วัณโรคในบุคลากร


ช่วงบ่ายวันที่ 3 พย.49 น้องนก(วราภรณ์) ICN ได้นัดเจ้าหน้าที่ของเรา ซึ่งผลการทดสอบหาภูมิต่อเชื้อวัณโรคทางผิวหนัง เป็นบวก (จากที่ทดสอบครั้งก่อนเป็นลบ) จำนวน 16 คน (พร้อมผลเอกซเรย์) มาพบหมอนาฎพธู ซึ่งหมอได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อวัณโรคแก่กลุ่มเจ้าหน้าที่ ทำให้ดิฉันซึ่งนั่งทำงานไปด้วยฟังคุณหมอไปด้วยได้ความรู้ว่าผู้ที่ได้รับเชื้อทุกคน ไม่จำเป็นต้องเป็นวัณโรคทุกคน หลังจากได้รับเชื้อประมาณ 2-8 สัปดาห์หากร่างกายแข็งแรงสามารถทำลายเชื้อได้หมด โดยเมื่อทดสอบผิวหนัง PPD skin test จะให้ผลบวก หมายถึงได้ติดเชื้อแล้วแต่ไม่เกิดโรคเรียก Latent infection ซึ่งผู้รับเชื้อกลุ่มนี้ไม่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
วัณโรคไม่ติดต่อทางสัมผัส ไม่ติดต่อทางเสื้อผ้า หรือเครื่องใช้ จะมีเชื้อบางส่วนอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว จนกระทั้งร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรค เช่นภูมิคุ้มกันบกพร่อง เชื้อจึงจะเจริญเติบโตและเกิดโรคได้ คาดประมาณว่าร้อยละ10 จะเป็นวัณโรค โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์, ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยที่ได้รับยา prednisolone หรือยากดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน หรือเปลี่ยนไต, ผู้ป่วยที่ไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งนี้อัตราการติดเชื้อขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น  ระยะเวลาที่สัมผัส กล่าวคือหากอยู่กับผู้ป่วยวันละ 8 ชั่วโมง(เวลาทำงานนั้นเอง) จะมีโอกาสติดเชื้อสูง,  ผู้ป่วยไอมาก ,  ผู้ป่วยที่รักษาไม่ครบ , ห้องที่อยู่แคบ และถ่ายเทอากาศไม่ดี  ระบบระบายอากาศเป็นระบบปิดไม่มีการเปลี่ยนอากาศใหม่ เพื่อเจือจางอากาศ ซึ่งหากกลุ่มเสี่ยงดังกล่าวได้รับยา INH กินวันละครั้ง เป็นเวลา 6 เดือนก็จะสามารถลดอัตราการเกิดวัณโรคได้ร้อยละ 5 (แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่ามีความคุ้มในการกินป้องกันหรือไม่ )
เป็นที่น่าสังเกตว่า มีเจ้าหน้าที่เอกซเรย์ปีนี้ ผลบวก 3 ราย จะเกี่ยวข้องกับระบบระบายอากาศหรือไม่  ส่วนเวลาทำงานปกติต้องสัมผัสกับผู้รับบริการอยู่แล้ว เป็นโจทย์ของทีม IC และสิ่งแวดล้อมต้องสืบสวนต่อไป 
หมายเลขบันทึก: 57743เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2006 17:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ฟังคุณหมอนาฏพธูแล้ว มีความเห็นว่า

1.จนท.16คน ของบำราศฯ มีสุขภาพแข็งแรงดี น่าให้รางวัล (โบนัสพิเศษ) เพราะสู้กับเชื้อวัณโรค ชนะไปเรียบร้อย

2.ห้อง X-Ray สู้ศึกกับวัณโรคไป 3 คน อีก 13 คนอยู่ห้องไหนบ้างคะ จะได้หาทางปรับปรุงบรรยากาศในห้องทำงาน โดยด่วนต่อไป (แล้วห้องที่ปรับระบบระบายอากาศไปแล้ว มีเจ้าหน้าที่มีผลบวกอีกไหมคะ)

3.ผู้ป่วยวัณโรคที่ไอมากๆ ถ้าทดลองให้ดื่มน้ำมะนาวสด (มะนาว 1 ลูกต่อน้ำสะอาด 1 แก้ว ไม่ปรุงรส) วันละ 1- 2 แก้ว (เช้า-เย็น) และฝึกการหายใจ บริหารปอด สูดหายใจเข้าลึกๆ แล้วหายใจออกเร็วๆ เพื่อช่วยขับเสมหะ และ บริหารปอด จะดีขึ้นไหมคะ

ขอเสริมความรู้เล็กน้อย

         ผู้ที่ผลTest  TB  เป็นลบ  ในปี - 2 ปีต่อมาผลเป็นบวก ควรจะรับประทานยา INH วันละ 3 เม็ดก่อนนอนเพื่อป้องกันการเกิด TB (มีโอกาสป่วยเป็น TB 10%)แต่ถ้าเลย 2 ปีไปแล้วถ้าจะรับประทานยาก็สามารถป้องกันได้แค่ 5 % แต่โอกาสป่วยเป็น TB ได้อีก 5 % ถ้าร่างกายอ่อนแอ ทั้งนี้ผ้ที่ผลการตรวจเป็นบวกแพทย์จะให้ความรู้ก่อน  และผู้ที่ผลเป็นบวกนั้นตัดสินใจเองว่าอยากรับประทานยาไหม  แต่แนะนำให้รับประทานยาในกรณีที่กล่าวมาตามเจ้าของ Blog

 

  • ระบบการจัดการอากาศมีความสำคัญนะคะ
  • สถานที่ในบริการควรจะจัดให้มีอากาศถ่ายเทสะดวกอาจจะมีส่วนช่วยเรื่องการติด TB ได้บ้างค่ะ

ขอบคุณสำหรับข่าวครับพี่ปิ่ง ผลผมยังลบอยู่เลยเนี่ยสิ เฮ้อ (ปีหน้าทำใหม่อีกแย้ว)

มาขอเสริมเรื่องยานิดนะครับ ยา INH (Isoniazid) ต้องกินต่อเนื่องจนครบกำหนด 6 เดือนนะครับ สำคัญมาก ไม่งั้นต้องมานั่งนับ 1 ใหม่

และยานี้มีอาการข้างเคียงที่พบบ่อย (>10%) คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เลยทำให้ไม่อยากอาหารตามไปด้วย

ซึ่งถ้ามีอาการดังกล่าวมากก็รีบบอกแพทย์นะครับ เพราะถ้าคลื่นไส้มากอาเจียนยาออกมาก็ไม่ได้ผลอยู่ดีครับ แถมเราต้องกินยา TB ไปนานๆ ด้วย

  • ได้ความรู้จากการปฏิบัติงานของปิ่งและนำมาบันทึก เพื่อ ลปรร. ในครั้งนี้ด้วยค่ะ รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมจากทุกท่านที่เข้ามาให้ข้อเสนอแนะด้วย ขอบคุณมากนะคะ
  • แต่รู้สึกเป็นห่วงหลายหน่วยงานที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เพราะปัจจุบันมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศอย่างมากจริงๆ อาจจะต้องมาดูเรื่องความเสี่ยงว่าหน่วยงานไหนที่ต้องสัมผัสโดยตรงด้วย
จะพยายามแก้ไขในส่วนที่เป็นความเสี่ยงให้ค่ะ     ขอบคุณปิ่งที่นำมาลปรรค่ะ

ขอบคุณทุกท่านค่ะที่ร่วมลปรร.มีมุมมองจากเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติมที่นี่ค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณทุกๆท่านที่มีส่วนในการจัดให้มีการตรวจสุขภาพเจ้าหน้าที่   เพราะตัวเองก็เป็นหนึ่งในจำนวนเจ้าหน้าที่ ที่เจ้าเชื้อTBขอมาแอบแฝงอยู่ด้วยบริเวณขั้วปอด(มันคงไม่มีที่ไปมั๊ง)และประทับใจคุณหมอเอ๋(นาฏพธู)ที่น่ารักมากๆเลยงานนี้ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกที่แสดงถึงความห่วงใยและคำพูดอธิบายที่ต้องอธิบายให้เจ้าที่ฟังแล้วเข้าใจและตัดสินใจเลือกว่า จะเลือกตัดสินใจกินหรือไม่กินยา อีกผู้หนึ่งที่เป็นผู้เลือกให้ดิฉันได้ Say Hello กับเจ้า TB  ก่อนที่มันจะทำให้ดิฉันต้องผอมแห้งแรงน้อย ไอโครกๆๆ จนทำให้ ผู้คนต้องหลบหน้าหนี คือ พี่นก(วราภรณ์)ขอบคุณค่ะ  และที่สำคัญที่สุดของผู้ป่วยรายใหม่ซิงๆอย่างดิฉันกำลังใจสำคัญที่สุด นอกจากคุณพ่อคุณแม่แล้วยังมีป้าเปรี้ยวที่คอยส่งข้าว ส่งน้ำส่งกำลังใจ ไม่รังเกียจเจ้าTB ที่มีอยู่ในตัวน้องรักเลยขอกราบขอบพระคุณมากๆนะเจ้าค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท