้ใช้ศึกษาเพื่อหาความสุขทางใจและสร้างแรงบันดาลใจไปก่อน ขอขอบคุณแหล่งเรียนรู้ "เส้นทางสายนาดำ" อีกครั้งค่ะ

       

gooddddd

ขอบคุณมากนะที่

ให้เราเห็นถึงการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เรียน ผศ.วิไล แพงศรี

ต้องขอขอบคุณมากครับ ที่แวะมาเยี่ยมบันทึก และให้ขวัญและกำลังใจในการเขียน

ด้วยความตั้งใจเริ่มต้นของผม ต้องการ "แลกเปลี่ยน เรียนรู้ มุ่งสู่เกษตรอินทรีย์ จัดการความรู้ ควบคู่ ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร เพื่อความอยู่ดี กินดี" ตอนนี้ เรียนรู้ด้วยการเอาความรู้ลงสู่เเปลงปฏิบัติ เป็นชาวนาวันหยุด และนำมาถ่ายทอด เพื่อให้ง่ายต่อการ เข้าใจ เข้าถึง เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการเกษตรตามความเหมาะสม ของแต่ละท่าน ต่อไป ... อะไรที่ว่าดีของต่างประเทศก็นำมาปรับใช้ ของเรามีดีก็มาผสม เพื่อรองรับ ความไม่นอนที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ทั้งค่าครองชีพที่มีเเนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แรงงานที่หายากมาก ในภาคเกษตร (->เเปลเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น ตามภาพ ที่เห็นสองข้างทาง) ความปลอดภัยของอาหาร ที่บริโภค ความเเปรปรวนของสภาพอากาศ โดยเฉพาะ"น้ำ" ต่างๆเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ต้องนำมาขบคิด เพื่อหาทางป้องกัน แก้ไข ได้ในระดับครัวเรือน

จากบันทึกนี้็ก็ได้คนหัวอกเดียวกันเพิ่มขึ้นเยอะครับ มีน้องหมู คนหนุ่มจากอุบล อีกคน ปัจจุบันทำโรงงานอยู่ระยอง ก็จะกลับบ้านไปทำนา สิ้นปีนี้ครับ

ยินดีครับ ที่มาร่วมเเลกเปลี่ยนประสบการณ์

สวัสดีครับ สมาชิกทุกท่านผมเป็นอีกคนนึงที่ได้เข้ามาเรียนรู้และศึกษาเรื่องของการทำการเกษตร ต้องยอมรับว่าเป็นศาสตร์ที่เรา

หลายคนมองข้าม ทั้งที่เรามีผู้รู้มากมายในการทำเกษรกรรม ขอบคุณแทนคนไทยทุกคนที่มีกลุ่มพี่ๆที่คอยแบ่งปันให้ความรู้การ

ทำเกษตรกรรม เกษตรกรจะได้ลืมตาอ้าปากกันได้ซักที

ขอบคุณครับ

ขอบคุณอีกครั้งที่สละเวลามาให้ความรู้ค่ะ ดีมากๆ การทำดีให้วิทยาทาน ก็คือบุญอย่างหนึ่งค่ะ ขอถามเพิ่มนิดหนึ่งว่า นาลุงมีเนื้อที่แค่ไหน กว้าง ยาว และบ่อน้ำแต่ละแห่งขนาดกว้าง ยาว ลึก ต่างกันอย่างไร ขุดไว้ราคาสักเท่าใดคะ ขอบคุณค่ะ จะคอยคำตอบ ไม่รีบ ตามสะดวกค่ะ

 

  • มาด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • มาแล้วได้รับความรู้มากมายขอบคุณนะคะ

 

คุณ yasanova ความจริง ก็คือว่า เป็นเรื่องที่เกษตรกรส่วนใหญ่ และผู้เกี่ยวข้องก็รู้ จากสื่อหลายๆทาง สำคัญที่ว่า ความรู้ นั้นได้นำไปปฏิบัติ จริง หรือไม่ ... ถ้าทำได้ก็จะดีต่อผู้ปฏิบัติโดยตรง

คุณ ผู้กองโอ๋ การแลกเปลี่ยน ความรู้ ประสบการณ์ เป็นความสุข อย่างหนึ่งครับ

-ที่นา พื้นที่ ประมาณ 30 ไร่

-ส่วนกว้างยาว ลึก ของบ่อ ขอค้นข้อมูลเก่า มาตอบอีกคราครับ

-ต้นทุนค่าขุด คิดเป็นชั่วโมงครับ อยู่ที่ประมาณ 800-1,000 บาท แล้วแต่ฝีมือคนขับ

คุณ อุ้มบุญ สบายดีนะครับ ระลึกเช่นกัน

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ 

ที่นาที่ศรีสะเกษ ต้องรอน้ำฝนอย่างเดียว ความรู้นี้ช่วยจุดประกายความหวังในการพัฒนาต่อยอดต่อไปมากค่ะ 

จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปค่ะ  ^ ^ 

หากที่นาเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวโดยด้านหน้าแคบด้านหนึ่งติดคลองที่มีช่วงน้ำลงที่ค่อนข้างมากควรออกแบบตามนี้หรือควรปรับอย่างไรบ้างครับ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท