ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House (5) เจาะลึกนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ


... แต่คิดว่า การที่เราได้พัฒนา พูดคุยไปได้เรื่อยๆ ก็เป็นสิ่งที่เราได้รู้เทคนิคว่า การ How to จริงๆ นี้คือยังไง เราต้องซักแบบไหน

 

คุณฉัตรลดา พิธีกรร่วมกับ อ.อ้อ แห่ง สคส. นะคะ วันนี้เธอมีบทบาทมาเจาะลึกพัฒนาการของนวัตกรรม ของคุณจันทิรา (น้องปลา) จากศูนย์อนามัยที่ 1 เลยขอเจาะน้องปลาต่อเพื่อให้ภาคีได้เข้าใจลึกซึ้งขึ้น

  • น้องปลาเล่าได้เห็นภาพดี แต่ก็ยังสงสัยว่า ก็มีการประชุม มีการไปเรียนหัวหน้าว่า ขอให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันหน่อย หัวหน้าก็บอกว่า ให้จัดวันพุธ
  • ก็เลยสงสัยว่า มีการขึ้นเวร มีเวรเช้า บ่าย ดึก สามารถที่จะมารวมตัวพูดคุยกันได้อย่างไร และคุยกันยังไง การได้ความรู้แต่ละครั้งได้เรื่องอะไรบ้าง พัฒนาขึ้นมาเป็นห่วงยางรองนั่งได้อย่างไร ทำไมเริ่มใช้ผ้า ใช้อย่างอื่นไม่ได้เหรอ KM มีการพัฒนาต่อกันยังไง

คุณจันทิราขยายความต่อว่า

  • คำถามแรกที่ถามว่า นัดหมายและเป็นไปได้อย่างไร ... ก็เป็นความยากที่ว่า KM เป็นเรื่องใหม่สำหรับเราตอนที่เข้าไป แต่ในฐานะที่เราเป็นผู้อำนวยให้เกิดกระบวนการ KM ในหอผู้ป่วย เราเองก็ยังไม่แน่น ... ก็มีความรู้สึกว่า ที่เราทำ มันถูกทิศถูกทางหรือเปล่า ก็ไม่มั่นใจ ... แต่ ณ ขณะนั้นเราก็มีทีมที่ปรึกษาหลายท่าน ก็ไปคุยกันในทีมของ รพ. ว่า ทำยังไง ทำอย่างนี้หรือเปล่า
  • ทีนี้หลังจากที่เราได้นัดหมายว่า ให้มาเจอกัน และหัวหน้าได้มาเอื้อว่า จัดเวรให้ขึ้นกันวันพุธบ่าย ... ตอนหลังเรื่องที่เล่าก็จะเป็นเรื่องเดิมซ้ำๆ คนก็เกิดความเบื่อ ว่า มาทีไรก็เล่า และก็เล่าเรื่องเดิมด้วย ไม่เห็นมีอะไรแตกต่างเลย และเรื่องเกี่ยวกันการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีอยู่แค่นี้ละ ไม่มีอะไรมาก คนก็เริ่มหายๆ ไป
  • เราก็จะมีเทคนิคเหมือนกับเป็นเรื่องของการจูงใจ ว่า วันนี้นอกจากจะมาเล่า มาคุยกันแล้ว เราก็จะมีในเรื่องของที่มาทำอาหารทานกัน เป็นอาหาร 4 ภาคนะ ... วันนี้คนเหนือก็ทำแกงขนุนมาให้เราทาน ก็มี คนอีสานก็จะมีส้มตำ ผัดหมี่โคราช ทำนองนี้ ก็เป็นเหมือนแรงจูงใจอย่างหนึ่งที่ทำให้คนรู้สึกว่า เขามาแล้วรู้สึกว่า เขามีความสุข เขาได้มาทานด้วย
  • เวลาทานเราก็ไม่ได้คุยแต่ในเรื่องวิชาการอย่างเดียว คุยอย่างที่เราได้ทำอยู่ และบางคนก็เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากตัวเขาจริงๆ ว่า ... ณ ขณะที่เขาหลังคลอด เขาเกิดปัญหาอะไร และคนไข้จะรู้สึกอย่างไร
  • ตอนแรกถามว่า ซักไป คุยไป ถามว่าได้ลักษณะ How to จริงๆ ไหม ก็ลำบาก เพราะตอนที่เราไปอ่านเอกสารที่เราบันทึกไว้ตอนแรกเราก็รู้สึกว่า ตอนนั้นเป็นเรื่องยาก ถ้ากลับไปอ่านดูก็ไม่ค่อยสมบูรณ์ ... แต่คิดว่า การที่เราได้พัฒนา พูดคุยไปได้เรื่อยๆ ก็เป็นสิ่งที่เราได้รู้เทคนิคว่า การ How to จริงๆ นี้คือยังไง เราต้องซักแบบไหน
  • แรกๆ ตอนที่เข้ามาร่วมกลุ่ม จะมีประเภทที่ว่า ไม่รู้จะเล่าเรื่องอะไรเลยก็มี ไม่เล่าเลย ไม่รู้ ขอฟังอย่างเดียวได้มั๊ย เราก็บอกว่า OK เราก็เปิดโอกาสให้ ถ้ายังไม่พร้อมก็ฟังท่านอื่นเล่าไปก่อน
  • อย่างเช่น เรื่องหมอนรองนั่ง ตอนแรกๆ ที่พี่เขาประจำอยู่ที่ Lactation clinic ก็เป็นคลินิกนมแม่ พี่เขาก็มาเล่าบอกว่า ลองเอาผ้าห่มมารองนั่งดูไหม น่าจะดีนะ พี่เคยได้ยินว่ามันดีเหมือนกัน ก็เล่าแค่นี้
  • ... ก็คำว่า เอาผ้าห่มมารองนั่งนี้ มันจะถามอะไรต่อ นึกไม่ออกว่า คำว่ามารองนั่งนี่ พับเหรอ หรือว่าทำเป็นเกลียว
  • ... ตอนแรกก็บอกว่า เอ้า มา พี่เขาก็บอกว่า ลองม้วนมั๊ย ม้วนเป็นกลมๆ ก็ม้วน ตอนนั้นก็ไม่ได้ใช้เทคนิคอะไรเลย ก็แค่นำมาม้วน พันให้หลวมๆ แล้วก็วาง ปรากฎวางแล้วเราก็ลองนั่งกันเอง ก็บอกว่า มันไม่ได้เรื่องเลย นั่งแล้วก็แปะไปบนเก้าอี้เหมือนเดิม
  • ... ตอนนี้เราก็บอกว่า ถ้ายังงั้นลองใหม่ ลองหมุนให้แน่นไปกว่าเดิมมั๊ย พอเริ่ม และเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง เราก็บอกกันว่า อันนี้ใช้ได้แล้วนะคะ
  • ... พอเอามาพันเป็นเกลียวปุ๊บ ก็บอกว่า ถ้าพันโดยไม่มีอะไรมัด มันไม่ได้นะ เราน่าจะหาอะไรมามัดผูกไว้นะ เป็นปม เพื่อให้มันอยู่ อะไรอย่างนี้ ก็พัฒนาไปเรื่อยๆ
  • ... จนเราบอกกันว่า เออตรงนี้ละ ใช้ได้แล้ว ทุกคนลองเอามาทำกันซิ เพราะว่าทุกคนต้องทำให้ได้ ทำให้เป็น เสร็จแล้วก็พัฒนาเป็นสิ่งเหล่านี้

ก็จะเห็นว่า กว่าจะเป็นนวัตกรรมนี้นะ ต้องใช้เวลานะเนี่ยะ

รวมเรื่อง ภาคีจัดการความรู้ภาคราชการ plus กรมอนามัย Open House  

 

หมายเลขบันทึก: 126080เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท