CQI : วงล้อแห่งการพัฒนา


CQI กระบวนการดังกล่าวผมมองเป็น "การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ครับ"

     วันอาทิตย์ที่ 16 เดือน 6 ปี56 1 เรียงกันสวยงามดีครับ หลายคนจะได้หยุดในวันนี้นะครับ ส่วนผมเองก็ได้หยุดเหมือนกันแต่ผมวางแผนค่อนข้างสลับกันเพราะวันเสาร์ผมจะนั่งพัก ดูหนัง และไปเที่ยวที่ผมชอบ(ไป) นะครับ ออกแนวที่เรียกว่าเอาแต่ใจเล็กน้อย...แต่วันหยุดก็ทำตาม Plan ที่ตั้งไว้เมื่อวันจันทร์ของทุกอาทิตย์ก่อน ..และวันอาทิตย์ผมมักจะนั่งอ่านหนังสือที่ผมทั้งชอบไม่ชอบ แต่ไม่ชอบนั้นผมก็อยู่ในแผนที่ผมต้องอ่าน


      ผมเองเมื่อคืนอารมณ์ยังค้างจากละคร คุณชายรัชชานนท์ เพลงนี้มาวางครับ ก่อนจะเข้าการ recall สิ่งที่ผมได้เรียนรู้มาในอาทิตย์นี้.. เพลงช่วงรักของคู่สร้อยฟ้าคือ เพลงความรัก เมื่อวานฟังไปแล้ว. ส่วนคู่จันทราคือ เพลงฉันจะฝันถึงเธอ มอบสบายๆก่อนเข้าเรื่องครับ เพื่อการมองภาพร่วมกัน..



 CQI  คืออะไร...

     การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีความหมายในเชิงหลักการหรือในเชิงวิธีการ ในเชิงหลักการแล้ว CQI จะเป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อน  Total Quality Management (TQM) คือการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงระบบงานเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับผลงานอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ ดังนั้นเราก็น่าจะรู้อยู่แล้วหรือคาดเดาได้ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ต้องดี เพียงแต่ว่าจะดีแค่ไหนเท่านั้นเอง 

     


(ที่มาของภาพ : http://www.kolokhospital.com

     ผมลองมานั่งคิดและรวบยอดเอาว่า กระบวนการเหล่านี้เป็นการมองคุณภาพในภาพรวมทั้งหมด พี่ท่านหนึ่งบอกผมว่าแนวคิดคุณภาพนั้น หากมองง่ายคือ "การหมุนวงล้อ PDCA อย่างต่อเนื่องไม่จบให้คุณภาพมันเกิดเรื่อยๆ"  หรือภาษาอังกฤษที่บอกว่า......

      CQI  is  an  analytical  decision  making  tool  which  allows  you  to  see  when  a  process  is working  predictably  and  when  it  is  not. Variation  is  present  in  any  process, deciding  when  key  to quality  control. (เป็นเสมือนเครื่องมือสำหรับช่วยการวิเคราะห์ตัดสินใจในกระบวนการทำงานที่สามรถคาดการณ์ล่วงหน้าไว้ได้ เนื่องจากมีความหลากหลายของกระบวนการทำงาน  จึงเป็นปกติอยู่องที่จะต้องมีการตัดสินใจอยู่เสมอว่าจะเลือกแบบไหนที่เหมาะสม ที่ดีที่สุดมาใช้ หรือแก้ไขกระบวนการใดเพื่อให้ได้คุณภาพที่ต้องการมากที่สุด)


CQI หัวใจคุณภาพ 


      CQI เป็นกระบวนการสากลซึ่งปรากฏอยู่ในการพัฒนาหรือการแก้ปัญหาทุกเรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วยการประเมินปัญหาของผู้ป่วย การวิเคราะห์สาเหตุ การสั่งการรักษา การติดตามประเมินผล รูปแบบนี้มีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ



1.คำถามพื้นฐาน 3 ข้อ ได้แก่

  • ตั้งเป้า (Set aim) อะไรคือสิ่งที่เราพยายามจะทำให้เสร็จ
  • เฝ้าดู(establish measure)  ใช้ตัวชี้วัดใดบอกว่าผลดีขึ้น
  • ปรับเปลี่ยน(develop changes) การเปลี่ยนแปลงใดบ้างที่จะทำให้คุณภาพดีขึ้น
2.การนำวงล้อ PDCA หรือ PDSA โดย  S หมายถึง  study มาศึกษาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง
  • Plan กำหนดวัตถุประสงค์ของการทดสอบ,คาดการณ์ว่าจะเกิดอะไรขึ้น พร้อมทั้งเหตุผล,จัดทำแผนการทดสอบ
  • Do ดำเนินการทดสอบ,บันทึกปัญหาและสิ่งที่ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้น
  • Study  มาศึกษาทางเลือกในการเปลี่ยนแปลง
  • Act สรุปผลว่าควรมีการปรับเปลี่ยนอย่างไร,เตรียมแผนสำหรบการทดสอบรอบต่อไป
   ผมลองนั่งนิ่งๆ คิดข้อมูลที่ตัวเองนำมาประมวลและมองถึงกระบวนการคุณภาพ กระบวนการดังกล่าวผมมองเป็น "การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ครับ" เพราะหากดูดีๆแล้วกระบวนการการดังกล่าวเป็นการคิดการวางแผนการลงมือทำ และการนำมาสรุปผลและเอามาปรับปรุง  แต่ที่สำคัญทั้งหมดเรียกว่าต่อเนื่องต้องคู่กันไปด้วย เพราะทั้งหมดคือระบบที่เชื่อมโยงทั้งคนที่ทำคือใครมาทำ และก่อนที่ใครจะทำก็ต้องเรียกว่ามีแผนและกระบวนยุทธอย่างไร หรือทรัพยากรที่จะนำมาใช้เป็นต้น 


เรื่องเล่าจาก CQI
     1. เมื่อผมมานั่งทำ CQI ผมนั่งครับและดูแบบผมซึ่งแต่ละเรื่องนั้นหากมองดีๆมันเชื่อมโยงระบบ  และแผนการทำงานพร้อมทั้งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจริงๆ ตั้งแต่เราต้องกำหนดเรื่อง เป้าหมาย ใครทำ ปัญหาคืออะไร แล้วต้องมาวิเคราะห์หาทางการทำงาน การวัดผล การพัฒนาต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งบทเรียนการรู้ที่ได้รับ  ผมเองขอบคุณที่ผมได้รับการเรียนรู้และต้องต้องทำ CQI เพราะเมื่อทำผมจะเข้าใจระบบนี้ และที่สำคัญการทำงานคุณภาพจะช่วยได้อย่างไร.. 

เรื่อง

(Project)  ............................

ผู้จัดทำ  (Team)  ................................

เป้าหมาย/วัตถุประสงค์ (Purpose) ............................

ที่มา / หลักการ ......................................

 ปัญหา (Problem) .....................................

การวิเคราะห์สาเหตุ (RCA) ......................................

กิจกรรมการพัฒนา (Process Improvement) .............................

ผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น : ผลการพัฒนา (Result) ............................

แผนการพัฒนาต่อเนื่อง (Continuous Plan) ............................................

บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learn) ...........................................

2.เรื่องนี้ผมไป รพ.วัดเพลง มาครับ..และดูกระบวนการผมต้องบอกก่อนนนะครับว่าผมลองคิดแบบ CQI เข้ามาจับในการฟังของผม ที่นั่นเองมีการพูดถึงเรื่อง "เสียงสะท้อนจากผู้ป่วย" เนื้อความจาก Blog นี้ครับ http://www.gotoknow.org/posts/539219  ของพี่พรทั้งหล้าครับ   เราจะเห็นการปรับระบบงาน ที่นำเอามาเสียงสะท้อนของผู้ป่วยและญาติ ระบบเหล่านั้นเองทั้งในเรื่อง IPD OPD กลุ่มต่างๆ กระบวนการเหล่านั้น หากฟังแล้วเป้าหมายคือ Seamless คือระบบที่ไร้รอยต่อ ตอนนั้นพี่วอญ่ามา Comment แล้วน่าคือ คือการทอให้เต็มผืนและเป็นผืนเดียว และผมเองก็เห็นด้วยมากครับ จากกรณีเรื่องเล่า รพ.วังเพลง จังหวัดราชบุรี TQM วงจรคุณภาพ เกิดแล้วพร้อมออกดอกผล แต่เขาเองก็หมั่นตัดแต่งด้วยกรรไกรแต่งกิ่ง PDSA พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย CQI อย่างต่อเนื่องครับ ....ขอให้งอดงามและออกผลเรื่อยๆไม่หยุดเพื่อผู้ป่วยครับ 
หรือ ที่อาจารย์ ดร.พจนา แย้มนัยนา ได้ให้ข้อคิดเพิ่มเติมคือ 
     วงจรเดมมิ่ง Deming Cycle เป็นเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพการทำงาน ส่วน TQM Total Qaulity Management เป็นหลักการพัฒนาคุณภาพนะคะ ...

     อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย คือTQM  มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ  1.การให้ความสำคัญกับลูกค้า(Customer   Oriented) 2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และ  3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม (Employees   Involvement) ในแต่ละหลักการก็มีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อยากรู้ว่าการดำเนินงานของแต่ละหลักการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ? ต้องแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาที่ตรงจุดไหน ก็สามารถเอาเทคนิค PDCA เข้าไปตรวจสอบการทำงาน PDCA จึงเป็นเทคนิคการตรวจสอบเพื่อที่จะขับเคลื่อน TQM ขององค์การนั้นให้มีการพัฒนาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป...



    แล้วท้ายสุดนี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขในวันหยุด Happy ba และขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านการ recall ของผมนะครับ พี่ๆทุกคน  มอบเพลงนี้ปิดท้าย I am free จากหมู่บ้านพลัม...ธรรมะร้องเพลง


I am a bird spreading out its wings

I am a flower, I am the sunshine
I am the earth receiving a seed
chorus
and I am free when my heart is open
Yes I am free when my mind is clear
oh dear brother, oh dear sister
let's walk together, mindfully.............................



ข้อมูลประกอบการเขียนจาก 
  1. คู่มือ HA 
  2. Blog พี่พรทั้งหล้า...ผู้สอนให้เข้าใจงานเสมอ 
  3. คำบอกเล่าจาก พี่ๆที่สำนักงาน...ทั้ง 2 ท่านที่สอนเสมอมา  (พี่เบ็ท พี่รัช )
  4. ขอบคุณบันทึกและสมุดจด
  5. ขอบคุณ http://www.kolokhospital.com
  6. และขอบคุณวันหยุดครับ ....
  7. ข้อเสนอแนะ ดร.พจนา  แย้มนัยนา

คำสำคัญ (Tags): #cqi#tqm#ha#sha#Re call#happy ba
หมายเลขบันทึก: 539496เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

CQI และ PDCA คือการพัฒนาคุณภาพ มีงาน CQI ในงานของลูกจ้างที่ รพ.ปากพะยูน

พี่วอญ่าสวัสดีครับ ขอยกประโยคหนึ่งที่พี่แสดงความคิดเห็นไว้มาประกอบ ผ้าห่มผืนนี้จะทอเต็มผืรด้ต้องใช้พลังเยอะอยู่ และดีใจที่ รพ ปากพยูนร่วมทำด้วยกันครับ และขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับพี่วอญ่า

สวัสดีค่ะคุณลูกหมู ...วงจรเดมมิ่ง Deming Cycle เป็นเทคนิคการตรวจสอบคุณภาพการทำงาน ส่วน TQM Total Qaulity Management เป็นหลักการพัฒนาคุณภาพนะคะ ...

อธิบายให้เข้าใจได้ง่าย คือTQM  มี หลักการที่สำคัญ 3 ประการ คือ  1.การให้ความสำคัญกับลูกค้า(Customer   Oriented)  2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) และ   3.สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วม  (Employees   Involvement) ในแต่ละหลักการก็มีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน อยากรู้ว่าการดำเนินงานของแต่ละหลักการมีผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ? ต้องแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาที่ตรงจุดไหน ก็สามารถเอาเทคนิค PDCA เข้าไปตรวจสอบการทำงาน PDCA จึงเป็นเทคนิคการตรวจสอบเพื่อที่จะขับเคลื่อน TQM ขององค์การนั้นให้มีการพัฒนาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป...


 

ขอบคุณที่มาทบทวนความจำ

ขออนุญาตเอาไปต่อยอดนะค่ะ

กำลังมีสิ่งที่ควรต้องปรับปรุงและพัฒนาในการบริการค่ะ

มีบทไตเติลเร้าความสนใจด้วยค่ะ

เข้ามาที่นี่ได้รับความรู้มากมายทุกครั้ง

ทั้งจากเจ้าของบ้านและจากผู้มาเยือน

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ


   ของคุณครับ พี่ดร.พจนาครับ ลูกหมูข้อข้อคิดที่พี่เพิ่มเติมเติมในบทความด้วยครับ และนำเอาไปปรับแก้ในบทความครับ CQI จะเป็นกระบวนการหนึ่งในการขับเคลื่อน TQM ลูกหมูเน้นแต่กระบวนการ CQI จนลืมหัวใจไปจริงๆ ขอบคุณมากนะครับที่มาเติมเต็มให้ครับ 

  ยินดีครับพี่กระติก และลูกหมูขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมชมนะครับ.. 

  ขอบคุณครับครูบ้านนี้ยังต้องสร้างค่อยๆไปครับ  ยังมาเรียนรู้ ขอบคุณนะครับครูที่เข้ามาเยี่ยมเยียนบ้านนี้ครับ..

  พี่นงนาทขอบคุณนะครับที่เข้ามาเยี่ยมชมและเป็นกำลังใจให้กันนะครับ.. 

เดือนหน้าทีม Fa ของรพ.สูงเนินมีโปรแกรมเยี่ยมภายใน (IS) งาน CQI ค่ะ 

ติดตามว่าแต่ละหน่วยงานดำเนินงาน สำเร็จลุล่วงไปถึงไหนแล้ว

  พี่คุณระพีครับเป็นกำลังใจให้นะครับและสู้ๆครับผม.. ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนกันนะครับ

ขอบคุณบันทึกดีๆ มากค่ะ

  พี่ tuknarak ขอบคุณมากครับที่เข้ามาเยี่ยมชมครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท