หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน : จดหมายข่าวเล่ม ๓ (ข้าว ปลา นา น้ำ)


กระบวนการเรียนรู้คู่บริการของสาขาประมงนั้น ไม่เพียงเกิดปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนเท่านั้น หากแต่ยังช่วยปลดเปลื้องหนี้สินชุมชน ช่วยให้ชุมชนมีความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลา การบริหารจัดการฟาร์มปลา เกิดต้นแบบในชุมชน เกิดการแบ่งปันความรู้และพึ่งพากันและกันมากขึ้นกว่าอดีต

จดหมายข่าวเล่ม ๓ (E-book) "มมส งานวิชาการรับใช้สังคม" ผมยังคงใช้ "การเล่าเรื่อง" เป็นรูปแบบหลักของการนำเสนอ เพื่อก่อให้เกิดการอ่านง่ายในทุกกลุ่มวัย

ฉบับนี้ ประเด็นหลักที่หยิบจับมาชูก็คือ "ข้าว ปลา นา น้ำ" ซึ่งเป็นประเด็นการขับเคลื่อนว่าด้วยงานบริการวิชาการแก่สังคม (หนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชน) และงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ตลอดจนงานวิจัย มมส เพื่อชุมชน



ภายในเล่ม นำเรื่องราวจากหลักสูตรต่าง ๆ มาสื่อสารบอกเล่าอย่างหลากหลาย ทั้งความสำเร็จของ "หนังสั้น" จำนวน ๖ เรื่อง (๖ หนังสั้น : สื่อชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน) ที่เกิดจากการคิดและการสร้างสรรค์ของนักเรียนตามหลักคิด "สื่อชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน" อันเป็นผลพวงของการขับเคลื่อนจากหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ


รวมถึงการกล่าวโดยองค์รวมถึงงานวิจัยเพื่อชุมชน (ที่นี่) อันเป็นการ "ต่อยอด" งานบริการวิชาการและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมสู่การเป็น " วิจัยรับใช้สังคม" หรือ "งานวิจัย มมส เพื่อชุมชน" ซึ่งถือเป็นการผลิตบาย หรือพัฒนาการ หรือการสะท้อนให้เห็นถึงการรับใช้สังคมของมหาวิทยาลัยผ่านการบูรณาการบนหลักคิดแห่งภารกิจสำคัญๆ



ทั้งนี้ยังรวมถึงเรื่องเล่าของการใช้ศิลปะการแสดงหมอลำเป็นสื่อในการส่งเสริมประชาธิปไตยแก่นิสิตและชาวบ้าน จาก วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ซึ่งนิสิตได้เรียนรู้ศิลปะการร้องลำ แต่งกลอนลำจาปราชญ์ชาวบ้าน ตลอดจนการจัดแสดง "หมอลำขอข้าว" ระดมทุนเข้าสู่ชุมชน ซึ่งถือเป็นอีกกลยุทธของการ "เรียนรู้คู่บริการ" ที่น่าสนใจ โดยเบื้องต้นก็ได้เขียนลงใน G2K ไปบ้างแล้ว ที่นี่ : หมอลำนำประชาธิปไตย


ในเล่มนี้เราชูเรื่อง "การเพาะพันธุ์ปลาและการแปลงเพศปลานิล" เป็นแก่นสารหลัก ซึ่งเป็นการทำงานของสาขาประมง คณะเทคโนโลยี ที่ประสบความสำเร็จในมิติของการบูรณาการภารกิจ ๔ In ๑ (การบริการ > การเรียน > ทำนุบำรุง > วิจัย) หรือในอีกมิติก็คือ วิจัย > การเรียน > บริการวิชาการ > ทำนุบำรุง



กระบวนการเรียนรู้คู่บริการของสาขาประมงนั้น ไม่เพียงเกิดปรากฏการณ์แห่งการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนเท่านั้น หากแต่ยังช่วยปลดเปลื้องหนี้สินชุมชน ช่วยให้ชุมชนมีความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ปลา การบริหารจัดการฟาร์มปลา เกิดต้นแบบในชุมชน เกิดการแบ่งปันความรู้และพึ่งพากันและกันมากขึ้นกว่าอดีต ฯลฯ ซึ่งเราได้สัมภาษณ์ทั้ง ดร.วิภาวี ไทเมืองพล อาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการ รวมถึง นส.สุวราลัษณ์ คำงาม : นิสิต และพ่อสมพร ดรพลก้อมแกนนำผู้นำชุมชน


เช่นเดียวกันนี้ ยังได้เกียรติข้อเขียนจาก ดร.ขจิต ฝอยทอง จำนวน ๑ เรื่อง ที่กล่าวถึงภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชนในมิติของการปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนและผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง พร้อมๆ กับการกล่าวชมระบบฐานข้อมูลที่เราได้จัดทำขึ้น ซึ่งง่ายต่อการสืบค้น และมีพลังต่อการเรียนรู้


หรือกระทั่งเรื่องเล่าอันง่ายงามของอาจารย์กนกกุล มาเวียงจากสาขาเกาหลี ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของยายที่นำพาหลานๆ ๕ คนดั้นด้นมาเข้าร่วมโครงการหนึ่หลักสูตรหนึ่งชุมชนอย่างน่ารัก และน่าชื่นชมเป็นที่สุด

ว่างๆ ก็ลองเข้าเยี่ยมชม –แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้นะครับ ที่นี่ E-book : จดหมายข่าว ข้าว ปลา นา น้ำ





ความเห็น (5)

ได้ข้อมูลทั้งหมด

ครั้งแรกว่าจะดึงข้อความการแสดงความคิดเห็นมาไว้ต่างหากเหมือนกัน

จะขออนุญาต link บันทึกนี้ไปรวมและประชาสัมพันธ์ต่อนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณ อ.ขจิต ฝอยทอง มากๆ ครับ
ยินดีนะครับ ช่วยนำไปเผยแพร่ต่อๆ ไป เลยนะครับ
จะได้ก่อเกิดเป็นพลังการเรียนรู้ร่วมกันอย่างหลากหลาย และกว้างขวาง...

ผมและทีมงาน ก็ยังงูๆ ปลาๆ ...
ลองผิด ลองถูก เช่นเคยมา ครับ

แวะมาทักทายก่อนนอนจ้ะอาจารย์แผ่นดิน ฝันดีจ้ะ

ตามมาอ่านจากบันทึกอ.ขจิตเพราะอยากรู้จักโครงการแปลงเพศปลานิลค่ะ

ชอบมากกับการให้นิสิตได้เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นบ้านของตัวเอง อยากให้เด็กๆ ทุกคนในประเทศนี้ได้เรียนรู้และถ่องแท้เรื่องชุมชนของตัวเองตั้งแต่ยังตัวน้อยๆ อยากปลูกฝังให้พวกเขารักถิ่นฐานและไม่ทอดทิ้ง

ตกหล่นบันทึกดีๆ ของอาจารย์ไปเยอะ

เล่มนี้ผมอ่านจบแล้ว ... ได้ความรู้และแง่คิดดีๆเยอะมาก

ชื่นชมพี่พนัสและทีมจัดทำจดหมายข่าวครับ ... เฝ้าติดตามเล่มต่อๆไปเรื่อยๆเลยครับ

อนึ่งผมติดพี่พนัสเรื่องทัศนะส่วนตัวต่อ "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" อยู่นะครับ ... (ไม่ลืมครับ ขอส่งให้ช้าหน่อยครับ แต่จะเขียนออกมาดีๆแบบตั้งใจมากครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท