วิถีลำปลายมาศพัฒนา (๑)


 


ดีใจที่ได้มา

เรียนรู้วิถีลำปลายมาศพัฒนา

รู้จัก PBL, PLC  จากครูใหญ่วิเชียร  และคณะครู  ที่ถอดบทเรียนมาจากการทำจริง


ชอบวิถีอาหาร  กิจกรรมฐานกาย  ฐานใจต่าง ๆ  ฐานหัว

เห็นการใช้  "จิตศึกษา"  มาใช้สร้างกระบวนการบ่มเพาะตั้งแต่เด็กอนุบาล - ม. ๓


ใช้บ่มเพาะ  ใคร่ครวญ  ทบทวนตัวเองทุกวัน

ทุกขณะที่รู้ตัว  พยายามมีสติเสมอ


สามวันมีความสุข  และจะทำให้สุขสงบมากที่สุด

 ใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตให้มีความหมาย

.........................................................................................................................................................................

นั่นคือสิ่งที่เขียนส่งให้พี่มาลี    โรงพยาบาลลำลูกกา  ปทุมธานี   พี่ทันตแพทย์ผู้นำจัดให้มีการประชุมของอาจารย์ผู้ร่วมสอน  ในหลักสูตรผลิตทันตาภิบาล (เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข)  ที่นักศึกษาชั้นปีที่ ๒  จะมาอยู่กับเราที่โรงพยาบาล  ๙  เดือน


จากผลของการไปใช้ชีวิตในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา  อำเภอลำปลายมาศ  จังหวัดบุรีรัมย์  ๓  วัน  ๓  คืน  (แบบไม่ได้ออกจากรั้วโรงเรียนเลย)  ๒ - ๕  มิถุนายน  ๒๕๕๖  นี้เอง


คุณครูวิเชียร  ไชยบัง   คุณครูใหญ่ของโรงเรียนที่ครูป้อม  ราชิต  คุณครูคณิตศาสตร์คนดี  blogger  G2K  แห่งนี้ี่เอง


น่าทึ่งมาก  .......  แนวคิดแปลกแตกต่างจากกระแสหลักของระบบการศึกษาเมืองไทย  เมื่อ  ๑๐  ปีก่อน

 

 




โรงเรียนที่ไม่มีการสอบ

โรงเรียนที่ไม่มีเสียงระฆัง (และกริ่งดัง)

โรงเรียนที่ไม่มีดาวให้ผู้เรียน

โรงเรียนที่ไม่ต้องใช้แบบเรียน

โรงเรียนที่ไม่มีครูอบรมหน้าเสาธง

โรงเรียนที่ไม่ได้จัดลำดับความสามารถของผู้เรียน

โรงเรียนที่ครูสอนด้วยเสียงเบามาก

โรงเรียนที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกับลูก

โรงเรียนที่ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข













  เหล่าทันตแพทย์ทั่วประเทศผู้ต้องมีหน้าที่มาจัดกระบวนการเรียนรู้ให้น้อง ๆ นักศึกษาทันตาภิบาล


จะมีความรู้ในวิชาที่ต้องใช้เพื่อการทำงานสร้างเสริมสุขภาพ  ป้องกันและรักษาโรคในช่องปาก

 

มีทักษะวิชาชีพ  ทักษะชีวิตเพียงพอที่จะเป็นต้นแบบที่ดี   ที่จะทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความสุขในการเรียนรู้  และพัฒนาการเรียนรู้อยู่เสมอ





 มีสติระลึกรู้ตัวเสมอที่จะพัฒนาตนเองให้บรรลุ......วุฒิภาวะความเป็นครู

 โอ......ต้องเอาใจช่วยกันต่อนะคะ
......................................................................................................................................................................
คราวหน้าพบกับกระบวนการเรียนรู้ตลอด  ๓  วัน  และสิ่งที่ได้เรียนรู้

ขอบคุณนะคะที่ติดตาม
^_,^







หมายเลขบันทึก: 538220เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 23:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2013 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ได้ยินกิตติศัพท์ที่ดีมานานค่ะ แต่ยังไม่เคยไปค่ะ

         .....  สิ่งแวดล้ิอมดีจังเลย นะคะ ....... ชื่นชม ค่ะ  ....


บรรยากาศน่า (นอน) เรียนรู้มากค่ะ  

อยู่ไม่ไกลมาก  ควรติดต่อไปเรียนรู้ค่ะ  ยิ่งมีเด็ก ๆ รอบข้าง  ยิ่งควร

ขอบคุณนะคะคุณตั๊ก tuknarak


สิ่งแวดล้อมเป็นการสร้างบรรยากาศ  สร้างวิถีการเรียนรู้ค่ะพี่เปิ้น  Dr. Ple

โรงเรียนเขาน่าชื่นชมจริง ๆ ค่ะ

นอนเรียนมีความสุขมากจริงค่ะอาจารย์ Sila Phu-Chaya

ร่มรื่นมากค่ะอาจารย์ผศ. เดชา สว่างวงศ์  คุณครูวิเชียรและคณะครูตั้งใจปลูกต้นไม้มากค่ะ

ปีแรกปลูกชมพูพันธุ์ทิพย์  ๒๐๐  ต้น  ตายหมด  จึงเลือกพืชพันธุ์พื้นเมือง  และพืชที่เกิดเอง  ปล่อยให้โต  ได้เป็นป่าในโรงเรียนแบบบี้แหละค่ะ  น่าชื่นชมมาก ๆ

เป็นโรงเรียนที่น่าสนใจ  น่าศึกษาระบบการเรียนการสอนมาก ๆ จ้ะ ขอบคุณที่นำมาให้ได้ศึกษา

น่าสนใจมาก ๆ ทีเดียวเชียวค่ะ คุณมะเดื่อ  เด็ก ๆ น่ารัก  ยิ้มแย้ม  ดูมีความสุขมากกกกกก

วิ่งเข้าไปยืมหนังสือนิทานจากห้องสมุด  ถือกลับไปอ่านกันคนละเล่มสองเล่ม

การเรียนรู้ที่เกิดจากความสนใจ และสงสัย เพื่อเกิดการพัฒนาสมอง "โรงเรียนนอกกะลาจริงๆ"

เปิดกะลาที่เดียวเชียวค่ะคุณครูkrutoom

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท