การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย


การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย

 

 

 

 

 

 

การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย

2 ธันวาคม 2555

 

บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย อาจได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย 6 กรณี ดังนี้ [1]

 

กรณีที่ 1. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) , มาตรา 7 วรรคสอง แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2535 และ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

กรณีที่ 2. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ทวิ แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

กรณีที่ 3. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 23

กรณีที่ 4. ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ฯ พ.ศ. 2543 ข้อ 11 ตาม มาตรา 7 (1) (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 (การลงรายการสัญชาติไทยแก่ชาวไทยภูเขา ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วย การพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543)

(หัวข้อที่ 1, 2, 3, 4 มีรายละเอียดประกอบตอนท้าย)

กรณีที่ 5. โดยการแปลงสัญชาติเป็นไทยหรือขอถือสัญชาติไทยตามสามี ตามมาตรา 10 และ มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508

มาตรา 10 คนต่างด้าวซึ่งมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้ อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้

(1) บรรลุนิติภาวะแล้วตามกฎหมายไทยและกฎหมายที่บุคคลนั้นมีสัญชาติ

(2) มีความประพฤติดี

(3) มีอาชีพเป็นหลักฐาน

(4) มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักรไทยต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ยื่นคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยเป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี

(5) มีความรู้ภาษาไทยตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 9 หญิงซึ่งเป็นคนต่างด้าวและได้สมรสกับผู้มีสัญชาติไทย ถ้าประสงค์จะได้สัญชาติไทย ให้ยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ได้สัญชาติไทยให้อยู่ในดุลพินิจของรัฐมนตรี

[หมายเหตุ การขอสัญชาติไทยตามนัยนี้ พอจะแยกได้เป็น 3 กรณี คือ

(1) การขอแปลงสัญชาติ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508

(2) การขอถือสัญชาติไทยตามสามี (ไทย) โดยอาศัยมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 และ

(3) การขอแปลงสัญชาติของบุคคลที่เป็นสามีของหญิงไทย ในกรณีปกติ ตามมาตรา 10 และในกรณีพิเศษ ตามมาตรา 11(4) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508]

กรณีที่ 6. ”คนไทยพลัดถิ่น” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555

หมายความว่า ผู้ซึ่งมีเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น โดยเหตุอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของราชอาณาจักรไทยในอดีตซึ่งปัจจุบันผู้นั้นมิได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งและมีวิถีชีวิตเป็นคนไทย โดยได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด หรือเป็นผู้ซึ่งมีลักษณะอื่นทำนองเดียวกันตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

** มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “คนไทยพลัดถิ่น” ระหว่างบทนิยามคำว่า “คนต่างด้าว”และบทนิยามคำว่า “คณะกรรมการ” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508

(พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555)


 

สรุปวิธีการได้สัญชาติไทยของบุคคลธรรมดาสามารถได้มา 5 วิธี คือ


 

1. ตามหลักสืบสายโลหิต

2. ตามหลักดินแดน

3. โดยการสมรส

4. โดยการแปลงสัญชาติ

5. โดยผลของกฎหมาย

 

 

สิทธิในสัญชาติไทยของบุคคลธรรมดาใน 6 ลักษณะ  

รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, 17 มีนาคม 2555[2] สรุปดังนี้

 

(1) สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากบิดา (เพราะบิดาเป็นคนสัญชาติไทย)

(1.1) มาตรา 7(1)/2508 + 2535 ฉบับที่ 2 เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่เกิด

(1.2) มาตรา 21/2551 ฉบับที่ 4 เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2551

 

(2) สัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา (เพราะมารดาเป็นคนสัญชาติไทย)

(2.1) มาตรา 7(1)/2508 + 2535 ฉบับที่ 2 เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่เกิด

(2.2) มาตรา 10/2535 ฉบับที่ 2 เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ 2535

 

(3) สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน (เพราะเกิดในประเทศไทย)

(3.1) มาตรา 7(1)/2508 + 2535 ฉบับที่ 2

ไม่ตก มาตรา 7 ทวิ วรรค 1/2508 + 2535 ฉบับที่ 2

ไม่ตก มาตรา 8/2508

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ 2535

(3.2) มาตรา 7 ทวิ วรรค 2/2508 + 2535 ฉบับที่ 2

ไม่ตก มาตรา 8/2508

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด ? ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่า เป็นคนสัญชาติไทยโดยการเกิด รอความเห็นของศาลปกครองสูงสุด ?

มีผลตั้งแต่วันที่ มท. 1 ลงนามอนุญาตให้สัญชาติไทย

(3.3) มาตรา 11 วรรค 1/2535 ฉบับที่ 2

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2551

(3.4) มาตรา 23/2551 ฉบับที่ 4

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2551

 

(4) สัญชาติไทยโดยการสมรสกับชายสัญชาติไทย

(4.1) มาตรา 9/2508

เป็นสัญชาติไทยภายหลังการเกิด มีผลตั้งแต่ประกาศคำสั่ง มท. 1 เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

 

(5) สัญชาติไทยเพราะมีสถานะคนไทยพลัดถิ่น

(5.1) มาตรา 9/6 วรรค 1/2508 + 2555 ฉบับที่ 5

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่มีการรับรองสถานะคนไทยพลัดถิ่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(5.2) มาตรา 9/6 วรรค 2/2508 + 2555 ฉบับที่ 5

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่มีการรับรองสถานะคนไทยพลัดถิ่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(5.3) มาตรา 9/7/2508 + 2555 ฉบับที่ 5

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่มีการรับรองสถานะคนไทยพลัดถิ่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(5.4) มาตรา 5/2555 ฉบับที่ 5

เป็นสัญชาติไทยโดยการเกิด มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศ พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 ในราชกิจจานุเบกษา ?????

 

(6) สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติเป็นไทย

(6.1) มาตรา 10/2508 สำหรับคนต่างด้าวทั่วไป

เป็นสัญชาติไทยภายหลังการเกิด มีผลตั้งแต่ประกาศคำสั่ง มท. 1 เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

(6.2) มาตรา 11/2508 + 2551 ฉบับที่ 4 สำหรับคนต่างด้าวพิเศษ

เป็นสัญชาติไทยภายหลังการเกิด มีผลตั้งแต่ประกาศคำสั่ง มท. 1 เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

(6.3) มาตรา 11/1/2508 + 2551 ฉบับที่ 4 สำหรับคนต่างด้าวด้อยโอกาส

เป็นสัญชาติไทยภายหลังการเกิด มีผลตั้งแต่ประกาศคำสั่ง มท. 1 เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

(6.4) มาตรา 12 วรรค 2/2508 สำหรับบุตรผู้เยาว์ของคนต่างด้าว ที่ขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

เป็นสัญชาติไทยภายหลังการเกิด มีผลตั้งแต่ประกาศคำสั่ง มท. 1 เพื่ออนุญาตให้สัญชาติไทยในราชกิจจานุเบกษา

 

 

พระราชบัญญัติสัญชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

ปัจจุบัน พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555 ดังนี้


 

1. พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 82 ตอนที่ 62 ฉบับพิเศษ หน้า 1 วันที่ 4 สิงหาคม 2508

2. พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 [3] [2]

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 13 หน้า 3 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535

3. พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 94 วันที่ 8 เมษายน 2535

4. พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 39 ก หน้า 24 – 32 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551

5. พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนที่ 28 ก หน้า 1 – 4 วันที่ 21 มีนาคม 2555

 

 

รายละเอียดประกอบการได้สัญชาติไทยตามกฎหมายใน 6 กรณี (กล่าวเฉพาะกรณีที่ 1-4)

กรณีที่ 1. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1) , มาตรา 7 วรรคสอง แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

 

มาตรา 7 บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด

(1) ผู้เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย [4] ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย [5]

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง

“คำว่าบิดาตาม (1) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม” **

** มาตรา 7 วรรคสอง เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 6 และเดิม มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

*** พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 21 บทบัญญัติวรรคสองของมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย

*** พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 มาตรา 5 ให้ถือว่าคนไทยพลัดถิ่นที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยหรือได้สัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นคนไทยพลัดถิ่นที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการรับรองความเป็นคนไทยพลัดถิ่นตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้และให้มีสถานะเป็นผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดด้วย

 

กรณีที่ 2. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 ทวิ แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 และ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 [6]

 

มาตรา 7 ทวิ ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะที่เกิดบิดาตามกฎหมายหรือบิดาซึ่งมิได้มีการสมรสกับมารดาหรือมารดาของผู้นั้นเป็น

(1) ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย

(2) ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเพียงชั่วคราว หรือ

(3) ผู้ที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง

“ในกรณีที่เห็นสมควร รัฐมนตรีจะพิจารณาและสั่งเฉพาะรายหรือเป็นการทั่วไปให้บุคคลตามวรรคหนึ่งได้สัญชาติไทยก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยตามวรรคหนึ่งจะอยู่ในราชอาณาจักรไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้นเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง” **

** มาตรา 7 ทวิ เพิ่มโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

** มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 7

(มติ ครม.เมื่อ 28 สิงหาคม 2544 เห็นชอบให้บุตรที่เกิดในประเทศไทย ได้สัญชาติไทยโดยไม่จำกัดห้วงเวลาในการเกิด)

“บิดาและมารดาถือบัตรต่างด้าว” หากเป็นหนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (มีใบอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย) ถือว่าเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 บุตรได้สัญชาติไทย

แต่ถ้าบิดาและมารดาเป็นต่างด้าว บุคคลประเภท 6 (ต่างด้าวที่เป็นผู้อพยพ ผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้เข้าเมืองเพียงชั่วคราว และผู้ได้รับผ่อนผันให้พักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย) บุคคลประเภท 7 (บุตรของบุคคลประเภท 6) หรือบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน อื่น ๆ (บุคคลประเภท 0) [7] บุตรจะไม่ได้สัญชาติไทย แต่อาจขอสัญชาติไทยได้ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง และมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม

(พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 มาตรา 22 บทบัญญัติวรรคสามของมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้ที่เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย)

 

กรณีที่ 3. ตามผลของกฎหมาย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 23


 

มาตรา 23 “บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ 1 และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ 2 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ถ้าบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทาง ทะเบียนราษฎร และเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย ให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวัน ที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับ แต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียน ราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน ราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน” **

** ตามมาตรา 23 แห่ง พรบ.สัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 (เกิดตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 ให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551)

*** และระเบียบฯ อื่นที่เกี่ยวข้อง และหนังสือสั่งการกระทรวงมหาดไทย หนังสือสั่งการตอบหารือกรมการปกครอง และหนังสือสั่งการสำนักทะเบียนกลาง ฯลฯ [8]

 

สรุป มาตรา 23

1. บุคคลเป้าหมายคือคนที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535

2. ถ้าเกิดตั้งแต่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 จะต้องมีบิดาหรือมารดาเกิดในราชอาณาจักรไทย

3. บุตรของบุคคลตามข้อ 1 หรือ 2 เกิดหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 จะได้สัญชาติไทยตามผลของกฎหมาย (บิดาหรือมารดา ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551)


 

หมายเหตุบุคคลที่จะได้รับการลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา 23 ประกอบด้วย 3 กลุ่ม แบ่งตามวันที่เกิดได้แก่

กลุ่มที่ 1 เกิดก่อนวันที่ 14 ธันวาคม 2515 (ถูกถอนสัญชาติไทยตาม ปว.337 ข้อ 1)

กลุ่มที่ 2 เกิดระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2515 ถึงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2535 (ไม่ได้สัญชาติไทยตาม ปว.337 ข้อ 2) และ

กลุ่มที่ 3 เป็นบุตรของกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ที่เกิดก่อนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551

ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ากลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 จะมีบิดามารดาเป็นบุคคลที่เกิดต่างประเทศส่วนกลุ่มที่ 3 จะต้องมีบิดามารดาเป็นบุคคลที่เกิดในประเทศไทย

 

ปว. 337 ทำให้บุคคลเสียสัญชาติไทย 6 กลุ่ม
 

1) มีบิดาเป็นไทย ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข

2) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาไทย

3) มีบิดาเป็นต่างด้าวที่มีใบ ฯ ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข

4) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาต่างด้าวที่มีใบ ฯ

5) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข

6) มีบิดาเป็นต่างด้าวเข้าเงื่อนไข ไม่สมรสกับมารดาต่างด้าวเข้าเงื่อนไข

กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 ได้ไทยกลับคืนตามมาตรา 7 และมาตรา 10 พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

ส่วนกลุ่มที่ 3 ถึง 6 ที่เกิดก่อนวันที่ 26 ก.พ.2535 ได้คืนสัญชาติไทย ตามมาตรา 23 พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

 

กรณีที่ 4. ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ฯ พ.ศ.2543 ข้อ 11 ตาม มาตรา 7 (1) (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535 (การลงรายการสัญชาติไทยแก่ชาวไทยภูเขา ตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วย การพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543)

นอกจากนี้จะมีระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543

 

*** ข้อ 11 ชาวไทยภูเขาที่จะได้รับการลงรายการสัญชาติไทยโดยเพิ่มชื่อ และรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) จะต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

* ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยระหว่างวันที่ 10 เมษายน 2456 จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 เป็นบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย เว้นแต่จะพิสูจน์เป็นอย่างอื่น

มาตรา 7บุคคลต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ***

(1) ผู้ที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

(2) ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ยกเว้นบุคคลตามมาตรา 7 ทวิ

(*** มาตรา 7 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535)

 

ข้อ 12 ผู้ยื่นคำร้อง อาจอ้างเอกสารดังต่อไปนี้เป็นพยานเพื่อใช้พิสูจน์ข้อเท็จจริงอันทำให้ได้รับสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ

(1) เอกสารทางทะเบียนราษฎร หรือตามมติคณะรัฐมนตรี

1.1 ทะเบียนชาวเขา แบบ ท.ร.ชข. ระหว่างปี 2512-2513

1.2 ตามโครงการเลขประจำตัวประชาชน เมื่อ 20 กรกฎาคม 2525

1.3 ทะเบียนสำรวจบัญชีบุคคลในบ้าน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 24 เมษายน 2527 (2528-2531)

1.4 ทะเบียนประวัติบุคคลบนพื้นที่สูง (2533-2534)

1.5 ทะเบียนประวัติชุมชนบนพื้นที่สูง (2541-2542)

1.6 ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13)

(2) เอกสารต่าง ๆ ที่ทางราชการออกให้ เช่นใบรับแจ้งการเกิด ใบรับรองการเกิด สูติบัตร

(3) เอกสารอื่น ๆ ที่มีรายละเอียดข้อมูลสามารถเป็นข้อมูลในการพิสูจน์ข้อเท็จจริง



 

NB : อ้างอิงประกอบเพิ่มเติม (เป็นเอกสาร/ข้อความที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากเชิงอรรถ footnote)

กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ หนังสือสั่งการ คู่มือฯ 
 

[1] พระราชบัญญัติสัญชาติ 

[1.1]“พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555”
 

ลิงค์ดาวน์โหลด พรบ.แก้ไขถึงฉบับที่ 5 (Multiversional, both Word & PDF files)

(New Upload : 18 June 2016.ไฟล์เวิร์ดอาจไม่เสถียร)
 

http://www.mediafire.com/download/0mc733g63u20bg4/NationalityAct2508toNo5PSK2555-999arabicno1-991.doc
 

http://www.mediafire.com/download/524ocxyolxgpdlc/NationalityAct2508toNo5PSK2555-999arabicno1-991.pdf

[1.2] พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
 

มาตรา 10 บทบัญญัติมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้มีผลใช้บังคับกับผู้เกิดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย
 

 

[1.3] พ.ร.บ. สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มาตรา 23 บรรดาบุคคลที่เคยมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ 1 และผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยแต่ไม่ได้สัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515 ข้อ 2 รวมถึงบุตรของบุคคลดังกล่าว ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ถ้าบุคคลผู้นั้นอาศัยอยู่จริงในราชอาณาจักรไทยติดต่อกันโดยมีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร และเป็นผู้มีความประพฤติดี หรือทำคุณประโยชน์ให้แก่สังคมหรือประเทศไทย ให้ได้สัญชาติไทยตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เว้นแต่ผู้ซึ่งรัฐมนตรีมีคำสั่งอันมีผลให้เป็นผู้มีสัญชาติไทยแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ผู้มีคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งยื่นคำขอลงรายการสัญชาติในเอกสารการทะเบียนราษฎรต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาในปัจจุบัน

 

[2] พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร 
 

[2.1]พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 203 ฉบับพิเศษ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2534 หน้า 97-120, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/A/203/97.PDF 
[2.2]พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 38 ก วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 13-22, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/038/13.PDF

[2.3]พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 49 ก วันที่ 14 เมษายน 2562 หน้า 33-44, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/049/T_0033.PDF

#พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562 มาตรา 19/2

มาตรา 19/2 เมื่อได้รับแจ้งการเกิดตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19/1 แล้ว ให้นายทะเบียนผู้รับแจ้งดำเนินการพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติของเด็กตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แล้วดำเนินการต่อไปตามมาตรา 20 ทั้งนี้ ให้ผู้พบเด็ก ผู้รับเด็กไว้ และผู้แจ้งการเกิด ให้ความร่วมมือกับนายทะเบียนผู้รับแจ้งในการดำเนินการพิสูจน์ตามที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งร้องขอ ในกรณีที่ไม่อาจพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติได้ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นจัดทำทะเบียนประวัติและออกเอกสารแสดงตนให้เด็กไว้เป็นหลักฐาน เว้นแต่เด็กนั้นมีอายุครบห้าปีแล้วให้นายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นออกบัตรประจำตัวให้แทน ตามระเบียบและภายในระยะเวลาที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด

ผู้ซึ่งได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติและเอกสารแสดงตนตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีหลักฐานแสดงว่าได้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี และมีคุณสมบัติอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนด ให้ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทยได้ และเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องมีสถานะถูกต้องตามเงื่อนไขและมีคุณสมบัติครบถ้วนดังกล่าว ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศให้ผู้นั้นมีสัญชาติไทย ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และให้ถือว่าผู้นั้นมีสัญชาติไทยตั้งแต่วันที่รัฐมนตรีมีประกาศ

ระยะเวลาสิบปีตามวรรคสองให้นับแต่วันที่จัดทำทะเบียนประวัติหรือออกเอกสารแสดงตน เว้นแต่จะมีหลักฐานอันชัดแจ้งแสดงว่าได้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรมาก่อนหน้านั้นตามระเบียบที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด ก็ให้นับแต่วันที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรตามที่ปรากฏจากหลักฐาน

ผู้ซึ่งได้รับสัญชาติไทยตามวรรคสอง ถ้าภายหลังปรากฏหลักฐานว่ามีกรณีไม่ถูกต้องตามเงื่อนไขหรือขาดคุณสมบัติ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศเพิกถอนการให้สัญชาตินั้นโดยพลัน

ให้นำความในมาตรานี้มาใช้บังคับกับบุคคลที่เคยอยู่ในการอุปการะของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนตามมาตรา 19/1 แต่หน่วยงานดังกล่าวได้อนุญาตให้บุคคลอื่นรับไปอุปการะ และบุคคลที่มิได้แจ้งการเกิดตามมาตรา 19 หรือมาตรา 19/1 ซึ่งได้ยื่นคำร้องตามมาตรา 19/3หรือขอเพิ่มชื่อตามมาตรา 37แต่ไม่อาจพิสูจน์สถานการณ์เกิดและสัญชาติได้ด้วยโดยอนุโลม”

*** รวม พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2534 แก้ไขถึง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562

upload file word 20 nov 2021, https://www.mediafire.com/file/iwuv0hd9sqiqhvk/RegistrarAct2534toNo3-2562.docx/file 

upload file PDF 20 nov 2021,
https://www.mediafire.com/file/qtdcjrf1kg5wx65/RegistrarAct2534toNo3-2562.pdf/file   

[3] มติคณะรัฐมนตรี 
[3.1] มติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 26 มกราคม 2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาและอาศัยอยู่มานาน
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/38617 

 

[4] กฎกระทรวง
[4.1] กฎกระทรวงกำหนดฐานะและเงื่อนไขการอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. 2560 ออกตามความในมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 85 ก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2560 หน้า 3-5, 

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/085/3.PDF

[5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย
[5.1] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแก่บุคคลที่อพยพเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและอาศัยอยู่มานานตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 129 ตอนพิเศษ 177 ง หน้า 54 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555, http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%A402/%A402-2e-2555-a0007.pdf

[5.2] ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุณสมบัติอื่นของผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอมีสัญชาติไทย ตามมาตรา 19/2 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562, 
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 126 ง วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 หน้า 9-10, 
 

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/126/T_0009.PDF

[6]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร
[6.1]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2535, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 180 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 หน้า 1-50, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/180/1.PDF 

[6.2]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 180 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 หน้า 51-52, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/180/51.PDF

[6.3]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2544, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 180 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 หน้า 53-57, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/180/53.PDF

[6.4]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2545, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 180 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 หน้า 58-69, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/180/58.PDF

[6.5]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2551, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนพิเศษ 180 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 หน้า 70-80, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/E/180/70.PDF

[6.6]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2561, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 261 ง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 หน้า 8-10, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/261/T_0008.PDF

[6.7]ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 158 ง วันที่ 21 มิถุนายน 2562 หน้า 1-16, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/158/T_0001.PDF 

[6.8] ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564
, ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 ประกาศเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ข้อ 115 ข้อ 116 ข้อ 117 (ยกเลิก) ข้อ 120 
ดูหนังสือสำนักทะเบียนกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309.1/ว 257 ลงวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เรื่อง การแก้ไขระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564
https://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/64/25641029/mt03091_v257.PDF 
 

*** รวม ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร พ.ศ.2535 แก้ไขถึง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2564 (update แล้วเมื่อ 9 ธันวาคม 2564) 

PDF File Upload ขนาดไฟล์ 659.63 kb 9 dec 2021,

https://www.mediafire.com/file/tszqlykbj3housk/TabianRegistraReg2535toNo8-2564update.pdf/file

DOC File Upload ขนาดไฟล์ 210.91 kb 9 dec 2021,

https://www.mediafire.com/file/brmmh70vmbt82nq/TabianRegistraReg2535toNo8-2564update.docx/file


[7]ระเบียบสำนักทะเบียนกลางสำคัญ
[7.1] ระเบียบสำนักทะเบียนกลางว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543, ฉบับราชกิจจานุเบกษา, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 117 ตอนที่ 86 ง วันที่ 28 สิงหาคม 2543 หน้า 27-48, (LIRT คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ), https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/223225 & https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php

& การได้สัญชาติไทยตามระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการพิจารณาลงรายการสถานะบุคคลในทะเบียนราษฎรให้แก่บุคคลบนพื้นที่สูง พ.ศ. 2543 (สรุปสาระสำคัญและแผนผัง)https://www.bora.dopa.go.th/nationclinic/NewHTML/Section43.htm

[7.2] ระเบียบสำนักทะเบียนกลาง ว่าด้วยการจัดทำทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน พ.ศ. 2562, 
ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 158 ง วันที่ 21 มิถุนายน 2562 หน้า 17-25, 
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/158/T_0017.PDF

[8] ประกาศสำนักทะเบียนกลาง
[8.1]ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขอมีสัญชาติไทย และการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอมีสัญชาติไทย ตามมาตรา 19/2วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562,  
หนังสือสำนักทะเบียนกลาง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309/ว 232 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2562, http://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/62/mt0309_v232.pdf

[9]หนังสือสั่งการสำคัญ
[9.1] หนังสือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ด่วน ที่ สม 0001/57 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2554 เรื่อง ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 และเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553, http://www.nhrc.or.th/getattachment/738e748f-c480-4b2a-8f75-c7aa439915b0/ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลตามยุทธศาสตร์การจั.aspx

[9.2]หนังสือกรมการปกครอง ที่ มท 0309.1/ว 3115 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2558 เรื่อง โครงการกำหนดสถานะให้แก่บุคคลไร้สัญชาติ ประจำปี 2558, http://118.174.31.163/images/snbt/str/book/58/05/mt03091_v3115.pdf 
 

[9.3]หนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309/ว 11682 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติกรณีเด็กและบุคคลไร้รากเหง้า, 
 

http://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/62/mt0909_v11682.pdf

[9.4]หนังสือกรมการปกครอง ด่วนมาก ที่ มท 0309/ว 13282 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 เรื่อง การออกหนังสือรับรองความเป็นคนไร้รากเหง้า, 

https://www.bora.dopa.go.th/images/snbt/book/62/mt0309_v13282.pdf


[10]คู่มือและแนวปฏิบัติ
[10.1] คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย (ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2560) กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 เดือนมีนาคม 2561 โดย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 
https://www.moe.go.th/moe/upload/news20/FileUpload/50931-4205.pdf

[11]บทความน่าสนใจ

[11.1] “การอุ้มบุญ”,ข้อมูลจาก คมชัดลึก, 20 มิถุนายน 2550
 

กฎหมายเรื่องอุ้มบุญ ยังไม่มีการออกกฎหมายรับรองเนื่องด้วยเหตุผลหลายประการ มีแต่เพียงแนวคิดในเรื่องนี้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ ลองอาจข่าวนี้ดูนะคะ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง

เมื่อ 20 มิถุนายน 2550 นายนันทน อินทนนท์ ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยเรื่อง การผสมเทียมโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน กล่าวถึงความเป็นมาของร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ. ... ว่า การให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนคู่สามีภรรยาที่มีบุตรยาก ด้วยการผสมเทียมจนเกิดการปฏิสนธิเป็นตัวอ่อน จากนั้นนำไปฝังตัวในมดลูกของหญิงอื่นที่รับตั้งครรภ์แทนจนเกิดการตั้งครรภ์ หรือเรียกว่า การ “อุ้มบุญ” นั้น เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย แต่เป็นความลับ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองการอุ้มบุญเป็นการเฉพาะ

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงจัดโครงการวิจัยฯ นี้ขึ้น และพัฒนาสู่การร่าง พ.ร.บ.การรับตั้งครรภ์แทน พ.ศ. ... คำนึงถึงผลกระทบต่อหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน เด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ การคุ้มครองสามีภรรยาด้านสิทธิของการเป็นบิดามารดาของเด็กที่เกิดจากการอุ้มบุญ โดยร่างกฎหมายมี 3 หมวด 19 มาตรา หมวดแรกเป็นหมวดสิทธิ หมวดที่ 2 ความเป็นบิดามารดาของเด็กอุ้มบุญและหมวด 3 การควบคุมการรับตั้งครรภ์แทน ซึ่งวางเกณฑ์ไว้ 7 ข้อ คือ หญิงที่จะอุ้มบุญและคู่สมรสต้องมีสัญชาติไทย หญิงที่จะตั้งครรภ์แทนต้องอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่ใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส สามีของผู้ที่จะอุ้มบุญต้องยินยอมด้วย

“การตั้งครรภ์ต้องมิใช่เพื่อการค้า การตั้งครรภ์ในกรณีอุ้มบุญต้องทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว นำไข่และอสุจิของคู่สามีภรรยาเท่านั้น ไม่ใช่เชื้อหรือไข่ที่ได้รับการบริจาค ซึ่งเกณฑ์ต่างๆ ที่ออกมานี้เพื่อมิให้ประเทศไทยกลายเป็นแหล่งให้ชาวต่างชาติมาทำการอุ้มบุญ” นายนันทน กล่าว

[11.2] ชำนาญวิทย์ เตรัตน์, ”สถานะของบุคคล”, สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, มปป., www.law.moi.go.th/2551/article010.doc

(ปัจจุบันเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปไกล ทำให้มนุษย์สามารถกำเนิดเกิดมาได้โดยการผสมเทียม การโคลนนิ่ง การทำศัลยกรรมผ่าตัดแปลงเพศการกำเนิดมามีสองเพศ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหาในทางกฎหมายเกี่ยวกับสถานะของบุคคลตามมาในหลายเรื่อง เป็นกรณีที่สถานะของบุคคล ที่กฎหมายไม่รับรอง อาทิ กรณีเด็กที่เกิดจากการผสมเทียมโดยให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทน(อุ้มบุญ))

[11.3] ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล (ยกร่างคำฟ้อง), ”คำฟ้องต่อศาลปกครองกลางกรณีขอสัญชาติไทยนายจอบิ”, 8 มีนาคม 2548, http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=127&d_id=127

[11.4] ปุณฑวิชญ์ ฉัตรมงคลชาติ, ”การยื่นคำขอลงรายการสัญชาติไทยตาม มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ของวิษณุ”, 18 มกราคม 2554, https://www.gotoknow.org/posts/421453

[11.5] พวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์, สรุปบันทึก ความจำเป็นในการปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยสิทธิในสถานะบุคคลตามกฎหมายเพื่อพัฒนาการใหม่ของอาเซียน ASEAN (ตอนที่ 2), 6 พฤศจิกายน 2555, https://www.gotoknow.org/posts/507764

 


 

[1] การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย”, http://118.174.31.136/data_pdf/km7_53.ppt & “การได้สัญชาติไทยของบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย”, http://www.bora.dopa.go.th/nationclinic/images/document/sss23.pdf

[2] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, “การได้สิทธิในสัญชาติไทยของบุคคลธรรมดา ภายใต้ พรบ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2 และ 3) พ.ศ. 2535 พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 พรบ.สัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555”, 17 มีนาคม 2555,

& รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, “ร่างรัฐธรรมนูญที่จะประชาพิจารณ์รับรองคนสัญชาติไทยที่มีองค์ประกอบต่างด้าวอย่างไรกัน ? .มองผ่านมาร์คแอนโทนี่ โรสแมรี่ และชานนท์”, 11 เมษายน 2559, โพสต์ 15 พฤษภาคม 2559, https://www.gotoknow.org/posts/606441 & https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/152/897/original_PVIL-Nationality-MP-Overview-on-Thai-Nationality-Law2.jpeg

[3] พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=82&s_id=27&d_id=26

& ประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2538 เรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งเคยมีสัญชาติไทยก่อนวันที่พระราชบัญญัติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ใช้บังคับได้สัญชาติไทย

[4] กรณีเกิดในประเทศไทย ”พ่อไทย หรือ แม่ไทย จะสมรสหรือไม่ ลูกได้สัญชาติไทย โดยการเกิดตามสายโลหิตหรือหลักดินแดน” (ดู “การพิจารณาสัญชาติของบุคคล”, http://203.157.219.17/itcmpo/index.php/download/list-of-files?download=7:nation-98 )

[5] การได้สัญชาติไทยของบุคคล - กรณีบุตรที่เกิดนอกประเทศไทย

1) ถ้าบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมารดาสัญชาติไทย จะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ก็ตาม บุตรย่อมได้สัญชาติไทย

2) ถ้าบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และมารดาเป็นคนสัญชาติอื่น บิดาต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา บุตรจึงจะได้สัญชาติไทยตามบิดา ซึ่งการจดทะเบียนสมรสนั้นจะจดตามกฎหมายของต่างประเทศหรือจดทะเบียนสมรสที่สถานเอกอัครราชทูตไทยก็ได้

3) ถ้ามารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย และบิดาเป็นคนสัญชาติอื่น บิดาจะจดทะเบียนสมรสกับมารดาหรือไม่ก็ตาม บุตรย่อมได้สัญชาติไทยตามมารดา

- กรณีที่บุตรเกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 (ค.ศ. 1992) โดยมีมารดาสัญชาติไทย บุคคลนั้นจะได้สัญชาติไทยโดยการเกิด โดยมีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่เกิด ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2535

(ดู สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส, “การได้สัญชาติไทยของบุคคล – กรณีบุตรที่เกิดนอกประเทศไทย”, http://www.thaiembassy.fr/บริการงานกงสุล/งานทะเบียนราษฎร-ทะเบียน/สัญชาติ/ )

& ดู บันทึกความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 574/2535 เรื่องการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 (กรณีของเด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง)

ข้อเท็จจริง เด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง เกิดเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2523 (ค.ศ.1980) ในสหราชอาณาจักร โดยที่ในขณะเกิดบิดา คือ นายเกษม บุญรุ่งเรือง เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมารดา คือ นางคาเรน แอน บุญรุ่งเรือง มีสัญชาติอังกฤษนั้นยังไม่ได้สมรสกันตามกฎหมายต่อมาหลังจากเด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง เกิดแล้วคือในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) บิดาและมารดาของเด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง จึงได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย ณ สำนักทะเบียน District of Haymarket, Edinburgh สหราชอาณาจักร ซึ่งมีผลทำให้เด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายเกษม บุญรุ่งเรือง ผู้เป็นบิดาตามนัยมาตรา 1547 และมาตรา 1557 (1) แห่งปพพ.

เห็นว่า กรณีของเด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง ซึ่งเป็นผู้เกิดโดยบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้มีสัญชาติไทย แม้ว่าจะเกิดนอกราชอาณาจักร และก่อนบิดามารดาจดทะเบียนสมรสกันก็ตาม แต่ภายหลังบิดามารดาได้จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายแล้ว กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เด็กชายชโนดม บุญรุ่งเรือง จึงมีสิทธิได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิดตามบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายตามหลักสืบสายโลหิตตามมาตรา 7 (1) แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535, http://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw=cmd&year=2535&lawPath=c2_0574_2535

[6] ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การสั่งให้บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไปและการให้สัญชาติไทยเป็นการเฉพาะราย ลงวันที่ 26 กันยายน 2555”, ตามมาตรา 7 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (รจ. หน้า 50 เล่ม 129 ตอนพิเศษ 177 ง วันที่ 23 พฤศจิกายน 2555), http://www.tobethai.org/newsite/sites/default/files/WedDecember2012-2-59-56-5-12-55.pdf

& หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ที่ มท 0322/ว.745 ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 เรื่อง แนวทางการวินิจฉัยสัญชาติของบุคคลตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535

& สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ”การได้สัญชาติไทยตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 7 ทวิ(ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2553)”, http://www.bora.dopa.go.th/nationclinic/NewHTML/Section7.htm

[7] รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน : คือใคร ? มีสิทธิแค่ไหนในประเทศไทย ?, 17 พฤศจิกายน 2552, http://gotoknow.org/blog/people-management/314147 &

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=482&d_id=481

(บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ก็คือ บุคคลที่รัฐไทยรับฟังว่า ยังพิสูจน์สถานะทางกฎหมายว่าด้วยสิทธิในสัญชาติไม่ได้ หรือพิสูจน์ได้แล้วว่า เป็นคนต่างด้าวก็ยังส่งกลับประเทศต้นทางไม่ได้)

บุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 6 ประเภท (บุคคลประเภท 0) ตามมติ ครม. 18 มกราคม 2548 (6 กลุ่มเป้าหมาย)

แต่ มติ ครม. 7 ธันวาคม 2553 เห็นชอบตามที่ สมช.เสนอ ใน 4 กลุ่มเป้าหมาย (ยกเว้นกลุ่มที่ 5 - 6)ได้แก่

1 บุคคลที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยที่มีความเกี่ยวพันกับผู้ที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติชนกลุ่มน้อยไว้เดิมแต่ตกสำรวจ (มิได้มีเชื้อสายไทย) เฉพาะชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ (มติ ครม.ให้อาศัยอยู่ถาวร 13 กลุ่ม อาศัยอยู่ชั่วคราว 5 กลุ่ม) อาศัยอยู่เป็นเวลานาน (10 ปี) และอพยพเข้ามาก่อน 18 มกราคม 2538

2 เด็กนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ (รร.สำรวจ) และที่จบการศึกษา(ระดับอุดมศึกษา)แล้ว ได้รับสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย

3 บุคคลไร้รากเหง้า (สำรวจปี 2550-2552) เกิดและอาศัยอยู่อย่างน้อย 10 ปี และถูกบุพการีทอดทิ้ง

( ดูปทิตตา ไชยปาน, ปัญหาการจัดการกับคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติเพราะไร้รากเหง้าในประเทศไทย,5 พฤศจิกายน 2555, https://www.l3nr.org/posts/528598

บุคคลไร้รากเหง้า หมายถึง คนที่ไม่รู้หรือไม่อาจพิสูจน์ได้ว่า ตนเกิดที่ไหน เกิดเมื่อไหร่ หรือบิดามารดาเป็นใครเนื่องจากบุคคลไร้รากเหง้าดังกล่าวไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลโดยรัฐใดเลยบนโลกใบนี้)

กรณีมิได้เกิดในประเทศไทย ต้องอพยพมาก่อน 18 มกราคม 2538 (10 ปี) รวมถึงมีหนังสือรับรอง จะได้รับสถานะเป็นบุคคลต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย

4 บุคคลที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ

5 กลุ่มแรงงาน 3 สัญชาติ (พม่า ลาว และกัมพูชา) (บุคคลประเภท 00)

6 กลุ่มต่างด้าวอื่น ๆ (ที่ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศต้นสังกัดได้)ตาม ทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ท.ร.38 ก.) และ ตาม แบบรับรองรายการทะเบียนประวัติสำหรับบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน (ท.ร.38 ข.) หากบุคคลดังกล่าวมีการลงรายการในทะเบียนบ้าน และได้สัญชาติไทย ก็จะเป็น บุคคลประเภท 8

[8] หนังสือ กรมการปกครอง ที่ มท 0309.1/ว 5527 ลงวันที่ 30 มีนาคม 2552 เรื่อง การขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 23 แห่ง พรบ.สัญชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551, http://118.174.31.136/STR/data_pdf/mt03091_v5527.pdf

& ดูใน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) สำนักบริหารการทะเบียน, http://118.174.31.147:8085/ebook/index.jsp?booktype=2

& สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ”การได้สัญชาติไทยมาตรา 23 ตาม พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม”, http://www.bora.dopa.go.th/nationclinic/NewHTML/Section23.htm



ความเห็น (66)

ดี ได้รู้ เกียว กับปัญหา ต่างๆ ของ รายงาน ในน ประเทศ

และผู้ที่เกิดในประเทศไทย ไม่มี สัญชาติ ไทย

ครูป้าแมวอยู่กับเด็กชนเผ่า 11-12 เผ่ามา 40 ปี แต่ไม่มีปัญญาช่วยเด็กที่ไม่มีเลข 13 หลักให้ได้รับความช่วยเหลืองบประมาณอุดหนุนการศึกษาจากรัฐในปี 2555จนถึงปี  2556  นี้  เพราะระเบียบของการจัดการศึกษาในสภาพโรงเรียนเอกชน  ป้าแมวก็ไม่อยากให้ใครเดือดร้อนก็จะไม่รับเด็กกลุ่มนี้เข้าเรียน  แต่ก็มีเหตุบังคับ 2 ประการ  คือประการที่หนึ่งกฏหมายห้ามปฏิเสธการรับเด็กที่มีความประสงค์เข้าเรียนในโรงเรียน   ประการที่สายตาของผู้ปกครองและเด็กมองเราอย่างมีความหวังว่า " ช่วยหนูเถอะหนูอยากเป็นคนที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย  สติปัญญาและจิตใจ " ป้าแมวอยากให้คนจัดการศึกษาตั้งแต่รากฐานการศึกษาที่ใดๆก็แล้วแต่ไปจนถึงท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาช่วยด้วย  ป้าแมว  60  กว่าแล้วอ่อนแรงเต็มทน  ขณะนี้ก็เปิดดู  พ.ร.บ. สัญชาติ  7  ทวิ  วรรค  2  ที่แก้ไขเมื่อ 3  ธันวาคม  2555  ไม่ทราบว่าจะช่วยเด็กไร้สัญชาติอีก  400  กว่าคนในโรงเรียนยังไงต้องขอตั้งหลักศึกษาทบทวนความรู้เดิมจาก  ดร.แหวว /อ.วรรณี / อ.เพชร หนูๆทั้งหลายจาก ม.ธรรมศาสตร์ / ม. เชียงใหม่ / ม.นเรศวร ฯลฯ  ถ้าใครถามว่าใครใช้ให้ทำ   ก็ต้องบอกว่าข้าพเจ้า......อยากทำเองค่ะ

 

ครูป้าแมวอยู่กับเด็กชนเผ่า 11-12 เผ่ามาเป็นระยะเวลา 40 ปี  และช่วยเหลือเด็กไร้สัญชาติมาเท่ากับเวลาทำงาน  แต่ไม่เคยมีปัญหาหนักเท่ากับปี 2555-2556 ที่เด็กไม่มีเลข 13  หลักไม่ได้รับงบประมาณการอุดหนุนการศึกษาถึง 60 กว่าคน  ความจริงรัฐไม่ช่วยเด็กเราก็ไม่อยากรับ แต่ถ้าไม่รับก็ผิดกฏหมายและอีกประการหนึ่งสายตาผู้ปกครองและเด็กที่มองเราและอยากจะบอกว่า" ขอโอกาสการศึกษาให้ได้พัฒนาทั้งร่างการ  สติปัญญาและจิตใจ "  บางคนก็ต่อว่าเราแรงๆที่ช่วยเด็กกลุ่มนี้แต่อยากจะบอกว่าคุณๆที่เสียภาษีและซื้อของในประเทศไทยทุกท่าน   ท่านได้เสียสละเงินเพื่อเป็นการป้องกันความมั่นคงประเทศด้วยนะคะ  ถ้าจะถามอีกว่าใครใช้ให้ข้าพเจ้าทำก็ขอเรียนให้ทราบว่าทำเองเพราะรักบ้านเมืองของเรา  ขณะนี้กำลังเปิดอ่าน  มาตร 7  ทวิ  วรรค  2  แก้ไขครั้งล่าสุด  3  ธันวาคม 2555 เพื่อให้นักเรียนไร้สัญชาติ 400  กว่าคนในโรงเรียนได้พิจารณานำไปเป็นหลักเกณฑ์ขอสัญชาติต่อไป  อยากขอนักการศึกษานักกฏหมายพิจารณาช่วยเด็กด้อยโอกาสที่มีผู้อุปการะที่อยู่ที่กินแต่ไม่มีที่เรียนเพราะไม่มีเลข 13  หลักและที่อยากขอมากที่สุดขอท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาสั่งการให้เด็ดขาดว่าจะให้ปฏิบัติอย่างไร   ขอบคุณทุกท่านที่มีวิสัยทัศน์ช่วยการศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส

ขอเอาใจช่วยครูป้าแมวครับ ผู้เขียนพอจะแนะนำปรึกษาได้บ้าง เพราะเรื่องสัญชาติมีคนรู้น้อย  และเจ้าหน้าที่ที่รู้ไม่จริงจะเกรงกลัว ทำผิดทำถูก สุดท้ายชาวบ้านเดือดร้อน... ขอให้สังคมไทยมีคนอย่างคุณครูป้าแมวให้มาก ๆ เราต้องให้โอกาสแก่ผู้ที่ด้อยกว่า ตามหลักสิทธิมนุษยชน...

ทำไมทางิำเภอไม่ออกบัตรให้คนเหล่านี้สักทีทั้งๆเขามีสิทธิแล้วตามกฏหมาย

หนูเกิดเมืองไทยแต่สัญชาติกระเหรี่ยงแต่หนูอยากได้บัตรไทยแต่ทางอำเภอไม่ทำให้ได้กินเงินชาวบ้านกว่าจะได้มาต้องหมดเยอะ2-3หมื่นกว่าได้บ้างครั้งก็ไม่ได้บัตรเงินก็หมดไปฟรีๆอำเภอนี้อยู่สังขละโกงเงินชาวบ้าน

ผมมีบัตรหัว6อยู่ในเขตอ.เมือง ชร ไปขอสัญชาติหรือไปทำอะไรที่เกียวข้องกับการคึบน้าของบัตรไม้ได้เลยครับมีลูกแล้ว6ขวบจดทาเบียนสมรสแล้ว

สรุปคร่าว ๆ ว่าเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นเลข ๖ มีหลายประเภท เช่น เป็น กลุ่มชาวไทยภูเขา (๙ เผ่า) เป็นกลุ่มบุคคลบนพื้นที่สูง  

กรณีที่คุณลูกไม้เป็นบุตรของบิดาและมารดาเป็นต่างด้าวที่เกิดต่างประเทศ และคุณลูกไม้เกิดต่างประเทศ คุณลูกไม้จะไม่ได้สัญชาติไทย หากจะขอลงรายการสัญชาติไทย ต้องขอเป็นการเฉพาะรายไป ตามเงื่อนไขฯ คุณลูกไม้ต้องมีรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวมากกว่านี้

ผมเกิด พ.ศ. 2536สามารถขอสัญชาติไทยได้หรือยังครับ เพราะว่าผมไปขอทำเรื่องทีไร เงินก็เสีย บัตรก็ไม่ได้ ตอนนี้ผมก็เรียนจะจบแล้วครับแต่ยังไม่ได้บัตรประชาชนคนไทยเลยครับ ผมอยากให้ตรวจสอบให้ทีครับ แม่ผมเสียเงินไปหลายหมื่นแล้วครับ ผมเกิดที่อำเภอสังขละบุรีครับ ขอบคุณครับ

ถ้าเกิดในประเทศไทยแต่อยู่กับพ่อแม่บุญธรรมไม่ทราบพ่อแม่จริงๆหล่ะคะจะสามารถขอสัญชาติได้ไหมคะ?

ถ้าเกิดในประเทศไทยแต่อยู่กับพ่อแม่บุญธรรมไม่ทราบพ่อแม่จริงๆหล่ะคะจะสามารถขอสัญชาติได้ไหมคะ?

ชื่อไม่มี รัฐบาลยังไม่ตั้งให้

เมื่อไรผมจะได้สัญชาติ ผมเกิดในประเทศไทย เรียนหนังสือไทย พูดภาษาไทย

ทำไมผมขอสัญชาติไทยไม่ได้ ผมเสียดายเด็กไทยที่มีครบทุกอย่าง ทำไมเขาไม่ต้องใจเรียน

ผมเป็นเด็กไม่มีสัญชาติ แต่ผมก็จะเป็นเด็กดีของสังคมไทย ผมรักในหลวง เพราะในหลวงเป็นพ่อที่ดีที่สุดในโลกของคนไทย

หนูมีเลขขึ้นต้นด้วย ศูนย์ ไม่ทราบว่าหนูมีโอกาสขอสัญชาติไทยได้ไหมค่ะ ตอนนี้หนูเรียนจบม.หกแร้ว แต่จะไปเรียนต่อที่ไหนลำบาก ตอนนี้หนูมีแค่ใบทร.38เท่านั้น ใบเกิดก็ไม่มี

ตอบคุณชายมอ (ถาม 11 oct 2557)

(๑) สรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า คุณชายมอ เกิดที่อ.สังขละบุรี พ.ศ. 2536 (อายุประมาณ ๒๑ ปี) เรียนจบแล้ว (ข้อเท็จจริงที่ขาด คือ ไม่ระบุวันที่เกิด ไม่ระบุสัญชาติบิดา มารดา ไม่ระบุว่ามีเอกสารการเกิด เช่น หนังสือรับรองการเกิดหรือไม่)

(๒) มารดาคุณชายมอ เสียเงินเพื่อเดินเรื่องขอบัตรประชาชนคนไทยให้คุณชายมอไปแล้วหลายหมื่น

ข้อสันนิษฐานเพิ่มเติม

(๑) คุณชายมอ น่าจะได้รับการลงทะเบียนบุคคล "เลข ๐" หรือ บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนแล้ว หรือหากไม่ใช่บุคคลเลข ๐ ก็อาจเป็นบุคคล "เลข ๗" แต่คุณไม่ได้ให้ข้อมูลไว้การอธิบายวินิจฉัยการที่คุณชายมอจะได้สัญชาติไทยจึงตอบไม่ได้ เพราะอธิบายตามหลักกฎหมายไม่ถูก เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ให้มาไม่สมบูรณ์

(๒) มารดาคุณชายมอเดินเรื่องแล้วเสียเงินให้ใครบ้าง หากเสียเงินให้แก่เจ้าหน้าที่ผิดกฎหมายนะครับ


หมายเหตุ การถามเพื่อให้เกิดการชี้แนะ(แนะนำ) ที่ถูกต้อง หรืออธิบายตอบได้ใกล้เคียงกับความจริง ควรบอกรายละเอียดให้ครบ ดังนี้ (๑) เกิดวันที่ เดือน ปี พ.ศ. (๒) เกิดสถานที่ใด ใน รพ. หรือ นอก รพ. (๓) ชื่อบิดามารดา และมีสัญชาติใด (๔) ระบุสถานที่เกิดของบิดามารดาในประเทศไทย หรือต่างประเทศ (๕) มีพยานเอกสารประจำตัวใดบ้าง เช่น หนังสือรับรองการเกิด รพ., บัตรประจำตัว "เลข ๐", บัตรของบิดามารดา, หลักฐานการได้เข้าเรียนหนังสือไทย, หรือหลักฐานอื่น ๆ ของญาติใกล้ชิดที่เป็นบุคคลมีสัญชาติไทย เช่น ของพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือต่างบิดามารดา ฯลฯ เป็นต้น ต้องระบุมาให้มากที่สุด

ตอบคุณเด็กเชียงราย (ถาม 11 dec 2557)

การเกิดในประเทศไทยก็เป็นเงื่อนไขที่จะได้สัญชาติไทยแล้ว บิดามารดาบุญธรรม(ไทย)ไม่เกี่ยวพันทางสายเลือดจึงไม่สามารถที่จะไปเอาสัญชาติของบิดามารดาบุญธรรมมาขอสัญชาติไทยได้แต่อาจขอสัญชาติไทยด้วยเหตุอื่น

คุณเด็กเชียงราย เป็นบุคคลไม่ปรากฏบิดามารดาคุณให้ข้อมูลข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนเหมือนคุณชายมอตอบอธิบายแนะนำไม่ได้ครับ

ตอบคุณชื่อไม่มี (ถาม 27 dec 2557)

คุณให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวคุณไม่ครบ ตอบอธิบายแนะนำไม่ถูกครับแม้คุณจะเกิดในประเทศไทย แต่เงื่อนไขการขอลงสัญชาติไทยอาจแตกต่างกันไปหลายกรณี

ตอบคุณเด็กเชียงใหม่ (ถาม 2 jan 2558)

คุณให้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวคุณไม่ครบ ตอบอธิบายแนะนำไม่ถูกครับแม้คุณจะมีหลักฐาน "บุคคลเลข ๐" (ท.ร.๓๘) หมายถึงคุณเด็กเชียงใหม่เป็น "บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน" แต่เงื่อนไขการขอลงสัญชาติไทยของ "บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน" อาจแตกต่างกันไปได้หลายกรณี

สวัสดีครับ.. ผมเป็นชาวมาเลย์เซียแต่มารดาเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทย ถ้ามารดาจะไห้ผมแปลงชาติตามมารดาโดยไปแจ้งเกิดที่เอกอัครราชทูตไทยในประเทศมาเลย์เซียจะทำได้มั้ยครับ ส่วนผมเคยต้องโทษจำคุก(คดียา)ทีไทยมาก่อนแล้วยังจะถือสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตได้หรือไม่ครับ..

นุวเป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนในบัตร10ปีหมดอายุ ตอนนี้ผ่านไป6ปี ถูกกำจัดออกเท่ากับเป็นต่างด้าว นุวเข้าใจว่าหลักฐานไม่มากพอ เดือดร้อนเหมือนกัน บางทีแอบคิดคนที่มีทะเบียนบ้านแต่ไม่ทำอารัยเสียดายแทนค่ะ ช่าวนุวด้วยเถอะค่ะ ขอร้องนะค่ะ

สวัสดีครับ ผมมีเลข6นำหน้า เปนบุคคลพื้นที่สูง บัตรชมพูครับ เกิดในไทยที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ครับ แต่ไม่ได้ไปเกิดที่โรงพยาบาล เลยไม่มีใบเกิด และตอนที่เกินผม พ่อแม่ยังไม่มีสถาณะ ทางทะเบียนอะไรเลยครับ เพราะอยู่บนดอย หลังจากผมอายุได้7ขวบ พ่อแม่ค่อยมาลงทะเบียน ตอนนั่นพ.ศ 2542ครับ ที่อ.ฝาง และพ่อแม่ซึ่งไม่ค่อยจะรู้เรื่องอะไรในตอนนั่น เลยแจงว่าท่านเกินพม่า และ ทางอำเภอก็ใส่ว่าผม เกิดพม่า ตามไปด้วย พอผมมาเรียนเริ่มศึกษา เกี่ยวกับการขอมีสัญชาติ และสอบถามทางอำเภอ เค้าก็บอกว่า ผมเกิดในพม่า และพ่อแม่ก็ เปนต่างด้าว ผมก็แจ้งเรื่องที่ผมเกิดในไทยจริงๆ ให้เค้าฟัง เพราะพ่อแม่แจ้งผิด เค้าไม่ค่อยรู้เรืองอะไรในตอนนั้น จริงๆพ่อและแม่ผม มาทำมาหากินในประเทศตั่งแต่ผมยังไม่เกิดเลย เค้าก็ยึดตามทะเบียนคำให้การตอนแรก ไม่สนใจอะไร. ผมอยากถามว่า พอจะมีทางหรือวิธี ที่ผมจะได้สัญชาติไทยไม๊ครับ ตอนนี้ ผมอายุ 25ปีแล้ว ลำบากมากในการทำงาน การเดินทาง เรียนจบมา สมัครงานก็ไม่ได้ครับ ติดเรื่องสัญชาติครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ ขอคุณครับ...... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/510683

ตอบ คุณแฟรง IP: xxx.164.251.57 ต้องถามว่าคุณอายุเท่าไหร่ หากอายุเกิน 20 ปีบริบูรณ์ คุณจะมาถือสัญชาติไทยตามแม่อีก ตามหลักสายโลหิตตามมารดา คุณต้องมีมารดาเป็นไทยมาแต่กำเนิด หากมารดาแปลงชาติเป็นไทย คงไม่ใช่หลักสายโหิต… คุณต้องยื่นคำร้องเอง… ลองปรึกษาสถานทูตไทยที่มาเลย์ดู

ตอบคุณ ลันดา บุญทาIP: xxx.230.199.106

หากหนูมีหลักฐานยืนยันว่า หนูมีสัญชาติไทย เช่น มีบิดาหรือมารดาเป็นไทย หรือ หนูเกิดในประเทศไทย ก็ให้ไปติดต่อสำนักทะเบียนเพื่อ "ขอลงรายการสัญชาติไทย" ในทะเบียนบ้านได้... ไปปรึกษาสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นดู


ตอบคุณ ยังคงก้าวไปIP: xxx.168.229.166

ต้องถามว่าคุณเกิดเมื่อไหร่ หากเกิดก่อน 26 กพ.35 และเกิด "ในประเทศไทย" คุณก็มีสิทธิ "ขอลงรายการสัญชาติไทย" ตามมาตรา 23 พรบ.สัญชาติฯ

แต่ปรากว่า "ทะเบียนบ้าน ทร. 13" ของคุณมีรายการที่ผิดว่า "เกิดต่างประเทศ" คุณมีหลักฐานการเกิด เช่นพยานบุคคลว่าเกิดในประเทศไทย ก็ไปยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนฯ เพืื่่อขอแก้ไขสถานที่เกิดจากที่ผิด "ประเทศพม่า" เป็นที่ถูกต้อง "ประเทศไทย" เมื่่อได้รับอนุมัติให้แก้ไขรายการในทะเบียนบุคคลบนพื้นที่สูงจากนายอำเภอได้แล้ว คุณก็ยื่นคำร้อง "ขอลงรายการสัญชาติไทย" ตามมาตรา 23 พรบ.สัญชาติฯ

หากมีปัญหา เรื่องพยานรับรอง หรือขั้นตอนต่าง ๆ ก็ควรไปปรึกษาหน่วยงานองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) หรือ หน่วยงานช่วยเหลือทางกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ช่วยเหลือ เช่น ครูแดง (ท่านอ.เตือนใจ ดีเทศน์) หรือ บางกอกคลินิก ของ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นต้น...


ดิฉันเป็นคนพื้นที่สูง บัตรขึ้นต้นเลข ๖ แม่ระบุในใบครอบครัวว่าดิฉันเกิดในไทย พ.ศ.2531 แต่แม่แจ้งเข้ามาในไทยเมื่อ พ.ศ.2538 การขอสัญชาติไทยเอกสารที่ยื่นแล้ว 1. หนังสือรับรองการเกิด 2. ใบครอบครัว 3.ทะเบียนบ้านสีเหลืองชั่วคราว 4.วุฒิการศึกษา 5.วุฒิบัตรต่าง ๆ ทางอำเภอก็ดำเนินเรื่องให้จนได้พิสูจน์พิมพ์ลายนิ้วมือผลออกมาว่าดิฉันติดคดีเล่นการพนัน ถ้าดิฉันไปขอใบสิ้นสุดคดีที่ศาลมาเรื่องจะต้องรออะไรอีกค่ะกว่าเรื่องจะไปถึงกระทรวง จนป่านนี้ดิฉันมีสามีเป็นคนไทยพร้อมกับมีบุตรด้วยกันแล้วค่ะ ขอตอบให้หน่อยนะคะอยากรู้ ขอบพระคุณค่ะ

ตอบคุณ มอนIP: xxx.231.226.210

คุณมอนของลงรายการสัญชาติไทย แต่ติดประวัติคดีเล่นการพนัน... ซึ่งเป็นเงื่อนไขเรื่อง "ความประพฤติ"

แนะนำต่อไม่ถูกครับ... ขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่า

(1) บิดามารดาคุณมอน เกิดต่างประเทศใช่หรือไม่

(2) คุณมอนขอลงสัญชาติไทยตามมาตราใด ตามมาตรา 7 ทวิ หรือ มาตรา 23

คือผก็อยากทราบเหมือนกันคับ ผมจะขอได้ไหมคับ คือมีแต่ใบ ท.ร 38 แต่ผมแค่จบม.3 ทำงานที่ไหนเขาก็ไม่รับ พ่อแม่ก็เหมือนกันคับมีแต่ ใบ ทร 38 แล้วจะขอสัญชาติไทยได้ไหมคับ คือผมไม่ได้เกิดในราชอัณจักรไทย แต่ผมมาอยูประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ 2547 แล้วคับ ขอบคุณล้วงหน้านะคับ

ตอบคุณ Fuxxnut

คุณ Fuxxnut เกิดต่างประเทศ เป็นบุคคลเลข 00 เป็นบุตรของแรงงานต่างด้าว (บุคคลเลข 00)

กรณีบุคคลที่ไม่เกิดในประเทศไทย ไม่อาจขอสัญชาติไทยได้ตามปกติ หากจะขอมีสัญชาติก็โดยการ "แปลงสัญชาติ" เท่านั้น

สวัสดีคะดิฉันขอรบกวนสอบถามหน่อยดิฉันมีบัตรหัว0คะดิฉันจดทะเบียนสมรถกับสามีคนไทยแล้วมีลูกด้วยกัน1คนคะดิฉันอยากจะขอโอนสัญชาติไทยตามสามีจะได้ไหมคะแล้วถ้าไดต้องดำเนินการยังไงคะรบกวนช่วยหน่อยขอบพระคุณมากๆคะ

หนูเกิด1 ม.ค. 2544 เกิดในไทย มีสูติบัตร มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบัน(เล่มสีเหลือง) ไม่เคยย้ายถิ่นฐาน พ่อแม่ไม่ได้เกิดในไทย เลขบัตรประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข6(บุคคลบนพื้นที่สูงค่ะ) ส่วนเลขบัตรหนูขึ้นต้นด้วยเลข7 ตอนนี้หนูอยู่ม.3 จึงอยากรู้ว่าถ้าหนูขอสัญชาติจะได้ไหมค่ะ แล้วอยู่ในมาตราอะไรค่ะ เพื่อความสะดวกในการศึกษาต่อและขอทุนค่ะ #ขอบคุนล่วงหน้าค่ะ

ขอสอบถามหน่อยคะตอนนี้แฟนหนูถือบัตรเลข0อยู่คะจะหมดอายุปี2561คะหนูต้องดำเนินการต่อยังไงคะตอนนี้มีลูกด้วยกัน2คนถ้าแฟนหนูจะโอนสัญชาติไทยตามหนูได้ไหมคะขอบพระคุณอย่างสูงคะ


สวัสดีค่ะ คือหนูอยากจะสอบถามเรื่องการขอสัญชาติไทยค่ะ ซึ่งหนูมีหลักฐาน(สูติบัตร เลข 7) คุณพ่อเสีย คุณแม่เลข6 แต่ทางอำเภอบอกว่าพวกหนูถูกจำหน่าย เลยได้ไปถ่ายบัตรใหม่เป็น เลข0 ทั้งบ้าน ปัจจุบันหนูยังเรียนอยู่ค่ะ อยากทราบว่าหนูจะมีโอกาสได้สัญชาติไทยไหมค่ะ ?

ตอบคุณ bua

คุณมีบัตรหัว 0 จดทะเบียนสมรถกับสามีคนไทยแล้ว มีบุตร 1 คน

กรณีคุณเกิดต่างประเทศ คุณ bua ก็สามารถขอ "แปลงสัญชาติเป็นไทย" ได้

หากกรณีคุณเกิดในประเทศไทย คุณ bua คุณอาจได้ "สัญชาติไทย" ต้องมีรายละเอียดข้อมูลมากกว่านี้...





ตอบคุณ bla bla

คุณเกิด1 ม.ค. 2544 เกิดในไทย มีสูติบัตร เลข 7 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปัจจุบัน(ทร. 13 เล่มสีเหลือง)

พ่อแม่เกิดต่างประเทศ

คุณสามารถขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ

ตอบคุณ พา

แฟน(สามีคุณพา)ถือบัตรเลข 0 จะหมดอายุปี 2561 มีลูกด้วยกัน 2 คน. อยากให้สามีได้สัญชาติไทยด้วย

ต้องดูว่าสามีเกิดในประเทศหรือต่างประเทศ

หากสามีเกิดต่างประเทศก็ขอ "แปลงสัญชาติเป็นไทย" ได้

หากกรณีสามีคุณพา เกิดในประเทศไทย สามีอาจได้ "สัญชาติไทย" ต้องมีรายละเอียดข้อมูลมากกว่านี้...


คอบคุณ Joke

คุณมีหลักฐาน(สูติบัตร เลข 7) พ่อเสีย แม่เลข 6 แต่ทางอำเภอจำหน่ายชื่อออก ได้ไปถ่ายบัตรใหม่เป็น เลข 0 ทั้งหมด

คุณ Joke เกิดในประเทศไทย ที่มีมารดาเป็นเลข 6 (ต่างด้าว)... คุณ Joke จึงมีสิทธิในสัญชาติไทย แต่ต้องมีข้อมูลประวัติส่วนตัวที่มากกว่านี้... ไม่งั้นอธิบายไม่ได้.... ... เช่น ต้องดูด้วยว่า คุณ Joke เกิดวันที่ เดือน พ.ศ. ใด .... และที่สำคัญมารดาเกิดในประเทศหรือเกิดต่างประเทศ เพราะหากมารดาเกิดในประเทศไทยก่อน 26 กพ. 2535 มารดาก็จะได้สัญชาติไทย ตามมาตรา 23 ... ทำให้ คุณ Joke ได้สัญชาติด้วย.... และอำเภอจำหน่ายชื่่อเลข 6 และ เลข 7 ออกด้วยเหตุใด... เพราะอะไรจึงจำหน่ายชื่อออก.... เป็นต้น...

ให้ผู้ที่เข้ามาดู และถามปัญหาในเวบ โกทูโนว์ นี้ ให้ไปดูต่อได้ที่ เฟซบุ๊ค... กลุ่ม "การทะเบียนราษฎรและงานทะเบียนกรมการปกครอง" โดยเป็นกลุ่มปิด ต้องขอสมัครเข้าร่วมกลุ่มก่อน.... ได้ที่...

https://www.facebook.com/groups/326473924224367/

ผมมีบัตร สีชมพู เกิดในไทย มีใบเกิด เกิด 24 มีนาคม 2536 แต่พ่อกับแม่ เป็นบุคคลไร้สัญชาติ /ส่งคำขอกับทางอำเภอ ในปี 2557 (ผู้ใหญ่บ้านบอกให้ไปร้องขอ ครับ) ไปแล้วครับ / ผมมีพี่อีก คน ครับ ได้สัญชาติไทยแล้วครับ #ผมจะมีโอกาสได้สัญชาติไทยรึป่าวครับ "รบกวนบอกผมหน่อยนะครับ....



ตอนนี้หนูมีบัตรขึ้นต้นด้วยเลข6 พ่อแม่ก็เหมือนกัน ตอนเกิดแม่ยังไม่มีบัตร เลยไม่มีใบเกิด มีแต่สมุดมีชมพูของเด็กก็ถูกคนหลอกว่าจะทำให้แล้วเอาไปไม่คืน ตอนนี้หนูจะจบม6 แล้ว หนูจะเรียนต่อมหาลัยว่าจะสอบคณะเภสัช แต่กลัวว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับบัตร บางทีหนูก็น้อยใจนะว่าทำเรื่องขอสัญชาติไทยนานแล้ว เค้าก็บอกว่ายังไม่ส่งเรื่องไปเพราะตอนนี้อยู่ในช่วงคสช หนูก็งงนัว่าเพราะอะไร อิจฉาคนไทยบางคนเนอะมีครบทุกอย่างแต่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ทำอะไรให้ประเทศชาติ หนูก็อ่านหนังสือนะเตรียมสอบอ่านเยอะมาก แต่ก็ท้อว่าสุดท้ายก็ไม่มีประโยชน์ ทำให้หมดกำลังใจน้อยใจ อีกนานมั้ยกว่าเค้าจะทำให้หนู หนูแอบน้อยใจเวลาเพื่อนล้อ หนูแค่อยากรู้ว่าหนูมีสิทธิ์จะได้สัญชาติไทยไหม...

กีตี ไม่มีนามสกุล

หนูเกิดที่ไทยแต่ยังไม่มีสัญชาติเพราะพ่อเป็นคนพม่าส่วนแม่เป็นกัมพูชาหนูอยากได้สัญชาติไทยเพือศึกษาต่อและเรียนจบได้งานดีๆๆทำและอีกอย่างหนูรักเมืองไทยหนูทำทุกอย่างเพื่อให้ได้สัญชาติ แต่ก็ผิดหวังเพราะทำไม่ได้หนูขอร้องช่วยหนูหน่อยนะคะ


ตอบคุณสมชาติ ... คุณมีเลขประจำตัวเลข 0 และพ่อแม่ก็เป็นเลข 0 แต่คุณไม่แจ้งรายละเอียดสถานที่เกิดของพ่อแม่ ว่าเกิดในประเทศไทยหรือไม่... แยกเป็นสองกรณี

(1) หากพ่อแม่ เกิดต่างประเทศ คุณมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยตาม พรบ.สัญชาติ มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง ให้ไปติดต่อสำนักทะเบียนที่ตนเองมีชื่ออยู่

(2) หากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่ง เกิดในประเทศไทย คุณมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยตาม พรบ.สัญชาติ มาตรา 23 ให้ไปติดต่อสำนักทะเบียนที่ตนเองมีชื่ออยู่

ตอบน้องมีปม น้องไม่บอกวันเดือนปีเกิดของน้อง และบอกรายการ อายุ และสถานที่เกิดของพ่อแม่... คำตอบเช่นเดียวกับคุณสมชาตินะ เหมือนกัน น้องไม่แจ้งรายละเอียดข้อมูล ตอบรายละเอียดไม่ได้ ให้ไปเข้ากลุ่ม "การทะเบียนราษฎร ฯ" ที่ https://www.facebook.com/groups/326473924224367/


ตอบน้องกีตี น้องไม่บอกเลขประจำตัวว่าขึ้นต้นเลขใด (เลข 0 หรือเลข 6 หรือ เลข 7) วันเดือนปีเกิดของน้องก็ไม่ทราบ และไม่บอกบอกรายการเลขของพ่อแม่มีหรือไม่... คำตอบก็จะคล้าย ๆ กับคุณสมชาตินะ เหมือนกัน น้องไม่แจ้งรายละเอียดข้อมูล ตอบรายละเอียดไม่ได้ ให้ไปเข้ากลุ่ม "การทะเบียนราษฎร ฯ" ที่ https://www.facebook.com/groups/326473924224367/


รบกวนสอบถามนะคะ ดิฉันกำลังศึกษาอยู่ค่ะ ถือบัตรเลข0 (บุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน) เกิดวีนที่ 12/10/38 ไม่มีใบเกิด แต่มีหนังสือรับรองการเกิดในประเทศไทย บิดามารดาถือบัตรเลข0เช่นเดียวกันค่ะแต่บิดามารดาไม่มีใบเกิดหรือหนังสือรับรองการเกิด อยากทราบว่าดิฉันมีสิทธิในการขอสัญชาติไทยไหมคะ ช่วยแนะนำแนวทางหน่อยนะคะ ศึกษาเรื่องนี้มานานไม่มีใครให้คำตอบเลยค่ะ

ตอบคุณพรพรร

กรณีของคุณ เกิดประเทศไทย มีเลข 0 โดยมีบิดามารดาต่างด้าว มีเลข 0 เช่นกัน กรณีนี้ ปัจจุบันคุณยังไม่สามารถขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง แห่ง พรบ.สัญชาติฯ ได้ ต้องรอมีมติ ครม. เพราะ ตามหลักกรณีมีบิดามารดา ทั้งสองคน ถือบัตรเลข 0 (เลข 0 มีการให้เลขกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา) หากบิดามารดาพิสูจน์ได้ว่าเข้าเมืองก่อนวันที่ 18 มกราคม 2538 คุณพรพรร จึงจะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง ได้

การขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้าน ตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

การขอสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
การขอถือสัญชาติไทยตามสามี (ไทย) โดยอาศัยมาตรา 9
การขอแปลงสัญชาติ ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 และ
การขอแปลงสัญชาติของบุคคลที่เป็นสามีของหญิงไทย ตามมาตรา 11(4) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
เป็นเรื่องที่ไม่ยาก จะทำให้เกิดผลจากหลักการ 5 ม. ที่เคยให้ไว้ คือ
ม. ที่ 1 ข้อมูล ต้องมีมากพอที่จะทำการวิเคราะห์
ม. ที่ 2 ต้องแม่นยำในข้อมูลและข้อกฎหมาย ระเบียบฯลฯ ต่างๆ จะทำให้
ม. ที่ 3 ตามมา คือ มั่นใจ ถ้าข้อมูลแน่น แม่นกฎหมาย ความสบายใจ ความมั่นใจในการลงนามในการออกคำสั่งทางปกครอง จะเป็นประโยชน์
ม. ที่ 4 คือ ต้องไม่มั่ว แต่ถ้า ม. ที่ 4 มา รับรอง
ม. ที่ 5 ตามมาแน่นอน คือ มอดม้วย เลือกเอาเลยครับ

https://www.facebook.com/stateless.child/posts/10204821667416600

สวัสดีค่ะ หนูถือบัตรหัว 0 เกิด 20 มีนาคม 2536 ส่วนพ่อแม่ก็ไม่อยู่ตั้งแต่หนูยังเด็กแล้ว แต่อาของหนูก็ถือบัตรหัว 0 เช่นกันกับหนู ตอนนี้หนูเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว (หนูเรียนช้าเพราะไม่มีคนส่งเรียน) ปัญหาก็คือ บางมหาวิทยาลัยเขาจะมีการกำหนดว่ารับเฉพาะคนที่มีสัญชาติไทยเท่านั้น แล้วก็มีบางมหาวิทยาลัยไม่มีการกำหนดคุณสมบัตินี้ แต่อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเค้าบอกว่า ถ้าหากหนูไม่สัญชาติไทยถึงแม้จว่าจะเรียนจบมาก็ยังหางานทำลำบากอยู่ดี ซึ่งตอนนี้หนูก็ได้สมัครติดคณะพยาบาลที่เป็นความฝ่ายฝันของหนูแล้ว แต่อาจารย์เขาก็ยังบอกหนูว่าถึงเรียนไปหนูก็ไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพเพราะไม่มีสัญชาติไทย ซึ่งมันทำให้หนูท้อแท้มากๆค่ะ ทุกวันนี้หนูก็ได้แต่โทรไปที่อำเภอเพื่อไปถามความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องสัญชาติไทย แต่่ก็ไม่มีอะไรคืบหน้าเลย ซึ่งเรื่องสัญชาติของหนูนั้น หนูได้ดำเนินการมาตั้งแต่ตอนที่หนูยังอยู่ชั้นประถมแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้หรือไม่เลย ณ ตอนนี้หนูก็เหมือนกับคนที่ถูกตัดขาไป จะเดินก็ลำบาก จะอยู่เฉยๆก็คงต้องยิ่งจะเป็นปัญหามากในอนาคต ส่วนพ่อแม่หนูก็ไม่มี อยากจะขอทุนการึกษาหรือกู้เงิน กยศ. เพื่อช่วยให้หนูสามารถเรียนสูงๆได้เหมือนคนอื่นๆเขา แต่ก็ไม่ได้ เพราะว่าหนูไม่มีสัญชาติ หนูจะทำอะไรก็ลำบากไปหมดทุกอย่าง หนูจึงอยากจะขอความกรุณาช่วยแนะนำว่าหนูควรจะทำอย่างไรดี

ขอขอบพระคุณมากๆค่ะ

ผมอ่านแร้วผมกะน้องชายมีคุณสมบัติถูกต้องและครบถ้วนอ่ะคับ แต่ม่ายรุ้จะปัยอำเภอแร้วบอกนายอำเภอว่ายังงัยดีอ่ะคับ...ผมชื่อถูกจำหน่าย. น้องผมยื่นขอสัญชาติแต่ก้อเงียบคับ...คงต้องอยุ่อย่างยอมรับสภาพอ่ะคับ



ตอบคุณ Saeng และ คุณสงกรานต์ ... ให้เข้าไปศึกษาใน เฟซบุ๊ค (Facebook) ใน

กลุ่ม Well-being Social Lab เพื่อต้นแบบการจัดการสิทธิในสุขภาวะของประชากรต่างด้าว

https://www.facebook.com/groups/450416831792411/

หรือ

กลุ่ม การทะเบียนราษฎรและงานทะเบียนกรมการปกครอง

https://www.facebook.com/groups/326473924224367/

  1. สวัสดีค่ะ หนูถือบัตรขึ้นต้นด้วยเลข6(บุคคลบนพื้นที่สูง)เกิดเมื่อวันที่1 ม.ค. 37 เกิดในประเทศไทยค่ะ แต่ไม่มีใบเกิดเพราะเกิดที่บ้าน พ่อกับแม่ถือบัตรขึ้นต้นด้วยเลข6เหมือกันค่ะ และใส่ปีพ.ศ.ในใบครอบครัวปี36 พ่อกับแม่เกิดที่พม่าค่ะ ตอนนี้หนูมีสัญชาติไทยใหญ่ เชื้อชาติไทยใหญ่ หนูได้ทำการขอสัญชาติไปแล้วค่ะประมาณปี 2556 แต่ยังไม่ได้ หลักฐานที่ส่งไป 1.สำเนาบัตรประจำตัว

2.สำเนาทะเบียนบ้าน(เล่มสีเหลือง)

3.หนังสือรับรองจากทางวิทยาลัย

4.สำเนาบัตรประจำตัวของหมอตำแยที่ทำคลอด ถือบัตรผู้สูงอายุ (ไม่มีสัญชาติไทย)

5.สำเนาบัตรของผู้ที่เป็นพยานการเกิดในประเทศไทย (ซึ่งมีสัญชาติไทย)

6.สำเนาบัตรนักศึกษา

7.ใบครอบครัว

8.สำเนาบัตรประจำตัวพ่อกับแม่ พร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้าน

ตอนนี้หนูเรียนจบแล้วค่ะหลักสูตร ปวส. สาขาธุรกิจสถานพยาบาล แต่ยังไม่ได้สัญชาติเลยค่ะ อยากทราบว่าหนูมีสิทธิ์จะได้หรือเปล่าค่ะและต้องใช้เวลาอีกนานหรือเปล่า เพราะหนูไมสมัครงานตามสถานพยาบาลแห่งไดเขาก็ไม่รับเนื่องจากยังไม่มีสัญชาติไทย หนูอยากทำงานในโรงพยาบาลค่ะ จะได้ช่วยดูแลผู้ที่เจ็บป่วยตามสาขางานที่เรียนมา และเป็นความฝันอย่างหนึ่ง รบกวนถามหน่อยนะคะ ขอบคุณอย่างสูงค่ะ

ตอบคุณปุ้ย ... คุณปุ้ยเกิด 1 มค. 2537 ในประเทศไทย มีบิดามารดาเป็นต่างด้าวเกิดต่างประเทศ (ไทยใหญ่) ได้ไปยื่นคำร้องไว้ ปี 2556 (ขณะยื่นอายุ 19 ปี) ไม่ทราบว่าเป็นคำร้องอะไร (ขอลงรายการสัญชาติไทย หรือ ขอหนังสือรับรองการเกิด ทร. 20/1) แต่ไม่ทราบผลการยื่นคำร้อง ปีนี้ 2559 เวลาล่วงเลยมา 3 ปีแล้ว ... คุณปุ้ย ควรดำเนินการดังนี้

(1) ไปติดตามเรื่อง ณ สำนักทะเบียนที่คุณปุ้ยมีชื่ออยู่

(2) หากไปติดตามเรื่องแล้วไม่พบเรื่อง (เข้าใจว่าคงไม่พบ เพราะนานแล้ว) ให้ขอยื่นคำร้องใหม่ โดยเตรียมพยานหลักกฐานเดิม ตามที่ได้เคยยื่นไว้ครั้งก่อน คือ (2.1) ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองการเกิด ทร. 20/1 และ (2.2) ยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง ... โดยยื่นพร้อมกัน หรือจะแยกยื่นอยู่ที่คำแนะนำของ จนท.สำนักทะเบียน และนายทะเบียนฯ

(3) เมื่อได้ยื่นคำร้องตามข้อ (2) แล้ว ให้เก็บคำร้องไว้ให้ดี ๆ คอยติดตามเรื่อง ตามคำเนะนำของ จนท. สำนักทะเบียนฯ

(4) ให้ คุณปุ้ย เข้าไปแนะนำตัว และ อ่านศึกษาเรื่องราวตัวอย่างใน เฟซบุ๊ค (Facebook) ใน

กลุ่ม Well-being Social Lab เพื่อต้นแบบการจัดการสิทธิในสุขภาวะของประชากรต่างด้าว

https://www.facebook.com/groups/450416831792411/

หรือ

กลุ่ม การทะเบียนราษฎรและงานทะเบียนกรมการปกครอง

https://www.facebook.com/groups/326473924224367/

สวัสดีค่ะ หนูชื่อ ปานชีวา นันตา เป็นลูกของแรงงานต่างด้าวหนูเกิดในประเทศไทย พ.ศ 2544 ไม่มีใบสูติบัตรมีแค่หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาลค่ะพ่อแม่หนูมีบัตรต่างด้าวหนูมีโอกาสที่จะได้สัญชาติหรือไม่ค่ะ ตอนนี้หนูมีบัตรสิบปีสีชมพู เลข 0 ค่ะตอนนี้นำไปเปลี่ยนเป็นนางสาวที่อำเภอประมาน6เดือนแล้วยังไม่ได้คืนเลยค่ะ

ครับผมมีเรี่องอยากจะปรึกษาคุณ Phachern ครับ เรี่องมีอยู่ว่าผมอยากจะ พิสุจน์ สัญชาติไทยครับ

พ่อ กับ แม่ เป็นคนไทยแต่ท่านเสียนานแล้วตอนท่านเสียผมไม่ใด้อยู่บ้าน ผมกลับมาอีกทีท่านก็เสียแล้ว แล้วที่สำคัญบ้าน ท่านเอาทะเบียนบ้านใว้ไหนไม่รู้หาไม่เจอ ถ้าหากจะพิสุจน์สัญชาติ ผมต้อง

เตรียมอะไรบ้าง หากตรวจ DNA เอาญาติทางฝ่าย แม่ใด้ไหมครับ แล้ว ขั้นตอนมีอะไรบ้างครับ

สุดท้าย ขอกราบพระคุณมากๆ ครับ

ตอบคุณปานชีวา นันตา และ คุณบาส...

ให้ คุณทั้งสองคน เข้าไปแนะนำตัว และ อ่านศึกษาเรื่องราวตัวอย่างใน เฟซบุ๊ค (Facebook) ใน

กลุ่ม Well-being Social Lab เพื่อต้นแบบการจัดการสิทธิในสุขภาวะของประชากรต่างด้าว

https://www.facebook.com/groups/450416831792411/

แล้วจะมี เพื่อน ๆ พี่น้อง และอาจารย์ ท่านผู้รู้ มาช่วยตอบคำถาม แนะนำแนวทางให้...


แดง ค่ะ. หนูเกิดไทย หนูเกิด พ..2540 ในใบครอบครัว แม่เข้ามา พ.ศ. 2536 เลข นำหน้าหนู 6 หนูเกิดไทยนะค่ะ แต่เป็นแค่ใบรับรองแต่ใบรับรองเป็นชื่อเก่า. ตอนนี้ หนูจบ ม.6 กำลังจะต่อมหาวิทยาลัย หนูเคยยื่นขอแล้วแต่ไม่ได้สักทีอำเภอไม่ดำเนินการให้เลย


ตอบน้องแดง ... ให้ไปแจ้งรายละเอียดใน ...

เฟซบุ๊ค (Facebook) ใน

กลุ่ม Well-being Social Lab เพื่อต้นแบบการจัดการสิทธิในสุขภาวะของประชากรต่างด้าว

https://www.facebook.com/groups/450416831792411/

ดูเคร่า ๆ น้องแดง เกิดในไทย มีหลักฐาน พยานบุคคลรู้เห็นการเกิดหรือไม่ ... แม่ ได้เลข 6 เข้าเมืองก่อนปี 2538 .. บุตรเกิดในไทย มีสิทธิ ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง... ให้น้องลองศึกษาระเบียบกฎหมายด้วย เพื่อความเข้าใจ ในการไปขอใช้สิทธิตามกฎหมาย...

มะลิวัลย์ เมืองวงษ์

สวัสดีคะ เพือนดิฉัน พ่อแม่เขาเป็นคนเกาหลีเข้ามาทำธุระกิจ ในประเทศไทย แล้วเขาติดตามพ่อแม่เข้ามายุ่ใหน ประเทศไทย เพือนดิฉันเขาสามารถ ขอสัญชาติไทย ใด้มัยคะ

ตบคุณ มะลิวัลย์ เมืองวงษ์

ตอบสั้้น ๆ ... รายละเียดไปหาศึกษาเอา.... หาก เขาไม่เกิดในประเทศไทย คงไม่ได้สัญชาติไทย ... แต่ในอนาคต หากเขาตั้้งใจมาอยู่เมืองไทย และดำรงชีวิตแบบคนไทย ก็อาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้

ผมสัญชาติจีน เลขประจำตัวบัตรประชาชนขึ้นด้วยเลข 7 มีใบเกิด,ทะเบียนบ้านสีเหลืองทร.๑๔ ตอนนี้ทำบัตรยืนยันตยสีชมพูคนต่างด้าวที่ไม่มีสัญชาติไทย เกิดปี 2540 พ่อแม่ จีน ถือหนังสือเดินทางพาสปอร์ตไปๆมาๆ

มีวิธีไหนที่จะได้สัญชาติไทยไหมครับ กลุ้มใจมากเลยครับ กลัวว่าเรียนจบจะไม่มีงานรองรับครับ ทำงานฟาร์ททาม ก็ไม่ได้อีก ช่วยทีครับ

ตอบคุณ Weerachai ให้ไปแจ้งรายละเอียดใน ...

เฟซบุ๊ค (Facebook) ใน กลุ่ม การทะเบียนราษฎรฯ และ

กลุ่ม Well-being Social Lab เพื่อต้นแบบการจัดการสิทธิในสุขภาวะของประชากรต่างด้าว

ที่

https://www.facebook.com/groups/326473924224367/

และ

https://www.facebook.com/groups/450416831792411/

ถือบัตรเลข 6-5021-72004-54-0 เกิด 10 ต.ค. 2536 เป็นบุคคลพื้นที่สูง(ไม่ใช่ชาวเขา) เข้ามาปี 2538 จัดทำทะเบียน 15 พ.ค. 2542 อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ ไม่มีใบเกิด อายุ 23 ปี พ่อแม่ถือบัตรเหมือนกันทั้งครอบครัว

คุณสมบัตร

1 พูด-อ่าน-เขียน ภาษาไทยได้ชัดเจน สติปัญญา-ร่างกายสมบูรณ์ครบถ้วน

2 ไม่เคยมีคดี

3 ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ ปวส 2 สาขาช่างกลเกษตร(ทวิภาคีสยามคูโบต้า) วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่

4 อาศัยอยู่ในประเทศไทย นาน 22 ปี


ขอความกรุณาช่วยอธิบายถึงขั้นตอนการยื่นขอสัญชาติไทย และต้องเตรียมตัวอย่างไร รวมถึงเอกสารต่างๆ เป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ครับ


https://www.facebook.com/profile.php?id=1000016454...


ตอบ แบบสรุปสั้น ๆ นะ คุณ

Mr. Gum Lung-man

(๑) ต้องเกิดในประเทศไทยเท่านั้น รายละเอียดตาม พรบ.สัญชาติ พ.ศ. ๒๕๐๘ (รวมแก้ไข) มาตรา ๒๓ หรือ มาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง

(๒) ในกรณีการขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง ต้องมีคุณสมบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ ดูประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ (ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๐) และประกาศกรมการปกครองเกี่ยวกับการขอสัญชาติไทยตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๙ โดยมีหนังสือสั่งการ ด่วนที่สุด ที่ มท ๐๓๐๙/ว ๓๙๙๓ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกเลิกประกาศ มท.ฉบับวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๕๕ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๘ และประกาศ ปค. ฉบับวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ โดยกำหนดเงื่อนไขใหม่ กระบวนการพิจารณาใหม่

ซึ่งพอจะสรุปแยกกลุ่มที่จะรขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง ได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ (๑) กลุ่มที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นเวลานาน (๒) กลุ่มนักเรียนและคนไร้รากเหง้า และ (๓) กลุ่มผู้ที่ทำคุณประโยชน์ฯ ... ให้ไปหาอ่านในเฟซบุ๊ค กลุ่ม "การทะเบียนราษฎรและงานทะเบียนกรมการปกครอง"

https://www.facebook.com/groups/326473924224367/

มีเดกคนนึงอยุ่กับยายซึ่งเปนคนไทย ไม่มีหลักฐานการเกิด เธอได้เข้าเรียนจบแค่ป.4. แล้วยายก้เสียไป มีผัวเมียชาวต่างด้าวเอาไปดูแลต่อจนโตจนเธอกลายเปนคนต่างด้าวไปโดยปริยาย ทุกวันนี้เธอก้ไม่มีหลักฐานถือสัญชาติใดเรย เรื่องนี้ควรทำไงครับ ตามสืบญาติก้ไม่ได้หลักฐานเกี่ยวกับยายหายหมด

ตอบคุณ แสน ...

ประเด็น เด็กคนนี้ เรียกว่า "เด็กไร้รากเหง้า"  กล่าวคือ ไม่สามารถสืบหาบุพการี (พ่อแม่) ได้ว่าเป็นใคร มีประเด็นไล่เรียงพิจารณา แนะนำเบื้องต้น ดังนี้

(1) ลำดับแรกสุดต้องไปสืบทราบหาสถานที่เกิดและวันเดือนปีเกิดของเด็ก... ให้สอบถามข้อมูลการเกิดของเด็กว่า เด็กเกิดที่ใด เกิดที่บ้าน มีพยานรู้เห็นการเกิดหรือไม่ หรือ เกิดที่ รพ. และ เด็กคนนี้เกิดวันที่ เดือน ปี พ.ศ. ใด หากปรากฏว่า (1.1) เด็กเกิดก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 ก็จะเป็นกรณีที่สามารถ "ขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 23"  (1.2) แต่หากเด็กเกิด ตั้งแต่ 26 กพ. 2535 - 27 กพ. 2551 ก็จะเป็นกรณีที่สามารถ "ขอลงรายการสัญชาติไทย ตามมาตรา 7 ทวิวรรคสอง" 

(2) กรณีเป็นเด็กไร้รากเหง้า ที่อยู่ในความอุปการะของคนอื่น ที่มิใช่สถานสงเคราะห์ จะมีปัญหา "การรับรองว่าเป็นคนไร้รากเหง้า" เพราะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) จะไม่สามารถออก "หนังสือรับรองคนไร้รากเหง้า" เพื่อไปจัดทำหลักฐานทางทะเบียนราษฎรได้ ... กรณีเช่นนี้ ควรไปปรึกษา พม. ว่าควรจะทำอย่างไร

(3) ในชั้นแรก ควรไปขอเพิ่มชื่อ "บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน" หรือ "บุคคลเลข 0" กลุ่ม 00 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่อาศัยอยู่ โดยมีพยานบุคคลไปสอบสวนรับรองว่า "ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก" ควรไปสอบถามรายละเอียดข้อมูลจากนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่อาศัยอยู่นั้น เพื่อในขั้นตอนต่อไปจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อ ๆ ไปได้ เช่น ... 

(3.1) ในกรณีมีหลักฐานปรากฏว่า เกิด ก่อนวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 (มาตรา 23) ซึ่ง ไม่มีเงื่อนไข เกี่ยวกับคนไร้รากเหง้า หากมีพยานหลักฐานตัวบุคคล ว่าเกิดในประเทศไทยจริง ก็สามารถยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย

(3.2) หรือในกรณีเช่นเดียวกับข้อ 3.1 หากมีหลักฐานปรากฏว่า เกิด ตั้งแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2535 - 27 กุมภาพันธ์ 2551 (มาตรา 7 ทวิวรรคสอง) กรณีที่เป็นคนไร้รากเหง้า ที่เกิดในประเทศไทยจริง ก็สามารถยื่นคำร้องขอลงรายการสัญชาติไทย

(4) หากกรณีปรากฏว่า สืบหาต้นตออะไร ไม่ได้เลย ก็ควรลงรายการเฉพาะเท่าที่ทราบ เช่น ชื่อที่เรียกกัน  ส่วนปีเกิด ก็อาจเทียบรุ่นกับเพื่อน ๆ หรือ ไล่เรียงจากผู้อุปการะเลี้ยงดู ก็จะทราบรุ่นอายุพอประมาณได้ว่าเป็นปี พ.ศ. ใด (โดยประมาณ) เอารายการเพียงเท่าที่ทราบไปก่อน ชื่อพ่อแม่ ไม่ทราบ ก็ว่างไว้ได้

ตอบคุณแสน (เพิ่มเติม)...

หมายเหตุ 

ตามข้อ 3 เมื่อได้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลักเป็นเลข 0 กลุ่ม 00 แล้ว

ตามข้อ 3.1, 3.2 หมายถึงกรณีที่ไม่สามารถสืบทราบได้เลยว่าเป็นคนไทย

แต่หากมีพยานหลักฐานสืบทราบว่าเป็นคนไทย ก็จะเป็นกรณีอีกกรณีหนึ่ง ตาม พรบ.การทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. 2534 และ ระเบียบสำนักทะเบียนกลางฯ ข้อ 97 กรณี "บุคคลที่อ้างว่ามีสัญชาติไทย" ขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยไม่มีเอกสาร ซึ่งเป็นอำนาจอนุมัติของนายอำเภอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท