บทเรียนจากวังรี


อึ้งซิท่า

ระหว่างการอบรม CUP ที่วังรี เหล่าบรรดาผู้เข้าประชุม เจอคำถาม ครูปูม เข้า ทำเอาอึ้งไปเลย "ถ้าคนในเขตเมือง มีเงิน เขาจะไปหาผู้เชี่ยวชาญโดยตรง มันจะผิดตรงไหน"  นานาความคิดเห็นก้อโผล่ขึ้นมา น่าสนใจ คำถามนี้ ทำให้นึกถึงตอนสมัยที่เริ่มการพัฒนาตามกลยุทธสาธารณสุขมูลฐานใหม่ๆ คำถามมีว่า ชาวบ้านก้อเอาแค่สาธารณสุขมูลฐาน คนมีเงินก้อไปทุติยฐานกันหรือไง?

ในหัวอกชาวบ้านธรรมดา พอเจ็บไข้ได้ป่วย และรับรู้ว่าฉันป่วย ฉันก้ออยากหายป่วย คนมาบอกว่าหมอที่ไหนดีก้อต้องพยายามด้นดั้นไปหา อยู่ๆมาบอกฉันว่า ให้ไป พีซียูก่อน ไปทำไม ไม่รู้ว่าเก่งจริงหรือเปล่า คนแถวบ้านฉันไปมาแล้ว กินยาก้อไม่ถูก (ยาไม่แรง รักษาไม่หาย) ฯลฯ

ผู้จัดการ CUP ทั้งหลาย ท่านน่าจะต้องทบทวนเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการและความจำเป็นของการจัดบริการปฐมภูมิให้ชัดเจนนะครับ ลองนึกทบทวนดูหน่อยนะว่าในฐานะที่ท่านต้องรับผิดชอบการบริหารจัดการบริการปฐมภูมินั้น เราเร่งรัดพัฒนาบริการปฐมภูมิเพราะเราไม่มีปัญญาขยายบริการระดับทุติยภูมิหริอตติยะภูมิ หรือเพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่นั้น Health Needs จริงๆ มีสักเท่าไหร่ที่ต้องการบริการระดับสูงกว่าปฐมภูมิ? อย่าเอาความต้องการ (Wants) มาปนกับความจำเป็น (Needs) ท่านพุทธทาสเขียนไว้ว่า เรากลิ้งกันมากก้อเพราะกิเลศ ตัณหา พระเจ้าอยู่หัวสอนเราเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ความสมเหตุสมผล เราน่าจะลองกลับไปทบทวนดูว่า

1. การจะสนองตอบต่อสถานการณ์ความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากรในเขตความรับผิดชอบของเรานั้น เรามีความจำเป็นต้องจัดบริการระดับใด ที่ไหน และจะทำให้บริการต่างๆมีความเชื่อมโยงต่อกันและเอื้อประโยชน์ต่อกันในการยกระดับสุขภาพของผู้ป่วยและกลุ่มประชากรได้อย่างไร? คำถามข้อนี้ คนที่ทำงานด้านคลินิก ก็เห็นอยู่แล้ว ว่าในวันๆหนึ่งมีผู้ที่มีความจำเป็นด้านที่ต้องรับการรักษา (Medically Needs) นั้น กี่เปอร์เซนต์ที่ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือพยาบาล หรือทีมงานที่ PCU ดูแลได้ กี่เปอร์เซนต์ที่ต้องการการดูแลระดับสูงขึ้นไป

2. แบบแผนปัญหาสุขภาพที่มีทั้งโรคติดเชื้อและโรคไม่ติดต่อ ที่เขาเรียกว่า ทวิภาระโรค (Double Burden of Disease) รวมถึงปัญหาที่มาจากพยาธิสภาพทางสังคม มีกี่เปอร์เซนต์ที่เป็นปัญหาเฉียบพลัน ไม่ถึงมือหมอแล้วต้องตายหรือพิการแหง๋ๆ เช่นการเกิดอุบัติเหตุรุนแรง เส้นเลือดในสมองแตก หลายปัญหาอาจรุนแรงแต่ไม่เฉียบพลันต้องใช้เวลาในการพัฒนาการ หรือผ่านระยะฟักตัว จึงเกิดอาการหรืออาการแสดง พวกนี้ หากเราสามารถวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ และให้การบำบัดแต่แรกเริ่ม ก็อาจชลอหรือลดการสูญเสียไปได้ ปัญหาในลักษณะนี้มีสักเท่าไหร่ เราจะรู้ได้อย่างไร PCU หนึ่งๆ รับผิดชอบประชากรประมาณ 10000 คน เครือข่ายชุมชน องค์กรชุมชนที่มีอยู่จะเข้ามามีบทบาทอย่างไร ถ้าเราจำที่อาจารย์ยาย (อาจารย์หมอเยาวรัตน์)นำเสนอกรณีศึกษา กลุ่มที่เป็นเบาหวานและไม่รู้ว่าตัวเป็นนะมีอยู่ค่อนครึ่ง โรคพวกนี้เราก้อรู้ปัจจัยเสี่ยง ถ้าเรา Detect ได้แต่ต้น และจัดเสนอข้อมูลและ/หรือเชื่อมกับงาน สสม. เราก้อจะสามารถจัดกิจกรรมที่จะเชื่อมสู่ครอบครัวและชุมชนได้ งานแบบนี้ใครจะทำได้ดีกว่าเหล่า PCU ละจ๊ะ

อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าเพิ่งหลับ สงบใจ ทบทวนกิจกรรมที่เราเรียนรู้ด้วยกันมาดู วันแรก กับวันที่สองนะ นึกไม่ออกกลับไปดูที่เราสรุปบทเรียนกันใน MInd Map)

3. มาถึงตรงนี้ ลองจิ้นกันหน่อย (จิ้นนะเป็นศัพย์วัยรุ่นนะ เขาหมายถึงจินตนาการ พวกเรายุ่งอยู่แต่กับการทำงานประจำมาก เลยไม่ค่อยได้จิ้น ยกเว้นพวกแก่ๆบางคนที่ชอบออกไปแสวงหาวัตถุดิบตอนกลางคืน แล้วมานั่งจิ้นกันตอนเรียนนะ ไม่ได้ว่าหมอเอนะ เออ)

ลองจิ้นดูซิ ชาวบ้านบางคนพอครั่นเนื้อครั่นตัวก้อวิ่งโร่ไปหาหมอ บางคนปวดเมื่อยมีไข้ จนสายตัวแทบขาด แต่ป่วยไม่ได้ ป่วยแล้วใครจะดูลูก ป่วยแล้วใครจะไปดูนาข้าวที่กำลังออกรวง บางคนป่วยแตไม่กล้าป่วย เพราะกลัว "ถ้านังนั่นอยู่ ชั้นจะไม่เหยียบไป...เด็ดขาด" พฤติกรรมความเจ็บป่วยนั้นถูกกำหนดด้วยปัจจัยหลายอย่าง ทั้งวัฒนธรรม ระบบความเชื่อค่านิยม การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีความรู้ด้านสุขภาพ (Health Knowledge) ฯลฯ ในบริบทบ้านเรา "คนใกล้ตัวที่เรียกว่า Lay Referer" ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญ บางครั้งเรายังไม่รู้สึกว่าตนป่วย แต่ถูกทัก "เป็นไง หน้าตาซีดเวียว" "เป็นอะไรวะ ผื่นขึ้นทั้งตัว มึ..ไปจั่วเอดส์มาหรือป่าว" อำกันบ้าง พูดจริงบ้าง "ไปหาหมอ......ซิ เขาเก่งนะ ให้ยาถูก กินแปป หายเลย"....ฯลฯ

สรุปว่าปัจจัยที่มีผลต่อการแสวงหาแหล่งบำบัดโรคนั้นมีหลายปัจจัย บางคนก้อ Hypersensitive ถึงขนาด Hypochondriac อะไรเข้ามากระทบก้อแปลความว่าฉันป่วยแล้ว แย่แล้ว บางคนก้อ Insensitive รู้ทั้งรู้ว่าป่วยแต่ไม่ยอมรับสภาพว่าป่วย พอทนไม่ไหวจึงรับบริการ พอไปถึงก้อเจอคำถามมัจจุราช "ไม่รอให้ตายก่อนแล้วค่อยมาซิ" (ประสบการณ์สมัยโบราณนะ สมัยนี้เขาเน้นคุณภาพ การพูดแบบนี้คงไม่มีแล้ว?) รู้นะว่าเป็นห่วงแต่แหมพูดออกมาไม่พอจะตายก้อตายไปเลย อิอิ...สมัยนี้มีการแสวงหาบริการมีแบบใหม่ๆมา ประเภทรู้สิทธิ เลยเกิดการใช้บริการประเภท "มาตลาดแล้ว แวะไปเอายาหน่อย" (พวกนี้เป็นพวกป่วยเรื้อรังเช่นเบาหวาน) หมอก้อต้องให้ยา "ไม่ให้ซิอาจารย์ ผมก้อจะถูกฟ้องเอา" ปรากฏว่ายาที่ได้ไปกองอยู่ที่บ้านเพราะคราวก่อนเอาไปยังกินไม่ครบ ของใหม่ไปอีก ได้ยาครั้งเป็นเดือน ก้อพอกเข้าไป เปลืองโดยใช่เหตุ ฯลฯ

มีฝรั่งเขียนบทความทำนองว่า "คนไทยยังไม่มีเสรีภาพในการใช้บริการ" ไม่รู้ว่าไม่มี หรือมีมากไป ยากที่จะสรุปนะ แต่ที่แน่ๆ คือยังใช้บริการอย่างไม่เหมาะสมตามความจำเป็น

ลองจิ้นดูว่าจะทำอย่างไรให้เกิดการใช้บริการอย่างเหมาะสมตามความจำเป็น อันนี้เป็นข้อคำถามการวิจัย คิดดูซิว่า คนเราจะวิ่งโร่ไปหาใคร ก้อต้องมั่นใจว่าเขาหรือหน่วยงานนั้น แก้ปัญหา สนองตอบต่อความจำเป็นให้เขาได้ใช่ไหม? เขาต้องไว้วางใจใช่ไหม? เขาต้องมีความเชื่อมั่นใช่ไหม? งั้นทำอย่าไรที่เขาจะมั่นใจว่า ถ้ามา PCU ก่อนไม่พอต้องจ่ายค่ารถไปไกลก็แก้ปัญหาได้ แต่ถ้าเป็นมากก็จะถึงมือหมอตามความจำเป็น จิ้นกันหน่อยนะผู้จัดการ CUPว่าเราจะจัดระบบบริการอย่างไ มีบริการที่จำเป็นอะไรบ้าง จะมีระบบส่งต่ออย่างไร ทำอย่างไรให้หมอที่โรงพยาบาลรู้จักคุ้นเคย ไว้เนื้อเชื่อใจทีมงาน PCU จะได้สื่อสารกันได้ ทำอย่างไรให้ อ.บ.ต เข้ามาร่วมรับผิดชอบการส่งต่อ ที่PCU จะจัดระบบข้อมูลด้านระบาดวิทยาทางคลินิก ให้เชื่อมต่อกับการบริหารจัดการด้านการจ่ายยา การติดตามผู้ป่วยอย่างไร? ฯลฯ

4. ลองกลับไปทบทวนที่เรามีประสบการณ์เรือง Primary Health Care หน่อย พอเขาประกาศ Health For All 2000 เราก้อหัวเราะ เออดี พอปี 2000 คนจะไม่เจ็บไม่ป่วยกันละ บางคนก้อค่อนแคะว่า Hell for All ท่านผู้บริหารครับ ลองการจัดระบบคิดและกระบวนการคิดของเขา เขาเอาผู้เชี่ยวชาญไปสุมหัวกันที่ Alma Ata ใช้การคิดโดยเริ่มต้นจากเป้าประสงค์ที่อยากไปให้ถึง ที่เรียกว่า Vision ใช้กระบวนการคิดแบบ Begin with the end in your mind แล้วย้อนกลับดูสภาพความเป็นจริงตอนนั้น แล้วหาทางเดินไปสู่เป้าหมายนั้น จากที่มีวิสัยทัศน์ สุขภาพดีถ้วนหน้าอยู่ในใจ เหมือนกับเราไปอยู่นอกโลก มองกลับมา เจอภาพเหมือนกับที่พระพุทธเจ้าเห็นจากหอคอยก่อยหนีไปบวช เกิดหนอ เจ็บหนอ แก่หนอ ตายหนอ ท่านก้อเลยเลยอหนีออกไปแสวงหาแนวทางการแก้ทุกข์ ทาง WHO เขาก้อเสนอว่า เราต้องให้ชุมชนให้เข้าถึงมีบริการขั้นพื้นฐาน และเสนอองค์ประกอบของบริการพื้นฐานตามตัวย่อ NEWITEMS จะเอาตัวเต็มก้อไปค้นเอาเอง เช่น N ย่อมาจาก Nutrition W หมายถึงน้ำสะอาด ฯลฯ ลองจิ้นดูว่าหากทุกชุมชน และประชาชนถ้วนหน้าเข้าถึงและได้ใช้บริการที่จำเป็นซึ่งเป็นบริการพื้นฐานของ PHC ที่ระบุไว้เป็น Package เช่นนั้น อย่างน้อยเราก้อลดการตายก่อนวัยอันควรได้อย่างมหาศาลใช่ไหมละ?

ในขณะเดียวกันเขาก้อเสนอแนวคิดในการขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างสรรบริการขั้นพื้นฐาน (Generation of PHC services) ว่าจะต้องคำนึงถึงหลัก Intersectoral Collaboration ก้อเป็นความพยายามจะชี้ให้เห็นว่า เรื่องนี้ต้องอาศัยพลังจากทุกภาคส่วน ไม่ใช่แต่เฉพาะหมอกับอนามัย จะได้ช่วยกันสร้างการอยู่ดีมีสุข ทุกอย่างทุกโครงการล้วนแต่เป็นเรื่อง Health Related จะต้องใช้หลัก Appropriate Technology จะได้เหมาะสมกับบริบทที่เราอยู่ ไม่เวอร์ แต่ต้องสมเหตุสมผล Equity ใครที่ยากไร้ด้อยโอกาส ต้องเป็นลำดับความสำคัญ Community Involvement ประชาชนต้องมีส่วนร่วม คนต้องมีอำนาจในการควบคุมสุขภาพของตนเอง สุขภาพดีไม่มีซื้อขาย ในขณะเดียวกันเราก้อต้องคิดถึงความต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน เช่น ถ้าขี้แตกขี้แตน ลอง ORS ก่อน อันนี้ทำได้ในระดับชุมชน แต่ถ้ากินอะไรก้ออ้วกออกหมด จนแห้ง ต้องให้น้ำเกลือ ก้อต้องส่งมาที่ PCU ซึ่งเป็น First Contact point ที่เชื่อมระหว่าง Lay Care กับ Professional Care ที่ PCU ก้อต้องทำหน้าที่ เป็น Gate Keeper รักษาได้ก้อทำไป รักษาไม่ได้ก้อส่งต่อตามความจำเป็น ทั้งต้องใช้ข้อมูลทางคลินิกที่มีอยู่ที่ PCU ดูซิว่ามันเป็นโรคระบาดหรือเปล่า ถ้ามี Case มากผิดปกติก้อต้องประสานการสืบสวน เชื่อมโยงสู่ครอบครัว ชุมชน หลักการเดียวกันกับการขับเคลื่อนงาน PHC

5. เขียนมาก้อเยอะแล้ว อ่านๆไปก้อง่วง ตื่นๆๆๆๆๆๆ คิดดู ทบทวนด้วยนะ อย่าลืม ท่านผู้บริหาร ช่วยทบทวนดูว่าการฝึกอบรมที่เราเน้นว่า กระบวนการสำคัญเท่าเนื้อหา ท่านให้ความสำคัญกับกระบวนการมากน้อยแค่ไหน ถามตัวเองว่าทำไม เราเริ่มจากการทำให้ต้องคิดเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชากร DALY ช่วยให้เราเข้าใจอะไรเกี่ยวกับภาระโรค ทำไมไม่ดูแค่อัตราการตาย ป่วย พิการ (อย่าลืมนะว่า ได้ตัวชี้วัดที่เราใช้ๆกันอยู่นะมันเป็นประโยชน์ แต่เป็นตัวชี้ทางลบที่เกิดขึ้นแล้ว จบไปแล้ว คือที่ตายก้อตายไปแล้ว เอาอดีตมาประเมินปัจจุบันแล้วทำนายอนาคตในยุคโลกาภิวัตน์มันมีข้อดีข้อจำกัดอย่างไร ทำไม เราต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนในความสับสนของสังคม ฯลฯ ทำไมเราต้องให้รู้ชัดว่าเราจะไปไหนก่อนจะเริ่มออกเดินทาง มีแผนที่แล้วจะไปถูกที่หรือเปล่า จะต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ฯลฯ คิดๆๆๆๆๆ คราวหน้าเราจะได้ลองออกแบบ PHU ที่พึงปรารถนาให้ชัดๆ และเหมาะกับบริบทของเรา จากนั้นเราจะได้มาดูว่าตัวเราในฐานะผู้จัดการ CUP จะต้องพัฒนาสมรรถนะด้านใดบ้างไงละ

 

แค่นี้ก่อนนะ นักศึกษามารอพบ

รักนะ จุ๊บๆๆๆ

ชนินทร์  

 

 

หมายเลขบันทึก: 103234เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2007 13:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

นานๆ จะได้อ่านบทความเชิงวิชาการที่สนุกๆ ของอาจารย์ทีครับ ทำให้ผม "จิ้น" ต่อไปถึงภาพ PCU ในฝัน ที่นักบริหารพากันวาดไว้ ว่าด้วยหลักวิชาการที่อาจารย์พูดถึง บวกกับกระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเรียนเชิงประสบการณ์ จะทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงได้

ด้วยความเคารพรัก...

อ่านไป ก็เกือบหลับเหมือนกันค่ะอาจารย์ แต่สร้างแรงบันดาลใจและแนวคิดได้เยอะ สู้ๆๆ สู้ตายค่ะ

ได้อ่านบทความทางวิชาการของอาจารย์ ทำให้กังวลนิด ๆ ว่าเราจะเป็นผู้บริหาร ดังความต้องการของอาจารย์ได้หรือเปล่า แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จะพยายาม จะพยายาม

                                                     ด้วยความเคารพ

 

ผมไม่อยากใช้คำว่า ”บริการระดับใด” เพราะจะแสดงว่าเรามีบริการหลายระดับ และเรามักหมายถึงว่าในแต่ละระดับมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ความสามารถในการดูแลโรคยากหรือโรคง่าย การใช้เครื่องมืออย่างดีราคาแพงหรือเครื่องมือราคาถูก การใช้ยาดีราคาแพงหรือยาราคาถูก การใช้บุคลากรผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทั่วไป ผมเห็นว่า บริการปฐมภูมิ บริการทุติยภูมิหรือตติยภูมิ ไม่ได้หมายถึงความแตกต่างกันในสิ่งเหล่านี้

ถ้าอย่างนั้นบริการปฐมภูมิน่าจะหมายถึงบริการประเภทไหน ในความเห็นผม บริการปฐมภูมิไม่ใช่บริการขั้นพื้นฐาน แต่เป็นบริการเฉพาะทางที่ถูกปรับให้เหมาะกับสภาพพื้นที่หรือประชากรที่รับผิดชอบ ยกตัวอย่างเช่น หากประชากรเป็นผู้สูงอายุ บริการปฐมภูมิก็จะต้องเชี่ยวชาญในปัญหาสุขภาพของผู้สูงวัย หากประชากรส่วนใหญ่อยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม บริการปฐมภูมิก็จะต้องเชี่ยวชาญในปัญหาสุขภาพจากสารพิษหรือการประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหากประชากรเขตเมืองที่เป็นโรคหัวใจมาก บริการปฐมภูมิก็จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในโรคหัวใจ ปัญหาสุขภาพที่พบมากเหล่านี้ต้องสามารถให้บริการได้เองโดยไม่ต้องส่งต่อ

ปัญหาที่ต้องตอบก็คือ บริการปฐมภูมิในแต่ละพีซียู ควรจะมีบริการหรือควรเชี่ยวชาญในเรื่องใดบ้าง

ได้เลย เห็นด้วย เห็นไหมละถ้าเราเข้ามาแลกเปลี่ยนกัน เราก็จะมีมุมมองที่แตกต่างและเป็นประโยชน์ หวังว่าเหล่าผู้บริหาร CUP จะได้เข้ามาอ่านด้วยนะครับ ขอบคุณมากหมอปูม เข้ามาอีกนะครับ

มานั่งทบทวนดู ก้อจริงอย่างหมอปูมว่า ในอุดมคติ เราก็อยากเห็นว่าบริการปฐมภูมิ จะเป็นหน่วยบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ รู้ความเป็นไปด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ มีความชำนาญการในการจัดการปัญหาสุขภาพที่พบมากในพื้นที่ สามารถจัดการให้การดูแลสุขภาพที่เป็นองค์รวม ไม่ได้รักษาแต่โรค แต่ดูแลคนในฐานะที่เป็นคน มีชีวิตจิตใจ มีวิญญาณ อารมณ์ มีความศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

ประเด็นนี้สำคัญมา เพราะหากเราดูเรื่องปัจจัยกำหนดด้านสุขภาพ Determinants of health ผู้ให้บริการและทีมงานบริการปฐมภูมิ จะมีความชำนาญการรู้จักผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชนเป็นอย่างดี มีความสามารถในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้สมบูรณ์กว่า เข้าใจถึงแนวทางการสร้างความแข็งแกร่งสมบูรณ์ของผู้ป่วย และครอบครัว ไม่เพียงแต่จะสามารถสู้กับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคที่เป็นปัจจัยเหตุทางพยาธิ-สรีระเท่านั้น เราจะเห็นว่ามีปัจจัยปกป้องสุขภาพ _(Protective Factor)`ใดบ้างที่ผู้ให้บริการปฐมภูมิจะต้องให้ข้อมูลกับผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน เช่นผู้ป่วยเบาหวาน เรารู้ว่าจะมีความสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง โยงไปถึงโรคหัวใจ โรคไตฯลฯ เราคงไม่ทำแค่ให้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือด แต่ทีมงานบริการปฐมภูมิ จะสามารถพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวเรื่องการเลือกกิน เลือกอยู่ ให้เหมาะให้ควร ทั้งยังสามารถกระตุ้นการทำกิจกรรม การจัดการความเครียด การบริโภคบุหรี่ เหล้า ฯลฯ และหากปัญหานี้เป็นปัญหาใหญ่ของชุมชน หรือมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้น เราก็อาจเจรจากับองค์กรชุมชน เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน อ.ส.ม กลุ่มแม่บ้าน ฯลฯ เพื่อจัดการทำโครงการในระดับชุมชน เพื่อปกป้องอิทธิพลที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพ หรือจัดการสร้างสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้เอื้อต่อสุขภาพ เราอาจไม่ทำเอง แต่เราต้องสร้างเครือข่าย ต่อไป อ.บ.ต จะเป็น__Purchaser `ด้าน P&P เราก็จัดทำโครงการกับ    อ.บ.ต

มีเรื่องท้าทายอีกมาก เราต้องเข้าใจขอบเขตหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบของหน่วยงานของเรา มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนว่าเราจะไปให้ถึงไหน แล้วกลับมาดูว่าเรามีจุดแข็ง จุดอ่อนตรงไหน เราจะทำอะไรบ้างเพื่อขับเคลื่อนสู่วิสัยทัศน์ แล้วมาลองฝึกออกแบบบริการปฐมภูมิที่พึงปรารถนากัน จากนั้นเราจะเห็นชัดเจนขึ้นว่าผู้จัดการเครือข่ายบริการปฐมภูมิ จะต้องมีสมรรถนะอะไร เรามีอะไรดี มีอะไรที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม แต่ที่สำคัญคือเราต้อง __Able to do`ทำให้ได้ต้องทำให้ได้ ผมไม่กลัวเรื่องความรู้ ผมเชื่อว่าพวกเรามีความรู้ทั้งความรู้ทางทฤษฎีและประสบการณ์ แต่ที่ห่วงคือ แรงผลักที่จะให้ขับเคลื่อนความรู้สู่การปฏิบัติ บางทีทำงานไปนานๆก็เซ็ง หมดกำลังใจ กึ๋นแห้งไปหมด เราต้องสามารถจัดการความรู้ ขับเคลื่อนให้สู่การปฏิบัติ ไม่มีสูตรสำเร็จของความสำเร็จ แต่เราต้องเริ่มก้าวที่หนึ่งก่อน

 

 CUP Manager`สู้ๆๆ ....แต่อย่าออกไปนะ               (ตามเทรน น่ะ แต่ไม่ต้องเอาผ้ามาผูกขมับหรอกนะ) 

ชนินทร์ 

 

ดูเหมือนว่าบริการปฐมภูมิในฝัน (ที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่) อยู่ใกล้มือเอื้อมของผู้จัดการเครือข่ายทุกท่านแล้วนะคะ สู้ๆ + กล้าๆ แล้วคว้ามาไว้ในมือให้ได้นะคะ

 

ทัศนีย์

ได้อ่านบทความของอาจารย์ชนินทร์ประกอบกับข้อคิดเห็นของอาจารย์ปูมแล้ว มีเรื่องให้คิดตลอดว่า การบริการปฐมภูมิเป็นบริการที่จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งที่เป็นหน่วยบริการใกล้บ้าน ใกล้ใจ และเห็นด้วยที่อาจารย์ปูม กล่าวว่า ความเป็นไปด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ และการแก้ปัญหาในพื้นที่ ...หน่วยบริการปฐมภูมิเท่านั้นที่สามารถแก้ปัญหาเหล่านั้นได้จริงๆ...ยังไงก็ขอให้กำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานหน่วยบริการปฐมภูมิ จากใจจริง

อาจารย์คะ  ถ้าจะเป็น PCU ในฝัน ก่อนอื่นต้องดูก่อนค่ะว่าฝันของใคร  เพราะแต่ละคนฝันไม่เหมือนกัน  ในมุมมองของอุบล  อุบลคิดว่าหน้าที่/ภาระกิจ  ของผู้บริหาร CUP  คือจะต้องทำให้ทุกคนใน PCU ฝันในเรื่องเดียวกัน มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกันได้  แต่ฝันไปแล้วก็ต้องสำรวจฝันและขวัญด้วย  เพราะบางคนฝันไปฝันมา ขวัญกระเจิง  ในบางครั้งทีมผู้บริหารเองก็มีฝันอย่างอาจารย์บอกนั่นแหละค่ะ  อยากจะไปให้ถึงเหมือนกัน  แต่พอหันมาดูพวงบริการทุกคนกำลังหลุดจากฝันไปทีละคน 2 คน เพราะเราลืมจัดการฝันของเรา ทำให้เราฝันไม่เป็นระบบ แต่เราก็ต้องยอมรับว่า  นี่คือความจริง  กลยุทธ์/วิทยายุทธ ที่เรามีจะถูกนำมาใช้ทุกรูปแบบ  (บางคนนั่งฝันคนเดียวไม่ถาม - ไม่หาคนร่วมฝัน พอฝันเสร็จแล้วก็นำฝันของตนเองมาให้คนอื่นทำให้เป็นจริง  ไม่ใช่บรีส จะได้ทำฝันให้เป็นจริงได้ในทุกเรื่องที่คนอื่นฝัน)  อุบลเชื่อว่าในวันหนึ่งข้างหน้า  PCU  ในฝันที่อาจารย์ปูม  อยากเห็นจะต้องมี  อาจจะไม่ใช่ยุคนี้ แต่สักวันหนึ่งนะคะ  ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเครือข่ายของเราจะเข้มแข็งแค่ไหน แล้วเข้มจริงหรือเปล่า  หรือเขาบอกว่าเข้ม  สำหรับ  CUP เมืองสุราษฎร์ฯ  ในมุมมองของอุบลเอง ก็กำลังไล่ล่าตามฝันของเรากันอยู่  เพราะฝันของผู้บริหาร  CUP คือต้องการแยกออกมาจากโรงพยาบาล มาบริหารจัดการกันเอง  ซึ่งขณะนี้ก็กำลังดำเนินการอยู่โดยใช้รูปแบบของเครือข่ายดำเนินการอย่างมีระบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่วู่วาม  รวมทั้งการมาอบรมครั้งนี้ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งในการดำเนินการ คาดว่าหลังจากอบรมเสร็จก็จะทบทวนฝันกันอีกครั้ง  เพื่อนำผลการดำเนินงานที่ผ่านมา มาสรุปกันอีกครั้งก่อนจะก้าวต่อไปค่ะ

ข้อคิดของคุณอุบลก็น่าสนใจ ดูจะเป็นประเด็นของการสร้าง Shared Vision และการขัเคลื่อนให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ และด้วยเหตุนี้แหละที่ทำให้เราต้องมีหลักสูตรนี้ เราต้องชัดเจนระหว่างสิ่งที่ควรจะเป็นกับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ หากเราชัดเรื่องสิ่งที่ควรจะเป็นเราก็ต้องหากทางให้มันเกิดขึ้น แต่ถ้าเรามองแต่สภาพที่เป็นอยู่ เราก็จะเห็นแต่ปัญหา ซึ่งจะพาให้ท้อ ที่สำคัญอย่าสงที่คุณอุบลว่า ทำอย่างไรที่เราจะสร้างวิสัยทัศน์?ร่วม แล้วค่อยกลับมาดูว่ามีอะไรที่ต้องแก้ มีอะไรที่ต้องสร้าง ค่อยๆคิดแต่อย่าท้อ

ดีใจนะที่มีเสียงสะท้อนกลับมาบ้าง

พบกันนะ

ชนินทร์

เคยบอกตัวเองและทีมงานเสมอว่า PCU คือ Excellent Center off Primary Care แต่ทำงานนานๆ รู้สึกไม่ชอบคำว่า Primary Care Unit ที่พอแปลเป็นไทยได้ความว่าหน่วยบริการปฐมภูมิ  ซึ่งฟังดูแล้วรู้สึกว่าเป็นบริการขั้นพื้นฐานอยู่นั่นเอง แต่ช่างเถอะอาจคิดไปเอง หัวใจสำคัญอยู่ที่บทบาท ภารกิจ ต่างหากว่าเรามีความเป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนหรือไม่  ถ้าคิดตาม อ.ปูม ที่ได้จุดไม้ขีดเข้ากองฟางไว้ ความเป็นเอกลักษณ์ของเราคือ ผู้เชี่ยวชาญการดูแลสุขภาพองค์รวม ที่ต้องเรียนรู้ศาสตร์หลายด้าน (ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนก็ได้ เพราะขาดความเป็นวิชาชีพเฉพาะ)และนำมาบูรณาการกับการดูแลสุขภาพที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน  เป็นงานที่หนักหนาสาหัสเชียวละ คนทำงานต้องทำด้วยใจรัก มันไม่ใช่เพราะสภาพสังคม สิ่งแวดล้อมปัจจุบันมีองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากมาย ดังนั้นในวันนี้อยากให้คนทำงานสำรวจตัวเองก่อนก้าวมาในสังคม PCU ว่า  พร้อมหรือไม่

 

สำหรับผม ซึ่งทำหน้าที่ หมอเวชศาสตร์ครอบครัว Family Medicine ซึ่งเป็นแพทย์ซึ่งออกแบบมาเพื่อทำงานด้าน Primary care โดยตรง ผมคิดว่า องค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวนั้นนำมาใช้ได้จริง อย่างน้อยการดูแลที่ไม่เฉพาะเจาะจงแต่เฉพาะทางสำหรับผู้ป่วยคนนั้น (Patient-Centered Medicine) รวมทั้ง ศาสตร์ของการดูแลผู้ป่วยและครอบครัว (Family-Oriented in Primary Care) ก็สามารถสร้างความแตกต่างจากแพทย์ทั่วไปได้อย่างชัดเจน พวกเราถูกสอนให้รับผิดชอบดูแลผู้ป่วยและครอบครัว ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ร่วมทั้งทุกข์และสุขของครอบครัวที่เราดูแล ในอนาคตอันใกล้นี้ ผมคิดว่า เราจะมีต้นแบบดีๆ ชองหมอที่รักงาน Primary Care อยู่มากมาย ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้แพทย์รุ่นใหม่ได้เดินตามครับ

You are What You Think...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท