ลำดับเนื้อหา KM จากภาพ-ทฤษฎี-ตัวอย่างการปฎิบัติ-มีส่วนร่วม


เมื่อวานตอนบ่ายผู้บังคับบัญชาผม คือ อาจารย์ ดร.วรรทณา สินศิริ รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ วานให้ผมช่วยออกแบบเนื้อหาและจัดทำ presentation ในหัวข้อ "การจัดการความรู้" เพื่อไปบรรยายให้เพื่อนอาจารย์ในภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะเทคโนโลยี ประมาณ 10 คน เพื่อจุดประกายการทำ KM ของภาควิชาฯ

โดยผมได้ลำดับหัวข้อการนำเสนอเป็น 4 ฉาก คือ

  • ลำดับที่ 1 เรียนรู้จากภาพเคลื่อนไหว
  • ลำดับที่ 2 เรียนรู้จากทฤษฎี/ตัวหนังสือ
  • ลำดับที่ 3 เรียนรู้จากตัวอย่างการปฏิบัติจริง
  • ลำดับที่ 4 เรียนรู้จากการมีส่วนร่วม

มีหัวข้อย่อยของการนำเสนอคือ

  1. ชมวีดีทัศน์กรณี KM โรงพยาบาลบ้านตาก
  2. ความหมายของ KM
  3. เครื่องมือ KM ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง
  4. แบบจำลองปลาทู
  5. กรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือ show & share
  6.  กรณีตัวอย่างการใช้เครื่องมือเพื่อนช่วยเพื่อน
  7.  ลปรร. ระหว่างเพื่อน
  8. การทบทวนกิจกรรมวันนี้ AAR

(คลิ๊กไฟล์ .pdf)

(คลิ๊กไฟล์ .ppt)

อ้างอิง

  • TUNA Model ของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้สู่สังคม
  • วีดีทัศน์กรณี KM โรงพยาบาลบ้านตาก
KPN

 

หมายเลขบันทึก: 69461เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
เจ๋งครับขอยืมไฟล์ไปใช้มั่งนะครับ
  • ขอแสดงความยินดีกับ รองฯ วรรทณา ที่มีผู้ช่วยที่มีความสามารถครับ
  • ร่วมด้วยช่วยกัน ขยายเครือข่าย MSUKM เพื่อนำองค์กรสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน (Living Organization หรือ Sustainable Learning Organization)

...เมื่อเรียนรู้ แล้วขอให้เรียนรู้อย่างยั่งยืน เมื่อยั่งยืนแล้ว องค์การก็จะมี ชีวิต เรียกว่า องค์การมีชีวิต ตามลำดับ KM > LO > Life Organization

เป็นกำลังใจให้ครับ
วิชิต

สนใจวีดีทัศน์ KM โรงพยาบาลบ้านตากค่ะ ไม่ทราบว่าจะหาข้อมูลได้จากไหนค่ะ
ขอบพระคุณค่ะ แจ๊ค พี่หนิงกำลังหาไว้เอาไปฝากชาวกองกิจการนิสิตเช่นกันค่ะ
มาต่อจากเมื่อวานหน่อยดีกว่าครับเกี่ยวกับโปรแกรม Windows Movie Maker  ที่ผมติดค้างว่าวันนี้ผมจะนำจุดดีและจุดด้อย ของโปรแกรมนี้มาเล่าให้ฟังครับ  มาเริ่มกันเลยครับสำหรับความคิดของผมนะครับโดยผมจะเปรียบเทียบกับโปรแกรมAdobe Premiere นะครับเพราะว่าผมได้ใช้งานโปรแกรมนี้เป็นหลักครับ

          จุดดี

          1.เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมตัดต่อต่างๆ  สามารถที่จะเข้าใจได้ในทันที  เพราะว่าเป็นโปรแกรมที่ไม่ซับซ้อนเหมือนกับโปรแกรมตัดต่อตัวอื่นๆ ครับ

          2.เป็นโปรแกรมที่ไม่ต้องRender(คือการทำให้เราสามารถมองเห็นภาพหรือคลิปวีดีโอเมื่อใส่เอฟเฟคแล้วได้ทันทีไม่ว่าจะเป็นVideo Effects  หรือ Video Transitions)  บางโปรแกรมเช่นโปรแกรมAdobe Premiere นั้นต้องกด Alt ค้างไว้ด้วยถึงจะมองเห็นว่าเอฟเฟคที่เราได้ใส่นั้นเป็นอย่างไร

          3.เป็นโปรแกรมที่Support ตัวอักษรทุกรูปแบบครับแม้กระทั่งตัวอักษรไทยแบบต่างๆ ซึ่งบางโปรแกรมนั้นจะอ่านไม่รู้เรื่อง เช่นโปรแกรมAdobe Premiere (จะอ่านได้แบบอักษรไทยได้เฉพาะDSE และJSเป็นต้น)

          4.เป็นโปรแกรมที่มีการทำไตเติ้ลสำเร็จรูปที่สวยงามดูเป็นมืออาชีพ  และที่สำคัญนั้นใช้งานง่ายมากไม่ซับซ้อนครับ 

          5.เอฟเฟคบางเอฟเฟคนั้นไม่ว่าจะเป็นVideo Effects  หรือ Video Transitions นั้นจะไม่มีในโปรแกรมAdobe Premiere แต่จะมีในการด์ตัดต่อซึ่งราคาแพง  แต่โปรแกรม Windows Movie Maker  ก็ได้นำมาให้เราใช้ เช่นเอฟเฟคทำให้ภาพนั้นเก่าเหมือนฟิลม์ภาพยนต์เก่าๆ ครับ

          นี่ก็คงเป็นข้อดีที่ผมค้นพบครับครั้งนี้เรามาดูที่จุดด้อยกันบ้างดีกว่าที่โปรแกรมWindows Movie Maker นั้นมีจุดด้อยอะไรบ้างครับ

          จุดด้อย

          1.ด้วยความเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายทำให้งานที่ออกมานั้นไม่มีความโดดเด่นและน่าสนใจครับ  เนื่องจากTimelineของโปรแกรมWindows Movie Maker นั้นมีให้มาแค่อย่างละ1 แถบก็คือไว้สำหรับวางไฟล์วีดีโอและไฟล์ภาพนั้นมีให้แค่แถบเดียวไม่เหมือนกับโปรแกรมAdobe Premiere ที่จะสามารถเพิ่มกี่แถบก็ได้ครับ  ทำให้งานออกมามีความละเอียดและสามารถซ้อนภาพได้ครับซึ่งโปรแกรมWindows Movie Maker ไม่สามารถที่จะซ้อนภาพได้ครับ

          2.เอฟเฟคสำเร็จรูปที่มีมากับตัวโปรแกรมWindows Movie Maker นั้นทั้งเป็นVideo Effects  หรือ Video Transitions นั้นมีมาให้น้อยกว่าโปรแกรมAdobe Premiere  หลายเท่าตัวครับ  ทำให้บางเอฟเฟคที่ใช้นั้นอาจจะซ้ำไปซ้ำมาทำให้น่าเบื่อครับ

          3.ไม่สามารถกำหนดรูปแบบของตัวอักษรได้ครับยกตัวอย่างเช่นโปรแกรมAdobe Premiere นั้นสามารถใส่ขอบให้ตัวอักษรใส่เงาหรือแม้กระทั่งประดิษฐ์โลโก้ ภายในโปรแกรมก็ยังได้ครับซึ่งโปรแกรมWindows Movie Maker นั้นได้แค่พิมแค่ตัวอักษรและเลือกชนิดของตัวอักษรทำตัวหนา  ตัวเอียง  ตัวอักษรขีดเส้นใต้ได้แค่นั้นครับ

          4.ไม่สามารถExport ให้ไฟล์นั้นมีความชัดระดับDVD ได้ครับ  และไม่มีโปรแกรมเสริมที่ช่วยในการExport เหมือนกับโปรแกรมAdobe Premiere ที่มีโปรแกรมCanopus เป็นต้น

          สรุปแล้วว่าโดยรวมโปรแกรมWindows Movie Maker นั้นเหมาะแก่งานตัดต่อวีดีโอที่เป็นงานในครอบครับหรืองานไว้ดูเล่นๆ เช่น งานปีใหม่  บันทึกเรื่องราวประทับใจต่างๆ ครับ  ไม่เหมาะแก่การนำมาใช้ทำสื่อการเรียนการสอนเนื่องจากข้อจำกัดของแถบภาพไว้สำหรับวางไฟล์ภาพและแถบเสียงไว้สำหรับวางไฟล์เสียงต่างๆ นั้นมีมาให้แค่อย่างละแถบครับ  จะมีเด่นจริงๆ ก็ตรงไตเติ้ลอย่างเดียวครับที่เด่นจริงๆ เพราะฉะนั้นผมจึงได้นำโปรแกรมทั้ง2โปรแกรมนี้ซึ่งก็คือโปรแกรมWindows Movie Maker และ โปรแกรมAdobe Premiere  มาประยุกต์ใช้งานร่วมกันโดยดึงจุดเด่นของโปรแกรมWindows Movie Maker ซึ่งก็คือไตเติ้ลมาใช้ครับ  แล้วใช้โปรแกรมAdobe Premiere  มาตกแต่งในสิ่งที่โปรแกรมWindows Movie Maker ทำไม่ได้ ก็เช่นการซ้อนภาพเป็นต้นครับ  ผมจะนำไปให้เพื่อนดูในวันที่ 5 มกราคม  2549 ครับ

          สิ่งที่ผมได้บันทึกไว้ข้างบนนั้นเป็นประสบการณ์ทั้งหมดที่ผมได้ใช้เวลาศึกษา  ขาดตกบกพร่องตรงไหนต้องขออภัยด้วยครับ  หรือว่ามีบางเรื่องที่ผมไม่ได้กล่าวในนี้ก็สอบถามผมทีหลังได้นะครับยินดีตอบทุกคำถามครับ  สิ่งที่บันทึกข้างบนและวันที่ผ่านๆ มานั้นไม่ได้มีการคัดลอกมาจากหนังสือแม้แต่ประโยคเดียวครับ  แต่เกิดจากความเข้าใจของผมล้วนๆ ครับ  ภาษาบางภาษาผมอาจจะใช้ไม่ถูกก็ต้องการอภัยทุกท่านอีก 1 ครั้งครับ  ผมยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นครับ  บันทึกของผมจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าไม่มีใครอ่านครับ

                                                      จิรอาจ  สมิงชัย

 

ขอบคุณน้องจิรอาจเป็นอย่างสูงที่ให้ความรู้เรื่องการตัดต่อ ขอส่งกำลังใจให้ได้ไป hollywood นะครับ

สวัสดีค่ะน้องแจ๊ค

มาขออนุญาตเอาความรู้และ powerpoint ไปใช้ค่ะ ในบันทึกนี้ค่ะ http://gotoknow.org/blog/paew/89476

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท