การประชุมวิชาการเรื่อง “การบูรณาการเทคโนโลยี สังคม กับชุมชน” และการนำเสนอผลงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ๒๒ ก.ย. ๒๕๔๙ ณ คณะศิลปศาสตร์ มจธ


การนำความรู้ทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยที่ชุมชนมีความสำคัญรองลงมาจากครอบครัวและเป็นรากฐานของสังคมที่จำเป็น ต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายบอนได้มีโอกาสไปร่วมประชุมวิชาการในหัวข้อนี้ ที่ห้อง LNG ๑๐๑ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จึงหยิบรายละเอียดที่น่าสนใจมาบันทึกไว้ครับ

 

ในการจัดประชุมวิชาการเรื่อง การบูรณาการเทคโนโลยี สังคม กับชุมชนมีหัวใจสำคัญอยู่ที่ การนำความรู้ทางมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาปรับใช้เพื่อการพัฒนาสังคมและชุมชน โดยที่ชุมชนมีความสำคัญรองลงมาจากครอบครัวและเป็นรากฐานของสังคมที่จำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้เข้มแข็งเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

การประชุมวิชาการครั้งนี้จึงพยายามบูรณาการพันธกิจด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้เข้ากับการพัฒนาสังคมโดบเฉพาะชุมชน และการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการระหว่างนักวิชาการในศาสตร์ต่างๆ ซึ่งการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ และผู้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อหาแนวทางในการบูรณาการเทคโนโลยี สังคมกับชุมชน เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ผลงานวิจัยในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำวิจัยในเชิงบูรณาการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และเป็นการสร้างความเข้มแข็งทางด้านการวิจัยแบบสหวิทยาการ (Multidisciplinary)

การประชุมทางวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก มีกำหนด ๑ วัน โดยแบ่งวาระการประชุมออกเป็น ๓ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ เป็นการเสวนาวิชาการเกี่ยวกับ การบูรณาการ เทคโนโลยี สังคม กับชุมชน  โดย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ, ครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์, พระราชปัญญาเมธี รศ.ดร. และ รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ  ช่วงที่ ๒ เป็นการบรรยาพิเศษเรื่อง ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบบูรณาการวิถีชีวิตของคนในชุมชนกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมโดย ดร.กฤษณพงศ์  กีรติกร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นวิทยากร ช่วงที่ ๓ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยทางสังคมศษสตร์ มนุษยศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยโดยผ่านสื่อโปสเตอร์

 

การนำเสนอผลงานวิชาการ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ ๑ กลุ่มสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดสังคมกับการพัฒนาคนจำนวน ๓ เรื่อง
  

. การศึกษาระดับความพึงพอใจและการพัฒนาตนเองของนักศึกษา มจธ.ในรายวิชา SSC ๒๙๐ : สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา นำเสนอโดย ผศ.ดร.ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
. การบูรณาการความรู้กับความเข้มแข็งในชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชน : กรณีศึกษาในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก โดย ดร.พจนี เทียมศักดิ์
. แผนที่คนดี โดย นางสาวมิรา ชัยมหาวงศ์

-นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดวัฒนธรรมกับชุมชนจำนวน ๓ เรื่อง
. การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมไทยและผลกระทบจากการถูกจำกัดสิทธิ์ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของบุคคลไร้สัญชาติไทยชาวไทยใหญ่ จังหวัดเชียงราย โดย นางเลหล้า ตรีเอกานุกูล
. ทัศนคติในการนับถือศาสนาพุทธตามแนวคิดของนักศึกษาวัยรุ่นในมหาวิทยาลัย โดย นางสาวพรทิพย์ เหลียวตระกูล
. ศึกษาวิถีการปลูกข้าวไร่ของเกษตรกรในพื้นที่ศูนย์ภูฟ้าพัฒนา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน โดย นางสาวสุธานี มะลิพันธ์

-นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดเศรษฐกิจและสังคมจำนวน ๓ เรื่อง
. การประเมินโครงการคาราวานแก้จนเพื่อคนไทยมีงานทำ โดย ดร.ศักดินา สนธิศักดิ์โยธิน
. การศึกษาพฤติกรรมและการวางแผนการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารและยาจากหอมแดงของผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย โดย นางสาวนนทยา กัมพลานนท์
. ทัศนะของนักศึกษา มจธ.เกี่ยวกับผลกระทบโลกาภิวัฒน์ที่มีต่อสังคมไทย โดย นางสาววิภาวี เอี่ยมวรเมธ

กลุ่มที่ ๒ กลุ่มการศึกษา
นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดการศึกษาทั่วไปจำนวน ๒ เรื่อง
. การติดตามผลการใช้หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปสายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย ผศ.ดร.สุรพงษ์ ชูเดช
. การใช้ประโยชน์แหล่งการเรียนรู้ในวิชาการศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดย ดร.จุรีพร กาญจนการุณ

- นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดการพัฒนาด้านการศึกษาจำนวน ๓ เรื่อง
. การวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการเขียนภาษาไทย ของนักศึกษาลาวระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดย นายภาสพงศ์ ผิวพอใช้
. การศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อของโครงการโรงเรียนสองภาษาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดย นายกรกฤช มีมงคล
. การบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยโดยใช้ระบบการสอนแบบ 4 MAT สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โดย ดร.พรปภัสสร ปริญชาญกล

- นำเสนอผลงานทางวิชาการ ชุดการพัฒนาสื่อการสอนจำนวน ๔ เรื่อง
. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายบุคคลและการเรียนแบบกลุ่มโดยใช้บทเรียนบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดย นายบวร พรหมนิกร
. โปรแกรมพจนานุกรมมัลติมีเดียภาษายาวีฉบับการสนทนาในชีวิตประจำวัน โดย นายสุรพล บุญลือ
. การพัฒนาวีดิทัศน์การศึกษาเพื่อเสริมสร้างจริยธรรมนักเรียน โดย นางสาวอรวรรณ จันทร์ชลอ
. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียโดยใช้แผงผังทางปัญญาที่ส่งเสริมความคงทนในการเรียนวิชาการสื่อสารมวลชน โดย ผศ.โสพล มีเจริญ

กลุ่มที่ ๓ กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
. การทำงานวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน (PAR) กรณีศึกษากลุ่มปุ๋ยอินทรีย์เครือข่ายป่าตะวันออก จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย ผศ.ดร.สุดารัตน์ ตรีเพชรกุล
.  การประยุกต์ใช้ Balanced Scorecard (BSC) กับกระบวนการจัดทำแผนผังยุทธศาสตร์ แผนบริหารการเปลี่ยนแปลง สู่การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ กรณีศึกษา จังหวัดสมุทรสาคร โดย นายสุเมธ ทานเจริญ
. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ โดยกลุ่มสตรีเรือนสมุนไพรอ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดย นายทรงพล คูณศรีสุข
. แบบจำลองหาความเหมาะสมที่สุดสำหรับแผนอพยพอัคคีภัย กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมปลายเฟอร์รี่ โดย ดร. ทวีภัทธ์ บูรณธิติ
. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านสุขภาพที่มีต่ออาชีพการเลี้ยงโค : กรณีศึกษาชุมชนหุบมะกล่ำ ตำบลบ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดย นางสาวจรินทร สมภู่

กลุ่มที่ ๔ โปสเตอร์
. นายประชุม คำพุฒ
เรื่อง การติดตามผลความต้องการของประชาชนต่อการนำแบบบ้านเพื่อประชาชนไปใช้งาน : กรณึศึกษาในพื้นที่ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

. นายวัฒนา คงนาวัง
เรื่อง  การพัฒนาแบบจำลองระบบสารสนเทศสุขภาพ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพ โดยศึกษาวิเคราะห์ระบบโปรแกรม THO  ศึกษาดัชนีชี้วัดด้านสุขภาพ ออกแบบฐานข้อมูล  พัฒนาระบบ  ประเมินประสิทธิภาพของระบบ  ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบจากผู้บริหาร และระดับผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอบ้านแท่น

 

. นายพงษ์ศักดิ์ เชาว์วันกลาง

เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรค ในโรงพยาบาลชุมชน

วัตถุประสงค์

-          เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมาทดสอบการทำงานของระบบใช้วิธี  Black-Box ประเมินระบบใช้การสาธิตประกอบการสัมภาษณ์และเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง

 

. นางจุฬาภรณ์ ชัยรัตน์
เรื่อง  การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก ในจังหวัดหนองบัวลำภู
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในจังหวัดหนองบัวลำภู และสร้างแบบจำลองเชิงพื้นที่วิเคราะห์ระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกโดยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์


. นายอาษา อาษาไชย
เรื่อง การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายของสถานบริการสาธารณสุข : กรณีศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาแบบจำลองการกระจายสถานบริการสาธารณสุขโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

. นางสุกานดา เอี่ยมศิริถาวร
เรื่อง การสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษาระบบควบคุมงานด้านอาหาร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด
วัตถุประสงค์
- เพื่อสร้างแบบจำลองระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วยคะแนนมาตรฐาน T-Score จากปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งโรงงานผลิตอาหาร


.  นางสาวศิริจิต เทียนลัคนานนท์
เรื่อง การใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการจัดทำแผนที่การกระจายทันตบุคลากร : กรณีศึกษาจังหวัดมุกดาหาร

ในส่วนของการแสดงผลงานโปสเตอร์ ทางผู้จัดการประชุมได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา มจธ. ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษา มจธ. นำโครงงานวิจัย มานำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ด้วย เพิ่มความหลากหลายของเนื้อหาให้มากขึ้น มีหัวข้อเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ

.การศึกษาผลกระทบจากปัญหากองขยะบริเวณชุมชนร่วมพัฒนา อ.พระประแดง โดยนักศึกษากลุ่ม Math
วัตถุประสงค์
  - ศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากองขยะในชุมชน

  - ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากกองขยะของชุมชนและบริเวณใกล้เคียง
  - ศึกษาแนวทางในการแก้ไขปัญหากองขยะในชุมชน

. โครงการศึกษาผลกระทบจากการเล่นพนันฟุตบอล  โดยนักศึกษากลุ่ม Green Lithe Project

วัตถุประสงค์
 - เพื่อศึกษาสาเหตุของการพนันฟุตบอล
 -  เพื่อศึกษาผลกระทบของการพนันฟุตบอลที่มีต่อสังคม

. การศึกษาพฤติกรรมการใช้โปรแกรมสนทนา MSN ของนักศึกษา มจธ. โดยนักศึกษากลุ่ม ขุมดำ
วัตถุประสงค์
 - เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้โปรแกรมสนทนา MSN และผลกระทบด้านการเรียนและการดำเนินชีวิตจากการใช้โปรแกรม MSN ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

. โครงงานการสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษา มจธ.ต่อการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มบริเวณโรงอาหาร มจธ. โดยนักศึกษากลุ่ม Multi Go
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษา มจธ.ต่อการบริโภคน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มบริเวณโรงอาหาร มจธ.

. สาเหตุและผลกระทบของปัญหาจราจรคับคั่งบนถนนประชาอุทิศ-ทุ่งครุ โดยนักศึกษากลุ่ม CPE17B

วัตถุประสงค์
-  เพื่อศึกษาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาจราจรคับคั่งบนถนนประชาอุทิศ-ทุ่งครุ
เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาจราจรคับคั่งบนถนนประชาอุทิศ-ทุ่งครุที่มีต่ออาจารย์, บุคลากร และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

. โครงงานศึกษาผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหาจากการสูบบุหรี่ใน มจธ. โดยนักศึกษากลุ่ม Mechatronics

วัตถุประสงค์
 - เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการสูบบุรี่ใน มจธ.
 เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่ใน มจธ.

.ศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ณ บริเวณโค้งสวนธนบุรีรมย์ที่เอื้อต่อการก่ออาชญากรรม โดยนักศึกษากลุ่ม Next Step

วัตถุประสงค์
 -  เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ณ บริเวณโค้งสวนธนบุรีรมย์ที่เอื้อต่อการก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม

. การศึกษาผลกระทบจากขอทานที่มีต่อประชาชนบริเวณสำโรง โดยนักศึกษากลุ่ม มนุษย์
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลกระทบจากขอทานที่มีต่อผู้คนในบริเวณสำโรง ในด้านการกีดขวางทางสัญจร การลักขโมย หรือภาพลักษณ์ทางสังคมที่ผู้คนจากเขตอื่นๆ มองมายังบริเวณสำโรง เช่น การเป็นแหล่งเสื่อมโทรม แหล่งมิจฉาชีพเป็นต้น

. การศึกษาปัญหาขยะบริเวณตลาดสำโรง โดยนักศึกษากลุ่ม Devil Night

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาสาเหตุของการเกิดปัญหาขยะบริเวณตลาดสำโรง
เพื่อศึกษาปัญหาผลกระทบขยะบริเวณตลาดสำโรง

๑๐. ผลกระทบของ Clip Video ที่มีต่อเยาวชนไทย โดยนักศึกษากลุ่ม CPE17A

วัตถุประสงค์

-          เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้ Clip Video ที่มีต่อเยาวชน
เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้ Clip Video แพ่กระจาย
เพื่อศึกษาการแพร่กระจายของ Clip Video ที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชน

๑๑. การศึกษาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยนักศึกษากลุ่ม Double Click
วัตถุประสงค์
 - เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยรพระจอมเกล้าธนบุรีที่มีต่อการแต่งกาย
เพื่อนำผลการสำรวจที่ได้มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา

๑๒. ศึกษาผลกระทบการใช้จักรยานของนักศึกษาหน้ามหาวิทยาลัย โดยนักศึกษากลุ่ม MCE 02

วัตถุประสงค์
 - เพื่อศึกษาผลกระทบจากการใช้จักรยานหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการใช้จักรยานหน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

 

 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท