คำตอบ


สีเขียว?

Tawan

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

พืชมีสีเขียว เพราะมีกลุ่มสารชีวเคมี ที่เรียกว่า  chlorophyll มีสารหลายตัว

ส่วนใหญ่จะดูดแสงแดด(ซึ่งมีสีขาว)ในช่วงความยาวคลื่นของแสงสีแดง เป็นหลัก เมื่อแสงสีแดงหายไป ใบไม้จึงมีสีเขียว แต่ก็มีสีเขียวหลายๆ เฉด เพราะว่า องค์ประกอบคลอโรฟิลด์ในพืชแต่ละชนิด หรือในใบอ่อน ใบแก่ จะแตกต่างกัน และยังมี สารที่มีสีตัวอื่นๆ อีก (รงควัตถุ หรือ pigments) เช่น สารกลุ่ม xanthophylls, carotenoids (อย่างในแครอท)

 ในฤดูใบไม้ร่วง ก่อนเข้าฤดูหนาว ไม้ผลัดใบจะเริ่มตาย สารคลอโรฟิลด์สลายตัวไปก่อน ใบไม้จึงเหลือแต่สารพวก แซนโทฟิลด์ และ แคโรทีนอยด์ ทำให้ใบไม้เป็นสีเหลือง และ แดง ก่อนจะค่อยๆ สลายไป ใบไม้เป็นสีน้ำตาล ก่อนจะร่วงลงมา

แสงแดด มีพลังงาน อนุภาคแสงเรียกว่าโฟตอน พืชจะใช้สาร คลอโรฟิลด์เป็นโมเลกุลไปรับแสงนั้น ทำหน้าที่คล้ายๆ เสาอากาศ รับพลังงานจากแดดเอามาใช้ภายในใบไม้ ในรูปของอิเล็คตรอน (ลองนึกว่ามันเป็นกระแสไฟฟ้าก็ได้ แสงเป็นต้นกำเนิดไฟฟ้าให้ต้นไม้) และพืชนำพลังงานนี้ไปใช้สร้างสารชีวโมเลกุลต่างๆ เริ่มแรกก็พวกสารน้ำตาล เพื่อเป็นพลังงาน และ ที่เป็นองค์ประกอบของต้นไม้  

สงสัยมาก คำว่า ป่าช้า มาจากไหน

Tawan

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

สมัยโบราณ ในอินเดีย ป่าช้าจะใช้เป็นที่ทิ้งศพ เขาไม่เผา คนไม่ค่อยเข้าไป มีสัตว์ร้ายที่กินทรากสัตว์ เช่น สุนัขป่า งู ตะกวด ฯลฯ อาจเป็นอันตรายได้ พระภิกษุในยุคโบราณสามารถปลีกวิเวก เข้าไปพิจารณานั่งดูศพ เพื่อปลงอสุภกรรมฐาน เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติธรรม

ในเมืองไทย ตามชุมชน หมู่บ้านต่างๆ ก็น่าจะมีป่าช้าอยู่ใกล้ๆ มาต้ังแต่โบราณ เพราะธรรมเนียมโบราณ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อมีคนตาย ชาวบ้านเขาจะรีบหามเอาไปฝัง จากนั้น หลายๆ เดือนต่อมา พอเนื้อหนังต่างๆ ย่อยสลายหมดแล้ว เหลือแต่กระดูก ลูกหลานและญาติก็จะขุดกระดูกขึ้นมาทำพิธีเผาอีกทีหนึ่ง 

ขอคำปรึกษา

ครูสุขภาพ

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผมไม่รู้หรอกนะครับ แต่จะเดาแบบใช้หัวคิด (intelligent guess) เพราะเคยจบจุลชีววิทยามาสมัยปริญญาตรี

น้ำซาวข้าวก็คือน้ำแป้ง ไม่น่าจะเก็บได้ค้างคืน เพราะจะบูด

แต่ถ้าไปต้มจนเดือด ก็จะสูญเสียวิตามินไปแยะ อาจจะใช้วิธีอย่างนี้ คือ ใช้น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เป็นน้ำที่จะเอาไปใช้ซาวข้าว และหม้อก็ต้องสะอาดและลวกน้ำร้อนก่อนใช้  นอกจากนั้น หลังซาวข้าวแล้ว ก็เอาน้ำซาวข้าวไปอุ่นที่อุณหภูมิ ๕๖ องศาเซลเซียส สัก ๓๐ นาที โดยปิดฝาไว้ แล้วก็ค่อยทำให้เย็น แล้วเก็บเข้าตู้เย็น น่าจะเก็บค้างคืนได้

ถ้าน้ำซาวข้าวบูดมันก็จะมีฟองและมีกลิ่นเปรี้ยวๆ อาจจะขุ่นมากขึ้น

แต่ว่าผมว่า ถ้ารีบผสมน้ำมะนาวลงไปกับน้ำซาวข้าวเลย ก็จะทำให้ pH ต่ำลง จะป้องกันการบูดได้ดีขึ้นไหม แล้วค่อยเก็บเข้าตู้เย็น

ชมพูทวีป

ดเ้อ

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ชมพูทวีป ถ้าตอบตามตำรา ก็หมายถึงประเทศอินเดีย

คุณไปค้นเอาเองว่า เขาแบ่งการปกครองเป็นอย่างไรในปัจจุบัน แต่ถ้าต้องการค้นว่า สมัยโบราณ เช่น ยุคพุทธกาล เมื่อ ๒๖๐๐ ปีมาแล้ว แบ่งกันอย่างไร ก็ไปค้น ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาดู น่าจะได้

wikipedia ภาษาอังกฤษน่าจะให้คำตอบได้พอควร

แต่ถ้าไม่ตอบตามตำรา ในบริบทของคัมภีร์โบราณทางพุทธศาสนา ชมพูทวีปคนโบราณเขาหมายถึงโลกทั้งโลก และเมื่อพูดถึง ทวีปอื่นๆ (เช่น อุตตรกุรุทวี ฯลฯ) ก็คือ ดาวเคราะห์ดวงอื่นนั่นเอง นี่เป็นการตีความ ตามความเข้าใจของผม ที่เคยเรียน อภิธรรมมา ๕ ปี และเรียนมาทางวิทยาศาสตร์ด้วย 

คุณคิดว่าอย่างไร

krupound

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ผมคงไม่ได้เป็นตัวแทนของคนโดยเฉลี่ยนะครับ :-)

ในมุมมองของผม ก็อ้างตามได้ยินครูอาจารย์พูดให้ฟังนะครับว่า ต้องการให้เด็ก ที่จบปริญญา สื่อสารกับคนอื่นเป็น (คือ คิดเป็น และความคิดแจ่มชัด และ พูดตรงกับที่คิด ไม่ใช่คลุมเคลือ คนอื่นไม่เข้าใจ) อันนี้ต้องแยกเป็น ๒ ส่วน คือ thinking skill, และ การใช้ ตรรกะ หรือเหตุผล ในการคิด อันนี้คณิตศาสตร์ก็จะช่วยด้วย, อีกอย่างก็คือ verbal skill การใช้ภาษา 

ผมสังเกตว่า เด็กสมัยนี้เราพูดแล้วเขาไม่เข้าใจ ไม่ get  จับประเด็นไม่ถูก ไม่เข้าใจความหมายของคำที่แท้จริง นี่พูดถึงทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ นะครับ ไม่ทราบว่าศัพท์ใช้งานเขาน้อยไปหรือเปล่า ต้องโทษตำราหรือเปล่า

ถ้าขาด thinking skill, logic, verbal skill, math skill, ก็ยากที่จะเกิด นวัตกรรม (innovation)  อ้อ อาจจะต้องใส่  art และ buddhist philosophy เข้าไปด้วย

ขอเพิ่มอีกอย่าง ขออ้างอิง แนวคิดของ EU คือเขามองว่า ทางเขาต้องการให้ เด็กรุ่นใหม่ มีความพร้อม ทางด้าน computational & logical thinking มากขึ้นด้วยนะครับ

-------------------------------------------------

ไม่ทราบว่าตอบปัญหาหรือเปล่า

-------------------------------------------------

ขออธิบายเพื่อความชัดเจนของคนอ่านทั่วไปอีกนิด 

computational skill เขาหมายถึง programming skill คือความสามารถในการเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการวิเคราะห์ข้อมูล (ซึ่งนับจะมากขึ้นเรื่อยๆ) ไม่ใช่ computer usage นะครับ

เทคโนโลยี

นางสาวศิริวิมล นกทรัพย์

บุรชัย
เขียนเมื่อ
คำตอบ

แล้วทำไมถึงจะใช้ไม่ได้ล่ะครับ ?

นอกจากจะคำตอบแบบกำปั้นทุบดิน ภาษาอังกฤษ คือ lingua franca คือ ภาษากลางของโลกปัจจุบัน เพราะเห็นได้ว่า ภาษาของคนชาติไหนๆ ภาษาที่สองก็มักต้องเป็น อังกฤษ ไปแล้ว 

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เทคโนโลยีต่างๆ ทางคอมพิวเตอร์ ก็พัฒนามาก ในประเทศตะวันตกเป็นหลัก ตัวหลักคือ สหรัฐฯ แม้วิศวกร โดยมาก อาจจะกลายเป็นคนจีน คนอินเดีย และชาติอื่นๆ ที่ไปทำงานที่นั่นก็ตาม ก็ต้องใช้ภาษาอังกฤษ และ การติดต่อในวงการวิชาการ ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม ภาษากลางก็คือภาษาอังกฤษ

ภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ก็อาศัยภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานในการสื่อความหมายระหว่างโปรแกรมเมอร์ก่อนแปลเป็นภาษาเครื่อง 

การจัดการองค์ความรู้ก็ตาม เช่นเรื่อง ontology ก็อาศัยภาษาอังกฤษ

ผมเข้าใจว่า ภาษาไทย ยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก ontology ในบริบทของ information science มากนัก

หวังว่าพอจะตอบคำถามคุณนะครับ ถึงแม้จะยังไม่ถึงเป้า "เพื่อการศึกษา" ก็ตาม

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท