รายงานผลการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มชุมชนบ้านเกาะคา ตำบลเกาะคา


กลุ่มชุมชนบ้านเกาะคาเป็นกลุ่มที่มาจากกลุ่มอาชีพ มีโรงงานที่ผลิตข้าวแต๋นหลายรส เคยได้ชิมทุกครั้งที่มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมกลุ่มของน้องเล็ก แต่หน้าเก่า เป็นผู้นำที่คนในกลุ่มอาชีพจะรู้จักดีในฐานะที่ได้สินค้า โอท็อป 4 ดาว เหลืออีก 1ดาวเดี๋ยวทางเครือข่ายจะให้อีก 5 ดาวคงจะดี ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคของกลุ่มตนเองได้ โดยพวกเราคอยให้กำลังใจกับกลุ่มนี้มากจน บางครั้งก็นึกสงสารนะที่พวกเราทำงานแล้วมีอุปสรรคต่างๆ ในการทำงานกลุ่มชุมชนบ้านเกาะคาเริ่มรวมกลุ่มเมื่อ เดือน ธันวาคม 2545 

เริ่มจากสมาชิกที่ก่อตั้ง 10 คน จนถึง เดือนกุมภาพันธ์ มีสมาชิกอยู่จำนวน 488 คน และได้คัดสมาชิกที่มีอยู่ในกลุ่มไร่อ้อย 73 คน จึงเหลือสมาชิกของกลุ่มเกาะคาเดิมจำนวน 415 คน เป็นกลุ่มที่ให้คนที่ทำงานในกลุ่มอาชีพที่ทำข้าวแต๋นและได้ขยายออกไปในเขตตำบลเกาะคา แต่สมาชิกมีน้อยเมื่อก่อนที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกเครือข่ายได้เข้ารวมกับกลุ่มไร่อ้อยด้วยจึงเป็นการทำงานที่ยากลำบากหลังจากขอแยกกลุ่มมาเป็นเข้าร่วมกับเครือข่ายออมบุญ ฯ เพราะการทำงานในรูปแบบเครือข่ายออมทรัพย์จังหวัดลำปาง ทางกลุ่มเกาะคามองเห็นว่ามันจะนำปัญหามาให้กลุ่มเกาะคาแก้ตลอด คือการให้เงินสงเคราะห์ที่ล่าช้า และมีเงินไม่พอจึงได้แยกออกจากเครือข่ายออมทรัพย์ลำปาง

กลุ่มชุมชนบ้านเกาะคาได้มีการเก็บเงินออมทุกวันที่ 5 ของทุกเดือนและเป็นตำบลเดียวที่มีอยู่ในอำเภอเกาะคาที่สมัครมาเป็นสมาชิกเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ ได้เก็บเงินออมตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ตามรายงาน

เงินค่าธรรมเนียมแรกเข้า    จำนวนเงิน  26,130บาท

เงินสมทบรายปี 50บาท/คน/ปี  จำนวนเงิน 73,700  บาท

เงินออมวันละหนึ่งบาท  จำนวนเงิน   328,914  บาท

รวมเงินที่เก็บออมได้ทั้งหมด จำนวนเงิน 428,744  บาท

จำนวนเงินที่เก็บออมได้จัดสรรไปจัดสวัสดิการให้กับสมาชิกตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับ เมื่อสมาชิกได้รับสิทธิประโยชน์ทางกลุ่มได้จัดสวัสดิการดังนี้

ค่าเยี่ยมไข้ (เจ็บ) สมาชิกที่ได้รับ 76 คน จำนวนเงิน 36,700 บาท

ค่าสงเคราะห์ (ตาย) จำนวน 34  คน  จำนวนเงิน  373,750  บาท

และได้ขยายการทำโรงงานของกลุ่มได้ผลิตข้าวแต๋นเพิ่มมากขึ้นโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น เป็นการสร้างงานในชุมชนเกาะคาที่ให้ชาวบ้านได้มีงานทำ

จะเห็นว่าการให้สวัสดิการของกลุ่มชุมชนบ้านเกาะคาได้รับเงินค่าสวัสดิการที่มียอดสูงจากค่าเฉลี่ยของกลุ่มต่างๆ ที่ได้มีข้อมูลนำมาเปรียบเทียบดูว่ากลุ่มชุมชนบ้านเกาะคาอายุไม่ได้รับเงินสวัสดิการนี้เป็นช่วงอายุที่กำลังทำงานหาเงินจนลืมเรื่องของสุขภาพตัวเอง เลขาจำเป็นเครือข่ายได้ถามประธานกลุ่มว่าทำไมสมาชิกกลุ่มถึงเป็นโรคมะเร็งเยอะจัง มันมีสาเหตุมาจากเรื่องการดำรงชีวิต หรือการไม่ค่อยดูแลสุขภาพตัวเองหรือเปล่า

มีข้อสังเกตุได้ว่าจำนวนเงินที่เก็บออมจากสมาชิกนั้น 428,746 บาท

และได้จัดสวัสดิการให้สมาชิกเป็นจำนวนเงิน   410,450  บาท

ส่วนจำนวนเงินที่เหลือเป็นค่าบริหารจัดการ 18,294  บาทยังไม่เพียงพอที่กลุ่มนำไปใช้ ส่วนมากคนทำงานจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งเอง (ประธานจ่ายเอง)

จนถึงเวลาที่กำลังเป็นช่วงแยกออกจากกลุ่มเครือข่ายเก่าได้ขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทฯ โดยการขอยืมเงินกองทุนกลางที่สมาชิกเครือข่ายได้เก็บสะสมรวมกันไว้ จึงให้ความช่วยเหลือกับกลุ่มเกาะคา เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท โดยให้ใช้คืนเมื่อกลุ่มมีสถานะการเงินที่เริ่มคล่องตัวขึ้น เป็นการให้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย (การออมบุญที่มีแต่ให้นะจ๊ะ)

จะสังเกตถึงการทำงานในรูปแบบที่ทางเครือข่ายได้ร่วมกันคิดที่จะแก้ปัญหาที่เคยประสบมาจึงเป็นการที่จะแบ่งเบาภาระของแต่ละกลุ่มที่เกิดปัญหานี้ หลังจากที่มีการเปลี่ยนการทำงานหลายด้านจึงทำให้ทุกกลุ่มที่สถานะทางการเงินที่ดีขึ้น

ในเวลานี้ทางกลุ่มเกาะคาได้มีการทำงานที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยมือไปก่อนเมื่อสถานะที่ตัวเองพร้อมจะมีคอมพิวเตอร์เมื่อไหร่คงจะรายงานได้เหมือนทุกกลุ่มที่ทำงานได้รวดเร็วขึ้น (สงสารจังน้องเรา)

วันนี้ขอเขียนของกลุ่มเกาะคาแค่นี้ก่อนนะ แต่เหตุการณ์ที่กลุ่มเกาะคามีให้เขียนนั้นมากแต่ก็ไม่รู้จะเล่าเรื่องที่ได้ดีกว่านี้ ยังทำใจให้น้องเข้าสู้ต่อไป

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

 

 

หมายเลขบันทึก: 126074เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2007 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท