การพัฒนา “การศึกษา” ของไทย เริ่มต้นที่ไหนดี?????


ผู้เรียนจนจบหลักสูตรส่วนใหญ่ก็ "ผิดหวัง" กับ หลักสูตร " .....จบมาได้อย่างไร ยังไม่เห็นจะรู้อะไรเลย"

 ตั้งแต่ผมเปิดประเด็นปัญหาการศึกษาของไทย เมื่อวันก่อน

ที่ผมเน้นไปว่า อาจจะมีสาเหตุมาจาก คุณภาพของ ครู 

ก็มีพันธมิตรหลายท่านเข้ามาแลกเปลี่ยน แบบ เหมือนนั่งอยู่ในใจผมเลยครับ

แต่ก็อาจจะมีบางท่าน ยังคลางแคลงใจว่า ผมนำเสนอเรื่องการศึกษาแบบนี้

 ·       คิดอะไรอยู่ 

·       ต้องการอะไร 

·       หรือ เพียง ฟื้นฝอยหาตะเข็บ

·       หรือ แม้กระทั่ง แกว่งเท้าหาเสี้ยน 

ผมจึงขอขยายความอีกนิดหนึ่งว่า

ประเด็นที่ผมชูวันนี้คือ

ความอึดอัดของผมที่อยู่ในระบบการศึกษา และการสัมผัส

·       การไม่บรรลุเป้าหมายของ "ระบบการศึกษาไทย"

·       ที่ไม่สามารถพัฒนาคนได้

·       แล้วอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไร 

ผมรู้สึกเอาเองนะครับ (และอยากให้เป็นแค่นั้นจริงๆ ครับ) ว่า

  • คนที่จบไปแล้วไม่ค่อยได้อะไร ตามที่เขียนไว้ในเป้าประสงค์ ทั้งของวิชา และของหลักสูตร และเป้าหมายการเข้ามาเรียนแต่แรก

·       ผู้เรียนจนจบหลักสูตรส่วนใหญ่ก็ "ผิดหวัง" กับ หลักสูตร"จบมาได้อย่างไร ยังไม่เห็นจะรู้อะไรเลย"

นี่คือ ความเห็นของคนที่จบการศึกษาจำนวนหนึ่ง ที่ผมสัมผัสมาจริงๆ

·       คนที่จะรับผู้จบการศึกษาเข้าทำงานก็ผิดหวัง"จบอะไรมา ก็ไม่เห็นทำอะไรเป็นสักอย่าง" ดังนั้น ส่วนใหญ่ ผู้รับคนเข้าทำงาน 

  • เขาจึงมักไม่ดูวุฒิ
  • รับแล้ว ไปฝึกเอาทีหลังดีกว่า
  • ไม่มีประโยชน์กับการเสียเวลาวัดความรู้ ความสามารถตอนรับเข้าทำงาน
  • แค่ดูแววว่าพอพัฒนาได้ ก็พอแล้ว

 ·       และสถาบันที่ตั้งเป้าไว้อย่างสวยงาม ก็มักไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของ การพัฒนาคน

แต่ก็ชัดๆเรื่องเดียวคือ "จำนวนผู้ผ่านการสอบ" แต่ ผ่านไปแล้ว มีคุณภาพตามที่เขียนอ้างไว้ไหม สักกี่ส่วน ทั้งใน

  • ภาพรวมขององค์ความรู้ที่รับไปได้จริงๆ
  • จำนวนคนที่รู้จริงตามการโฆษณาชวนเชื่ิอ ของสถาบัน และที่เขียนไว้ในหลักสูตร และ
  • ความสามารถภายในตัวบุคคลเอง ตามที่กล่าวอ้างไว้ในหลักสูตร หรือ เป้าหมายของแต่ละสถาบัน ที่สวยหรูทุกแห่ง

 นี่คือตำถามที่ใหญ่ที่สุดที่ผมมี ก็คือ

ดูเหมือนว่าเราจะทำเป็นไม่รู้ ไม่รับรู้ และ ไม่สนใจ (ขอให้ผมได้เข้าใจผิดเถอะครับ ผมจะดีใจมากที่สุดในชีวิต)

และ ทำแบบ "ขออยู่รอดไปวันๆ " ใครจะเป็นอย่างไร ไปแก้ไขกันเอาเอง "ข้าอยู่รอดได้แล้ว ฮ่าฮ่าฮ่า"

เพราะ หลายๆท่าน ก็อาจคิดแค่ว่า งานประจำที่ทำอยู่ก็หมดแรงแล้ว  

ทีนี้ ผมจึงพยายามดึงประเด็นมาที่ตัวคนสอน ที่อ้างตัวว่าเป็น "ครู" แต่ชอบให้คนอื่นเรียก "อาจารย์" ว่า

น่าจะเป็นส่วนสำคัญในการเกิดข้อผิดพลาดในประเด็นนี้

นอกเหนือไปจาก

  • "ระบบราชการ" 
  • ค่านิยมของสังคม 
  • กระแสของสังคม
  • และระบบ "การกำกับดูแล"

ที่ยังมีข้อจำกัดมากพอสมควร

ถ้าจะหาข้อจำกัดและแก้ที่ระบบ มันกว้างและหาจุดเริ่มได้ยาก 

ผมจึงกลับมาคิดว่า ถ้าเรามาเริ่มที่ "ตัวบุคลากร" นี่แหละ น่าจะตรงและง่ายที่สุด 

ตามหลักการที่ว่า "จะแก้ไขใคร ต้องแก้ที่ตัวเองก่อน" 

และ ภายใต้ความคิดที่ว่า "ระบบจะดีแค่ไหนก็ไปไม่ได้ ถ้าคนไม่พร้อม" 

และบทกลับ "ถ้าคนพร้อม ระบบอย่างไรก็พอเริ่มต้นไปได้ และสามารถไปพัฒนาทีหลังก็ยังได้" 

นี่คือแนวคิดตั้งต้นในการเขียนเรื่อง "ครู" กับ "ระบบการศึกษา ครับ 

ขอบพระคุณอีกครั้งที่ทุกท่าน มาช่วยขยายความ ให้ผมได้มองระบบ องค์กร บุคลากร และตัวเอง อย่างรอบคอบมากขึ้นครับ 

หมายเลขบันทึก: 163221เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2008 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน ท่าน ดร.แสวง ครับ

  • เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ว่ามีปัญหาอย่างท่านอาจารย์ว่าอย่างยิ่ง 

 

  • ผมว่า "การออกนอกระบบ" น่าจะแก้ปัญหาเรื่อง "คน" ตามที่ท่านอาจารย์ตั้งประเด็นเอาไว้ได้นะครับ ท่านอาจารย์เห็นด้วยหรือไม่ครับ ?
  • อย่างไรก็ตาม ผมก็เห็นด้วยกับแนวคิด "ความหลากหลาย" ของอาจารย์อุดมศึกษา เพราะเชื่อว่า ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาต้องคิดและเลือกได้ด้วยตนเอง อย่างคำพูดที่ว่า  คนสองคนเดินมาคนหนึ่งเป็นคนเลว อีกคนหนึ่งเป็นคนดี คนทั้งสองคือครูของข้าพเจ้า เอาเยี่ยงแต่ไม่เอาอย่าง

 

  • แค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวจะเกินงาม อิ อิ
สวัสดีค่ะ อ.แสวง การศึกษาไทย ต้องให้นักเรียนได้ปฎิบัติให้มากเพื่อเกิดทักษะการเรียนรู้อย่างแท้จริง แต่ส่วนใหญ่มักอัดทฤษฎีเยอะค่ะ เด็กเรียนจนง่วง บางคนอ่านตำราอ่านทฤษฎีเยอะมาก ไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับพ่อแม่ การปฎิบัติธรรม การสร้างให้เด็กมีจริยธรรมถือเนเรื่องสำคัญค่ะ แต่ถูกมองข้ามค่ะ ด้วยความเคารพค่ะ

ครับ

ตอนนี้เรายัดเยียดสิ่งที่เราเรียกว่า "ความรู้" ให้กับเด็ก แบบที่หมอประเวศ ว่า

"ยัดช้างผ่านรูเข็ม"

ลำบากด้วยกันทุกฝ่าย

เราต้องมาคิดใหม่ ให้เฉพาะเรื่องที่จำเป็น แบบ

 

"ใบไม้กำมือเดียว" ได้ไหม

ในโลกความเป็นจริง เราไม่ต้องรู้มาก แต่พอเพียงก็ทำงานได้ ไม่ใช่หรือครับ

รู้มากทำอะไรไม่เป็น สู้รู้น้อนแต่ทำงานได้ไม่ดีกว่าหรือครับ

สิ่งที่เรียน "เผื่อใช้" แต่ (จริงๆ) เพื่อลืม นั้น ไม่ทราบจะให้เรียนไปทำไมกันครับ

ผมเถียงเรื่องนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว ปัจจุบันก็ยังไม่มีใครเห็นด้วยเลย

แต่ก็จะสู้ต่อไปครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • แวะมา VOTE ให้บันทึกนี้ครับ
  • ชอบวลีของอาจารย์ที่ว่า ตัวคนสอน ที่อ้างตัวว่าเป็น "ครู" แต่ชอบให้คนอื่นเรียก "อาจารย์"
  • ผมชอบเรียกตัวเองว่า ครู ไม่เรียกตัวเองว่า อาจารย์
  • ส่วนคนอื่นจะเรียกว่า ครู หรือ อาจารย์ ก็แล้วแต่สะดวก
  • แปะไว้ ... ยังคิดอะไรไม่ออกครับ อาจารย์

 ขอบคุณครับ สำหรับความตรงไปตรงมาครับ :)

ขอบคุณครับ

ผมคิดว่า ถ้าทุกท่านทำตัวเป็นครูมากสักหน่อย

จะเป็นอะไร ทำอะไร น่าจะไปได้ด้วยดีทั้งนั้นแหละครับ

แก้ไขตัวเอง แบบ

ตามองดาว เท้าติดดิน

ผมเชื่อว่าเรามีทางรอดครับ

 

สวัสดีครับ ขออนุญาตแนะนำ Website ระบบการเรียนรู้และการบริหารเครือข่ายทางการศึกษา จากโครงการวิจัยห้องเรียนธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยภูมิปัญญาตะวันออกเฉลิมพระเกียรติ: สวนพอเพียงแปดทิศนิรมิตเกษตร ขอเชิญทุกท่านเยี่ยมชมและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่ www.garden-learning.com  ครับ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ทุกความเห็นจะปรากฏในงานวิจัยเล่มจริงด้วยครับ ขอบคุณครับ ^__^

.

.

.

.

.

.

 

                                               

 

                           นายกองแก้ว  รัตนปัญญาพันธุ์

                           ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

         โรงเรียนบ้านปงหัวหาด (หัวหาดราษฎร์บำรุง)

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท