beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ได้อะไรจากการดูงานที่คณะสหเวชศาสตร์ (AAR : KM เพื่อสร้างสุขในที่ทำงาน)


หวังว่าการต้อนรับคงจะยังประโยชน์ให้ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยินดีว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งห่างภาคประชาสังคมมากสักหน่อย แต่ก็เป็นโอกาสอันดีที่ครั้งนี้ภาคประชาสังคมมาเยี่ยม ซึ่งต่อไปทางมน.อาจไปเยี่ยมที่อื่นบ้าง เป็นการเอื้อประโยชน์ ให้กันและกัน.

        วันนี้ ทีมงานนักเรียนคุณอำนวยรุ่น ๑ ไปดูงาน (สอดไส้ KM) ที่คณะสหเวชศาสตร์ หัวข้อ KM เพื่อสร้างสุขในที่ทำงาน ตามกำหนดการที่คุณบอย-สหเวชได้วางไว้ดังนี้

                                             

                                               KM เพื่อสร้างสุขในที่ทำงาน


                                                วันที่ 24 มกราคม 2551
                                         ณ ห้องประชุม 1 คณะสหเวชศาสตร์
                                         ...........................................................                       

8.45 น. - 9.00 น.         ทีมงาน KM สำนักงาน ร่วมต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากเทศบาล
                                (บริเวณด้านหน้าคณะสหเวชศาสตร์/ ถ่ายรูปหมู่)  
                                / เปิดเพลงความสุขในบ้านของเรา
9.05 น. - 9.10 น.         ลงทะเบียน – ( สคส. / AAR / รูปหัวใจ )
9.15 น. - 9.30 น.         คณบดีกล่าวต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากเทศบาล
9.35 น. - 9.40 น.         ชม VCD ความสุขในบ้านของเรา 
9.45 น. - 10.00 น.        หัวหน้าสำนักงานเลขานุการคณะสหเวชศาสตร์ เกริ่นนำ 
                                แนะนำทีมงาน KM สำนักงาน (Blog)
10.00 น.-10.50 น.        แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มย่อย เพื่อเรียนรู้ตามฐานต่าง ๆ  
                                (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ฐานละ 10 นาที)
                                       ฐานที่ 1 ( ห้องประชุม 1 - ด้านหน้า ) - ดาวรุ่ง / ขวัญเรือน
                                       เรื่องเล่า “ ความสำเร็จในจัดทำโปรแกรมฐานข้อมูลคุรภัณฑ์”
                                       ฐานที่ 2 ( ห้องประชุม 1 -  ด้านหลัง) – นิตยา / กมลพร
                                       เรื่องเล่า “ ความสำเร็จในการให้รางวัลเบี้ยขยัน”
                                       ฐานที่ 3 ( ห้องประชุม 3 )  - ชรินทร์ / จักรพงศ์
                                       เรื่องเล่า “ความสำเร็จในการใช้โปรแกรม e-office”
                                       ฐานที่ 4 ( ห้องประชุม 2 ) – มณีรัตน์ / สมภพ
                                       เรื่องเล่า “ความสำเร็จในการจัดทำ SAR ON BLOG”
10.50 -11.00  น.          พักรับประทานอาหารว่าง
11.10 -11.30 น.           ประชุมกลุ่ม เพื่อเลือกเรื่องที่ประทับใจที่สุด และ ส่งตัวแทนมา 
                                 นำเสนอให้ทุกคนทราบ 
11.30 -11.50 น.           AAR สำหรับตัวแทนแต่ละกลุ่ม
11.50 -12.00 น.           คณบดีมอบของที่ระลึกให้กับเทศบาล
 
                         

 

         ผมว่าไปสายแล้ว แต่ก็ยังไปเป็นคนแรก ดูเวลาแล้วเกือบ ๙ โมงเช้า พอไปถึงก็เห็นคุณบอยกับน้องๆ ทีมงาน เตรียมต้อนรับ ให้ลงทะเบียน...พอถ่ายรูปคณะเตรียมงาน รถตู้เทศบาลฯ ก็ตามมา แล้วก็ตามด้วยทีมจากโรงพยาบาลพุทธชินราช รวมทั้งวิทยาลัยพยาบาล ที่ขาดหายไปเห็นจะเป็นสพฐ และอ.ราณี

          พอลงทะเบียนแล้ว เขาก็แจกสคส.ปีใหม่จากอ.มาลินี คณบดี และก็การ์ดรูปหัวใจ เป็นสีต่างๆ ๔ สี คือ เขียว เหลือง ชมพู ฟ้า...ของผมได้การ์ดสีฟ้าแต่เขาไม่ได้บอกให้เขียนอะไรลงไป และถามว่าใช้ทำอะไรเขาก็ยังไม่บอก

          พอคณะที่มาดูงานมากันเกือบครบแล้วเราก็ถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน ตอนนี้อ.มาลินี มาร่วมต้อนรับและถ่ายรูปด้วย เราถ่ายรูปกันนานพอสมควรเพราะมีหลายกล้อง และต้องแอ๊คท่าสองครั้งด้วยกันถึงจะถ่ายภาพได้ครบ (เดียวบอกทีหลังว่าภาพที่ถ่ายได้เขาเอาไปทำอะไรกัน)

ถ่ายภาพหมู่ร่วมกันที่หน้าคณะสหเวชศาสตร์ ยืมมาจากก๊วนคุณสะอาด

          ตกลงกำหนดการช่วงแรกเราลงทะเบียนก่อนแล้วค่อยถ่ายภาพครับ หลังจากนั้นเราก็ไปรวมกันที่ห้องประชุม... คุณบอยเป็นพิธีกรเอง เชิญท่านคณบดีมากล่าวเปิดงาน... คณบดีก็รู้สึกตื่นเต้นไปด้วยเหมือนกัน (สังเกตว่ามีการพูดผิดพูดถูกบ้าง...ปกติท่านจะเป็นคนเนี๊ยบเรื่องการพูด)  ผมขอถ่ายทอดเรื่องที่อ.มาลินีพูด พอสังเขปดังนี้..

 

      ตอนที่คุณหมอสุธีบุกเดี่ยวมาขอพบ เพื่อมาขอดูงานทางด้าน KM ขนมสอดไส้ และบอกว่าผู้ที่มาดูงานคณะนี้เป็น FA หรือคุณอำนวย จากหลายหน่วยงาน ทั้งจากเทศบาลและทางโรงพยาบาล ซึ่งโดยปกติของการมาดูงาน จะบอกว่าต้องการมาดูอะไร แต่คราวนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายเหลือเกิน....ดังนั้นอาจจะไม่ได้ประโยชน์ในด้านที่จะเอาไปปรับใช้ในงาน...แต่คุณหมอก็บอกว่าต้องการมาดู Process ขอให้โชว์ Process ให้ดูหน่อย ดังนั้นจึงได้บอกกับคุณบอยว่า อาจจะเน้นเรื่องการรับแขก..ซึ่งอาจจะได้บางอย่างไปใช้ประโยขน์ได้บ้าง..ซึ่งคุณบอยก็จัดให้เพิ่มเติมว่า  ไหนๆ ก็มาดูงานทั้งทีแล้ว ก็ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานจริงหน้างานมาเล่าให้ฟัง โดยมีพระเอกนางเอก ๔ กลุ่ม จากสำนักงานเลขานุการคณะเป็นผู้แสดงหลัก

      หวังว่าการต้อนรับคงจะยังประโยชน์ให้ ไม่มากก็น้อย แต่ก็ยินดีว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งห่างภาคประชาสังคมมากสักหน่อย แต่ก็เป็นโอกาสอันดีที่ครั้งนี้ภาคประชาสังคมมาเยี่ยม ซึ่งต่อไปทางมน.อาจไปเยี่ยมที่อื่นบ้าง เป็นการเอื้อประโยชน์ ให้กันและกัน....

         คุณบอยกลับมาเป็นพิธีกรต่อ ขอเชิญให้ชม VCD "ความสุขในบ้านเรา" มีเสียงเพลงและภาพถ่ายกิจกรรมต่าง เท่าที่ลิขิตได้ดังนี้ (VCD นี้ คุณสมภพ เป็นคนจัดทำ)

  • ทำบุญคณะ, สงกรานต์, แต่งกายผ้าไทย
  • คณะดูงานจาก ม.มหาสารคาม, มรภ.อุตรดิตถ์
  • Office KM, ประเมิน QA,สัมมนา QA
  • พิธีมอบรางวัลต่างๆ
  • การเข้าร่วมงานนเรศวรวิจัย ครั้งที่ ๓
  • งานพระราชทานปริญญาบัตร
  • Big Cleaning Day
  • วิพากษ์โครงการวิจัยสถาบัน
  • กิจกรรมออกกำลังกาย
  • กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม
  • ปีใหม่คณะ

          ต่อมาคุณบอยแนะนำทีมงานดังนี้

  1. คุณสมภพ
  2. คุณชรินทร์
  3. คุณกมลพร
  4. คุณดาวรุ่ง
  5. คุณนิตยา
  6. คุณมณีรัตน์
  7. คุณจักรพงษ์
  8. คุณขวัญเรือน

          หลังจากนั้น คุณบอย ก็ขอทำความรู้จักกับทีมที่มาดูงาน เริ่มจาก

  1. คุณชุติกานต์ ดาวดึงส์ หรือ คุณปุ๊ก นักวิชาการสุขาภิบาล สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครพิษณุโลก
  2. คุณปราการ...(เขียนถูกหรือไม่) สำนักงานนวัตกรรมสิ่งแวดล้อม (ใช่หรือเปล่า) เทศบาลนครพิษณุโลก
  3. คุณจุฬาลักษณ์ แสงสว่าง บรรณารักษ์ โรงพยาบาลพุทธชินราช
  4. นพ.สาโรจน์ สันตยากร โรงพยาบาลพระพุทธชินราช

          ระหว่างที่แต่ละท่านแนะนำตัว ทีมงาน (ชาย) ของคุณบอย ก็จะถือกล่องกระดาษถ่ายเอกสาร คอยเก็บตำแหน่งหัวโขนของแต่ละท่านเพื่อลดความหนัก...จนกระทั่งมาถึงนพ.สาโรจน์ คุณบอยขอให้ปลดเน๊คไท และกระดุมคอเสื้อ....

          หลังจากปลดหัวโขนออกได้แล้ว คุณบอยก็ลดอาการเกร็งลงได้มาก และต่อจากนี้ไปก็ทำให้บรรยากาศเริ่มเป็นกันเองมากขึ้น

          ต่อไปคุณบอยก็อธิบายเรื่อง การ์ดรูปหัวใจ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ สีนั้น ให้ไปรวมกลุ่มกันเป็น ๔ กลุ่ม สีชมพู ให้เข้าฐาน๑ เป็นฐานแรก, สีเหลือง ให้เข้าฐาน ๒ เป็นฐานแรก, สีเขียว ให้เข้าฐาน ๓ เป็นฐานแรก, ส่วนสีฟ้า (beeman อยู่กลุ่มนี้) ให้เข้าฐาน ๔ เป็นฐานแรก...จากนั้นก็เวียนกันไปตามลำดับ

           กติกา...ให้แต่ละกลุ่มตั้งชื่อกลุ่ม, Slogan, และคำขวัญ พอไปแต่ละฐาน ต้องบอกชื่อกลุ่มและ Slogan (มีท่าทางประกอบ) ก่อนเข้าฐาน และออกจากฐาน (พอใช้งานจริงคำขวัญไม่ได้ใช้)

            กลุ่มของผม สีฟ้า ชื่อกลุ่ม "วัยเยาว์" พอไปเข้าฐาน ต้องพูดว่า "วัยเยาว์ (ชื่อกลุ่ม) วัยเยาว์ สู้สู้ (Slogan)".....ปรบมือ ๓ ครั้ง...กำมือแล้วชูกำปั้น...(ร้องพร้อมกัน).."เฮ้"..

            กลุ่มของผม มี ๖ คน

  • ชุติกานต์ ดาวดึงส์ (ปุ๊ก)  เทศบาลฯ ให้เป็นประธาน
  • สามารถ เอื้อมเก็บ (เอ) ภก. รพ.พุทธชินราช
  • เพียงเพ็ญ ศรีวิโรจน์ (นักการอิ่ม)  เทศบาลฯ
  • ไพทูล มาประกอบ (น้อย) รพ.พุทธชินราช
  • ..น้อย..(ลิขิตไม่ทัน)..
  • beeman เอง...หนุ่มเทศบาลฯ สาขามน.

           ต่อไปเป็นการลปรร.ตามฐาน (เอากลุ่มสีฟ้าเป็นกลุ่มนำเรื่อง)

ฐานที่ ๔  ( ห้องประชุม 2 ) – มณีรัตน์ / สมภพ 
เรื่องเล่า “ความสำเร็จในการจัดทำ SAR ON BLOG”
 
  • เดิม SAR ทำแบบ Paper ทำให้กรรมการต้องใช้เวลานานในการตรวจประเมิน ซึ่งโดยปกติต้องเป็น ๒ วัน
  • พอปี ๔๙ ทางคณะ ใช้ SAR on blog ทำให้คณะกรรมการทำการบ้านมาก่อนพอวันมาตรวจประเมินจริงๆ ก็ใช้เวลาเพียงวันเดียว..ในการตรวจเอกสาร สังเกตได้จากกรรมการจะมีการ List รายการที่สงสัยมาตรวจจากของจริง
  • ก่อนหน้าที่กรรมการจะมาตรวจ ประมาณ ๒-๓ สัปดาห์ ทางคณะฯจะส่ง เอกสารคู่มือการใช้ blog ไปให้คณะกรรมการ และแนะนำวิธีการเข้าตรวจ online
  • ข้อดีคือคณะกรรมการต้องทำการบ้านมาก่อน พามาตรวจจริงก็ใช้เวลาน้อยลง แต่มีปัญหาบ้างที่ Link ข้อมูลไม่ขึ้นบ้าง
  • กรรมการที่เคยมาตรวจ คือ อ.เทียมจันทร์, หมอพิเชษฐ์ และ อ.วัลลี (ธรรมศาสตร์) ก็คุ้นเคยกับ blog อยู่ ทำให้ไม่มีปัญหาอะไรมาก
  • ปัญหา เมื่อเริ่มทำแรกๆ อาจดูเหมือนเป็นการเพิ่มภาระ แต่พอทำไปให้เป็นปกติ มีการบันทึกงานประจำในบล็อก ทำในเวลาทำงาน ต่อไปก็ชินกับระบบนี้
  • เริ่มจากสายสนับสนุนก่อน พบว่ามีความสามัคคีเพิ่มขึ้น เอกสารก็หาง่ายขึ้น เพราะว่าบางทีทำเป็น PDF.file Load เก็บไว้ได้..ไม่ต้องไปค้นหาตามแฟ้มเหมือนแต่ก่อน
  • เป็นการเพิ่มดัชนีแห่งความสุข (ข้อนี้คุณสามารถเป็นผู้พูด)

ฐานที่ 2 ( ห้องประชุม 1 -  ด้านหลัง) – นิตา / กมลพร
เรื่องเล่า “ ความสำเร็จในการให้รางวัลเบี้ยขยัน”

(ที่จริงกลุ่มเราควรไปต่อที่ฐานที่๑ แต่เราหลงไปฐานที่๒ ก่อน..beeman)

  • คุณนิตยา อยู่ฝ่ายบุคคล
  • ที่ผ่านมา มีบางคนมาทำงานสาย..การคุมเวลาทำงานยาก จึงมีการปรึกษากันระหว่างผู้บริหารกับทีมงาน...โดยเน้นที่สายสนับสนุน..
  • มีเกณฑ์ว่า เป็นบุคลากรที่ทำงานมาไม่น้อยกว่า ๑๐ เดือน มีวันลารวมไม่เกิน ๓ วัน
  • ตลอดปีไม่ขาดไม่สาย
  • วิธีการคือ ทุกวัน เวลา ๘.๓๐ น. งานบุคคลจะไปขีดเส้นสีน้ำเงินที่ใบลงเวลาทำงาน เป็นการเตือน และพอ ๙.๐๐ น. จะไปขีดเส้นสีแดง
  • จากบุคลากร ๓๒ คน..มีผู้ผ่านเกณฑ์ ๖ คน (อยากทราบว่าเป็นใครบ้างดูรายชื่อในบันทึกของคุณนิตยา และดู comment ของคณบดี ท่านอาจารย์มาลินีประกอบนะครับ)
  • คนที่ผ่านเกณฑ์ได้รับเงิน คนละ ๑,๐๐๐ บาท (เงินมาจาก เงินสวัสดิการ ซึ่งได้มาจากเงินบริจาค มียอดประมาณ ๘ หมื่นบาท)  ความจริงไม่มีการกำหนดว่าจะต้องได้กี่คน เป็นการให้รางวัลด้านบวก...แทนที่จะลงโทษคนมาสาย
  • รางวัลแม้จะไม่มาก แต่มีการทำพิธีมอบให้ในที่ประชุมผู้บริหาร (๒๒ ตุลาคม ๕๐) ทำให้มีเกียรติ มีคนชื่นชมยินดี
  • จากการประเมิน ผลตอบรับเป็นที่พอใจ ทำให้คนมาสายน้อยลง เพราะว่ามีแรงจูงใจ คือ ความภาคภูมิใจ (อยากขึ้นไปรับรางวัลบ้าง)
  • ทางผู้ดูงาน เสนอให้ทำใบประกาศเกียรติคุณ หรือพวกโล่ห์ขยัน อะไรทำนองนี้มอบให้ด้วย เผื่อว่าจะเป็นตัวอย่างให้คนในครอบครัวได้เห็น เป็นความภาคภูมิใจที่จับต้องได้
  • รางวัลเป็นอิสระ ต่อผู้ได้รับความดีความชอบเป็นพิเศษ แต่แนวโน้มก็ไปในแนวทางเดียวกัน

ฐานที่ ๑ ( ห้องประชุม 1 - ด้านหน้า ) - ดาวรุ่ง / ขวัญเรือน
เรื่องเล่า “ ความสำเร็จในจัดทำโปรแกรมฐานข้อมูลคุรภัณฑ์”

  • ที่นี่ เรื่องวัสดุ และครุภัณฑ์ มากองรวมกันที่คณะ
  • วัสดุ จะให้แต่ละคนและหน่วยงาน (๕ หน่วยงาน ๑ สำนักงาน) ประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อจัดจ้างมา รวมทั้งค่าซ่อมครุภัณฑ์ด้วย
  • จัดซื้อพัสดุรวม เวลาจะใช้อะไรก็มาเบิกได้ โดยจะมีการบันทึกข้อมูลแยกเป็นรายคนหรือหน่วยงานตามที่ได้คุยกันไว้ก่อน
  • พัสดุจะรายงานไปให้งานการเงินทราบทุกเดือน และการเงินก็รายงานให้ผู้บริหารทราบ แต่ข้อมูลของพัสดุ จะสรุปยอดแจ้งผู้เกี่ยวข้องทราบปีละครั้ง
  • ในกรณีของภาควิชา...เวลาซื้อของที่ใช้ในการเรียนการสอนหรือทำปฏิบัติการ จะเก็บ Stock ไว้ที่ภาควิชา และ TA (เข้าใจว่าน่าจะเป็นพนักงานห้องทดลอง) จะเป็นผู้คุม Stock เบิกจ่าย
  • ตัวอย่าง เช่น การเบิกกระดาษ (ใช้สถิติข้อมูลย้อนหลัง ๓ ปี มาเป็นตัวกำหนด) ผู้บริหารเบิกได้ไม่เกิน ๖ รีมต่อปี, อาจารย์ทั่วไปไม่เกิน ๔ รีม, งานการเงินไม่เกิน ๒๐ รีม 

 ฐานที่ 3 ( ห้องประชุม 3 )  - ชรินทร์ / จักรพงศ์
เรื่องเล่า “ความสำเร็จในการใช้โปรแกรม e-office”
  • ฐานนี้พูดถึงหนังสือเวียนทั่วไป ไม่ต้องใส่แฟ้มเสนอแจ้งเวียนได้
  • ยกเว้นเรื่องการเงิน พัสดุ ซึ่งจะต้องให้ผู้บริหารอนุมัติ (เซ็นสด)
  • โปรแกรม AMSe-office พัฒนาโดย ผศ.สิชล จากคณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ (เข้าใจว่าต้องซื้อโปรแกรมมา เพราะโปรแกรมมีลิขสิทธิ์)
  • ระดับหนังสือที่ติดต่อไปถึงแต่ละคนจะมีระดับว่า ด่วนที่สุด,ด่วน,ปกติ...ฯลฯ
  • ส่วนมากทุกคนจะเปิดอ่านกันตอนเช้า และบ่ายวันละ ๒ รอบ
  • สาธิตตัวอย่างเช่น การขอรถ จะต้องผ่านมาที่งานอาคารยานพาหนะ..ซึ่งจะต้องตรวจสอบตารางว่าง หากว่างก็จะเสนอคุณบอยเพื่อทราบ และแจ้งให้ผู้ขอทราบ รวมทั้งแจ้งให้พนักงานขับรถทราบและถือปฏิบัติ
  • บางครั้ง เราไปเช็คตารางรถว่างจะเข้าไปในเมือง หากเรามีธุระก็ขอติดรถไปได้ หากที่นั่งในรถว่าง

--------------------------------------------------------------

         จากการสังเกตในแต่ละฐาน ที่มี ๒ คน เพราะจะได้ช่วยกัน และอีกคนหนึ่งจะเป็นคนคุมเวลา...ซึ่งคุมเวลาได้ดีมาก

         หลังจากเข้าครบ ๔ ฐาน เราก็มาทานเบรค มีแยมโรล ๑ ชิ้น น้ำหวาน ๑ แก้ว..(ถ้ามี Menu น้ำผึ้งผสมมะนาวให้เลือก จะเยี่ยมมาก-แต่บางคนก็อยากทานกาแฟ-แค่เขาเลี้ยงก็ดีถมไปแล้วเพ่)

          กลับมาเข้าห้อง...คุณบอย ให้แต่ละกลุ่ม ส่งตัวแทนไปแสดงความคิดเห็นว่าชอบฐานไหน ซึ่งส่วนมากตอบว่าชอบทุกฐาน แล้วก็มีการมอบรางวัลให้กับผู้นำเสนอ โดยการ Vote ของผู้เข้าดูงานผ่านการ์ดรูปหัวใจ..(มอบรางวัลหลังทำ AAR-ผู้ได้รางวัลคือนักการอิ่ม เป็นหนังสือ "เรียนรู้เรื่อง KM ผ่านเรื่องเล่าชาวมน.)

          ต่อไปก็ทำ AAR โดยตัวแทนแต่ละกลุ่ม...AAR รวม อยู่ที่นี่ <Link> ส่วน AAR ของก๊วนคุณสะอาดก็อยู่ที่นี่ <Link>

           เกือบสุดท้ายก็คือการเปิดใจของหมอสุธี ที่พามาดูงานที่นี่ หลังจากนั้นทางเทศบาลก็มอบของที่ระลึกให้ทางคณะสหเวช ท่านรองคณบดีฝ่ายบริหาร อ.สุวรรณ เป็นผู้รับมอบ และก็มอบของที่ระลึกจากการดูงานครั้งนี้ให้กับเทศบาล....เป็นภาพที่ถ่ายร่วมกันเมื่อเช้า ขนาดประมาณ ๑๒x๑๔ นิ้ว..

           เวลาคงเหลืออีกนิดหน่อย...คุณบอยถือไมค์มาให้ผม...ผมก็ออกไปพูดเปิดใจเล็กน้อย..สุดท้ายก็ขอบคุณทางหมอสุธีที่บุกเดี่ยวมาติดต่ออ.มาลินี และขอบคุณทางคณะสหเวชที่ต้อนรับด้วยใจ...ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ..จากนั้นก็แยกย้ายกันกลับไปทำงาน

         

beeman by Apinya

มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์  
神奇的蜂爷
  
(shen2  qi2  de1  feng1  ye2)

หมายเลขบันทึก: 161214เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • สุดยอดคุณลิขิตจริงๆ ค่ะ  ขอเทใจให้หมดเลย
  • สำหรับเจ้าบ้านอย่างดิฉันที่ไม่สามารถเข้าไปชมได้
  • เพราะต้องปล่อยให้คุณกิจโชว์เต็มที่
  • ดิฉันมองเห็นภาพ  และสามารถประเมินได้ว่า น้องๆ เขาต้อนรับแขกได้ดีเพียงใด  สื่อสารให้แขกได้เข้าใจหรือไม่ 
  • ถ้าไม่ได้บันทึกของอาจารย์ Beeman อย่างนี้ ดิฉันคงต้องอัดอั้นตันใจต่อไป 

           ขอบคุณมากค่ะอาจารย์  และขอบคุณที่อาจารย์ให้เกียรติมาเยี่ยมชมคณะสหเวชฯ อย่างนี้เขาเรียกว่าใกล้ตัว ไม่ไกลใจ ใช่ไหมคะ!!  : )  : )

  • เก็บรายละเอียดได้เยื่ยมมากครับอ. Beeman
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการมาเยี่ยมเยือนและให้กำลังใจทีมงานคณะสหเวชศาสตร์

ขอบคุณท่านคณบดี ที่ให้เกียรติมาเยี่ยมครับ

  • ความจริงอยากไปดูงานที่คณะสหเวชฯ นานแล้ว แต่ถ้าไปคนเดียวก็จะเสียเวลาทำงานของแต่ละงาน..และก็คงไม่สนุก
  • ครั้งนี้ได้ดูเป็นทีม ดีมากครับ (คณะที่อยากดูงานอีกภายในมน. ก็เป็นที่คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมทั้งทันตแพทย์ด้วย..หากใครมีข่าวคราว..ก็เชิญชวนกันบ้างครับ..ขอไปสังเกตการณ์หรือร่วมวงด้วยก็ได้ไม่ขัด-หากไม่ติดภาระกิจสำคัญ)
  • ทีมหมายถึงทั้งทีมเหย้าและเยือนครับ คือ ระหว่างทีมเยื่อนทำให้รู้จักกันมากขึ้นเพราะมีเวทีให้แลกเปลี่ยน และระหว่างทีมเหย้าเราก็เห็นระบบภายในที่ซ่อนอยู่
  • ขอขอบคุณท่านอาจารย์มาลินี ที่เปิดโอกาสให้ดูเต็มที่นะครับ...
  • สุดท้าย "ใกล้ตัว และใจก็ไม่ไกล" ครับ..อิอิ..
  • ระหว่างคิดคำตอบถึงท่านอาจารย์มาลินี คุณบอยก็เข้ามาตามคำเชิญ
  • ต้องขอขอบคุณ การต้อนรับด้วยความจริงใจของทีมงานคณะสหเวชครับ
  • ผมพบคนในมน.ที่ทีมงานยังไม่เข้มแข็ง ก็เชียร์ให้เขาไปดูงานที่คณะสหเวชบ้าง..คนกันเองไม่เสียงปม.สักเท่าไร
  • ประหยัดเงินดูงานที่อื่น เอาไว้สร้างทีมงานดีกว่า..อิอิ
  • คนที่บ่นว่าเวลาน้อยไป  สามารรถมาเรียนรู้ต่อได้ที่นี่ครับ  อิอิ
  • จริงๆก็เวลาน้อยไปครับ  อิอิ
  • ทางเทศบาลเลยต้องนั่งคุยกันต่อตอนนั่งรถกลับเทศบาล  แถมตอนทานมื้อกลางวันด้วยกันอีก
  • กลุมนักการแถมต่อภาคบ่าย  อิอิ

เรียนคุณหมอสุธี

  • ผมคิดว่า ถ้าดูเฉพาะ Process เวลาก็น่าจะพอดีนะครับ
  • แต่ที่ส่วนใหญ่ว่าเวลาดูงานน้อย เพราะเราไม่ได้มา AAR วิเคราะห์ในด้านของปัจจัยแห่งความสำเร็จ
  • ผมมองเห็นตัว Key Success Factor ตัวหนึ่ง คือ ท่านคณบดี กับ ท่านเลขานุการคณะ ครับ...ตรงนี้เป็นจุดแข็งของที่นี่.....อิอิ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมกลับมาหน่วยงานลองมาเขียนสรุปการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูเขียนได้ 1หน้ากระดาษ A4 ภูมิใจตัวเองหนักหนาว่าเขียนได้มาก แต่แวะมาอ่านของอาจารย์แล้วขอชื่นชมอาจารย์มากๆ เก็บรายละเอียดได้มากจริงขออนุญาต บันทึกรายละเอียดของอาจารย์ไว้ที่หน่วยงานเพื่อประโยชน์ของการเรียนรู้สำหรับคณะทำงานการจัดความรู้ของโรงพยาบาลที่จะถอดเป็นความรู้และประยุกต์ใช้ภายในหน่วยงาน ยอดเยี่ยมจริงๆครับอาจารย์ 

  • สวัสดีครับ คุณน้อย...
  • ผมตั้งใจ ถอด Process ของงานนี้ไว้ และต้องรีบเขียน เพราะไม่อย่างนั้นจะลืม และวันข้างหน้าเรายังเอาวิธีการมาใช้ได้
  • เขียนในแนวถอดบทเรียน แต่ไม่ได้เขียนในเชิงวิเคราะห์ไว้ด้วย
  • หากบันทึกมีประโยชน์ ก็นำไปใช้ได้เลยครับ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท