ความสำเร็จในการให้คะแนนนักเรียนอย่างมีคุณธรรม


ผู้เขียนมีความต้องการให้นักเรียนได้คะแนนอย่างภาคภูมิใจ จากความสามารถของตนเอง แต่จะต้องใช้เวลามาก แต่สัปดาห์หน้าจะสอบปลายภาคเรียนที่ 1 แล้ว จึงต้องหากลวิธี ที่ทำให้นักเรียนได้คะแนนจากความสามารถ มีความประทับใจในการเก็บคะแนน ตลอดจนให้กลยุทธ์เพื่อนช่วยเพื่อนด้วย

ผู้เขียนมีปัญหากับการให้คะแนนนักเรียนประเภทคะแนนภาคปฏิบัติที่เก็บระหว่างภาคเรียน  เนื่องจากนักเรียนเรียนหลายวิชาและครูผู้สอนก็หลายท่าน  ทำให้งานที่นักเรียนต้องจัดทำนั้นมากมาย  งานที่ทำจึงไม่ได้ตามผลที่คาดหวังไว้

วิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาทักษะ  หมายถึง  ต้องปฏิบัติการพูด  การฟัง  การอ่านและการเขียน  นักเรียนจึงจะได้คะแนนเก็บดังกล่าว

และนอกจากนั้นครูผู้สอนต้องคำนึงถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรและคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ผู้เขียนต้องออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่ต้องให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ  ให้สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ทุกครั้ง  ตลอดจนสามารถตรวจสอบได้

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในความรับผิดชอบของผู้เขียน  จะต้องมีคะแนนทั้งหมด  50 คะแนน  เป็นคะแนนระหว่างภาคเรียน 30คะแนนและคะแนนภาคความรู้อีก  20 คะแนน

นักเรียนมีคะแนนเก็บจาก 30 คะแนนมากแล้ว  หากพลาดพลั้งจากการสอบภาคความรู้  ก็อาจจะได้คะแนนดีด้วย

นักเรียนจำนวนร้อยละ 50 เท่านั้นที่มีความสามารถในการทำคะแนนได้เต็ม 30 คะแนน  นอกจากนั้น  จะไม่สนใจคะแนนเก็บเลย

ผู้เขียนมีความต้องการให้นักเรียนได้คะแนนอย่างภาคภูมิใจ  จากความสามารถของตนเอง  แต่จะต้องใช้เวลามาก  แต่สัปดาห์หน้าจะสอบปลายภาคเรียนที่ 1 แล้ว  จึงต้องหากลวิธี  ที่ทำให้นักเรียนได้คะแนนจากความสามารถ  มีความประทับใจในการเก็บคะแนน  ตลอดจนให้กลยุทธ์เพื่อนช่วยเพื่อนด้วย

ทำอย่างไรล่ะ    ผู้เขียนศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลแล้วพบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่มีจิตใจเมตตา  ชอบช่วยเหลือเพื่อน  ดังนั้นใช้คุณลักษณะนี้  ดึงออกมาใช้เป็นประโยชน์  และก็ได้ผลอย่างคุ้มค่า  และคาดไม่ถึง

กล่าวคือนักเรียนที่ได้คะแนนเต็มแล้ว  มีสิทธิมาช่วยเพื่อนที่ยังได้คะแนนไม่ครบ  แต่จะต้องช่วยเพื่อนที่นิสัยดี  มีน้ำใจ  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัฯ  พูดง่ายๆ  คือเป้นคนดี

ผู้เขียนได้ใช้วิธีนี้มา 3 ห้องเรียนแล้ว  ได้ผลดี  นักเรียนมีคะแนนเต็มร้อยละ   90  และที่เหลือ  ผู้เขียนไม่มีเวลามากพอที่จะตามเก็บคะแนน  จึงบกพร่องไปบ้าง

กลยุทธ์นี้มีประโยชน์อย่างไร

  • นักเรียนที่เรียนเก่งได้ช่วยนักเรียนที่เรียนอ่อน
  • นักเรียนที่เรียนเก่งได้ทบทวนวิชาความรู้ของตนเองให้สมบูรณ์
  • นักเรียนทั้งห้องเรียนมีความสามัคคี  รักใคร่  กลมเกลียวกัน
  • ครูผู้สอนได้สอนให้นักเรียนทั้งมีความรู้  ทักษะ  กระบวนการ  และมีคุณธรรม

กลยุทธ์นี้ดีอย่างไร

  • ลดการมองดูก้อนเมฆ  และยกเมฆ
  • คะแนนเก็บที่ได้มีความสมบูรณ์  และมีความหมาย  พิสูจน์ได้
  • เกิดความภาคภูมิใจที่ได้เสริมสร้างคุณธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมเล็ก  เพื่อดำเนินการไปสู่สังคมใหญ่

กลยุทธ์มีข้อจำกัดอย่างไร

  • นักเรียนที่เกียจคร้านก็จะรอให้เพื่อนไปช่วยเท่านั้น  ครูผู้สอนต้องควบคุมกระบวนการของกลยุทธ์ให้ได้
  • ไม่เยิ่นเย้อ  ควรมีระยะของเวลา  ให้จบได้เพียง 1 วัน

ข้อเสนอแนะ

  • ควรพูดโน้มน้าวให้นักเรียนทำดี  สอดแทรกคุณธรรม  และถามนักเรียนอยู่เสมอ  ปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตใจเมตตา  มีความรัก  รู้จักการให้

 

หมายเลขบันทึก: 52126เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 13:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
ครูอ้อยคะ ประทับใจบันทึกแบบนี้มากเลยค่ะ ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อที่โรงเรียนของลูกชายนะคะ

อรุณสวัสดิ์ค่ คุณโอ๋-อโณ

  • ทุกอย่างเป็นกิจกรรมที่ครูพึงทำเพื่อนักเรียนที่เป็นดุจลูกหลาน 
  • เป็นหน้าที่ 
  • เป็นคุณธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความเมตตา 
  • นักเรียนมาเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ 
  • ลึกไปกว่านั้นนักเรียนต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จึงเกิดเป็นผลงาน 
  • นำผลงานออกมาชื่นชมต่อสาธารณชั้นเรียน  เกิดความภาคภูมิใจและรู้ว่าเรียนไปทำไม 
  • จริงๆแล้วครูอ้อยไม่ค่อยชอบเขียนอะไรที่หนักๆ  แต่กลับชอบเขียนอะไรไปเรื่อยเปื่อยตามที่อยากจะเขียนค่ะ  ขอบคุณ คุณโอ๋-อโณ นะคะ 

โห !! สมแล้วกับอาชีพ คุณครู จริง ๆ คะ ยอดเยี่ยมมาก ๆ

น้องนิวคะ  ครูอ้อยทำตามหลักการเท่านั้น  ยังไม่ยอดเยี่ยมหรอกค่ะ  ชมกันเกินไปค่ะ  ขอบคุณค่ะ
ขออนุญาตเพิ่มเติมต่อยอดความรู้ในบันทึกของตัวเอง เนื่องจากครูอ้อยใช้กลยุทธ์ในเรื่องของความเมตตากรุณา โอบอ้อมอารี สามัคคี ผลการใช้กลยุทธ์ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 252คน มีคะแนนเก็บอยู่ในระดับดีมาก คราวนี้ก็จะตัดคะแนนแบบฟันธงตรงการสอบภาคความรู้อีก 2 ฉบับ วันนี้นักเรียนได้สอบฉบับที่ 1 ความเข้าใจภาษา ครูอ้อยตรวจข้อสอบหมดแล้ว มีนักเรียนได้คะแนนเกาะกลุ่มกัน โดยมีการกระจายของคะแนนอยู่ในระดับต่ำ มความถี่ของการได้คะแนนสูง เมื่อนักเรียนได้สอบครบทั้ง 2 ฉบับแล้ว จะได้สรุปผลของการใช้กลยุทธ์นี้ในโอกาสต่อไป

ขออนุญาตเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องการใช้กลยุทธิ์การให้คะแนนักเรียน  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 254 คน

หลังจากการสอบปลายภาคเรียนที่ 1แล้ว  นักเรียนต้องสอบภาคความรู้อีก 20 คะแนน  แล้วนำมารวมกับคะแนนเก็บ 30 คะแนน  รวมทั้งสิ้นในภาคเรียนที่ 1  จำนวน 50 คะแนน

คะแนนออกมาแล้ว ผลคือ  คะแนนอยู่ในระดับดีมาก  ไม่มีต่ำกว่าร้อยละ 50 เลย 

สวัสดียามเช้าคะ...ครูอ้อยขา.... 

 

เข้าเติม...กำลังใจให้กันและกันคะ...

สักครู่กะปุ๋ม...ก็จะไปที่งานคะ วันนี้ฌาปนกิจคุณปู่คะ

คิดถึงนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

Dr.Ka-Poom

ครูอ้อยไม่ได้คุยกับ Dr.Ka-Poom นานแล้ว

รู้อยู่ว่ากำลังสับสน  เหงา และอยากได้เพื่อน

แต่บางครั้ง  การที่เราพูดคุย ก็ทำให้ได้เพื่อน ดีกว่าการอยู่เฉยๆนะคะ

กลับมาคุยกับครูอ้อยอีก  มาเป็นกำลังใจให้ครูอ้อยอีกเถอะค่ะ

คิดถึง

 

  วันที่  10 ตุลาคม 2549 โรงเรียนพระยาประเสริฐสุนทราศรัย(กระจ่าง สิงหเสนี)  สพท.กทม.เขต 2  ได้ประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการความรู้ 

ครูอ้อยได้นำเสนอแก่นของความรู้เรื่อง  การประเมินผลอย่างมีคุณธรรม  ก็มีสมาชิกในกลุ่มเดียวกัน  แย้งขึ้นมาอย่างชัดเจน  ทั้งๆที่

1.  การเล่าเร้าพลังในกระบวนการของการจัดความรู้  ให้ผู้เล่าในเรื่องที่ดี  ที่ประสบกับความสำเร็จ

2.แสดงความชื่นชมด้วยการฟัง

แต่  ครูท่านหนึ่ง  ขัดแย้งแก่นความรู้ของครูอ้อยอย่างชัดเจน  ทั้งที่ครูอ้อยพยายามพูดให้กระจ่างเรื่องแนวดำเนินการแล้ว

ท่านแย้งว่า  " แบบนี้นักเรียนที่ขี้เกียจก็สลายไม่ต้องทำอะไรเลย  รอแต่ให้เพื่อนมาช่วย "

ครุอ้อยตอบไปหนึ่งครั้งว่า  " กลยุทธิ์นี้เสริมสร้าง  การให้เพื่อนช่วยเพื่อน "  สังคมจะได้อยูรอกด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

คุรคิดอย่างนี้ล่ะ  ถึงไม่มีใครจริงใจกับคุณ

  • ในปีการศึกษา 2550 ครูอ้อยก็จะใช้กลวิธีนี้อัก เป็รครั้งที่ 3
  • เมื่อวานนี้  ได้ดำเนินการระดับเบื้องต้นไปแล้ว 3 ห้อง
  • พบว่า นักเรียนมีการตอบรับดีมาก  ทั้งนักเรียนที่เรียนดี และนักเรียนที่ไม่ค่อยมีคะแนน
  • หวังว่า คงได้รับประโยชน์ทั่วกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท