อนุทินล่าสุด


ผอบพลอย ศศิรัศมิ์
เขียนเมื่อ

วิธีทำยำไก่แซบ รสเด็ด ทำได้ง่ายๆ

* ส่วนผสม

1.เนื้ออกไก่

2.แป้งทอดกรอบสำเร็จรูป ชนิดที่มีผงฮอทแอนด์สไปซี่ ให้มาด้วย

3.ไข่ไก่

4.ซีอิ้วขาว

5.น้ำปลา

6.น้ำมะนาว

7.ข้าวคั่ว

8.หอมแดง ผักชีฝรั่ง ใบสะระแหน่ ต้นหอม

9.น้ำมันรำข้าวสำหรับทอดไก่

** วิธีทำ

1.หมักไก่ด้วยซีอิ้วขาวประมาณ 30 นาที

2.ผสมแป้งทอดกรอบกับน้ำเย็น

3.นำไก่ชุบด้วยไข่ แล้วชุบด้วยแป้งที่ผสมไว้ หลังจากนั้นมาคลุกแป้งที่ไม่ผสมน้ำอีกครั้ง นำลงทอดในน้ำมันที่ร้อนจัด พอเหลืองกรอบ ตักขึ้นพักไว้

3.หั่นไก่เป็นชิ้นเล็ก โรยผงฮอทแอนด์สไปซี่ คลุกเคล้าให้ทั่ว แล้วใส่น้ำปลา น้ำตาล ข้าวคั่ว ต้นหอม ผักชีฝรั่ง หอมแดง ใบสะระแหน่ คลุกส่วนผสมให้เข้ากัน ตักใส่จาน




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผอบพลอย ศศิรัศมิ์
เขียนเมื่อ

ฝึกสมาธิใช้อานาปานสติ

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"

สมถกรรมฐานเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้จิตใจสงบ เป็นสมาธิ ระงับนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุซึ่งความดีได้ โดยยึดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายหลายวิธี เช่นโดยการเพ่งกสิน โดยวิธีจับลมหายใจหรือ ที่เรียกว่าอานาปานสติ ยุบหนอก็เป็นอานาปานสติด้วยเช่นกัน สมาธิเป็นเสมือนกำลังในการทำวิปัสสนากรรมฐาน การทรงสติให้ได้รวดเร็วนั้น ล้วนอาศัยสมาธิที่เข้มแข็ง เมื่อหวังความหลุดพ้น การปฏิบัติจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

อานาปานสติ

ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้เป็นแนวทางการฝึกสมาธิที่ข้าพเจ้าปฏิบัติมานับสิบปี นั้นก็คืออานาปานสติ

อานะ คือลมหายใจที่เข้าข้างใน อปานะ คือลมหายใจที่ออกไปข้างนอก การรับรู้ลมหายใจที่เข้ามาและลมหายใจที่ออกไปนี้ เป็นอนุสติ ความระลึกได้และความระลึกชอบ

วิธีปฏิบัติ

โดยวิธีจับลมหายใจ 3 ฐาน คือ

ปลายจมูก หรือเหนือริมฝีปาก

อก

เหนือสะดือสองนิ้ว(ศูนย์กลางกาย)

สำหรับนักปฏิบัติใหม่ ถ้ามุ่งจับทั้งสามฐานนั้นค่อนข้างจะยาก จะเกิดเป็นความตั้งใจเกินไป จนจิตไม่สงบได้ โดยปกติเมื่อเราปฏิบัติได้ฌาน 1 เราจะสามารถจับลมหายใจได้สองฐานโดยอัตโนมัติ และเมื่อเราปฏิบัติได้ฌาน 2 เราจะสามารถจับทั้งสามฐานได้อย่างชัดเจน ผมแนะนำว่าผู้ฝึกใหม่ควรเริ่มต้นจับฐานที่ 3 ก่อน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท