ส่งลูกไปเรียนพิเศษที่บ้านนอก : บุญกฐินที่บ้านเกิด


พอถึงเทศกาลกฐิน ก็เป็นประหนึ่ง "มหากาพย์" ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว เนื่องเพราะมีผู้คนมากมายมาร่วมงานบุญ มีกิจกรรมหลากหลายให้เสพสร้าง แถมยังกินดื่มเฉลิมฉลองกันคึกคักใหญ่โต บางปีถึงขั้นหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือเงินเข้าวัดเข้าวาน้อยนิดอย่างน่าใจหาย

25 ตุลาคม 2556 ที่ผ่านมา
    ผมเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับลูกๆ ทั้งสองคน
    คำสัญญาที่ว่านั้นก็คือการไป “ทอดกฐิน”
    จะว่าไปแล้ว  ผมเพิ่งเดินทางกลับจากชลบุรีกลางดึกของวันที่ 24  แต่ในคำสัญญาที่ว่านั้น  มันยิ่งใหญ่เกินการยกเลิก  ผมจึงไม่ลังเลที่จะออกเดินทางกลับบ้านในกลางดึกของคืนนั้นเลย



 

 

เมื่อครั้งที่ผมยังเป็นเด็ก
     ผมมักได้ยินวาทกรรมทางสังคมเสมอๆ ว่า “บุญกฐินต้องมีบุญจริงๆ ถึงจะทำกันได้”
     ครับ-ผมได้ยินเช่นนั้นมาเนิ่นนาน  และยาวนานจริงๆ
     คนเฒ่าคนแก่บอกเล่าเช่นนั้น พร้อมๆ กับอธิบายว่าการเป็นเจ้าภาพ “ปักกฐิน” นั้นต้องมีความพร้อมในหลายๆ อย่าง นั่นก็คือ “ใจพร้อม ทุนทรัพย์พร้อม บริวารพร้อม”
     ซึ่งก็คงเห็นจะจริงอยู่มาก  เพราะเท่าที่พบเจอ รับรู้และสัมผัสมา 
     ดังจะเห็นได้จาก พอถึงเทศกาลกฐิน  ก็เป็นประหนึ่ง "มหากาพย์"  ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว  เนื่องเพราะมีผู้คนมากมายมาร่วมงานบุญ  มีกิจกรรมหลากหลายให้เสพสร้าง  แถมยังกินดื่มเฉลิมฉลองกันคึกคักใหญ่โต

     บางปีถึงขั้นหักค่าใช้จ่ายแล้ว เหลือเงินเข้าวัดเข้าวาน้อยนิดอย่างน่าใจหาย
     ทั้งๆ ที่ต้นสายแห่งปัญญาการก่อเกิดนั้นถือว่า “งดงาม ดีงาม” อย่างไม่ต้องสงสัย  หากแต่ยุคสมัยก็นำพา “ฮีตฮอยแห่งประเพณี”  คลาดเคลื่อน เปลี่ยนรูปแปลงร่างไปเรื่อยๆ

 

 

 

ปีนี้น้องดินและน้องแดนปักหลักปิดเทอม (เรียนพิเศษที่บ้านนอก) อยู่ที่บ้านเกิดเหมือนทุกปี
     ปีนี้ในบ้านเกิดได้รับเกียรติจากคนเมืองกรุงมาปักกฐิน
     สองหนุ่มตื่นเต้นไม่ใช่ย่อย  เพราะเขาทั้งสองร่วมเป็นเจ้าภาพ 1 กองในวงเงิน 1,000 บาท  ส่วนปู่ย่าก็จองอีก 1 กองในวงเงินเท่ากัน
     ดังนั้นกฐินที่บ้านเกิดปีนี้  เจ้าภาพหลักจึงมาจากเมืองบางกอก  ส่วนชาวบ้านก็เป็นเจ้าภาพในภาคพื้นที่จับจองกฐินตามแรงศรัทธาหนุนเสริมเพิ่มเติมกับกฐินสามัคคีของคนเมืองกรุง
     ผมเล่าให้ดินและแดนฟังชัดเจนว่าบุญกฐินั้นถือเป็นประเพณีหลักของคนไทย 
     เป็นงานบุญที่หนุนนำให้ใครๆ ได้มีรวมพลังสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับสังคมร่วมกัน  บ้านใดร้างกฐิน บ้านนั้นเมืองนั้นย่อมมีบางสิ่งบางอย่างให้คิดตาม  ซึ่งอาจหมายถึงสภาวะปากท้องอันข้นแค้น หรือวิกฤตแห่งชาวบ้านและชาวสงฆ์ ฯลฯ





     ผมไม่ใคร่แน่ใจว่าเด็กในวัยไม่เกิน 10-12 ขวบจะเข้าใจในสิ่งที่ผมบอกเล่าแค่ไหน  กระนั้นก็ยังเชื่อว่าคำบอกเล่าที่ว่านั้นจะไม่สูญเปล่าอย่างแน่แท้  อย่างน้อยคำบอกเล่าของผม ก็ถูกอธิบายด้วยปรากฏการณ์จริงของงานบุญ  ซึ่งมีผู้คนมากหน้าหลายตามาร่วมด้วยช่วยกันอย่างล้นหลาม 

 

 

 

กฐินที่บ้านเกิด
      ดินและแดนเห็นชาวบ้านหอบหิ้ว “หมอน” มาจากครัวเรือนเพื่อถวายวัด  และที่สุดแล้วก็ถูกส่งมอบเป็น “ของฝาก” ให้กับเจ้าภาพที่มาปักกฐิน
       ผมชิงบอกเล่าให้ดินและแดนฟังแบบกว้างๆ ว่านี่คือค่านิยม หรือวัฒนธรรมของชาวบ้านที่ไม่เคยดูดาย “แขกบ้านแขกเมือง...ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ พอถึงเวลากลับก็ต้องมีของฝากมอบกำนัลอย่างไม่อิดออด”
      ครับ-มันเป็นมุมคิดที่ถูกหล่อหลอมและฝังรากหยั่งลึกมายาวนาน
      มันเป็นมุมๆ หนึ่งที่ฉายให้เห็นความงดงามของชาวบ้าน
      และเป็นมุมอีกมุมหนึ่งที่ชวนตีความได้อย่างหลากล้น
      สุดแท้แต่ใครๆ จะเบิ่งมอง และใคร่ครวญด้วยตนเอง

 

 

 

ที่สุดแล้ว
      คณะกรรมการหมู่บ้านได้แจ้งยอดเงินกฐินจากเมืองกรุงให้ร่วมรับรู้อย่างเป็นทางการ
      ซึ่งมีจำนวนเกือบๆ จะ 70,000 บาท
      จากนั้นก็แจ้งยอดเงินสมทบจากชาวบ้านว่าได้เกือบๆ จะ 1.2 แสนบาท
      โดยมียอดค่าใช้จ่ายในบุญกฐินที่ยังไม่หักก็คือ “........................”  (สูงมาก)

      ครับ-ทันทีที่มีการประกาศเช่นนั้น 
      น้องดินหันมาพูดกับผมประมาณว่า “ป๊าดพ่อ...เงินไทบ้านเฮาคือได่หลายกว่าเจ้าภาพ  หักค่าของแล้ว ซำเฮาเฮ็ดบุญกันเองตั๊วนิ...”
 

 

 

      ครับ-มันเป็นแค่มุมมองของเด็กในวัย 12 ขวบ
      ไม่มีอะไรชวนคิดตามหรอกนะครับ !

      แต่สำหรับผมแล้ว  ยังต้องหาโอกาสดีๆ พูดคุยกับสองหนุ่มให้ชัดเกี่ยวกับเรื่องความเป็นบุญกฐิน  เพื่อให้พวกเขารับรู้และเข้าใจถึงแก่นรากของงานบุญ หรือมหากาพย์แห่งงานบุญนี้
      เพราะยังมีมุมอีกหลายมุมให้เรียนรู้...
      หรืออย่างน้อย ก็คงต้องย้้ำว่าบุญกฐินที่ว่านี้ นอกจากพันธกิจในทางศาสนาแล้ว  ยังเกี่ยวโยงกับจิตสาธารณะ จิตอาสา หรือสำนึกรักษ์บ้านเกิดอย่างไร --


หมายเลขบันทึก: 553960เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2013 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

“ป๊าดพ่อ...เงินไทบ้านเฮาคือได่หลายกว่าเจ้าภาพ หักค่าของแล้ว ซำเฮาเฮ็ดบุญกันเองตั๊วนิ...”

ชอบคำพูดของน้องดินจังครับ อดคิดตามไม่ได้

-สวัสดีครับ

-ตามมาร่วมอนุโมทนาบุญกฐินครับ

-"คงต้องย้้ำว่าบุญกฐินที่ว่านี้ นอกจากพันธกิจในทางศาสนาแล้ว ยังเกี่ยวโยงกับจิตสาธารณะ จิตอาสา หรือสำนึกรักษ์บ้านเกิดอย่างไร"

-ขอบคุณครับ...


.... แสดงถึง กลยุทธ์ (Strategy) ของคุณพ่อดีมากๆ นะคะ ... ให้น้องเข้าวัด .... ขอบคุณค่ะ

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ได้ความรู้จริง คิดจริง วิเคราะห์จริง ครับ 555

แก่นยังอยู่ แต่เปลือกก็หลายราคาจ่ายนะคะ

ชอบการสอนแบบทำให้น้อง ๆ ดูค่ะ

หลานตัวน้อยอีกคนหนึ่งกลมๆ น่ารักจังค่ะ

อีกคนมองด้านข้างผอมบางดีจังค่ะ

เอ...ตอนทานข้าว กับข้าวเหมือนกันไหมน๊า...ล้อเล่นหลานนะคะ

ดีมากๆ ค่ะ บทเรียนในสังคมบ้านๆ มีอะไรที่น่าจดจำและเรียนรู้นะคะ

น้องดิน น้องแดน โชคดี มีครอบครัวที่อบอุ่น อยู่กับวิถีธรรมชาติ

สวัสดีครับ พี่หมอ พ.แจ่มจำรัส

คำพูดของน้องดิน ในบางครั้งก็เป็นผู้ใหญ่เกินตัวครับ เพราะเขามักใช้ชีวิตและเรียนรู้ชีวิตผ่านกิจกรรมของผู้ใหญ่ อยู่กับกิจกรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยฯ มาค่อนข้างเยอะ ซึ่งนั่นน่าจะเป็นส่วนสำคัญในการหล่อหลอมทางมุมมองและการใช้ชีวิต ครับ

สวัสดีครับ เพชรน้ำหนึ่ง

ตอนนี้เด็กๆ คงยังไม่รู้อะไรมากมายกับคำว่าจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด แต่การที่ได้รับรู้ว่า เขามีความสุขที่ได้กลับบ้านไปอยู่กับปู่-ย่าสม่ำเสมอนั้น เมื่อโตขึ้น เขาคงได้รู้เองว่า นั่นคือความรักความผูกพันกับบ้านเกิดในอีกมิติหนึ่งนั่นเอง ครับ

สวัสดีครับ Dr. Ple

ผมเองโตมาจากวัดครับ
สงสัยซึมเข้าตัวลูกในแบบ "สายโลหิต" ไปในตัวครับ

สวัสดีครับ ว่าที่ ครูอาร์ม

เห็นด้วยครับ การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ย่อมได้ประสบการณ์จริง สดๆ...
ได้ปัญญาจริง นั่นเอง ครับ

สวัสดีครับ พี่หมอ ทพญ.ธิรัมภา

ในภาพ น้องดิน จะช่วยคุณปู่จ่าหน้าซองถวายพระให้กับชาวบ้านด้วยนะครับ
ลายมือไม่สวยหรอกนะครับ แต่คิดว่าแกคงภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเหล่านั้น ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท