สาคูแคนตาลูปกับงานวิจัยที่ใช้การจัดการความรู้


เมื่อครั้งไปเสนองานวิจัยปิดโครงการที่ สกว. เมื่อวันที่ 22 กันยาที่ผ่านมา ในมื้อกลางวันมีเลี้ยงอาหารบุฟเฟ่ต์ เห็นขนมที่ทางทีมงานจัดไว้เลี้ยงตั้งใจไว้แล้วว่าจะกิน

ของหวานมื้อนั้นยังไม่มีใครตักมากินเลยไม่รู้ว่าเป็นอะไรแต่ด้วยสายตาเรามองว่าเป็นบัวลอยไข่หวานใครๆก็คิดอย่างนั้น แต่เมื่อตักลงไปก็พบกับความผิดหวัง เพราะสิ่งที่เราตักคือสาคูงั้นลูกที่ลอยๆอยู่ก้ไม่ใช่ไข่แดง แล้วเป็นอะไร ต้องลองชิมเลยรู้ว่าเป็นแคนตาลูป ก็อร่อยดี แค่ไม่ได้อย่างที่ตั้งใจหวังไว้

คงมีคนนึกสงสัยว่าแล้วเกี่ยวอย่างไรกับงานวิจัย

สรุปว่าไม่เกี่ยวแต่ก็ได้แนวคิดจากสาคูแคนตาลูปว่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราเห็นขนมที่มีกะทิแล้วก็มีลูกสีส้มลอยอยู่ต้องเป็นบัวลอยไข่หวานเช่นเดียวกับงานวิจัยที่ใช้การจัดการความรู้เป็นเครื่องมือดูเหมือนไม่ต่างงอะไรจากกระบวนการ PAR การวิจัยแบบมีส่วนร่วม แต่จริงแล้วต่างกันเล็กน้อยตรงที่ PAR บางครั้งเราแค่เข้าไปกระตุ้นแล้วให้เค้าอยากทำ แต่การจัดการความรู้เป็นการตั้งเป้าหมายทำให้การมองเป็นระยะยาวกว่า และการจัดการควารู้เน้นตัวความรู้ที่อยู่ในคน

หากจะเปรียบเทียบการวิจัยกับการจัดการความรู้ในช่วงแรกคงเหมือนที่เราเห็นคือ หาปัญหางานวิจัย ส่วนจัดการความรู้ก็ให้ค้นหาเป้าหมาย ซึ่งทั้งสองอย่างเหมือนกันตรงใช้ความรู้เป็นฐานในการคิด มุมมองแรกๆงานวิจัยกับการจัดการความรู้ถูกมองแบบน้ำกับน้ำมันคือแยกชั้นกันอยู่ แต่เมื่อลองทำไปทำมาน้ำมันก็เข้ากับน้ำได้ถ้าถูกคนบ่อยๆ เพราะน้ำมันจะแตกตัวอยู่ในน้ำเป็นเม็ดๆ ก็เปรียบได้กับงานชุมชนสภาพจริงทุกอย่างมิได้เป็นเนื้อเดียวกันหากต้องการให้เข้ากันในบางเวลาเราก็เข้าไปกวนบางเวลา แต่หากอยากให้เข้ากันตลอดเวลาก็ต้องกวนตลอด

มันก็ไม่เกี่ยวกับตาลูปสาคูอยู่ดี 

 

หมายเลขบันทึก: 52122เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 12:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท