ตลาดนัดกรมอนามัย 2550 - Press Tour (17) ชมรมผู้สูงอายุ กับสุขภาพช่องปาก


... เราถือหลักของพระพุทธศาสนา เขาบอกว่า “ความคุ้นเคย เป็นมิตรที่ดี” อันนี้สำคัญมาก เราต้องออกไปพูด ไปคุย

 

เรื่องนี้เป็นผลงานของคุณพ่อกมล และทีมชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม จ.ลำปางละค่ะ ที่นี้ได้ชื่อว่า เป็นผู้สูงอายุที่ต่อยอดกิจกรรมเรื่องฟันออกไปอย่างกว้างไกล เพราะหนึ่งคือ ท่านไม่ได้ที่จะรับแต่อย่างเดียว แต่ท่านไปถึงเรื่องการให้กับผู้สูงอายุกันเอง และให้คนในชุมชนด้วยค่ะ จากคำเล่าของคุณพ่อกมล ประธานชมรมผู้สูงอายุอำเภอแจ้ห่ม จ.ลำปาง ... ท่านเป็นตัวแทนภาคประชาชนที่มาเล่าเรื่องในมหรรกจัดการความรู้ของกรมอนามัยในครั้งนี้ละค่ะ

  • เรื่องของเรื่องก็คือ กิจกรรมของโรคช่องปากและฟัน เราได้รับวิทยากรจาก รพ. หมอเก๋ หมอพลอย เราก็ส่งแกนนำไปอบรมที่ รพ.
  • และเราก็นำเอาสิ่งที่เขาอธิบายให้เราฟังว่า ... คนเรานี่ ฟันเป็นสิ่งจำเป็นตั้งแต่เกิดจนถึงวัยชรา ใช้กันอยู่ตลอด จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
  • เมื่อเราอบรมมาแล้ว เราก็เอามาถ่ายทอด เอามาอบรมต่อให้กับผู้สูงอายุ โดยที่เราไปจัดกัน จับคู่กัน ตรวจฟันกัน ... เราอบรมมาแล้ว เขาบอกว่า ฟันของเรามีอยู่ 2 ชุด ชุดแรกเรียกว่าฟันน้ำนม ชุดที่สองเรียกว่า ฟันแท้ ฟันน้ำนมนี้มีอยู่ ข้างบน 10 ซี่ ข้างล่าง 10 ซี่ ก็จำๆ มา พอมาถึงรุ่นเราก็เรียกว่า ฟันแท้ จะมีข้างบน 16 ข้างล่าง 16 ก็เป็น 32 ซี่
  • และผมก็ไปเจอธรรมะธรรมใบลานนานแล้ว ผมจำได้ว่า "คนที่มีฟัน ผู้มีบุญมี 32 ... ผู้หาบุญไม่ได้มี 30" ... และเราก็มาดูกันว่า เอ๊ะ มันเป็นความจริง ก็คือ ฟันกราม ทางเหนือเรียกว่า เขี้ยวซาว ก็ยังไม่ออก ก็จริงๆ นะครับ ถ้าเราลองนับดูนะ ไม่ถึง 32 นะ มี 30 อันนี้เขาเรียกว่า หาบุญไม่ได้ ผู้มีบุญจะมี 32 ก็มาตรงกันพอดี
  • เราก็บอกให้เขาไปตรวจกันดู ทีนี้คนตั้งเยอะตั้งแยะ จะไปตรวจกันยังไง
  • ... เราก็เลยไปคิดหาวิธีตรวจ มาจับคู่กันตรวจกันดีกว่า
  • ... และทีนี้ แบบที่ตรวจก็มาออกกันเอง ก็จะมีชื่อ มีเพศ อายุ บ้านเลขที่ และเป็นโรคอะไรบ้าง เป็นโรคเบาหวาน ความดันมั๊ย เราก็ใส่ไปในนั้น และฟันน่ะ เป็นฟันโยกมั๊ย มีหินปูนมั๊ย ซี่ไหน ฟันแท้หรือว่าฟันกราม เราเห็น เรารู้ ตรวจแล้ว เราก็บันทึกลงไปในนั้น และเราก็ใส่ชื่อผู้ตรวจด้วย ... เราออกแบบฟอร์มกันเอง และก็เอาไปเสนอให้หมอฟันดู ว่าเอาอย่างนี้ดีไหม เขาก็บอกว่าใช้ได้
  • เรามี 4-5 คน ส่วนมากเราได้ครูบาอาจารย์ที่ early มา อายุประมาณ 50 กว่า เราก็ไปเชิญเขามาช่วยดู เพราะว่าครูกลุ่มนี้จะผ่านการอบรมสาธารณสุขของโรงเรียนมาก่อน และก็มีคนเคยทำงานสาธารณสุขมาก่อน และ early ก็เชิญเข้ามาร่วมกันในชมรมฯ ก็มาออกแบบแบบนี้ และก็ไปนำเสนอคุณหมอ คุณหมอก็บอกว่า ใช้ได้ มันก็เลยเป็นช่องทางหนึ่งที่เราจะช่วยหมอ
  • พอจะไปยื่นทำทะเบียนต่างๆ และก็ไปหาหมอฟัน หมอฟันก็จะดูทันที ไม่ต้องไปดูว่าซี่ไหน เขาอ่านแบบตรวจของผู้สูงอายุแล้ว ก็บอกว่า ถูกต้องจริงๆ เขาก็ทำการรักษาตามคำบอกในแบบตรวจ
  • เรามีการมาทำกัน วาดฟัน โดยเราได้แบบมาจาก รพ. หมอสอนไว้ เราก็จะทำกันขึ้นมา ... โดยเฉพาะอาจารย์อรพินท์ ท่านเป็นอดีต อาจารย์ 3 รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องโรคฟันทาง รร. มาก่อน เราก็ไปขอท่านมาช่วย เพราะฉะนั้นการวาดฟันนี่ ก็ชำนาญอยู่ ก็มาวาดขึ้น
  • และมาอธิบายกับกลุ่มผู้สูงอายุ ชี้ให้ดู ว่าฟันไหนโยก สึก หรอ มีหินปูน ลักษณะไหน ยังไง ก็อธิบายให้เขาฟัง และผู้สูงอายุก็รับทราบ
  • และจากนั้น ก็ให้ผู้สูงอายุ จับคู่กันตรวจ
  • ... เมื่อตรวจได้ ทำได้ ก็นำเอาแบบนี้ไปตรวจที่บ้านด้วย ตรวจให้ครอบครัว ให้เด็กลูกหลานของตัวเอง หรือเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เรือนเคียง
  • แต่บางคนเขาบอกว่า เอ๊ะ เขาจะเชื่อเราเหรอ เราไม่ได้เป็นหมอ ใครเขาจะอ้าปากให้เราตรวจบ้าง
  • ... แต่เราก็บอกว่า ก็จริง ก็ใช่ว่าเราจะไปขออ้าปากเขาเราไปครั้งแรกก็พูดให้เขาฟังก่อน ส่วนมากผู้สูงอายุนี่ฟันจะเหลือง หรือบางทีก็เคี้ยวหมาก สูบบุหรี่ เป็นหินปูน เราก็รู้ทันที เราก็แนะนำให้ แล้วก็เขียน แนะนำให้ไปตรวจที่ ทันตแพทย์ ที่ รพ. 6 เดือนไปตรวจครั้งหนึ่ง เราก็แนะนำไป

คุณฉัตรลดาค่ะ ขอชื่นชม ... "นี่คงเป็นชมรมคลังปัญญาจริงๆ นะคะ บรรดาผู้รู้จากภายนอก ที่ได้ชวนคลังปัญญาเหล่านี้มาคิดรูปแบบ ซึ่งก็น่าจะถือเป็นนวัตกรรมเหมือนกันนะคะ น่าสนใจค่ะ" และ "ชมรมฯ ที่คุณพ่อว่าเข้มแข็ง ทำได้ยังไง และผู้สูงอายุติดใจอะไร ถึงได้มาอยู่กันหนาแน่น และเข้มแข็ง"

  • คุณพ่อกมลให้เคล็ดลับที่ท่านยึดถือละค่ะ
  • ... เราถือหลักของพระพุทธศาสนา เขาบอกว่า “ความคุ้นเคย เป็นมิตรที่ดี” อันนี้สำคัญมาก เราต้องออกไปพูด ไปคุย
  • บางทีเราไปงานต่างๆ เราก็ว่าเข้าไป พูดเข้าไป อธิบายให้เขาฟัง
  • ก็อย่างที่ผมมาที่กรมฯ นี่ คือ ได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างสูง คือ เราคิดว่า เราใช้คติอันนี้ละ “ความคุ้นเคย เป็นมิตรที่ดี” เป็นญาติสนิท เราต้องไปหาเขา ไปพูดกับเขา อย่างที่ผมพูดเมื่อกี้ ผมได้สื่อไปเป็นกะตั๊ก จะเอาขึ้นเครื่องบินไปลำปาง ... ทางเจ้าหน้าที่ก็มาผูกมามัด คนนั้นก็จะให้ คนนี้ก็จะให้
  • ที่ผู้สูงอายุมาชอบกันมาก ก็คงจะเป็นบุญเก่าของผม ... ผมมีคนรู้จักเยอะ และผมไปทำอะไรหลายๆ อย่าง เพราะฉะนั้นเราไปพูดอะไร ไปทำอะไร เราก็มีน้ำหนักขึ้นมา และเขาก็จะให้ความร่วมมือกับเรา
  • ที่ผมมาดูถังเก็บยุง ก็จะลองไปใช้ดู ... แต่ที่ชมรมของผมทำยากันยุง เราไปขอวิทยากรจากที่จังหวัดจัดหางานมาอบรมทำ สมุนไพร ที่ผมทำคือยากันยุง มีส่วนผสมก็คือ วาสลิน น้ำมันตะไคร้หอม 3-4 อย่าง เราก็มาทำตามนั้น พอทำมาก็จำหน่ายได้ ก็ดี เราไม่ต้องไปชโลมแขนขาอะไรมาก เอาไปทานิดหน่อย ยุงไม่มาใกล้ ยุงไม่กัด

โอ้โฮ อะไรจะขนาดนี้นะคะ ... คุณพ่อเห็นอะไร เป็นเอามาทำได้หมด ... ตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อยก็เอามาทำหมดเลย ... ต้องขอบอกว่า เยี่ยมค่ะ

รวมเรื่อง ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย 2550 

 

หมายเลขบันทึก: 120364เขียนเมื่อ 18 สิงหาคม 2007 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท