การก้าวข้ามความผิดพลาด 1001 อย่างของอาลีบาบา


เมื่อวันที่ 6-7 ตุลาคม 2561 มีเวทีสะท้อนผลการดำเนินงานของทีมวิทยากร (สสส.สำนักหก)   ที่โรงแรมอมารีดอนเมือง กรุงเทพ ผมให้ข้อคิดเห็นไปแค่ 15 นาที ได้แก่ 

          

การเรียนรู้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน (Ref. 1)  เราไม่สามารถหยิบความรู้ใส่เข้าไปในหัวเขาได้ เราทำได้แค่ส่งให้เขา  และหาทางช่วยให้เขาอยากรับไปใส่หัวตัวเขาเอง

สิ่งที่เราพอจะช่วยได้ (Ref.2)  ได้แก่

     (1) ช่วยทำให้เขาเข้าใจ 

     (2) ให้เขารู้ว่าหลักการสำคัญของเรื่องนี้คืออะไร   

     (3) บอกเขาให้ชัดว่าส่วนไหนบ้างที่ได้ใช้แน่ๆ เหมือนบอกนักเรียนว่า ข้อสอบจะออกอะไร 

     (4) ต้องมีโอกาสได้ทดลองใช้ก่อนใช้จริง 

     (5) ต้องได้นำไปใช้จริง  และ 

     (6) ก็ต้องมี ARE (โปรดดูหมายเหตุ) เพื่อว่าจะได้ยิ่งทำก็ยิ่งเก่ง- และรู้ว่า (1) เข้าใจหรือเปล่า (2) ใช้หลักการสำคัญหรือเปล่า 

และ (3) ใช้จริงหรือเปล่า ใช้อะไรบ้าง (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อะไรบ้างที่ใช้ไม่ได้ผล)   

แถมด้วยเรื่อง "การก้าวข้ามความผิดพลาด 1001 อย่างของ Alibaba" (คือเล่าเรื่อง แจ็คหม่า ให้ฟัง)  จะได้ไม่ผิดหวังกับ "อะไรบ้างที่ใช้ไม่ได้ผล" รวมทั้งจุดอ่อน ข้อบกพร่อง และอุปสรรคที่เกิดขึ้น และจะได้ปรึกษากันว่าจะแก้ไขอย่างไร  แล้วเราก็จะย้อนกลับมาทำ ARE กันอีก

หมายเหตุ - ที่เราเรียกว่า ARE คือ Action Research Evaluation หรือ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ซึ่งเราใช้หลักการง่ายๆ 5 ข้อ ได้แก่ (1) คุยเรื่องผลลัพธ์เป็นหลัก (2) ทำให้เป็นการเรียนรู้ (3) มีข้อมูลยืนยัน (4) ทำหลายรอบ (5) ทำอย่างมีส่วนร่วม  

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์

8 ตุลาคม 2561

หมายเลขบันทึก: 654920เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2018 15:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 ตุลาคม 2020 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท