คุณคิดว่าอย่างไร


ผมอยากรู้ว่าคนไทยต้องการให้เยาวชนสนใจวิทยาศาสตร์แบบไหน เพราะเด็กๆประเทศนี้เรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์กันตั้งแต่เริ่มคัดตัวอักษรกันเลยมั้ง (ผมก็จำไม่ค่อยได้ รู้แต่ว่า เซ็งมาก) ใครตอบได้ช่วยบอกด้วยครับ เพราะตอนนี้ผมตอบไม่ได้ เนื่องจากรักวิทยาศาสตร์ไปแล้ว (เดี๋ยวมีอคติ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ผมคงไม่ได้เป็นตัวแทนของคนโดยเฉลี่ยนะครับ :-)

ในมุมมองของผม ก็อ้างตามได้ยินครูอาจารย์พูดให้ฟังนะครับว่า ต้องการให้เด็ก ที่จบปริญญา สื่อสารกับคนอื่นเป็น (คือ คิดเป็น และความคิดแจ่มชัด และ พูดตรงกับที่คิด ไม่ใช่คลุมเคลือ คนอื่นไม่เข้าใจ) อันนี้ต้องแยกเป็น ๒ ส่วน คือ thinking skill, และ การใช้ ตรรกะ หรือเหตุผล ในการคิด อันนี้คณิตศาสตร์ก็จะช่วยด้วย, อีกอย่างก็คือ verbal skill การใช้ภาษา 

ผมสังเกตว่า เด็กสมัยนี้เราพูดแล้วเขาไม่เข้าใจ ไม่ get  จับประเด็นไม่ถูก ไม่เข้าใจความหมายของคำที่แท้จริง นี่พูดถึงทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ นะครับ ไม่ทราบว่าศัพท์ใช้งานเขาน้อยไปหรือเปล่า ต้องโทษตำราหรือเปล่า

ถ้าขาด thinking skill, logic, verbal skill, math skill, ก็ยากที่จะเกิด นวัตกรรม (innovation)  อ้อ อาจจะต้องใส่  art และ buddhist philosophy เข้าไปด้วย

ขอเพิ่มอีกอย่าง ขออ้างอิง แนวคิดของ EU คือเขามองว่า ทางเขาต้องการให้ เด็กรุ่นใหม่ มีความพร้อม ทางด้าน computational & logical thinking มากขึ้นด้วยนะครับ

-------------------------------------------------

ไม่ทราบว่าตอบปัญหาหรือเปล่า

-------------------------------------------------

ขออธิบายเพื่อความชัดเจนของคนอ่านทั่วไปอีกนิด 

computational skill เขาหมายถึง programming skill คือความสามารถในการเขียนโปรแกรมเพื่อจัดการวิเคราะห์ข้อมูล (ซึ่งนับจะมากขึ้นเรื่อยๆ) ไม่ใช่ computer usage นะครับ



ความเห็น (2)

ถ้าอย่างนั้นคงต้องฝึกให้ผู้เรียนกล้าแสดงความเห็นและมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณให้ได้ เพราะทักษะอื่นๆจะสังเกตไม่ได้เลยถ้านักเรียนไม่กล้าแสดงออกไม่กล้าคิด ใช่ไหมครับ

การกล้าแสดงความคิดเห็น เป็นเรื่องสำคัญ เป็นปัญหาเชิงวัฒนธรรม เด็กบ้านเรา ที่ผมเห็นบางคน จะโดนญาติผู้ใหญ่พูดจาแรงๆ ด้วย ก็คงไม่กล้าเป็นส่วนมาก

เรื่องนี้ต้องอาศัยเทคนิคการสอนของพวกอาจารย์ฝรั่ง แบบในโรงเรียนอินเตอร์ ที่จะพยายามกระตุ้นให้เด็กพูดจา แล้วก็ เด็กจะพูดอะไรมา แม้จะผิดบ้าง ครูก็ไม่ควรคัดค้าน แต่จะซัก การจัดโต๊ะเรียนเขาก็จัดเป็นกลุ่มนะครับ ที่ผมเคยเห็น เช่น ๔ โต๊ะหันหัวเข้าหากันให้เด็กสุมหัวกันปรึกษางาน ในวิชาที่ต้องปรึกษาหารือ แต่ก็มีบางกรณีที่เด็กต้องการสมาธิสูง ก็ต้องจัดโต๊ะอีกแบบ จัดไปเป็นคนละมุม ไม่รวมกัน เช่น เวลาการเขียนเรียงความเป็นเรื่องของแต่ละคนๆ

การสอนแบบใหม่ ครูต้องเรียนรู้ไปกับเด็กครับ เด็กเรียนเอง ครูคอยแนะ

นี่ผมสอนหนังสือสังฆราชละมัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท