๑๖ ปี ปฎิรูปการศึกษาล้มเหลว ... ไทยสูญรายได้ ๑.๕ ล้านล้านบาท


สถาบันอนาคตไทยศึกษา เผย ๑๖ ปี ไทยปฎิรูปการศึกษาล้มเหลว สูญเสียโอกาส ๑.๕ ล้านล้านบาท
งานวิจัยชี้ชัดการศึกษามีปัญหาทุกระดับ พัฒนาการเด็ก ๑ ใน ๕ จะต่ำกว่าเกณฑ์

เมื่อวันที่ ๒๓ ส.ค. ที่โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ
ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ประธานกรรมการบริหาร สถาบันอนาคตไทยศึกษา
นำเสนองานวิจัยหัวข้อ “โอกาสที่หายไป : ๑๒ ข้อเท็จจริงการศึกษาไทย”
ในงานThailand Strategic Giving ว่า

ปฎิรูปการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่ปี ๒๕๔๒ จนถึงปัจจุบัน ผ่านไป ๑๖ ปี พบว่า
การที่ปฎิรูปการศึกษาไม่สำเร็จ ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังนั้น
ส่งผลให้เกิดค่าเสียโอกาสที่ประเทศควรจะได้รับ ประมาณ ๑.๕ ล้านล้านบาท หรือกว่า ๑๑% ของจีดีพี
โดยตัวเลขค่าเสียโอกาสที่คำนวณได้นั้น เกิดจากการเปรียบเทียบประเทศที่ปฎิรูปการศึกษาสำเร็จ เช่น
โปแลนด์ ปฎิรูปการศึกษาโดยใช้เวลาประมาณ ๑๑ ปี ทำให้เด็กสอบได้คะแนน PISA เพิ่มขึ้น ๔๘ คะแนน
ขณะที่ของเรา ๑๐ หรือ ๑๑ ปี คะแนนเพิ่มขึ้นเพียง ๓ คะแนน ซึ่งการที่ผลคะแนน PISA เพิ่มขึ้น
สะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิ์ภาพของแรงงาน มีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ และ
ถ้าประเทศไทยปฎิรูปการศึกษาสำเร็จ จะทำให้ไม่ต้องเสียโอกาส เฉลี่ยปีละ ๐.๑๔ %
และไม่ต้องเสียรายได้ในช่วง ๑๖ ปีที่ผ่านมา


ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวต่อไปว่า การปฎิรูปการศึกษา มีความสำคัญมากที่ต้องทำให้สำเร็จ
เพราะหากไม่สำเร็จจะถือเป็นการสูญเสียโอกาสที่ไม่ใช่ส่งผลเฉพาะเด็กเท่านั้น
แต่รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งทุกระดับการศึกษาในขณะนี้มีปัญหา
ไม่ว่าจะเป็นช่วงก่อนวัยเรียน พบว่า พัฒนาการของเด็ก ๑ ใน ๕ จะต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็น
ส่วนระดับประถมศึกษา ตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ๖ มีนักเรียนที่อ่านไม่ออก ประมาณ ๑.๔ แสนคน
และเขียนไม่ได้ ประมาณ ๒ แสนกว่าคน, ระดับมัธยมศึกษา เด็กอ่านออกเขียนได้ แต่จับใจความไม่ได้
โดยดูได้จากผลคะแนน PISA เด็กไทย ๑ ใน ๓ หรือ ๓๒% จะอ่านจับใจความไม่ได้
และเด็ก ๖ ใน ๑๐ เท่านั้นที่เรียนจบมัธยมศึกษา

อีกทั้งโรงเรียนดี ๆ ที่มีคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
หรือโอเน็ต ติดท็อป ๕๐ ของประเทศ ๓๔ แห่งส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ
ทำให้เด็กในกรุงเทพฯมีโอกาสศึกษาต่อมหาวิทยาลัยดี ๆ สูงกว่าเด็กในต่างจังหวัด
และมีโอกาสเรียนมหาวิทยาลัย ขณะที่เด็กต่างจังหวัด มีเพียง ๒๐% ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยได้
ส่วนค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษติวเข้ามหาวิทยาลัย คิดเป็น ๑.๓ เท่าของค่าใช้จ่ายในการเรียนปกติ


ทั้งนี้ ปัจจุบัน แม้จะมีมหาวิทยาลัยให้เลือกมาก เนื่องจากมีที่นั่งสอบมากกว่าเด็กที่เข้าสอบ
แต่พบว่า ๒ ใน ๓ ครัวเรือนไม่มีเงินส่งลูกเรียนต่อมหาวิทยาลัย
เพราะค่าใช่จ่ายในการส่งเด็กคนหนึ่งเรียนจบมหาวิทยาลัย ๔ ปีใช้เงินประมาณ ๕ แสนกว่าบาท
ซึ่งต่อให้ค่าเล่าเรียนถูก แต่ค่าใช้จ่ายอื่นๆ สูง หรือ ถ้ากู้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
คนหนึ่งได้ประมาณ ๑.๗ แสนบาท ทำให้พ่อแม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสินส่งลูกเรียน
ซึ่งมหาวิทยาลัยเข้าเรียนไม่ยาก และจบไม่ยาก แต่เมื่อจบออกมาแล้ว
ต่อให้สถิติการมีงานทำของเด็กสูง มีเพียง ๑% ของเด็กจบใหม่ที่ตกงานเกิน ๖ เดือน
แต่งานที่เด็กทำ มีเพียง ๑ ใน ๔ เท่านั้นที่ทำงานตามวุฒิ สาขาวิชาชีพที่ตนเองเรียนจบมา
ส่วนใหญ่จะทำงานไม่ตรงวุฒิ หรือต่ำกว่าวุฒิที่เรียนมา


“สิ่งที่ทำให้ปฎิรูปการศึกษาไม่สำเร็จนั้น ไม่ใช่เรื่องงบประมาณ
เพราะภาครัฐได้จัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาจำนวนมาก
แต่เท่าที่ศึกษาเบื้องต้น เกิดจากการบริหารการจัดการ หลักสูตร และคุณภาพของครู
โดยเฉพาะคุณภาพของครูที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งตราบใดที่ไม่แก้ปัญหาเรื่องนี้
แล้วไปแก้โดยวิธีอื่น เช่น พยายามเพิ่มลดโรงเรียน ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้
ตอนนี้แม้จะมีการพัฒนาครู แต่ยังเป็นการแก้ปัญหาไม่ครบถ้วน
เพราะระบบราชการ ชอบวัดผลจากตัวชี้วัดการทำงาน เช่น จำนวนเปอร์เซ็นต์การอบรม เรื่องกระบวนการ
โดยไม่ได้วัดจากคุณภาพของเด็ก
ดังนั้น หากไม่มีการพัฒนาครูอย่างถูกต้องก็ไม่สามารถทำให้ปฎิรูปการศึกษาสำเร็จได้
อย่างไรก็ตาม ปฎิรูปการศึกษาเป็นเรื่องของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรัฐ หรือเอกชน
ต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง”

ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าว


ด้านนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง
“บทบาทของการบริจาคเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย” ว่า
สังคมไทยเป็นสังคมที่โอบอ้อมอารี ชอบทำบุญ ชอบบริจาคเงินช่วยเหลือคนที่ยากลำบากกว่า
แต่ก็เป็นการหวังผลตอบแทนให้เกิดกับตัวเอง และเป็นการให้ที่กระจัดกระจาย
ไม่มีการตรวจสอบด้วยว่าเงินที่บริจาคนั้นมีการจัดนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือไม่
ดังนั้นในอนาคตการบริจาคของคนไทย ควรคำนึงถึงผลที่มีต่อสังคมไทยในภาพรวม ไม่ใช่เพื่อตัวเราเอง

ทั้งนี้การบริจาคเงินเพื่อเป็นการทุนการศึกษาเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้คนยากจนได้รับการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมเพราะการศึกษาที่มีคุณภาพ
จะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจนได้ ขณะที่รัฐบาลก็ต้องลงทุนด้านการศึกษาที่สูง
แต่ระบบการศึกษาไทยก็ยังล้มเหลวอยู่เช่นเดิม ในประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการปฏิรูปการศึกษา
จะเน้นการปฏิรูปหลักสูตรและคุณภาพครู

ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรให้ครูลดการสอนในห้องเรียน และตั้งคำถามเพื่อให้เด็กตอบโดยไม่ใช่คำตอบที่ถูกหรือผิด
แต่เป็นการถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กพูดและคิดอย่างต่อเนื่อง โดยมีครูเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งจะทำให้เด็กรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ
สังคมไทยจะต้องลงทุนด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต เพื่อลูกหลาน ไม่ใช่เพื่อตัวเราในปัจจุบัน



อ้างอิง : http://www.komchadluek.net/news/edu-health/239285



...........................................................................................................................


คุณภาพของครูมีผลต่อคุณภาพการศึกษาไทยจริง ๆ
ยิ่งเห็นครูที่สนใจแต่วิทยฐานะมาก ๆ จนไม่สอนเด็ก
ก็รู้สึกยิ่งแย่ วัฒนธรรมการปฏิรูปการศึกษาด้วยขั้นเงินเดือน
มันครอบคลุมความดีงามในการเป็นครูไปหมด
แม้กระทั่ง คุณภาพของครูของครูในมหาวิทยาลัยก็ไม่ต่างกัน

บุญรักษา การศึกษาไทย ;)...


...........................................................................................................................


หมายเลขบันทึก: 612833เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 00:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 สิงหาคม 2016 00:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

We value 'education' so much. We forget to ask if 'education-as-is' is really of any value at all.

I am calling for a revision of the Royal Society Thai Dictionary so that it is a valuable reference for Thai language learners, not just a dictionary from the Royal Society.

ชอบใจประเด็นนี้

โดยเฉพาะคุณภาพของครูที่เป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งตราบใดที่ไม่แก้ปัญหาเรื่องนี้
แล้วไปแก้โดยวิธีอื่น เช่น พยายามเพิ่มลดโรงเรียน ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาการศึกษาได้
ตอนนี้แม้จะมีการพัฒนาครู แต่ยังเป็นการแก้ปัญหาไม่ครบถ้วน
เพราะระบบราชการ ชอบวัดผลจากตัวชี้วัดการทำงาน เช่น จำนวนเปอร์เซ็นต์การอบรม เรื่องกระบวนการ โดยไม่ได้วัดจากคุณภาพของเด็ก...

ผมว่าถ้าให้ครูทำการสอนอย่างเดียว ไม่ต้องทำธุรการ ไม่ต้องส่งประกวดวิชาการเช่นแข่งทักษะต่างๆ ไม่ต้องทำเรื่องของหน่วยงานอื่นเช่น อย น้อย หรือรณรงค์ยุงลาย ส่งเสริมประชาธิปไตย ไม่ต้องประกวดบ้าบอคอแตก ไม่ต้องประเมินบ้าบอตลอดเวลา คงดีกว่านี้ครับ

-สวัสดีครับพี่ครู

-ผมอยู่ในช่วงการปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลวหรือนี่ อิๆ

-ไม่เป็นไร..เริ่มต้นใหม่ก็ยังไม่สาย ดีกว่าปล่อยเลยตามเลยนะขอรับ

-เป็นกำลังใจให้พี่ครู/น้องครู/ลุง,ป้า,น้า,อา ครู ทุก ๆคนด้วยนะคร้าบ...

-ขอบคุณบทความดี ๆ นี้ครับ


วัดผลจากตัวชี้วัด.... การทำงาน เช่น จำนวนเปอร์เซ็นต์การอบรม เรื่องกระบวนการ โดยไม่ได้วัดจากคุณภาพของเด็ก

เห็นด้วยมากๆค่ะ เป็นการวัดปริมาณ(จำนวน/ครั้ง)นะคะ ... วงการแพทย์ตอนนี้ไม่เคยใช่ตัวชี้วัดแบบน้แล้วค่ะ ....


สา'สุข ... ตัวชี้และวัด ใช้ จำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล(หมายถึงรักษาหายนะคะ มิใช่ไล่คนไข้ออกจาก รพ.)และอัตราการป่วบซ้ำ(กลับมานอนซ้ำใหม่ด้วยโรคเดิมนะคะ) แสดงถึงคุณภาพการรักษา นะคะ


ต้องปฎิรูปและปฎว้ติทั้งคุณครู ระบบ และตัวเด็กและครอบครัวด้วยนะคะ (ยกเครื่องอย่างจริงจัง555)


ขอบคุณค่ะ

ชอบค่ะให้ ยกเครื่องอย่างจริงจัง อย่างคุณหมอว่า เจ้าค่ะ แต่เครื่องที่ว่า..เด็ก..ผู้ปกครอง ต้องมีส่วนอยู่ด้วยในทุกกรณี..ไม่ใช่เครื่องนอกยกมาใส่อิอิ มั้

นั่นน่ะสิครับ ท่าน SR ...

เราเหมือนจะให้คุณค่ากับการศึกษา
แต่เราทำอะไรกับการศึกษาก็ไม่รู้ ;)...

ความคิดเห็นของอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง ;)...
ทำให้ผมคิดถึงสิ่งที่โรงเรียนเป็น ...
เป็นอย่างที่อาจารย์ว่าเป๊ะ !!!

เริ่มก้าวแรกใหม่ที่ถูกทาง
ถือเป็นสิ่งที่ดีแล้วล่ะครับ คุณ เพชรน้ำหนึ่ง ;)...

ควรวัดแบบพี่เปิ้น Dr. Ple ว่านี่แหละครับ
ถึงจะน่าสนใจที่สุด ;)...

การศึกษาเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับจริง ๆ ครับ คุณ ยายธี ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท