กลุ่มสาธิต ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ พ่อแม่ ของวัยรุ่น


หลังจากประยุกต์ใช้หลักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมาลดความเครียด

และการใช้ความรุนแรงในพ่อแม่ของเด็กเล็กแล้ว อ่านบันทึกเดิม ที่นี่

ผู้เขียนต้องการนำมาลองใช้งานกับกลุ่มคนที่ต่างออกไป

จึงสนใจที่จะนำปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

มาใช้ลดความเครียดและปรับเปลี่ยนการดูแลและแก้ปํญหาลูกในกลุ่มพ่อแม่ของวัยรุ่นบ้าง

ภายหลังการจัดบรรยายทางวิชาการเรื่องความเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่น

และการให้ความช่วยเหลือของพ่อแม่ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมประชุม ๓๔คนแล้ว

ได้เชิญ พ่อแม่ที่สนใจจะร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

และมีความพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์เป็นกลุ่ม ได้อาสาสมัครจำนวน ๑๐คนเข้าร่วมโครงการ

หมายเลขบันทึก: 583225เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2014 21:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2014 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

เราได้ลองจัดบริการเพื่อปรับพฤติกรรมสุขภาพพ่อแม่และทักษะในการดูแลวัยรุ่น ในรูปแบบกลุ่มปิด

แบ่งดำเนินกิจกรรมเป็น ๖ครั้งครั้งละ ๙๐ นาที ระยะห่างราว๒-๓สัปดาห์ รวมเวลาดำเนินการ ๓ เดือน

ตารางแสดงกิจกรรม

ตัวชี้วัดสำคัญคือ จำนวนครั้งในการใช้ความรุนแรง ทางกาย วาจา กับลูกในแต่ละสัปดาห์

</strong>

พ่อแม่ที่มีลูกวัยรุ่นมีปัญหาร่วมคือ

ลูกเข้าสู่วัยรุ่นเกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวลูก

ทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด และพฤติกรรม ซึ่งต้องการความรู้ความเข้าใจของพ่อแม่

มีภาระรับผิดชอบมากขึ้น จากงานที่ก้าวหน้าขึ้น

ญาติผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบอายุมากขึ้น ภาวะสังคมเศรษฐกิจที่เร่งรัดขึ้น

พ่อแม่เองมีอายุมากขึ้นบางคนเข้าสู่วัยทอง ทำให้ศักยภาพจำกัดลงและต้องการการพักผ่อน

การดูแลสุขภาพกาย-จิตมากขึ้น

การช่วยเหลือพ่อแม่วัยรุ่นจึงประกอบด้วย

การปรับพฤติกรรมสุขภาพทั้งทางกายและอารมณ์ เพื่อให้มีสุขภาพกายและใจแข็งแรง

เพิ่มความรู้ความเข้าใจและทักษะในการดูแลวัยรุ่นอย่างเหมาะสม

เพิ่มทักษะในการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจต่างๆ

ผลการสาธิต

ผู้เข้าร่วมทั้ง๑๐คน ให้ความร่วมมือเข้าร่วมกิจกรรมเฉลี่ยร้อยละ90

กิจกรรมครั้งที่๑-๒ ยังเป็นการทบทวนตนเองและทบทวนความรู้และทักษะในการดูแลตนเองและลูกวัยรุ่น

โดยมีสมาชิก๓คนที่มีพื้นฐานดีสามารถนำความรู้ไปใช้กับลูกได้และเป็นตัวอย่างให้สมาชิกคนอื่นๆ

และมีสมาชิก๓คนที่ร้อนใจต้องการความช่วยเหลือลูกวัยรุ่นเร่งด่วน ขอรับการให้คำปรึกษารายบุคคล

กิจกรรมครั้งที่๓-๕จึงเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเอง ควบคุมอารมณ์ และเปลี่ยนวิธีดูแลลูกวัย รุ่น สมาชิกทุกคนลดการใช้ความรุนแรงทางกายวาจากับลูกและสามารถลดความขัดแย้งลงอย่าง ชัดเจนแม้ยังมีการพลั้งเผลอบ้าง(ประเมินโดยตนเองก่อนและหลังเข้าร่วมปรับเปลี่ยน)

สมาชิก๖คนมั่นใจในการดูแลตนเองและลูกวัยรุ่น

สมาชิกสองคนปรับเปลี่ยนการดูแลตนเองและลูก แต่คิดว่าตนอาจยังต้องการ คำปรึกษาในบางครั้ง แต่สมาชิกอีก๒คนเปลี่ยนแปลงการดูตนเองและลูกเพียงเล็กน้อย

กิจกรรมครั้งที่๖เป็นการติดตามประเมินผล

ผู้เข้าร่วมโครงการปรับพฤติกรรม ตั้งใจทำกิจกรรมต่อเนื่องคือ

ออกกำลังกาย ครั้งละ 30 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์

จัดลำดับความสำคัญของงาน-ภาระกิจเลือก -ทยอยทำงานสิ่งที่จำเป็น

หายใจคลายเครียด ทบทวนสิ่งดีๆที่เกิดขึ้นก่อนนอน

หมั่นหาโอกาสทำจิตอาสา

หมั่นชมลูก คิด พูด ทำกับลูกดีๆ

ทำตามแผนการเปลี่ยนแปลงของตนเองในประเด็นสำคัญเฉพาะตัวที่ตั้งใจไว้

การติดตามผลลัพธ์นัดหมายเดือนกุมภาพันธ์๒๕๕๘(ราว๒เดือน)

เพื่อประเมินความคงอยู่ของพฤติกรรมดูแลตนเองและลูก

ข้อเรียนรู้จากกลุ่มสาธิต

ผู้เข้าร่วมสาธิตเป็นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลที่สมัครเข้าโครงการหลังฟังบรรยายทางวิชาการ

ทำให้ได้กลุ่มที่มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงสูง

ในการประยุกต์ใช้งานจริง อาจพบความยากในการหาสมาชิกกลุ่ม

หรือสมาชิกที่ได้มามีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงไม่มากเท่ากลุ่มสาธิ

แม่ของวัยรุ่นมีความมุ่งมั่นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทั้ง๓ด้านมากกว่ากลุ่มแม่ของเด็กเล็ก

อาจเนื่องจากปัญหาของวัยรุ่นมีความยุ่งยากในการจัดการมากกว่า

ความรู้ที่พ่อแม่ของลูกวัยรุ่นควรมี

๑.ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นทั้งร่างกาย สมอง ความคิด จิต อารมณ์ สังคม

อ่านหนังสือแนะนำ ที่นี่

ทำให้พ่อแม่ทราบความเปลี่ยนแปลงปกติของวัยรุ่น และเห็น โอกาสช่วยลูกพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ

๒.ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองได้แก่ การเลือกทานอาหารทั้งชนิดและปริมาณ การออกกำลังกายให้เหมาะสม ความเครียด และการหายใจที่ถูกวิธี

อ่านเพิ่มเติมคู่มือปรับพฤติกรรมสุขภาพ

๓.ความรู้เรื่องสมดุลของความสุข งาน รายได้ และความสุขจากจิตอาสา การจัดลำดับความสำคัญของงาน

อ่านบัญญัติสุข 10 ประการ

๔.ความรู้เรื่องการกระทำของผู้ใหญ่ที่วัยรุ่นไม่ชอบ และเป็นอุปสรรคสำหรับพัฒนาการวัยรุ่น

๕.ความรู้และทักษะเรื่องพูดคุยประจำวันกับลูกวัยรุ่น การใช้ I message การ ติ และการชมลูก

บันทึกเดิมที่นี่ และ สื่อพูดคุยกับลูกวัยรุ่นที่นี่

และสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการดูแลลูกด้วยตนเองมากขึ้นอาจต้องมี

๖ความรู้และทักษะเรื่องการพูดคุยเพื่อสร้างแรงจูงใจให้ลูกวัยรุ่น

( Motivational interview technique with teen)

เพื่อให้เกิดความใส่ใจในพฤติกรรมที่วัยรุ่นประพฤติจนเคยชิน

แต่พ่อแม่เห็นว่าสามารถปรับให้ดีกว่านี้ได้

หรือเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ลูกวัยรุ่นยังไม่คำนึงถึงโอกาสสูญเสีย เช่นติดเกม ติดสื่อ โทรศัพท์

เรียนรู้ด้วยตนเองเรื่อง การให้คำปรึกษาวัยรุ่น

ความรู้และทักษะของผู้นำกิจกรรมกลุ่ม

๑.การเป็นกระบวนกร( Facilitator)และผู้เหนี่ยวนำกระบวนการ (Mentor)

๒.ความรู้เรื่องวัยรุ่น

๓.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

๔.การให้คำปรึกษาเบื้องต้น

๕.บัญญัติสุข ๑๐ประการ

ขอหยุดบันทึกนี้ไว้เพียงเท่านี้

รอผลการติดตามความคงอยู่ของพฤติกรรมพ่อแม่ในตอนต่อไปครับ


สุดท้ายขอบคุณ ข้อมูล และสื่อต่างๆจากแผนงานส่งเสริมสุขภาพจิต สสส.

ชมรมจิตเวชเด็กแห่งประเทศไทย

ภาพ ประกอบสวยๆจาก 123rf.com มานะโอกาสนี้

มีประโยชน์มากเลยครับ

เป็นการอบรมที่ใช้ประโยชน์ได้มากเลย

คุณหมอหายไปนานมากๆ

สบายดีนะครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต

ยุ่งนิสิตจะลงหมู่บ้านครับ

เดี๋ยวตอนลงจริงๆจะชวนไปช่วยโค้ชครับ

ผลการติดตามความคงอยู่ของพฤติกรรมพ่อแม่ อ่านที่นี่ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท