ดอกไม้


Ilham Hayeechebu
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 เป็นการเรียนรู้ที่กำหนดแนวทางยุทธศาสตร์ในการจัดการเรียนรู้ โดยร่วมกันสร้างรูปแบบและแนวปฏิบัติในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้ โดยเน้นที่องค์ความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญและสมรรถนะที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน คือ ครูต้องไม่สอนแต่ต้องออกแบบการเรียนรู้และอำนายความสะดวก ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเองแล้วการเรียนก็จะเกิดขึ้นจากภายในใจและสมองซึ่งจะทำให้เด็กจำได้ดีกว่าการนั่งท่องจำเพราะเด็กได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งในอดีตนักเรียนไปโรงเรียนเพื่อใช้เวลาในการเรียนวิชาต่างๆเพื่อต้องการเกรดและเพื่อให้ได้จบการศึกษาแต่ในปัจจุบันจะแตกต่างกันมาก เพราะการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 เป็นการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตในโลกที่เป็นจริง เน้นการศึกษาตลอดชีวิตด้วยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่น มีการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนเป็นคนเจ้าคิดเจ้าปัญญาที่ยังแสวงหาการเรียนรู้แม้จะจบการศึกษาแล้วก็ตาม และภาพของห้องเรียนจะขยายกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมีสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในห้องเรียนที่ดีและน่าอยู่ นักเรียนจะเป็นผู้ชี้นำตนเองได้มีการทำงานที่เป็นกลุ่มและอิสระได้ โดยหลักสูตรและการสอนจะมีลักษณะท้าทายสำหรับผู้เรียนทุกคนและจะคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งหลักสูตรที่ใช้จะเป็นหลักสูตรแบบยึดโครงงานและการบูรณาการ การสอนทักษะและเนื้อหาจะไม่เป็นจุดหมายปลายทางแต่นักเรียนจะต้องมีการเรียนรู้ผ่านการวิจัยและปฏิบัติในโครงงาน ซึ่งการประเมินจะเป็นการประเมินที่ผู้ถกประเมินมีส่วนร่วมในการประเมินตนเองด้วย

ดังนั้น การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จะต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะจากกระบวนทัศนะแบบดั้งเดิมไปสู่กระบวนการใหม่ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้



อ้างอิง: http://lripsm.wixsite.com/21st/about_us.


23
8
พัชธิดา รักษาอินทร์
เขียนเมื่อ
29
7
สุเมธ มณี
เขียนเมื่อ

ครูในศตวรรษที่ 21สุเมธ.docx

นายสุเมธ มณี 5780107142 ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1

19
4
ณัฐทรียา สีโสภา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่21.docx

นางสาวณัฐทรียา สีโสภา 5780107104

ค.บ. ภาษาไทย ปี3

20
3
กฤติกา เนตรพลกลาง
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 จะมีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อน เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างเต็มไปด้วยสิ่งท้าทาย และปัญหา รวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ๆ ที่น่าตื่นเต้น โรงเรียนในศตวรรษที่ 21 จะเป็นโรงเรียนที่มีหลักสูตรแบบยึดโครงงานเป็นฐาน (project -based curriculum) เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกที่เป็นจริง เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์ และคำถามเกี่ยวกับอนาคตเชิงวัฒนธรรม สังคม และสากล

ดังนั้น การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงทัศนะ (perspectives) จากกระบวนทัศน์แบบดั้งเดิม (tradition paradigm) ไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ที่ให้โลกของนักเรียนและโลกความเป็นจริงเป็นศูนย์กลางของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ที่ไปไกลกว่าการได้รับความรู้แบบง่ายๆ ไปสู่การเน้นพัฒนาทักษะและทัศนคติ — ทักษะการคิด ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะองค์การ ทัศนคติเชิงบวก ความเคารพตนเอง นวัตกรรม ความสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะและค่านิยมทางเทคโนโลยี ความเชื่อมั่นตนเอง ความยืดหยุ่น การจูงใจตนเอง และความตระหนักในสภาพแวดล้อม และเหนืออื่นใด คือ ความสามารถใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์ (the ability to handle knowledge effectively in order to use it creatively) ถือเป็นทักษะที่สำคัญจำเป็นสำหรับการเป็นนักเรียนในศตวรรษที่ 21

แหล่งที่มา : www.sk1edu.go.th/dta/8939การศึกษาในทศวรรษที่%2021.docx


13
3
วริศรา ถนัดเลื่อย
เขียนเมื่อ

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.docx

5
0
พรพิมล พิมลนอก
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ในศตวรรษที่ 21 การให้การศึกษาสำหรับศตวรรษนี้จะมีความยืดหยุ่นสร้างสรรค์ท้าทายและซับซ้อนเป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเต็มไปด้วยสิ่งท้าทายรวมทั้งโอกาสและสิ่งที่เป็นไปได้ใหม่ใหม่เดิน จะมีการเรียนรู้ขั้นที่สูงขึ้น ซึ่งการเรียนนั้นจะมีการนำทักษะความรู้ใหม่ไปใช้อย่างสร้างสรรค์เป็นหลักสูตรที่ให้นักเรียนเกี่ยวข้องกับปัญหาในโลกความเป็นจริงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมนุษย์และสภาพสากลจะเปลี่ยนจากการเป็นสิ่งก่อสร้างเป็นนกภาพของการเป็นศูนย์เน้นการศึกษาตลอดชีวิตโดยวิธีการสอนที่มีความยืดหยุ่นมีการกระตุ้นแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีความเป็นเจ้าความคิดเจ้าปัญญาที่ยังคงแสวงหาความรู้แม้จะจบการศึกษาออกไป

ที่มา : http://www.ptu.ac.th/quality/data/levyp1.pdf

การประเมินในศตวรรษที่ 21

การอภิปรายปากเปล่า ครู "เสนอหัวข้อที่น่าสนใจ หรือ อาจร่วมมือกันกับนักเรียนหยิบยกเอาสิ่งที่นักเรียนสนใจมาตั้งเป็นหัวข้ออภิปราย

แผนภูมิ KWL (H).. (What we know,สิ่งที่เรารู้ What we want to know, สิ่งที่เราต้องการจะรู้ What we have learned สิ่งที่เราได้เรียนรู้แล้ว, How we know it วิธีการที่เราหาความรู้).เทคนิคนี้สามารถนำมาใช้ตลอดระยะเวลาของการศึกษา เพื่อประเมินหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง

แผนที่ความคิด Mind Mapping แผนที่ความคิดคือแผนการในการปฏิบัติการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ว่า จะทำอะไร จะทำอย่างไร จะทำเมื่อไร เพื่อให้เกิดผลอย่างไร

ลงมือทำจริงๆ Hands-on activities. สิ่งเหล่านี้ส่งเสริมให้นักเรียนในการจัดการสภาพแวดล้อมของพวกเขา หรือโดยการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ

ทดสอบล่วงหน้า Pre-testing..การทดสอบล่วงหน้า "หรือการตรวจสอบสภาพก่อนการเรียนรู้ "Inspection prior learning".นี้จะช่วยให้ครูตรวจสอบความรู้เก่า

ที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/589130

20
1
พรพิมล พิมลนอก
เขียนเมื่อ

นางสาวพรพิมล พิมลนอก

รหัส 5780107110 ค.บ.ภาษาไทย ปี 3

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 (มุก).docx

9
0
ภัทราภรณ์ แกมจินดา
เขียนเมื่อ

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.docx
นางสาวภัทราภรณ์ แกมจินดา
ค.บ.ภาษาไทย ปี 3 หมู่ 1
5780107113

31
10
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท