ใครทานแคลเซี่ยมต้องรู้


คาดว่ามีท่านผู้อ่านหลายท่านกำลังทานแคลเซี่ยมอยู่ ท่านทราบไหมว่าแคลเซี่ยมมีหลากหลายชนิด ขึ้นอยู่กับเกลือที่เข้าไปจับกับแคลเซี่ยม ทำให้ได้แคลเซี่ยมที่ใช้งานได้จริง ( elementary calcium ) ไม่เต็มปริมาณที่บอกไว้บนฉลาก ยกตัวอย่างเช่น แคลเซี่ยมคาร์บอร์เนท ( calcium carbonate ) ให้ปริมาณแคลเซี่ยมที่ใช้งานได้จริง 40 % หมายความว่าแคลเซี่ยมคาร์บอร์เนท 1,000 มิลลิกรัม ให้แคลเซี่ยมที่ใช้งานได้จริง 400 มิลลิกรัม ดังนั้นคุณควรรู้ว่าแคลเซี่ยมที่คุณทานอยู่นั้นจับกับเกลือชนิดใด และให้ปริมาณแคลเซี่ยมที่ใช้งานได้จริงเป็นจำนวนเท่าไร

ข้างล่างนี้เป็นข้อมูลแคลเซี่ยมที่จับกับเกลือชนิดต่างๆ และแสดงปริมาณแคลเซี่ยมที่ใช้งานได้จริง

 calcium carbonate          40%

 calcium chloride             27.3%

 calcium acetate              25%

 calcium citrate                21%

 calcium lactate               13%

 calcium gluconate          9.3%

คุณลองกลับไปดูนะคะว่าคุณทานแคลเซี่ยมชนิดใดอยู่

หมายเลขบันทึก: 567099เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2014 21:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2014 16:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับอาจารย์ 

พรุ่งนี้คงได้เข้าร่วมเสวนาเรื่องกระดูก

สวัสดีค่ะคุณหมอ

กำลังทานแคลเซียมอยู่ค่ะโดยหมอที่ รพ. จ่ายให้ คงเหมาะสมกับสภาพของเราแล้วนะคะ

ในต่างประเทศคนนิยมทาน calcium citrate มากกว่า calcium carbonate เพราะดูดซึมได้ดีกว่า

แต่ที่สำคัญควรได้รับแคลเซียมพร้อมกับวิตามินดีด้วยครับ

http://www.healthcastle.com/calciumcarbonate-calci...

http://www.gotoknow.org/posts/567061

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท