๖๐.อย่า(มอง)ข้าม...ครามขน


เพียง ๒ ปี ที่ " ครามขน " ลักลอบเข้าสู่ เคียงภูลับงา ถึงวันนี้ ได้แพร่ลูกออกหลานขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนต้องเข้าไปทำความรู้จัก ให้มากกว่าการรู้จักแต่ชื่อเสียงเรียงนาม.....

" ครามขน " เป็นพืชล้มลุกในสกุลคราม(Indigofera) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Indigofera hirsuta L (คำว่า Indigo แปลว่า สีคราม) เป็นไม้ทรงพุ่มกึ่งเลื้อย ลำต้นมีขนสีน้ำตาล ปกคลุม ใบประกอบขนนกปลายคี่ รูปรี ดอกออกเป็นช่อตั้ง สีส้มแกมชมพู มักพบขึ้นตามป่าโปร่งหรือป่าละเมาะ

บรรพบุรุษแต่โบราณ นำพืชสกุลนี้บางชนิด มาใช้ย้อมผ้า ทำคราม ทำหมึก เนื่องจากใบสดจะมีสารต้นตอ(Precursor) คือ สารอินดิแคน(Indican หรือ Indoxyl-B-D-Glucoside) หลังจากผ่านขบวนการ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะให้สีคราม ใช้เป็นสีย้อมผ้าหรือเป็นหมึกได้

ส่วนครามขน แม้ยังไม่ปรากฎผลการศึกษาวิจัย การนำมาใช้ประโยชน์ข้างต้นอย่างเป็นทางการ แต่เชื่อว่า น่าจะมีโอกาสและความเป็นไปได้เช่นเดียวกับต้นฮ่อม ต้นคราม ซึ่งใช้ทำสีคราม ที่สำคัญน่าสนใจ ก็คือคุณประโยชน์ด้าน.....

๑.พืชสมุนไพร ครามขนมีสารเคมีหลายชนิด อาทิ Alanine;alanine phenyl:arginine;aspatic acid stosterol-D glucoside;thremine;valine;xanthoxhamnin ฯลฯ มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ในการยับยั้งเนื้องอก จากรายงานของ Siva(๒๐๐๗) ระบุว่า สารสกัดจากใบสดของคราขน มีฤทธิ์รักษาอาการเป็นแผลในกระเพาะและอาการท้องเสีย ในชนบทใช้ครามขนทั้งต้นต้ม ใช้ดื่มบำรุงโลหิต แก้ท้องเสีย ช่วยย่อยเจริญอาหาร

ส่วนการใช้เป็นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช จากการทดสอบความเป็นพิษในหนูทดลอง ปรากฏว่า ขนาดที่ทำให้หนูทดลองตายครึ่งหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๔๖ มิลลิกรัม/กิโลกรัม ชาวอีสาน ใช้ต้น/ใบสับเป็นท่อนๆ วางบนไหปลาร้า ป้องกันแมลงวัน-แมลงหวี่วางไข่ ให้เกิดหนอนในปลาร้า

๒.เป็นพืชอาหารสัตว์ได้ เนื่องจากก้าน ลำต้นและยอดอ่อน เมื่ออายุประมาณ ๔๕ วัน ก่อนมีดอก จะมีองค์ประกอบของโปรตีน ๑๕.๙๕ % เยื่อใย ๒๒.๐๘ % ไขมัน ๖.๒๑ % เถ้า ๘.๙๐ % คาร์โบไฮเดรทที่เป็นส่วนNFE(Nitrogen free extractives) ๔๖.๘๖ % เยื่อไยในส่วนADF(Acid Detergent Fiber) ๒๖.๒๗ % เยื่อใยรวม(NDF;Neutral detergent fiber) ๓๓.๑๘ % ลิกนิน ๔.๙๑ %

๓.เป็นพืชทางเลือก สำหรับใช้คลุมหน้าดินและปรับปรุงบำรุงได้ในเกณฑ์ดี เนื่องจากเป็นพืชที่โตแผ่ขยายพุ่ม คลุมหน้าดินได้เร็ว ช่วยลดการชะล้างพังทะลายของหน้าดินในฤดูฝน ส่วนการใช้ปรับปรุงบำรุงดิน เนื่องจากให้ผลผลิตชีวมวลแห้งมากกว่า ๑,๕๐๐ กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตมีความเข้มข้นของไนโตรเจน(N) สูง การย่อยสลายและการปลดปล่อยไนโตรเจนดี มีเยื่อไยส่วนของADF และสัดส่วนของADF:N ไม่สูงนัก สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ปรับปรุงบำรุงดินในระบบการปลูกพืชได้ดีอีกด้วย


ครับ! สิ่งดีๆ มีคุณค่า ..ที่อยู่ใกล้ตัวไกลตา..ต้องพึ่งพา การคุ้ย เขี่ย ขุด ค้น เรียนรู้ ศึกษาวิจัยต่อยอด ให้บังเกิดประโยชน์แก่มวลประชาอย่างยั่งยืน ยังมีอีกมากมาย โดยเฉพาะการนำครามขนมาใช้เป็นยารักษาโรค.เป็นสี เป็นหมึก.มากกว่าการทิ้งขว้างไปอย่างไร้ค่า โดยเจียดจ่ายหรือแบ่งปันเศษเสี้ยวของงบประมาณชาติ ที่ถูกนำมาใช้ในโครงการประชานิยมอย่างไม่เกิดผลดีระยะยาว (หากยังมีอีกในอนาคต) มาสนับสนุนการศึกษาวิจัย อย่างจริงจัง ต่อเนื่องให้มากขึ้น ...ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ชาติบ้านเมือง ลูกหลานจะได้รับอานิสงส์จากผลของการคิดได้ไฝ่ดี ... มากกว่าการ มาแบกรับ ภาระหนี้ ที่พวก " ไก่ได้พลอย " ก่อกรรมทำเข็ญไว้ถึง ๗-๘ แสนล้านบาท ????

สามสัก

๑๔ พย.๒๕๕๗

อ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติมได้ที่...

  • (๑)องค์การสวนพฤกษศาสตร์(สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์) ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  • (๒)) รายงานผลการวิจัยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง การศึกษาความหลากหลายและความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของพืชสกุลครามด้วยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล ปี ๒๕๕๒
  • (๓)) สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • (๔)จากวิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพืชไร่ ของคุณศรีสุดา ทิพยรักษ์ เรื่อง. การย่อยสลายและปลดปล่อยไนโตรเจนจากซากถั่วลิสงและถั่วเขตร้อนอื่นๆ เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดให้แก่อ้อยที่ปลูกปลายฤดูฝน. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี ๒๕๒๒
  • (๕)ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (http://www.phargarden.com
  • (๖)ผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับการเจริญเติบโตและการผลิตเมล็ดพันธุ์ของครามขน ของนางสาวศริญญา หมื่นกันยาและนายจรูญ พรหมชุม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี ๒๕๓๗
หมายเลขบันทึก: 580471เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2014 16:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2014 12:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณสำหรับความรู้ครับพี่สามสัก

ไม่เคยเห็นเคยครามขน

ปกติเคยเห็นตนครามธรรมดาที่อีสาน

ขอบคุณมากๆครับ

"อยากเห็นภาพ..ของ..ต้นคราม..กับ ต้นครามขน.."ต่างกันรึเปล่า..สนใจเจ้าค่ะๆ..ยายธี...

๑.ขอบคุณ อาจารย์

๒.ต้องขออภัย ยายธี ด้วยครับ ผมไม่มีภาพต้นครามไว้ในมือจริงๆ จะมีเฉพาะครามขน ที่เป็นพืชที่ผู้คนเห็นเป็นวัชพืชล้มลุกที่ไร้ค่าไร้ราคา...ไม่เหมือนต้นคราม ครามป่า ซึ่งเป็นคนละชนิดกัน ผู้คนจะให้และใช้ประโยชน์มากกว่าโดยต้นครามและครามป่า จะมีดอกสีม่วงแกมชมพู ต้นสูงกว่าครามขน ครับ ...

-สวัสดีครับท่านสามสัก

-ครามขน..ประโยชน์มากมายเลยนะครับท่าน

-ที่ไร่มีลักลอบเข้ามาเหมือนกัน กำลังแพร่ขยาย...

-รู้แบบนี้ต้องบอกต่อแล้วล่ะครับ

-อ้อ...ว่าง ๆ ขอเชิญท่านมาแวะพักผ่อนที่ Hi Hug House@หนองราง ได้นะครับ

-ยินดีต้อนรับครับ..

  • สวัสดีครับท่านอาจารย์ คิดถึงสุดๆเลยนะนี่
  • ครามขน น่าสนใจครับ
  • ขอบคุณที่นำข้อมูลดีๆมาแบ่งปันเสมอครับ
  • ดอกสวยครับ แถมประโยชน์เพียบ..
  • ขอบคุณความรู้ครับ สบายดีนะครับ

ขอบคุณบันทึกดีๆ นี้ครับ

จะขออนุญาตนำไปให้เจ้าหน้าที่ได้อ่าน เพื่อเติมเต็มพลังการเรียนรู้ในวิถีการบริการวิชาการ และการทำนุฯ -วิจัย ครับ

สุขสันต์ วันปีใหม่ ค่ะ


เพิ่งเคยเห็น ครามขน
ขอบคุณค่ะ

เรียนท่านสามสัก

เคยเห็นเจ้าต้นนี้ แต่มารู้จักวันนี้ว่าเขาคือ ครามขน

ขอบคุณที่แนะนำข้อมูล

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท