การศึกษาเพื่อความเป็นทาส ????? ใครได้ ใครเสีย


การพัฒนาระบบการศึกษาในระยะแรกของประเทศไทย ได้เน้นการทำให้คนไทยหลุดพ้นจากความเป็นทาส เมื่อมีการศึกษาแล้ว จะทำให้มีความรู้ความสามารถ เป็นอิสระ ทำงานพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องไปหวังพึ่งใครอีกต่อไป
  

ข้อคิดในการเขียนเรื่องนี้มาจาก ผลการเชิญ ครูบาคำเดื่อง  ภาษี  เป็นวิทยากรบรรยายในวิชา การจัดการทรัพยากรที่ดินแบบบูรณาการ เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เวลา ๑๐.๐๐-๑๑.๐๐ น. ในระหว่างที่ ครูบาคำเดื่อง รอการเข้าประชุมกับ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แผนและนโยบายการพัฒนาชุมชน ภายใต้วาระแห่งชาติด้านต่างๆ

  

ประเด็นสำคัญในการบรรยาย ก็คือ

 

ครูบาคำเดื่อง มีความเห็นว่า

 

การพัฒนาระบบการศึกษาในระยะแรกของประเทศไทย ได้เน้นการทำให้คนไทยหลุดพ้นจากความเป็นทาส  เมื่อมีการศึกษาแล้ว จะทำให้มีความรู้ความสามารถ เป็นอิสระ ทำงานพึ่งพาตนเองได้ โดยไม่ต้องไปหวังพึ่งใครอีกต่อไป

  

เสมือนหนึ่งเป็นการหลุดพ้นจากความเป็นทาส

  

(ฟังแล้ว คล้ายๆกับที่ผมเคยดู ภาพยนตร์เรื่อง ลูกทาส ที่พระเอกได้รับการปลดปล่อยและเข้าศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง จนสามารถทำมาหากินได้ ไม่ต้องเป็นทาสใครอีกต่อไป)

 

วิสัยทัศน์ของครูบาคำเดื่อง มองเห็นว่า

 

ระบบการศึกษาในปัจจุบันไม่มีการพัฒนาความรู้ที่จะนำไปสู่ความเป็นอิสระของชีวิต

 

ความรู้ส่วนใหญ่ที่สอนในสถาบันการศึกษา มักเน้นเพื่อฝึกหัดให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการที่จะออกไปเป็น ทาส รับใช้ ผู้อื่น

อย่างน้อยที่สุด ก็ระบบราชการ หรือไม่ก็เป็นระบบเอกชน

แต่แทบไม่มีการสอนใดๆ ที่จะเน้นให้ผู้เรียนพร้อมที่จะออกไปทำงานอย่างอิสระแบบพึ่งตนเองได้ 

การพัฒนาความรู้ ที่จะทำให้ตนเองเป็นอิสระนั้น ครูบาคำเดื่อง เน้นว่า

 
  •  จะต้องเป็นความรู้ที่ใช้ได้จริง
  • เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง
  • ความรู้เพื่อชีวิต และ
  • ป็นชีวิตที่ผูกพันอยู่กับการเรียนรู้
  • ไม่ใช่ชีวิตที่อยู่กับการท่องหนังสือไปสอบ โดยไม่มีการเรียนรู้
  • เมื่อจบมาจึงไม่มีความรู้ที่จะไปทำอะไรได้จริงๆ
 

กรณีตัวอย่างที่ครูบาคำเดื่อง เน้นในการบรรยาย ก็คือ

 

 เริ่มจากการทดสอบแนวคิดของตนเอง

โดยอธิบายถึงความพยายามที่จะไม่ให้ลูกชายของตนเองเข้าเรียนในสถาบันระดับอุดมศึกษา (ตามกระแส และตามเพื่อน) เพราะปัญหาของการสอนในสถาบันการศึกษาดังกล่าวข้างต้น

แต่กลับยกที่ดินทำกินให้ลูกแทนการขายที่ดินส่งลูกเรียน ซึ่งเป็นการลงทุนเท่าเดิม

  

หรือ อาจลงทุนน้อยกว่าเดิมด้วยซ้ำ เมื่อมองผลในระยะยาว

ว่า เงินที่ได้จากการขายที่ดินอาจจะไม่เพียงพอต่อการส่งลูกเรียนก็ได้

 

แต่การยกที่ดินทำกินให้ลูก ได้พัฒนาทั้งทรัพยากร การเรียนรู้ และความรู้ความสามารถของลูกที่ทำงานได้โดยอิสระ ไม่จำเป็นต้องไปเป็นทาสใคร

  

เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนของลูกชาย  ที่พ่อแม่ส่งเสียด้วยทุนมหาศาล (เมื่อเทียบกับทรัพย์สินที่มีของครัวเรือน)

  

เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ไปทำงานทั้งส่วนราชการและภาคเอกชน มีแต่พยายามดิ้นรน เก็บหอมรอมริบ เพื่อนำเงินที่ได้มาพัฒนาชีวิตแบบลูกชายครูบาคำเดื่อง ทำอยู่แล้วอย่างง่ายดาย

 

ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่า วิถีของลูกชายของครูบาคำเดื่องนั้น เป็นการเรียนเพื่อความเป็นไท มิใช่การเรียนเพื่อความเป็นทาส  และไม่จำเป็นที่จะต้องไปผ่านเป็นทาสก่อน แล้วพยายามดิ้นรนหนีมาเป็นไทเหมือนเพื่อนคนอื่นๆ ในรุ่นราวคราวเดียวกัน

  

ประเด็นการค้นพบของครูบาคำเดื่อง จึงเป็นสาระสำคัญของการศึกษา

 

ที่แปลว่า การพัฒนาตนเอง สามารถเลี้ยงตนเองได้ พึ่งตนเองได้ ตามหลักการพึ่งตนเอง และหลักเศรษฐกิจพอเพียง

  

และ ยังทำให้

  • ลูกหลานมีโอกาสอยู่กับพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พ่อ แม่ ไม่ต้องกำพร้าลูก ลูกไม่ต้องกำพร้าพ่อแม่
  • เป็นระบบสังคมที่สมบูรณ์ ไม่ต้องพลัดพรากจากกัน และ
  • ยังทำให้เกิดระบบการช่วยเหลือ พึ่งพากันในวงกว้าง ทั้งชุมชนและพื้นที่
  • ที่ลูกชายของครูบาคำเดื่องได้ทำงานอย่างมีหน้ามีตา เป็นที่รัก นับถือของญาติพี่น้อง ใกล้ ไกล
  • มีเกียรติและศักดิ์ศรี เทียบเท่า หรือใกล้เคียงกับรุ่นพ่อ ได้อย่างรวดเร็ว
  • สามารถทำงานวิจัยในชุมชนได้เป็นจำนวนหลายสิบโครงการพร้อม ๆ กัน
  • ที่ยากจะหาใครเทียบเทียมได้ในรุ่นเดียวกัน ไม่ว่าจะจบการศึกษาระดับใดก็ตาม
  

ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การศึกษาเพื่อความเป็นไท เป็นเส้นทางที่สั้น และลัดกว่า มีความชัดเจน และใช้ได้ดีกว่าระบบการศึกษาเพื่อความเป็นทาส ในทุกประเด็นอย่างสมบูรณ์แบบ และน่าจะดีกว่าในทุกประเด็น

 

ไม่ต้องวิ่งอ้อมไปตามเส้นทางกับดักของระบบการพัฒนา ที่ระบบ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ได้วางไว้

แต่สามารถอยู่ได้ พัฒนาตนเองได้อย่างมีศักดิ์ศรี ยั่งยืน มีความสุขตามระบบสังคมที่เป็นอยู่จริง

 

ที่ สำคัญมาก ที่ต้องมี

  • วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน

  • มีสัมมาทิฐิ และ

  • ใช้ความรู้ที่ถูกต้องนำทาง

พัฒนาไปได้สวย แน่นอน

 

ใครสงสัยอะไรติดต่อครูบาคำเดื่องได้ครับ

ชัดเจนกว่านี้แน่นอนครับ
หมายเลขบันทึก: 165455เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2008 16:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)
  • โดนครับ โดนอีกแล้ว
  • ชีวิตผมนี่ ถ้าไม่มีไฟฟ้าเสียอย่าง ตายหยังเขียด !

ครับ

ถือว่าเป็นผู้เสียสละ ยอมทำงานที่เสี่ยงเพี่อคนอื่น ก็มีคุณค่าในตัวแล้วครับ อิอิ

โชคดีที่ได้มาอ่านครับ...

ขอบพระคุณคุณพ่อคำเดื่อง และ อ.ดร.แสวง มากครับ

คุณเอกมีคู่เทียบแล้วครับ

ฝีมือสูสีครับ

อยากเแลกเปลี่ยนต้องมาบุรีรัมย์ครับ

โห...ท่านอาจารย์ครับ  ผมต้องรีบมาเขียนข้อเสนอแนะต่อทันควัน

อย่าเอาผมไปเทียบกับปราชญ์ชั้นสุดยอดครู เช่น พ่อคำเดื่องเลยครับ ผมยังเด็กน้อยที่ต้องเรียนรู้มากมายครับผม

กระผมยังโง่งมอยู่มากครับ

เป็นโอกาสที่ดีที่ผมได้เข้ามาสู่กระบวนการเรียนรู้กับปราชญ์ทุกท่านครับ

ผมไม่ได้เทียบกับครูบาคำเดี่อง

ผมเทียบกับลูกชายครูบา

ชื่อเล่นว่า "แม๊ก"

ชื่อจริง นาย ศักรินทร์ ภาษี อายุ ไล่เลี่ยกันกับคุณนั่นแหละ (กำลังสืบอยู่ครับ)

แหม นีกว่าเข้าใจ

ละไว้ในฐานที่เข้าใจ ครับ

สวัสดีครับอาจารย์

อ่านแล้วศรัทธาความคิดของครูบาคำเดื่องครับ คิดสอนลูกให้เป็นอิสระจากทาสเงิน ลูกชายผมก็เปิดร้านเป็นของตนเอง(ครอบครัวผมเป็นครอบครัวที่คุณพ่อเป็นพ่อค้า)ก็ต้องคิดตามแนวคิดของพ่อค้า ทั้งๆที่ผมเป็นข้าราชการแต่ลูกไม่ชอบ ผมก็ไม่บังคับเพราะสอนลูกตลอดเวลาว่าให้ลูกคิดทำในสิ่งที่ลูกชอบ ไม่จำเป็นต้องมาเป็นอัยการ หรือเป็นนักกฎหมาย ลูกอยากเป็นอะไรเป็นวิถีของลูกพ่อสนับสนุนทั้งนั้น เพียงขอให้ลูกเป็นคนดี มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง ความสุขมิได้อยู่ที่เงิน

ผมก็แปลกใจตัวเองเหมือนกันว่าคุณพ่อผมเป็นพ่อค้า แต่ผมคิดแบบพ่อค้าไม่เป็น ผมอยากรับราชการ และการรับราชการก็ไม่อยากไต่เต้าตั้งแต่ซี ๓ ก็เลยสอบเป็นอัยการ ส่วนแนวคิดแบบพ่อค้ากลับมาได้ที่ลูก แต่ผมกลับชอบธรรมชาติ สงสัยได้จากแม่เพราะแม่อยู่สวนมาก่อน รักต้นไม้ แม่มือเย็น ปลูกอะไรก็ขึ้นครับ

สบายดีนะครับ

อาจารย์ครับ

ยินดีครับ อย่างน้อยหากเจอคน "พันธุ์" นี้ ก็จะได้คุยแลกเปลี่ยนกันครับ หากมีโอกาสผมคงได้ไปเยี่ยมเยือน

ครับ พันธุกรรมแฝงเจอบ่อยครับ

หลานผมคนหนึ่ง (ปัจจุบันเป็นเภสัชกรที่ รพ สงขลา) เกิดมาหน้าตาไม่เหมือนใครเลย ทั้งสายพ่อสายแม่ แต่ไปเหมือนย่าของผมราวกับแกะ

และ พี่ชายผมคนนี้ (ปัจจุบันอยู่สิงหนคร จ. สงขลา) ก็แปลกพอกัน

หน้าไม่เหมือนพ่อแม่  ปู่ย่าตายาย แต่ไปเหมือนน้องของปู่ แปลกจริงๆครับ

ผมว่านิสัยยิ่งลึกลับและสึบยากกว่าหน้าตาครับ

ขอให้โชคดีครับ

แต่เขาแน่จริงๆนะครับ

ไม่เข้ามหาวิทยาลัยได้ และ "ไม่อายใคร" ในทุกมุมมอง ตั้งแต่ยังหนุ่ม

เชื้อไม่ทิ้งแถวครับ

สวัสดีครับคุณครู ดร.แสวง

  • ผมคนหนึ่งล่ะครับ  ที่อยู่ในข่ายที่ท่านคุณครูว่า
  • ผมจึงสอนลูกให้หนีจากความเป็นทาสให้ไกลที่สุด (ซึ่งเขาก็เข้าใจ มีการตอบสนองและรับลูก และวางเส้นทางของตัวเองอย่างมีเหตุผลพอควรไว้บ้างแล้ว)
  • หลักสูตรการศึกษาของโคกเพชร  เน้นแนวคิดอิสระ พึ่งตนเอง และสำนึกดีเป็นสำคัญ ไม่สร้างคนเป็นทาสไม่ว่าในรูปแบบใดๆทั้งสิ้นครับ
  • ขออนุญาตนำบันทึกนี้ ไปเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารต้อนรับการมาเยี่ยมของ สมศ.รอบ 2 ในโอกาสใกล้ๆนี้ครับ (เตรียมไว้บ้างแล้วหลายบันทึก ส่วนใหญ่เป็นของพ่อครูบาและของคุณครูแสวง เลยขอถือโอกาสนี้ขออนุญาตพร้อมๆกันทุกบันทึกเลยครับ)
  • สัปดาห์ที่แล้ว สมศ.น้อย (เป็น ผอ.รร.2 คนและ ศน.1 คน โดยคำสั่งของ สพท. ตามโครงการของ สพฐ.) เข้ามาเยี่ยมโคกเพชร 2 วัน มีการถามหาเอกสารกระจ๊อกกระแจ๊กที่ไร้ประโยชน์หลายรายการ  ทำเอาคุณครูหลายคนรู้สึกอึดอัดและเป็นกังวล  2 วันที่ว่าเลยเสมือนมาช่วยเติมความเครียดให้ครูไปโดยปริยาย
  • ทั้งๆที่โคกเพชรเป็นโรงเรียนเล็กๆมีครูไม่กี่คน เด็กหยิบมือเดียว ในขณะที่อุปสรรคและปัญหามีเพียบ(ส่วนใหญ่มาจากสภาพความไม่พร้อมของครอบครัวของเด็กที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยนั่นแหละครับ) ถ้ามัวแต่เน้นกระบวนการสร้างเอกสารหลักฐานแบบละเอียดยิบเกินความเป็นจริง เนื้องานจริง(การลงมือพัฒนาเด็กตามบริบทของเด็กแต่ละคน) คงไม่ต้องทำกันพอดี
  • ก็ไม่รู้ว่าใครจะปรับทัศน"การเรียนเพื่อเป็นทาส"ของสังคมไทยได้
  • สวัสดีครับ

Dsc00011 

"แม๊ก" ลูกชายพ่อคำเดื่อง(ใส่เสื้อยืดสีน้ำตาล) ในวันที่ครูวุฒิพาคณะไปเยี่ยมพ่อคำเดื่องที่บ้าน (อ.แคนดง บุรีรัมย์)

สวัสดีครับ P 

 ดร. แสวง รวยสูงเนิน
เป็นปกติของหลักสูตรการศึกษา ที่คอยตามหลังระบอบที่เกิดขึ้นในประเทศ  แท้ที่สุดก็ไปรับใช้ระบอบทุน

การวิวัฒน์ของวงการศึกษาจึงต้องสังคยนารอบใหญ่เพื่อรับใช้ความเป็นจริงและมองเห็นอนาคตของมวลมนุษย์

มองไปข้างหน้า มองให้ไกล มองให้ถูกจุด  เราจะแข็งแกร่งต่อไป

  • ถ้าจะบอกว่าสาย คงไม่ใช่
  • ถ้าจะบอกว่าเป็นไปไม่ได้ ก็ไม่ใช่อีก

อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือเปล่าเท่านั้น

ความหวังมีอยู่ พวกเราดำรงค์อยู่ได้อยู่ที่ความหวังนี้แหละ

ครับ

ผมคิดว่าเราควรจะเลิกทาสทางการศึกษา และการพัฒนาชีวิตได้แล้ว

การเป็นทาสคงจะมีข้อดีอยู่บ้าง แต่ความเป็นอิสระที่มีความรู้เป็นแสงส่องทางน่าจะดีกว่านะครับ

 

ในอีกมุมหนึ่ง คนที่คิดว่าระบบทาสดีนั้น อาจคิดมาจากกระบวนทัศน์ของเผด็จการ และเหมาะกับสังคมที่ไม่ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิต

 

หรือเรายังอยากเห็นประเทศไทย พัฒนาตามเสันทางนี้

บางทีผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับ

แต่คนไทยไม่น่าจะโง่อย่างที่ผู้บริหาร และคนสอนบางคนคิดอยู่นะครับ

ที่เขาไม่โวยก็เพราะขี้เกียจตอแย จากนิสัยรักสงบมากกว่านะครับ

หรือท่านว่าอย่างไรครับ

 

  • คุณครู ดร.แสวงครับ
  • ผมว่าเราคงปล่อยให้เลยตามเลยอย่างที่ผ่านมาไม่ได้แล้วล่ะครับ
  • เพราะสังคมเราผุพังหนักขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็น
  • คนที่ผ่านระบบการศึกษาในระดับสูงๆ  พอวัดดูจริงๆแล้ว แกร่งน้อยกว่าคนที่รับการศึกษา(ในระบบ)น้อยกว่าอีกครับ
  • ปัญหา "ต้มยำกุ้งดีซีส" ที่ผ่านไปหยกๆ เป็นบทพิสูขน์ที่ชัดเจนมากครับ
  • โคกเพชรจึงแทบจะปฏิวัติหลักสูตรทั้งหมด  หันมาใช้หลักสูตร "การกล่อมเกลา ฝึกฝน และเรียนรู้เพื่อชีวิต" มากกว่า 75 % อย่างทุกวันนี้ไงครับ
  • สวัสดีครับ

สนใจครับ

นับถือ นับถือ

 

จะหาทางไปเยี่ยมชมให้ได้ครับ

วันไหนดีครับ

ไม่เรียนแล้วจะทำอะไรกินครับ พ่อแม่ผมไม่มีที่มากพอจะมาแบ่งให้ลูกทำกินหรอกถึงจะแบ่งให้พวกผมได้แล้วรุ่นลูกผมอีกล่ะ เหมือนที่มันจะแคบลงเรื่อยๆครับ พ่อแม่อยากเห็นลูกเรียนให้สูงที่สุดนะครับ ที่พูดอย่างนี้ไม่ใช่ว่าความคิดท่านผิดนะครับ แต่ทุกครอบครัวทำแบบท่านไม่ได้หรอก ผมเชื่อว่าลูกท่านคงจะไม่ได้ทำเกษตรเลี้ยงชีพหรอกครับ รายได้ส่วนใหญ่ก็มาจากงานโครงการแหละครับ ก็ถือว่าโชคดีที่พ่อนำร่องไว้แล้ว ลองเป็นลูกคนอื่นถ้าไม่เรียนให้สูงกว่าพ่อแม่น่ะแย่แน่ๆ ถึงจะเป็นทาสแต่ก็ต้องยอมครับมันเลือกไม่ได้ทุกชีวิตก็ต้องดิ้นรนแหละ ผมแค่มองว่าลูกท่านโชคดีกว่าคนอื่นๆครับดิ้นรนน้อยหน่อย

ครับ เราต้องเรียนแน่นอน

คนไม่เรียน มีแต่เสียค่าโง่ตลอดชาติ

แม้จะ "เข้าโรงเรียน" แต่ "ไม่เรียน" ก็จะเสีย "ค่าโง่" เหมือนเดิม

ที่หนักไปกว่านั้น ก็คือ การเรียนเพื่อ "ความเป็นทาส" ก็ยิ่งเสียค่าโง่หนักขึ้นไปอีก อย่างน้อย ๒ เท่า

เพื่อจะไม่เสียค่าโง่  เราต้องเรียนแบบ และ เพื่อความเป็น "ไท" ครับ เรียนอะไรก็ได้ครับ

คงเข้าใจนะครับ

ลูกผมก็เรียนเหมือนกัน แต่ ไม่คิดจะเตรียมตัวเป็น "ทาส" ใครครับ

เรียนเพื่อเป็น "ไท" และ ทำงานเพื่อสังคมได้สะดวก

ไม่ใช่ทำงาน "เยี่ยงทาส"

ขอบคุณครับ

ไม่มีใครเป็นทาสหรอกเอาคำว่าทาสมาใช้ไม่ได้ ในสังคมนี้มันต้องมีหลากหลายบทบาทหน้าที่

เรามีความสุขกับงานที่ทำจะเรียกว่าทาสอย่างไร อย่ามองอะไรด้านเดียวสิ แล้วถ้าสังคมนี้ทุกคนจะออกมาทำงานส่วนตัวกันหมดผมว่ามันก็คงแปลกๆนะ ถ้าเรามีความสุขกับสิ่งที่ทำและทำมันออกมาดีก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร คำว่าทาสมันไม่ใช่แล้วแหละ

ใช่ครับ จะเรียนหรือไม่เรียน สุดท้ายให้พบสิ่งที่ใช่สำหรับเราและทำมันให้ดี

คนที่ไม่เรียนก็ประสบความสำเร็จได้ คนที่เรียนใช่ว่าเสียค่าโง่ มันได้มันเสียกันคนละอย่าง และไม่มีการป็นทาสใครทั้งนั้น ถ้าผมเป็นลูกท่านผมจะเรียนครับการทำงานเพื่ออุดมการณ์นั้นไม่ใช่ว่าต้องทำอะไรสวนกระแส ความรู้เราก็จะกว้างขึ้นครับไม่ใช่เรียนแล้วจะไม่ได้อะไรเลย เมื่อเราต้องเรียนในระดับอุดมศึกษา เราต้องจากบ้าน จากพ่อแม่

แต่เราได้รู้จักการใช้ชีวิตมากขึ้น ช่วยเหลือตัวเอง รู้จักตัดสินใจ และมีวินัยต่อตัวเองมากขึ้นเราต้องแข่งขัน ทุกอย่างในสถาบันมันให้เราอยู่แล้ว ขึ้นอยู่ว่าเราจะเดินไปในทางที่ดีหรือเปล่า รับแต่สิ่งดีๆหรือเปล่า การเรียนไม่เสียค่าโง่แม้แต่นิดเดียว ทุกอย่างอยู่ที่ตัวเรา

เมื่อจบมาแล้ว การเข้าทำงานในองค์กรต่างๆไม่ว่าเป็นรัฐหรือเอกชน มันก็คือความภูมิใจครับ ยังไม่เคยเห็นใครทำงาน เยี่ยงทาส เลย หรือคนที่จบแล้วจะออกมาทำงานของตัวเองตามความชอบของตัวนั้นก็เพราะมีกำลังทรัพย์อยู่พอสมควรแล้วประมาณว่าพ่อแม่มีเงินสนับสนุนอันนั้นมันก็เป็นเรื่องสมควรที่จะทำ อันนี้แหละประเด็นมันอยู่ที่มีเงินหรือเปล่า

คงไม่มีใครออกมาทำงานกินอุดมการณ์อย่างเดียว เพราะความต้องการของมนุษย์คือ

1.ความต้องการทางสรีระวิทยา คือปัจจัย4และ5และ6ทั้งหลาย

2.ต้องการความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต

3.ความต้องการทางสังคม

4.ชื่อเสียงเกียรติยศ

5.ความสำเร็จแห่งตน

อันนี้เรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ ที่พูดมาทั้งหมดเพราะไม่อยากให้มองว่าคนที่เรียนมาไม่ได้อะไร แต่ถ้าระบบการศึกษาของเราจะปรับปรุงให้ดีขึ้นก็ยิ่งดีครับจะยังงัยก็ตามมันอยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ จะน่าภูมิใจกว่าถ้าเราสามารถเรียนได้ในระดับสูงสุดและทำงานสานต่ออุดมการณ์ของบุพการีได้พร้อมกันจะได้ไม่ต้องรู้แต่เรื่องต้นไม้ไง

ผมว่าการคุยเป็นคนละเรื่องเดียวกันครับ

คำที่ผมใช้มีความหมายดังนี้ครับ

"การเรียน" แปลว่า "การรับความรู้เข้ามาสู่ระบบความรู้เดิม รวมถีงการเรีบยเรียงความรู้ให้เป็นระบบ เพื่อพร้อมที่จะนำไปใช้"

ฉะนั้น เราจึงต้อง "เรียน"

จะเรียนที่ไหน ในห้อง นอกห้อง หรือที่ไหนๆ ก็ได้ นั่นเป็นเรื่องที่ ๑

จะเรียนไปทำไม เรียนเพื่อพัฒนาตัวเอง เพื่อแค่ทำงานให้เป็น หรือ แค่ทำตามคำสั่งได้ นั่นเป็นประเด็นที่ ๒

และ เมื่อเรียนไปแล้ว จะนำไปใช้ทื่อๆ หรือนำไปต่อยอด เพื่อพัฒนาตัวเอง นั่นเป็นเรื่องที่ ๓

ทีนี้ การเรียนเพื่อความเป็น "ทาส" ก็คือ เตรียมตัวเพียง "ทำตามคำสั่ง" ไม่สั่ง ทำไม่เป็น

นี่คือประเด็นของ การศึกษาเพื่อเพียงรู้วิธีเป็น "ทาส" ที่ผมพยายามสื่อ ว่า พ่อคำเดิ่อง (และผม)ไม่เห็นด้วย

อยากฟังมุมนี้ชัดๆ ครับ ว่าเราควรจะแก้ไขหรือไม่ หรือ อย่างนี้ก็ดีอยู่แล้ว

และถ้าเห็นว่าดีอยู่แล้ว ผมก็จะถามต่อ ว่า "ใครได้ ใครเสีย"

และ ทำไมเราและคนอื่นๆ จึงพอใจเช่นนั้น

ประเด็นอื่นๆ ค่อยว่ากันในวาระอื่นๆต่อไป ได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

ท่านที่มาเสนอแนวคิด ขอให้กรุณาแสดงตัวด้วยครับ

ผมจะได้ติดตามความคิดของท่านได้ต่อเนื่องต่อไป

คนที่มาอ่านภายหลังจะได้ทราบด้วยว่า ท่านคือใคร

ครับ ถ้าเรื่องระบบการศึกษาก็อยากให้ปรับปรุงครับรวมทั้งบุคคลากรทางการศึกษาด้วย ต้องใช้เวลานานทีเดียวแหละ พูดง่ายแต่ทำยากนะ ผมเองก็เห็นว่ามันไร้คุณภาพ(ส่วนใหญ่ด้วยนะ)แต่ก็ต้องไปตามกระแสทำไมถึงต้องตามกระแส หรือพอใจที่มันเป็นเช่นนั้น

ผมว่าความเห็นที่ผ่านๆมาคงให้คำตอบได้

 

เมื่อท่านไม่ยอมแสดงตัวก็ไม่เป็นไรครับ

แต่ผมใคร่ขอ และอยากฟังความเห็นชัดๆ ว่าควรจะทำอย่างไร

ในบันทึกนี้ผมใช้ในการสอนนักศึกษาปีที่ ๒-๔ จำนวนหลายร้อยคนต่อปี ด้วยครับ

ถ้าไม่มีประเด็นสาระความรู้ที่ตรงกับประเด็นของเรื่อง ผมจำเป็นต้องลบออกเพื่อกันการสับสนของผู้เรียนครับ

หรือ ถ้าท่านแสดงตัวผมก็จะให้นักศึกษาไปตามอ่านแนวคิดของท่านก็ได้ครับ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ดังใหญ่แล้วนะพี่แม็กเรา 555

คนไม่เปิดเผยชื่อถือว่าไม่จริงใจ ต่อหน้าเป็นอย่าง ลับหลังเป็นอย่าง อาจไม่ใช่คนดีครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท