เสนอโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นเด่น แม่ฮ่องสอน จากฝิ่นสู่ยาเสพติด และกระบวนการท่องเที่ยว


สิ่งที่เกิดขึ้นที่ "หลี่หมิงซิงซุน" (รุ่งอรุณ) เป็นผลงานที่พวกเราทีมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนภาคภูมิใจ

         หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจที่ งานจุลกรรมเกษตรยั่งยืนแม่ฮ่องสอน คณะ สกว.ภาค ซึ่งนำโดย ดร.สินธุ์ สโรบล  ผู้ประสานงาน สกว.ภาค และคณะ ได้เดินทางต่อไปยังบ้านรุ่งอรุณ แม่ฮ่องสอน

เพื่อไปประเมินโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นดีเด่น ในปี ๒๕๔๙ ในส่วนของจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้คัดเลือกโครงการวิจัย "รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และวัฒนธรรมชุมชนโดยชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหายาเสพติด บ้านรุ่งอรุณ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน"

มี พันโทปิยวุฒิ โลสุยะ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และผมเป็นที่ปรึกษา โครงการ ได้ร่วมคิด ร่วมทำ ในกระบวนการศึกษาวิจัย มาโดยตลอดนับแต่ประกาศสงครามยาเสพติด กลางปี ๒๕๔๗

วันนี้ผมเป็นตัวแทนของ พันโทปิยวุฒิ โลสุยะ ที่จะช่วยในการนำเสนอกระบวนการการทำงานภายใต้บริบทยาเสพติด โดยใช้ "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนรุ่งอรุณ พร้อมกับ "อาเหลียง" สุเมธ แซ่หย่าง ผู้ช่วยนักวิจัย ซึ่งเป็นพระเอกของงานนี้

งานวิจัยชิ้นได้ถูกนำเสนออย่างโดดเด่นในการพัฒนาศักยภาพ"คน" ซึ่ง ผลที่ได้รับคือ "คนเก่งขึ้น""ผลผลิต" ในแง่ของผลสำเร็จตามโครงการวิจัยอาจไม่สมบูรณ์แบบ แต่การที่คนในชุมชนถูกพัฒนาศักยภาพขึ้น เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งปัญญาที่แกร่งกล้า ถือว่าเป็น ที่น่าภาคภูมิใจ

 

 อาเหลียง ผู้ช่วยนักวิจัยบ้านรุ่งอรุณ

 

"อาเหลียง" ผู้ช่วยนักวิจัย  เป็นหนุ่มใหญ่ชาวจีนยูนนาน เป็นผู้ช่วยผู้นำในชุมชน การที่คนหนุ่มกล้าคิด กล้าทำ และเสียสละเพื่อชุมชน เพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ของตนเอง อย่างโดดเด่น

อาเหลียงได้เข้ามาเป็นผู้ช่วยนักวิจัย และร่วมทำกระบวนการศึกษา วิจัยและพัฒนาในชุมชนของตนเองมาโดยตลอด

พัฒนาการการเป็นนักพัฒนาชุมชน ของอาเหลียงเด่นชัดขึ้นมาเรื่อย จากการเรียนรู้ ในฐานะผู้ช่วยโครงการวิจัย เขาเก่งขึ้น เขาคิดอย่างเป็นระบบ ถ่ายทอดออกมาโดยการพูดคุยในเวทีพัฒนาชุมชนอย่างน่าฟัง

กระบวนการพัฒนาหมู่บ้านจึงได้รับการสานต่อ จากวิธีคิดของทีมวิจัยชุมชนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

โครงการวิจัยชิ้นนี้...ได้เสร็จสิ้นลงไปตามระยะเวลา...กระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนยังต้องหารูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชน  เหมือนกับว่างานยังไม่เสร็จ ...ปัญหาใหม่ๆเข้ามาท้าทายเรื่อยๆ

แต่สิ่งที่ยังเหลืออยู่เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้น คือ วิธีคิด- ปัญญาที่เปรียบประดังอาวุธของอาเหลียง และของคนในชุมชนที่ร่วมเป็นทีมวิจัย 

จุดเด่นของโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่น โครงการนี้ กล่าวคือ

  • นักวิจัยเป็นทหารที่มีกระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา วิธีคิดนอกกรอบ ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ชุมชน โดยทีมวิจัยเป็นเยาวชนในชุมชน
  • บริบทพื้นที่เป็นชุมชนจีนยูนนาน ที่มีการปิดตัวมานานเพราะปัญหายาเสพติด ดังนั้นกระบวนการการทำงานแรกๆจำเป็นต้องมีหน่วยงานทหารมาขับเคลื่อนระยะแรก
  • ในระหว่างการดำเนินงาน ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งเป็นชาวบ้าน สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงาน

ไม่ว่าผลประเมินโครงการวิจัยเด่นจะเป็นอย่างไร?

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นที่  "หลี่หมิงซิงซุน" (รุ่งอรุณ) เป็นผลงานที่พวกเราทีมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอนภาคภูมิใจ 

 

หมายเลขบันทึก: 50018เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

การพัฒนาชุมชนโดยโดยคนในท้องถิ่น  จะทำให้พัฒนาได้ถูกทางเพราะเขาจะรู้ปัญหาหรือความต้องการในท้องถิ่นได้  ขอเป็นกำลังใจให้คุณอาเหลียงและคุณจตุพรพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ต่อไปค่ะ   ขอบคุณค่ะ

  • เยี่ยมเลยครับ
  • เคยทำงานร่วมกับทหารท่านมีศักยภาพสูงมากครับผม
  • ขอบคุณครับ

น้อง Pia

ขอบคุณนะครับ ที่มาเยี่ยม...และทิ้งร่องรอย

น้องเองก็อยู่ในส่วนงานที่คลุกคลีกับคนท้องถิ่นโดยตรง ผมขอให้กำลังใจในการทำงานเช่นกันนะครับ

เพื่อชุมชนน่าอยู่ อย่างยั่งยืนครับ 

 

อาจารย์ดร.ขจิต

การทำงานร่วมกับทหาร ได้เรียนรู้หลายอย่างที่สำคัญคือ "การคิดเชิงยุทธศาสตร์" ดังโครงการที่นำเสนอ หน.โครงการวิจัยฯ  ท่านเก่งมาก ทำให้งานวิจัยดำเนินการไปได้อย่างราบรื่น ท่ามกลางปัญหาที่ท้าทาย

ที่สำคัญคือ "มิตรภาพ" การทำงานด้วย "หัวใจทองคำ" ร่วมกัน ทำให้ผูกพันและรู้ใจกันมากขึ้นครับ 

 

  • ผลการประเมินโครงการ ถือว่าเป็นผลพลอยได้ของโครงการเท่านั้น ในความเห็นของผม
  • ที่สำคัญกว่าคือ สิ่งที่ยังเหลืออยู่เมื่องานวิจัยเสร็จสิ้น คือ วิธีคิด- ปัญญาที่เปรียบประดังอาวุธของอาเหลียง และของคนในชุมชนที่ร่วมเป็นทีมวิจัย และ ผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งเป็นชาวบ้าน สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน โดยได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงาน ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไปไม่รู้จบครับ

เป็นสิ่งที่เราต้องการครับ อาจารย์ Panda สำหรับอาเหลียงเอง...เขาได้ทำงานสานต่อประเด็นต่างๆในชุมชนได้เป็นอย่างดี

การคิดเชิงระบบ การประสานงานโดยใช้ฐานงานวิจัยที่ทำมาอย่างเข้มข้นในชุมชน ประสานงานกับหน่วยงานจึงมีข้อมูลที่หนักแน่น และพร้อมที่ดำเนินการได้เลย

ตอนนี้ทาง "หลี่หมิงซิงซุน"  กำลังหารูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ น่าจะเป็นรูปแบบที่ทางชุมชนวิเคราะห์แล้วเหมาะสม (ซึ่งงานวิจัยเสร็จลงไปแล้ว)

เราเปลี่ยนรูปแบบการจัดการหลายครั้ง ผมก็เห็นด้วยครับ เพราะเป็นการเรียนรู้...จากการที่นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มเข้ามา การสรุปบทเรียน การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น เรามีการพัฒนาเรื่อยๆ

ทุนทางธรรมชาติที่นี่เหลือเฟือ ครับ ผมได้ยินเสียงแว่วๆจาก ดร.สินธิ์ ท่านบอกว่า แนวโน้มการท่องเที่ยวต่อไปจะเน้น ศิลป วัฒนธรรมชุมชนมากขึ้น ...การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบลึกๆ การเข้ามาของนักท่องเที่ยวจะอยู่เพื่อศึกษาเรียนรู้ในชุมชนมากขึ้น

ประเด็นหลังนี่ น่าสนใจครับ อาจารย์ Panda เพราะทางอีสาน มีชุมชนที่ร่ำรวยวัฒนธรรม ที่พร้อมในเรื่องของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ประสบการณ์ืจากการทำงานผมคิดว่า...เราได้ข้อมูลที่น่าสนใจ และทำให้การสังเคราะห์งานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนเด่นชัดขึ้น

(ปัจจุบันผมทำวิจัยประเด็น "การสังเคราะห์การท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน" อยู่ครับ)  และจะได้นำประเด็นที่น่าสนใจมาแลกเปลี่ยนกับอาจารย์ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท