การจัดการความรู้ ในการนำผลการประเมินมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา 9


ธารปัญญา

ตอน 8 "Click"
ตอน 7 "Click"
ตอน 6 "Click"
ตอน 5 "Click"
ตอน 4 "Click"
ตอน 3 "Click"
ตอน 2 "Click"
ตอน 1 "Click"


          ยังจำได้ไหมเอ่ย คราวที่แล้ว เราดัดแปลงเครื่องมือของ KM ที่เรียกว่า AAR มาเป็น SAR  และ CAR  แต่ก็เป็นตระกูล R เหมือนกัน และพูดถึง ตารางแห่งอิสรภาพ นิดหน่อย คราวนี้ขอขยายความเพิ่ม

          การประเมินตนเอง (SAR/CAR) เป็น หัวใจห้องที่ 1 ของ "ตารางแห่งอิสรภาพ"

          ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์  พานิช ผู้อำนวยการ สคส. ผู้ตั้งชื่อ ตารางแห่งอิสรภาพ  ท่านอธิบายเพิ่มเติมให้ฟังว่า การประเมินตนเอง เป็นกิจกรรมที่สมาชิกกลุ่มงานทำร่วมกัน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ของกลุ่ม  ไม่ใช่เพื่อเอาไว้อวดผู้อื่น  ไม่ใช่เอาไว้ให้ผู้ประเมินภายนอกดู  ความคิดและความเชื่อเช่นนี้คือที่มาของคำว่า  อิสรภาพ    ซึ่งหมายความว่าปลดปล่อยจากอำนาจครอบงำ

          หัวใจห้องที่ 2 ของตารางแห่งอิสรภาพ คือ สมรรถนะหลัก (Core competence) ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา เราประเมินตนเองตามสมรรถนะหลัก (ดัชนีชี้วัดคุณภาพ) ที่ สกอ. กำหนดรวม 28 ดัชนี (จริงๆแล้ว ถ้าครบตามสูตรยังรวมตัวชี้วัดของ สมศ.ด้วย อีก 28 ตัว)  ตัวอย่างดังภาพ

          หัวใจห้องที่ 3 ของ ตารางแห่งอิสรภาพ คือตาราง ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ขีดความสามารถระดับเริ่มต้น (1) ไปจนถึงระดับสูงยิ่ง (5)

          หัวใจห้องที่ 4 ของ ตารางแห่งอิสรภาพ คือเป้าหมาย เมื่อแต่ละคณะวิชา ประเมินและให้คะแนนตนเองในตารางแล้ว  ต้องตั้งค่าเป้าหมายที่ต้องการจะไปถึงในอนาคตด้วย

          ตัวอย่างเช่น คณะ ก ให้คะแนนดังนี้         

          คณะ ข ประเมินและให้คะแนนตนเอง ดังนี้

          ติ๊ต่างว่า มี 11 คณะ ก็จะได้ภาพรวม ดังนี้

          เสร็จแล้วก็เอาข้อมูลจากตารางข้างบนมา Plot กราฟ แกนนอนเป็นดัชนี  แกนตั้งเป็นเกณฑ์การประเมิน 6 ระดับ  จาก 0 ถึง 5  จากตารางข้อมูลตัวอย่าง เส้นกราฟของคณะเกษตรฯ ก็จะได้ดังภาพข้างล่าง เส้นสีแดง

          ส่วนคณะสหเวชฯ  ก็เป็นเส้นสีน้ำเงิน

          คณะสถาปัตฯ เป็นเส้นสีเขียว

          ถ้ารวม 11 คณะ ก็เห็นเป็นเส้นตีกันวุ่นวายไปหมด ดังภาพข้างล่าง

          จะเห็นว่า แต่ละดัชนี จะมี ต่ำสุด และค่า สูงสุด ตามแนวลูกศร สีเหลือง

          ถ้าลากเส้นต่อจุดสูงสุดทุกจุด  และลากเส้นต่อจุดต่ำสุดทุกจุด ก็จะได้ขอบเขต ดังภาพ

          ระบายสีลงไปในขอบเขตของเส้นสีเหลือง พื้นที่ที่ได้นี่แหละค่ะ เรียกว่า ธารปัญญา

          ดูตัวอย่างของจริงของ มน. 20 คณะ ในปี 2547 ซิคะ เส้นตีกันยุ่งเลย แสดงให้เห็นการกระจาย ของระดับขีดความสามารถหลักของแต่ละคณะวิชา

          แต่ไม่ต้องห่วง ถ้าทำอย่างตัวอย่างข้างบน ก็จะได้ ธารปัญญา ที่ดูง่ายๆ อย่างนี้

          อาจารย์วิจารณ์  อธิบายว่า คำว่า  "ธาร" ในที่นี้มีความหมาย 2  อย่าง  คือ หนึ่ง หมายถึง แม่น้ำ เพราะใช้ แผนภูมิแม่น้ำ (River Diagram) เป็นเครื่องมือ  สอง เป็นการใช้คำพ้องเสียงกับคำว่า "ทาน" หมายถึงการให้ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการจัดการความรู้

         ความกว้างของ ลำธาร เป็นตัวบอกความแตกต่างของระดับคุณภาพตามตัวชี้วัดด้านนั้นๆ ของคณะวิชา

          ระดับคุณภาพตามตัวชี้วัดด้านใดของคณะวิชาที่อยู่ค่อนมาทาง “ฝั่งเหนือ” คณะวิชานั้นก็จะอยู่ในฐานะ "ผู้แบ่งปัน" ความรู้ด้านนั้น

          ระดับคุณภาพตามตัวชี้วัดด้านที่อยู่ค่อนมาทาง "ฝั่งใต้" บอกให้รู้ว่าในด้านนั้นคณะวิชาอยู่ในฐานะ "ผู้เรียนรู้"

          ธารปัญญาเป็นเครื่องมือให้  หน่วยประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย มองเห็นภาพรวมคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย   และขณะเดียวกันก็ช่วยให้แต่ละคณะวิชามองเห็น “ตำแหน่ง” ของตนภายในกลุ่มได้โดยง่ายและเห็นได้เป็นรายดัชนี  ดังตัวอย่างภาพ “ธารปัญญา”   ของคณะวิชาบางคณะ และของมหาวิทยาลัยนเรศวร 5 ปี  ย้อนหลัง ดังนี้

หมายเลขบันทึก: 26448เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2006 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 16:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้เข้ามาเรียนรู้ครับ ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท