บทเรียนของการร่วมอภิปราย ใน “ทีม” ต่างมุมมอง


ขณะที่กำลังปลุกกระแสในขั้นที่ ๑ เพื่อทำให้เกิด “unlearned” “สร้างความปั่นป่วน-chaos” อยู่ ยังไม่ทันเข้าเรื่องขั้นที่สอง “order” และ ๓ “control” ท่าน “ประธาน” ก็ดึงประเด็นหักมุมปิดประชุมจบการเสวนา แบบ “Chaos” เสียก่อน ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็น “Chaordic” (chaos+order+control) ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิม

 

อนุสนธิจากที่ผมได้เข้าร่วมการเสวนาเพื่อสนับสนุนการเดินทางมาดูงานของ นักศึกษาครู พันธุ์ใหม่ จำนวน ๓๕ คนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่นำทีมมาโดยอาจารย์พินิจ

 

ผมไม่แน่ใจจะเริ่มกระบวนการอย่างไร แต่พอฟังประเด็นปัญหาการสอนระดับประถม ที่ไม่มีสิทธิ์จะเลือก หรือคัดกลุ่มนักเรียน ผมจึงคิดว่า ยาแก้พิษที่อาจใช้ได้คือ พหุปัญญา

 

ที่ผมตั้งใจว่าจะวางราก "พหุปัญญา" ตอนเย็น ต่อด้วยการปรับไปใช้ในหลักสูตรท้องถิ่นตอนเช้า

011

 

แต่..... แผนเกือบล้ม

 

ต้องรีบมาปิดประเด็นตอนท้ายเกือบไม่ทัน....แบบ กะพร่องกะแพร่ง

 

แต่ผมยังรู้สึกว่านักศึกษา "เข้มแข็ง" ดีมาก แต่อาจโดนวางยาสไตล์ ให้ คาบคัมภีร์ มาจนชิน เลยยากนิดหนึ่ง น่าเสียดายจริงๆ

 

ผมวัดจากการโยนก้อนหิน "พหุปัญญา" พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เพียง รู้ แต่ยังไม่ เข้าใจ ว่ามันคืออะไร

 

จึง "คาบคัมภีร์ มาตอบเป็นขบวนเลย

เรื่องนี้จึงอาจจะตีบตันมาตั้งแต่การสอนของคนที่สอนในเรื่องนี้

 

ผมจึงลองนำเสนอ แบบ “Chaosสร้างความปั่นป่วน เพื่อจะดำเนินการแบบ “Chaordicตามสิ่งที่ท่าน ประธาน นำเสนอบ่อยๆ

 

แต่.....ขณะที่กำลังปลุกกระแสในขั้นที่ ๑ เพื่อทำให้เกิด “unlearned” สร้างความปั่นป่วน-chaos” อยู่ ยังไม่ทันเข้าเรื่องขั้นที่สอง “order” และ ๓ “control”  ท่าน ประธาน ก็ดึงประเด็นหักมุมปิดประชุมจบการเสวนา แบบ “Chaos” เสียก่อน  ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็น “Chaordic” (chaos+order+control) ตามที่ตั้งใจไว้แต่เดิม

 

แต่เรื่องนี้ก็ยังโชคดี ที่ผมได้มีโอกาสคุยกับนักศึกษาบนรถ ขณะนักศึกษาเดินทางกลับ ผ่านมือถือของอาจารย์พินิจ ชี้แจงอุปสรรคและประเด็นที่พยายามจะสรุป น่าจะทำให้นักศึกษาเข้าใจผิดน้อยลงอีกสักหน่อย

 

 

สำหรับการบรรยายในตอนเช้า

 

ผมวางแผนว่าจะเข้าเรื่องหลักสูตรท้องถิ่นตามหลังครูวุฒิ แต่กลับต้องไปแก้ "Snook" ของครูวุฒิที่วางไว้แบบ เต็มลูก ในเรื่อง  คนจบไปเป็นครู จะต้องพบปัญหาอะไรบ้าง จนทุกคน เครียด ไปตามๆกัน

 

ผมต้องกลับมาเล่นบท แก้ “Snook” ปลอบขวัญจนเกือบหมดเวลา

 

ดังนั้น.....การแสดงวิธีการเชื่อมโยง พหุปัญญา เข้ากับหลักสูตรท้องถิ่น จึงค่อนข้างรีบไปนิดหนึ่ง และดูเหมือนว่า นักศึกษาบางคนพลิกตำราตามไม่ค่อยทัน

 

แต่หวังว่าเขาน่าจะได้  "แนว" ในการทำงานต่อไป

 

ที่ผมคิดจะเขียนไว้อีกเรื่องหนึ่งต่างหาก

 

วันนี้ ผมจึงขอสรุปสั้นๆว่า

 

การนำเสนอแบบไม่รู้ทางกันนี่ ยาก เหมือนกันนะครับ

 

คราวหน้าจะระวังการนำเสนอมากกว่านี้ครับ

 

หมายเลขบันทึก: 171336เขียนเมื่อ 17 มีนาคม 2008 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • ขอบคุณครับ
  • เรียนรู้มาก และทุกฝีก้าวเลยครับ
  • คราวนี้ เงื่อนไข ทำให้กำหนดอะไรได้ไม่มาก และกำหนดยาก
  • มีโอกาสอีก คงได้ใช้บทเรียน วางเงื่อนไข ใช้เวลาและปัจจัย อย่างมีเป้าหมายที่แจ่มชัด สร้าง Vision ที่ Clear และ Shared ด้วยครับ
  • เลยสระบุรีแล้วนะครับ
  • สวัสดีครับ

แหมดีใจจัง ถ้าผมไปราวมด้วยคงได้ทางที่สามแน่ อาจจะสร้างความปั่นป่วนหนักขึ้นไปอีกครับ ก็ดีครับ นศ.ต้องไปกลั่นกรองเอง รับอาหารชุดมานานแล้ว ลองมาทานกับก่อนทานข้าวบ้างจะได้รู้สึกตรับ

อิอิ ตามหลังลุงเอกมาบอกว่า หนิงชอบกินกับค่ะ ไม่เท่านั้นนะคะ ของทานขนมก่อนอาหารด้วย เอิ๊กกกกกกกก

อิอิ....

  • ที่ครูวุฒิต้องนำเสนอแบบนั้น เป็นเพราะอยากให้น้องๆได้ "รู้เขา เพื่อจะได้รู้เรา" อ่ะครับ
  • ครูวุฒิมีวิตกจริตจนกลัวว่า  น้องๆจะโดนกลืนด้วยวัฒนธรรม"ความลุ่มหลงตามใบควายสั่ง" จนลืมลูกศิษย์ อย่างที่ครูพันธุ์เก่าโดนกันอยู่ทุกวันนี้ไงครับ
  • รวมทั้งส่วนตัวครูวุฒิเองก็ไม่อยากจะ "เซ็นต์เอกสารอันเป็นเท็จ" (หนังสือตอบรับและขอบคุณที่เด็กๆในโรงเรียนได้รับประโยชน์จากการเผยแพร่นวัตกรรม(ปลอมๆ)) ตามที่ครูพันธุ์เก่าจากโรงเรียนต่างๆมาร้องขอ ให้เมื่อยไปกว่านี้ (แม่จะพิมพ์มาให้พร้อมเสร็จก็เถอะ) 
  • ท่านเชื่อไหมครับ ครูประถมท่านใดขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ว่า คศ.ใด  นอกจากจะป่วนไปทั้งโรงเรียนแล้ว  ในส่วนของครอบครัวก็พลอย "ระเวินระเวี๊ยะ" (เป็นภาษาเขมร แปลความรวมว่า "วุ่นวาย สับสน อลหม่าน จนจะตีกันตาย") ไปด้วยทั้งสิ้น
  • "โครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชีวิตครู" ตามที่"น้องสายลม" นำเสนอ หลักๆก็มาจากเรื่องนี้ส่วนหนึ่ง
  • และถ้าเป็นไปได้ ครูวุฒิอยากทำวิจัยจริงๆเรื่องนี้ก่อนเรื่องอื่นๆด้วยซ้ำไปครับ
  • แต่ยังไงก็ตาม  ในบริบทดังกล่าว ครูวุฒิก็ได้ "หักมุม" มาเติมใจให้น้องๆมี "พลังแห่งครู" ด้วย "ความสุขแบบเรียบง่ายในฉับพลันและยั่งยืน" เมื่อน้องๆมอบ"แก่นใจของครูเนื้อแท้" ให้กับเด็กๆแล้วไงครับ
  • ขอน้อมรับคำชี้แนะด้วยความยินดีอย่างยิ่ง และหากท่าน ดร. จะกรุณาให้คำชี้แนะเพิ่มเติมอีก  ก็จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ 
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ

ครับ ขอบคุณมากครับ

วันนี้ได้เรียนแล้ว และหวังว่าจะสามารถนำบทเรียนไปใช้ได้ในอนาคต ไม่ต้องเรียนเรื่องเดิมอีกครั้งหนึ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท