เรียนอย่างไรไม่ "บ้าเรียน"


เมื่อระบบการศึกษาของเรา "ยังป้อนความรู้" ผมขอเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการ "ช่วยผู้เรียนที่หมดแรงเพราะบ้าเรียนตามระบบออนไลน์ทั้งวัน" ขออนุญาตทบทวนและบันทึกเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกัลยาณมิตรคิดบวกทุกท่านด้วยความขอบพระคุณยิ่งครับ

ทุกวันนี้เราเรียนรู้กันไปทำไม? และเรียนไปเพื่ออะไร?

ในชั้นเรียนทุกคาบ เราได้นำความรู้ไปใช้ได้จริงอย่างไร?

อะไรคือสิ่งที่เราอยากเรียนรู้แบบผู้ใหญ่จริงๆ?

รูปแบบการเรียนรู้ดูให้ถ่องแท้ เรากำลังเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาชีวิตจริง 

อ้างอิงจาก Problem-Based Learning and Clinical Reasoning: An Action Research Study with Occupational Therapy Students (newprairiepress.org) ผมจึงได้สติ “ลดการป้อนความรู้ให้นักศึกษาจดจำจนเก็บคลังความรู้อย่างไม่เป็นระบบ จบกระบวนการดึงความรู้ของมาใช้ได้ทัน” และตั้งใจ "เพิ่มการเรียนรู้บนฐานปัญหาเพื่อบ่มเพาะภูมิปัญญาในผู้เรียนรู้ต่างจริตจิตสำนึกต่อความต้องการที่แท้จริง ผู้เรียนบางคนขอแค่ได้รับปริญญา บางคนขอทดลองค้นหาตัวเองจนถึงช่วงเวลาหนึ่งที่เกิดวุฒิภาวะทางจิตใจที่เติบโตตามธรรมชาติ และบางคนมีความรักความเข้าใจในการพัฒนาวิชาชีพกิจกรรมบำบัดพร้อมทำงานร่วมกับสหวิชาชีพด้วยความเป็นพลเมืองดีมีน้ำใจ

ดังนั้น ผมอยากสรุปทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกที่บ่มเพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตติดบวกในหลากหลายมิติ ดังนี้

  • การเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ การริเริ่มแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และการสะท้อนความคิดด้วยเหตุผล คือ 3 ส่วนสำคัญที่เพิ่มพูนทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกระดับพื้นฐาน
  • ระดับกลาง คือ การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ขณะพบปะผู้ป่วยและผู้ดูแล รวมเรียกว่า ผู้ใช้บริการ สะท้อนให้ผู้เรียนฝึกทักษะอ่อนโยน (Soft Skills) ได้แก่ 1) ทักษะเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Empathy Skills) ประกอบด้วย การประเมินความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ หรือ ผู้ใช้บริการที่ยินยอมรับหัตถการตามมาตราฐานวิชาชีพ 2) ทักษะการสื่อสารสร้างสัมพันธภาพด้วยการอ่านความรู้สึกอย่างไว้วางใจกัน (Rapport Building Skills) และ 3) ทักษะการรับฟังเพื่อการคิดเชิงออกแบบทางเลือกแก้ไขปัญหาของการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตจริง (Therapeutic Listening Skills for Practical Solutions as Design Thinking as Occupation based Intervention, OBI)
  • ระดับสูง คือ การสะท้อนคิดเพื่อประเมินความเชื่อมั่นในสมรรถนะการให้บริการอย่างเป็นระบบด้วยความซื่อสัตย์ตามจรรยาบรรณและมาตราฐานวิชาชีพกิจกรรมบำบัด ว่า อะไรคือกลยุทธและกระบวนการเชิงเทคนิค กรอบการทำงาน และการประเมินผลลัพธ์ที่ก้าวหน้าอย่างยั้งยืนด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ที่มีความเหมาะสมตามบริบทจริงของผู้รับบริการ ซึ่งผู้เรียนทุกท่านสามารถประเมินตัวเองได้ที่ https://forms.gle/oEusvHbs5x9uWXAQ9

อ้างอิงจาก "Self-Determination Theory and Professional Reasoning in OT Students" by Tiffany Bolton and Evan Dean (eku.edu) ทำให้ผมได้เคล็ดลับอีก 3 ประการ ได้แก่ 

  • การฝึกผู้เรียนแบบ Experiential Learning ให้ต่อยอดจากประสบการณ์ของความรู้ความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ ด้วยการลงมือสร้างความรู้ใหม่ ปรับทัศนคติด้วยจิตวิทยาเชิงบวก และปรับปรุงทักษะทางคลินิกให้คมชัดมากขึ้น
  • การฝึกผู้เรียนแบบ Reflective Journaling บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบ สุ จิ ปุ ลิ ดังตัวอย่างที่ เรียนรู้ย้อนทางสร้างความรู้ใหม่ - PBL - GotoKnow
  • การฝึกผู้เรียนแบบ SDT หรือ Self-Determination Theory คือ ทฤษฎีสร้างความมุ่งมั่นในการกำหนดสมรรถภาพจิตแห่งตนเอง ได้แก่ เพิ่มความฉลาดทางอารมณ์-จริยธรรม-การเผชิญฝ่าฟันอุปสรรค-สติปัญญา คลิกอ่านเพิ่มที่ Theory – selfdeterminationtheory.org ได้แก่
    • ผู้เรียนกำลังพัฒนาความพอเพียงระหว่างอำนาจกับศักยภาพ (Competence) คือ การรับรู้สึกถึงความปรารถนาที่จะมีความสามารถทำงานที่ท้าทายอย่างพอดีเพื่อค้นหาความสามารถที่อยู่ภายในผู้รับบริการ ได้อย่างไร ตัวอย่างการเรียนรู้ที่น่าสนใจ คือ นักกิจกรรมบำบัดสอนการให้เหตุผลทางคลินิกกันอย่างไร - GotoKnow
    • ผู้เรียนกำลังพัฒนาความสัมพันธ์ (Relatedness) อันเกี่ยวข้องกับความต้องการที่จำเป็นในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อเครือข่ายกับผู้อื่น/ชุมชน ได้อย่างไร ตัวอย่างการเรียนรู้ที่น่าสนใจ คือ ครูคลินิกกิจกรรมบำบัด - GotoKnow
    • ผู้เรียนกำลังพัฒนาความเป็นอิสระ (Autonomy) จากพ่อแม่ครูด้วยความต้องการที่จำเป็นในการตัดสินใจให้คุณค่าแห่งการกำกับตนเองด้านการเรียนจนพึงพอใจในพื้นฐานความรู้ด้วยความรักความเข้าใจในตนเอง ได้อย่างไร ตัวอย่างการเรียนรู้ที่น่าสนใจ คือ ทดสอบนศ.ก.บ. - GotoKnow
    • ประเด็นสำคัญใน 3 องค์ประกอบข้างต้น คือ ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่ผู้มีประสบการณ์ได้สะท้อนกลับถึง “ความสำเร็จกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จนถึงการสะท้อนคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์แตกต่างจากคนอื่น ขณะฝึกปฏิบัติงานทางคลินิก รวมทั้งการใช้วิธีการกรณีศึกษา หรือ Case Study Methods จากกระดาษ คลิป แสดงบทบาทสมมติ และผู้รับบริการจริง” ตัวอย่างการเรียนรู้ที่น่าสนใจคือ สอนออนไลน์ให้ร่วมมือกันเรียน - GotoKnow 

 

หมายเลขบันทึก: 692386เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2021 09:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2021 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท