จิตตปัญญาเวชศึกษา 44: การห้อยแขวน SUSPENSION


การห้อยแขวน (SUSPENSION)

ในวิถีชีวิตที่รีบเร่ง ฟันธง และตัดสิน เราจะ download ข้อมูลเก่า การแปลผลเก่า ใช้เทปม้วนเก่า เปิดซ้ำแล้วซ้ำอีก ชีวิตเต็มไปด้วย routine ซ้ำซาก และนำไปสู่ความเบื่อหน่าย เดินทางห่างจาก the source หรือ ความหมายที่แท้จริงของงานตั้งแต่เริ่มแรกไปเรื่อยๆ และนิจศีลที่เราทำเสมอๆก็คือ voice of judgment ในการที่จะหลีกพ้นจาก cycle นี้ เครื่องมือที่สำคัญคือ "การห้อยแขวน (suspension)" นั่นเอง

การห้อยแขวน Suspension

มีคนสงสัย เวลาพูดถึงการห้อยแขวนว่ามันจะทำยังไง ไม่ตัดสินแล้วจะทำอะไรต่อได้ยังไง มันไม่เสียเวลาเหรอ ประชุมแต่ละครั้งก็ไม่ทันอยู่แล้ว มาห้อยๆ แขวนๆ ยิ่งไม่เสร็จกันใหญ่ล่ะซิ 

ที่จริง non-judgmental นั้น ไม่ถึงกับ "ไม่ตัดสิน" เลยเสียทีเดียว แต่เป็น "ไม่ด่วนตัดสิน" คือ ให้ใคร่ครวญ ให้ไตร่ตรองก่อน

ลองนึกถึงที่ประชุมที่เราทำงาน หรือเวลาเราอ่านหนังสือพิมพ์ ดูภาพยนต์  ถ้าเรามีสติ awareness หรือ mindfulness ที่สามารถจะ "้เท่าทัน" ความคิด ความรู้สึก เราจะพบว่า โดยเงียบๆ เราจะเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ชอบ ไม่ชอบ เกิดขึ้นเป็น flash อย่างรวดเร็ว เรื่องราวทั่วๆไปก็อาจจะไม่เท่าไร แต่จะเริ่มมี "ความหมาย" มากขึ้น ถ้าเรื่องนั้นๆมาแตะ core belief system ของเรา มาแตะต้อง core value ของเรา เมื่อนั้นแหละที่เราจะรู้สึก "รุนแรง" ขึ้น อยากจะโต้ตอบ อยากจะชี้แจง อยากจะแก้ตัว อยากจะโจมตี

ในสถานการณ์เผชิญหน้า ถ้าเราไม่ได้ฝึกการห้อยแขวน และเรื่องราวที่เราไม่เห็นด้วยถูกนำเสนอขึ้นมา เราก็จะทนไม่ค่อยได้ บางคนก็จะพูดแซงขึ้นมาเลย โพล่งออกมาเลย บางคนก็ยังรออยู่ ตั้งหน้าตั้งตารอเพื่อที่จะพูด แต่ ณ ขณะที่เราตั้งหน้าตั้งตารอจะพูดนั้นเอง ปรากฏว่า "เราหยุดฟัง" ไปเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าเรากำลังเรียบเรียงในหัวว่า เดี๋ยวเราจะพูดอะไร พูดยังไง วาง straregy การพูด ดังนั้นบางทีเราก็จะตกอยู่ในภวังค์และหยุดฟังอย่างสิ้นเชิง 

จะเกิดอะไรขึ้นในที่ประชุม ที่คนเข้าร่วมประชุมหยุดฟัง และต้องการจะพูดของตัวเองออกมาเท่านัน ผลสุดท้ายก็จะเหมือนกับไม่ได้ประชุม เพราะก่อนประชุมเรามี attitude มุมมองอย่างไร ออกจากห้องประชุม เราก็ยังมี attitude และมุมมองเหมือนเดิม อาจจะแถม bad attitude ต่อต้่านคนที่ "บังอาจ" คิดไม่เหมือนเรา หรือบังอาจ devalue สิ่งที่เราคิดว่าดี ว่างาม ว่าสมควร ก็จะแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการประชุมอย่างสร้างสรรค์ หรือเรียกงานประชุมที่สร้างสรรค์ต่อเมื่อทุกคนมีความเห็นตรงกัน หรือแสดงออกว่าเห็นตรงกันเท่านั้น (แต่จริงๆอาจจะไม่ใช่ แอบไปนินทาก็เยอะ)  

จะทำอย่างไรดี ในการหัดห้อยแขวน

แม้ว่าในคนที่คิดว่าการห้อยแขวนดีก็ตาม แต่หลายๆคนก็ยังบอกว่า ฉันทำไม่ได้ ยากจังเลย  มันไม่มีเวลา ก็อยากทำเหมือนกันแต่มันตัดสินไปแล้วนี่ แล้วจะทำอย่างไร ฯลฯ โดยส่วนตัวผมคิดว่า สิ่งที่สำคัญในแบบฝึกหัดการห้อยแขวนก็คือ awareness หรือ สติ หรือ mindfulness 


 

การตัดสินนั้น หรือการรู้สีกชอบ ไม่ชอบ ยังพอมีเวลาแก้ไข ตราบใดที่มันยังไม่ลงไปถึงกระบวนทัศน์ วิถีคิด หรือออกมาเป็นพฤติกรรม และตามความเป็นจริง "ความรู้สึก" นั้นเป็นสิ่งที่ห้ามยาก และออกมาแบบ automatic ที่เราเองก็ไม่รู้ตัว

การบอกตัวเอง "ก่อน" เสมอๆ ว่า "เราจะไม่ด่วนตัดสินๆ" ก็ช่วย เหมือนกับเป็นการ "เตรียมตัว" เผชิญหน้า เราก็จะไม่แสดงอะไรออกเป็น reflex อย่างแรกเริ่่มเดิมที เช่น ก่อนออกเดินทางไปยังสถานที่อโคจรต่างๆ (จะเพราะเหตุใดก็ตาม) ก็บอกกับตัวเองว่า เดี๋ยวเราจะเจออะไรๆที่เราอาจจะจี๊ดได้ อาจจะ upset ได้ พอถึงเวลา เราก็จะจี๊ดน้อยลง upset น้อยลง บางคนเรียกวิธีเตรียมสภาพจิตไว้ก่อนนี้ว่าการทำ "mental rehearsal" ซึ่งเป็นเทคนิกที่มีประโยชน์มาก

 

แต่ในสถานการณ์จริง เราไม่สามารถจะเตรียมตัวไว้ก่อนได้ทุกสถานการณ์ เพราะมันจะมีอะไรที่เกิดคาด ไม่ได้คิดไว้ก่อนเกิดขึ้นได้เสมอ แล้วจะทำอย่างไร?

Awarenessม, Mindfulness มีสติ รู้เท่าทัน ก็จะช่วยได้เยอะ คือ เราก็ปล่อยให้ตัวเรามีอารมณ์ ความรู้สึก ตามปกติ แต่เราจะฝึกหัดตัวเองให้สะท้อน ตรวจสอบ สภาวะจิตเราบ่อยๆ บ่อยขนาดรู้ตัวตลอดเวลา หรือเกือบตลอดเวลา ทันทีที่เรารู้ตัวว่าเราจี๊ดอีกแล้ว เรารู้สึกไม่ดีอีกแล้ว ณ ขณะที่เรารู้ตัวนั้นเอง เาจะสามารถบรรเทา หรือแม้กระทั่งกำจัดความรู้สึกนี้ไปได้อย่างสมบูรณ์ ตรงนี้เป็น reverse process โดยใช้ thought over emotion ที่จะมาจากการฝึกสติปัฏฐาน 4 หรือการเพิ่มความแข็งแกร่งให้สมองส่วนหน้า จนกระทั่งสามารถควบคุม amygdala, temporal lobe หรือสมองส่วน limbic system ได

วิธีอื่นๆ ที่ง่ายบ้าง ยากบ้าง เช่น เราก็ไม่ไปอยู่ในที่ที่เต็มไปด้วยการด่วนตัดสิน เรียกว่า สถานที่อโคจร เพราะในบรรยากาศแบบนั้น มันจะยากขึ้นเยอะทีเดียว หลบๆมาซะ อารมณ์เราจะดีขึ้น นิ่งขึ้น แต่ในชีวิตจริงสำหรับบางคน งานจะอยู่ในสถานที่แบบนี้เท่านั้น เรียกว่าประชุมเป็นชีวิตจิตใจ ก็ต้องหันไปปลูกฝังสติ และให้อภัย มองให้เห็นถึงมุมมองดีๆในมุมอื่นให้ได้บ้าง ซึ่งถ้าฝึกตรงนี้ได้ก้จะเป็นประโยชน์มาก โดยการเอาตัวตน เอา value ของตัวเราเองไปแอบไว้ก่อน ฝากธนาคารเอาไว้ก็ได้ ไม่เอามาตัดสินด้วยความต่างของความเชื่อตรงนี้ ลองฟังเพื่อที่จะเข้าใจ the source ของคนที่ไม่เหมือนเรา ว่าทำไมเขาถึงคิดแบบนี้ การลด self-oriented value ก็จะลดอารมณ์ ลดความรู้สึกบาดเจ็บ หรือความรู้สึกถูกคุกคามลง เวลาที่รับรู้ว่างมากขึ้นก่อนที่เราจะจี๊ด หรือรู้สึกเกลียดโกรธขึ้นมา

สรุปแล้ว suspension หรือการห้อยแขวน ไม่ด่วนตัดสิน เป็น mind technique ประเภทหนึ่งที่มีประโยชน์ แต่ต้องผ่านการฝึกฝนพอสมควร และเป็นเวลานาน ยิ่งฝึกได้ทรงประสิทธิภาพมากเท่าไร เรายิ่งสามารถห้อยแขวน และตัดสินเรื่องราวอย่างใคร่ครวญ ไตร่ตรอง และรอบคอบมากขึ้นเท่านั้น 

หมายเลขบันทึก: 155119เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2007 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

บันทึกนี้ของอาจารย์โดนใจมากค่ะ

เพราะสมัยแรกๆของการทำงาน ดิฉันจะเป็นคนที่ จี๊ดบ่อยมาก เวลาที่มีการโต้แย้งอะไรในงาน และมากระทบกับ core value ของตัวเอง ต้องโต้แย้งทันที หรือไม่ได้อยู่กันต่อหน้า ก็ต้องโทรไปclearกัน เร็วที่สุด ซึ่งเกิดความเสียหายทางมิตรภาพอย่างไม่ควรเสีย มาหลายกรณีเหมือนกัน หวนคิดแล้ว เสียดาย

จริงๆแล้ว clearกันได้ แต่ยังมีกินใจกันลึกๆ ต่อเนื่องมาอีก

ต่อมาเข้าวัด เพราะนับถือท่านเจ้าอาวาสวัดหนึ่ง ตั้งแต่ท่านยังไม่ได้บวช

ไปวัด ไปฟังธรรม บ่อยๆ เลยสามารถเปลี่ยนตัวเองได้ค่ะ แต่ไม่เร็วนัก ค่อยเป็นค่อยไป พอหลุดอีกทีไรก็อยากเขกหัวตัวเองทุกที ก็ดีขึ้นนะคะ จนบัดนี้ มีบ้าง นานๆๆๆมากๆๆ จึงจะหลุดบ้าง ดีใจค่ะ ที่เปลี่ยนตัวเองได้

ดิฉันปฎิบัติตาม สุดยอด 8 วิถีแห่งชีวิตค่ะ

1) เห็นชอบ Right View, Right Understanding

2) ดำริชอบ (Right Thought)

3) เจรจาชอบ (Right Speech)

4) กระทำชอบ (Right Action)

5) เลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood

6) เพียรชอบ (Right Effort)

7) ระลึกชอบ (Right Mindfulness)

8) ตั้งจิตมั่นชอบ (Right Concentration)

อริยมรรคหรือ มรรคมีองค์ 8 แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ (The Noble Eightfold Path:

อ้างจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมของท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต), 2541)

สวัสดีครับอาจารย์

ศัพท์นี้ได้ยินมาไม่นานครับ  ตอนแรกก็งง ครับ  ไม่เข้าใจ  ได้ยินจากท่านสมคบ  ซึ่งเป็นกระบวนกรสุนทรียสนทนาที่มาทำกระบวนการให้

  และได้ยินบ่อยๆที่วงน้ำชาครับ

  ช่วงนี้ได้ยินบ่อยขึ้นและเข้าใจมากขึ้นครับ เพราะท่านสมคบย้ายมาอยู่ด้วยที่นี่ครับ  เสมือนมีอัศวินมาอยู่ใกล้ๆ  ทำให้เราได้เรียนรู้ครับ...

  ผมเข้าใจมากขึ้นว่า

    การห้อยแขวนจะได้ประโยชน์มากๆครับ  ประโยชน์  ต่อการดำเนินชีวิต  การทำงาน  และการเรียนรู้ของผมเองครับ

    หลายๆครั้งในอดีต  ธรรมชาติของเราเองคือ  เวลาที่เราสัมผัสกับอะไร  เราจำเป็นต้องตัดสิน  และพยามตัดสินทุกอย่างทันที ...  จนเกิดเป็นความคิด  ความเข้าใจของเรา  จริงๆแล้วมันก็วนๆอยู่กับที่เดิม  ไม่ค่อยเปลี่ยน   เพราะความที่เราใช้ข้อมูลเดิม  มาพิจารณา  ตัดสินครับ

    แต่หลังจากที่เราเรียนรู้เรื่องการคิดเชิงระบบ  การเข้าใจเรื่องเหตุและปัจจัยต่างๆมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องหนึ่งๆมากมาย  เหตุที่เราอาจจะยังไม่สามารถรู้และเข้าถึงได้ดีพอ...  ช่วงแรกๆอาจจะไม่ได้ใช้คำว่าห้อยแขวนครับ  เพียงแต่ว่าไม่ตัดสินเพราะเข้าใจว่าไม่รู้พอ  หรือไม่มั่นใจที่จะตัดสิน  เพราะว่ากลัวจะผิด..

    แต่เมื่อได้เรียนรู้เรื่องการห้อยแขวน  อืม  ก็เข้ากันได้ดีครับ

 

   ใช่ครับผมว่าการฝึกสติ  กับการห้อยแขวน  มันมาบรรจบกันพอดีครับ  การห้อยแขวนอาจจะเป็นบางส่วน หรือส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นของการฝึกสติ...

 

   บันทึกนี้ของท่านอาจารย์  ทำให้ผมเข้าใจหลายอย่างดีมากขึ้นเรื่อยๆครับ

   และเข้าใจว่าสิ่งที่กำลังเรียนรู้และก้าเดินน่าจะถูกทาง ครับ...

   น้องๆที่มาฝึกสบายดีครับ  ได้ประสบการณ์มากมายเลยครับ

  ผมชุบให้เต็มที่ตามที่ท่านอาจารย์ฝากไว้ครับ..^_^

 ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากค่ะสำหรับบันทึกนี้ เป็นมุมมองที่น่าสนใจและน่านำไปฝึกปฏิบัติค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท