อนุทิน 147874


ผอบพลอย ศศิรัศมิ์
เขียนเมื่อ

ฝึกสมาธิใช้อานาปานสติ

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ"

สมถกรรมฐานเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้จิตใจสงบ เป็นสมาธิ ระงับนิวรณ์ซึ่งเป็นตัวขัดขวางจิตไม่ให้บรรลุซึ่งความดีได้ โดยยึดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งก็มีหลายหลายวิธี เช่นโดยการเพ่งกสิน โดยวิธีจับลมหายใจหรือ ที่เรียกว่าอานาปานสติ ยุบหนอก็เป็นอานาปานสติด้วยเช่นกัน สมาธิเป็นเสมือนกำลังในการทำวิปัสสนากรรมฐาน การทรงสติให้ได้รวดเร็วนั้น ล้วนอาศัยสมาธิที่เข้มแข็ง เมื่อหวังความหลุดพ้น การปฏิบัติจะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้

อานาปานสติ

ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้เป็นแนวทางการฝึกสมาธิที่ข้าพเจ้าปฏิบัติมานับสิบปี นั้นก็คืออานาปานสติ

อานะ คือลมหายใจที่เข้าข้างใน อปานะ คือลมหายใจที่ออกไปข้างนอก การรับรู้ลมหายใจที่เข้ามาและลมหายใจที่ออกไปนี้ เป็นอนุสติ ความระลึกได้และความระลึกชอบ

วิธีปฏิบัติ

โดยวิธีจับลมหายใจ 3 ฐาน คือ

ปลายจมูก หรือเหนือริมฝีปาก

อก

เหนือสะดือสองนิ้ว(ศูนย์กลางกาย)

สำหรับนักปฏิบัติใหม่ ถ้ามุ่งจับทั้งสามฐานนั้นค่อนข้างจะยาก จะเกิดเป็นความตั้งใจเกินไป จนจิตไม่สงบได้ โดยปกติเมื่อเราปฏิบัติได้ฌาน 1 เราจะสามารถจับลมหายใจได้สองฐานโดยอัตโนมัติ และเมื่อเราปฏิบัติได้ฌาน 2 เราจะสามารถจับทั้งสามฐานได้อย่างชัดเจน ผมแนะนำว่าผู้ฝึกใหม่ควรเริ่มต้นจับฐานที่ 3 ก่อน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท