อนุทินล่าสุด


นางอัมพร นันทะเสนา
เขียนเมื่อ

ชื่อ นางอัมพร นามสกุล นันทะเสนา เลขที่ 57D0103122

รหัสวิชา 102611 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ปริญญาโท ภาคพิเศษ รุ่น 13 หมู่ 1 สาขาวิชาครุศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมวิชา หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ผู้สอน ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์

……………………………………………………………………………………………………………………

บันทึกอนุทิน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ของ รศ.ดร. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ

วันที่ 7 เดือน กันยายน พ.ศ. 2557

ความรู้ที่ได้จาการนำเสนอ

อาจารย์ยกตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนของครูว่า ครูนั้นควรจะการเรียนการสอนให้ยึดมาตรฐานและตัวชี้วัดว่าในแต่ละมาตรฐานนั้นกำหนดอะไรไว้บ้างโดยส่วนใหญ่ครูเราจะซื้อหนังสือตามสำนักพิมพ์ต่างๆ แล้วสอนตามหนังสือ โดยไม่ได้ว่าในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้มีมาตรฐานตัวชี้วัดในแต่ละระดับชั้นอะไรบ้างเพราะข้อสอบระดับชาตินั้นเขาก็เอามาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แต่ข้อสอบจะเน้นให้นักเรียนได้คิดวิเคราะห์มากกว่าจะจำไปตอบฉะนั้นครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนใหม่ให้ตรงตามหลักสูตรถ้าสอนได้ตามตัวชี้วัดผลการสอบในระดับต่างๆนักเรียนก็จะมีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น แล้วอาจารย์โยงไปถึงเรื่องสมองคนเรากับความคิด โดยสมองแบ่งออเป็นสองซีกคือ สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา สมองซีกซ้าย ประกอบด้วย ภาษา สัญลักษณ์ การคิดวิเคราะห์ การจัดระบบ วางแผน การเป็นเหตุเป็นผล การคำนวณ วิทยาศาสตร์ เห็นรายละเอียด สมองซีกขวา ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ศิลปะ คิดสังเคราะห์ การเคลื่อนไหว จังหวะ จิตใต้สำนึก ชอบตื่นเต้น สนุกสนาน ขี้เล่น ใช้อารมณ์ มองภาพรวม ทำพร้อมกันหลายอย่าง สมองซีกซ้ายจะมองรายละเอียดคิดวิเคราะห์ เป็นคนที่มีลักษณะ ชอบครุ่นคิดอยู่คนเดียว ใช้เหตุผลคิดวิเคราะห์ เรียงลำดับ ชอบคณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ชอบความเป็นระบบ ระเบียบ ส่วนสมองซีกขวามองภาพรวม คิดจินตนาการ สร้างสรรค์ ใช้อารมณ์หุนหัน ชอบคนหมู่มาก ชอบต่อเติมคำพูดให้สนุกสนาน สื่อสารด้วยสีหน้า ออกท่าทาง ถนัดดนตรี กีฬา ศิลปะ คนทุกคนนั้นมีสมองเท่ากันแต่ขึ้นอยู่ว่าคนนั้นมีการฝึกฝนและชำนาญในเรื่องใด

เรื่องระบบการสอนแบบ 4 MAT คือ การสอนแบบทฤษฎี 4 แบบจะให้ความสำคัญต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล การใช้กระบวนการสอนที่สอดคล้องกับความสามารถและความถนัดของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกัน ตลอดจนคำนึงถึงกระบวนการสอนที่มุ่งพัฒนาสมองทั้งสองซีก คือซีกซ้ายและซีกขวาไปพร้อมกันการสอนแบบ 4 MAT มีดังนี้

1. WHY คือ เป็นคนช่างคิดช่างชอบเรียนรู้ด้วยการสังเกต อยากรู้ และสัมผัส ชอบเรียนรู้จากการฟัง ครูผู้กระตุ้นสร้างแรงจูงใจอยากตั้งคำถาม และอยากคิด สิ่งที่เกิดกับผู้เรียนคือ คำว่าทำไม

2. WHAT คือ ครูเป็นผู้บอกความรู้ อธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น ครูต้องให้ข้อมูลเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้ง กิจกรรมสำหรับผู้เรียน การบรรยาย การเชิญวิทยากร ให้อ่านหนังสือเรียน อ่านใบความรู้ ของครู

3. HOW คือ ผู้เรียนสนใจในวิธีการต่างๆ ได้ลงมือปฏิบัติจริง ทำของจริง ครูจะเป็นผู้ฝึกแนะนำให้นักเรียน กิจกรรมที่เหมาะสำหรับนักเรียน คือ การทำแบบฝึกหัด การทดลอง การเล่นเกม การร้องเพลง การเคลื่อนไหวของร่างกาย

4. IF คือ ผู้เรียนชอบค้นหาว่าเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้ จะเป็นอย่างอื่นได้หรือไม่ สนใจในการค้นหาสิ่งใหม่ด้วยตนเอง ด้วยการ ทดลอง พิสูจน์ กิจกกรมสำหรับผู้เรียน การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง การปรับปรุงผลงานของตนเองให้ดีกว่าเดิมหรือต่างไปจากเดิม การนำเสนอ การรายงานในความคิดใหม่ของตนเอง

ช่วงบ่ายแบ่งกลุ่มแล้วให้แต่ละกลุ่มนำเสนอการจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT ทำให้มองเห็นภาพและเข้าใจในระบบการสอนมากขึ้น

ความรู้สึกต่อเพื่อน

ทุกคนตั้งใจฟังที่อาจารย์บรรยายกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและกิจกรรมที่ร่วมกันนำเสนอของแต่ละกลุ่ม เพื่อนนำเสนอได้ดีมากมีความเข้าใจ

ความรู้สึกต่ออาจารย์ผู้สอน

ขอบพระคุณอาจารย์ผู้สอนมากค่ะที่ให้คำแนะนำและวิธีการต่างๆในการจัดการเรียนการสอนจะนำความรู้ที่อาจารย์ให้ในวันอบรมมาพัฒนาการเรียนการสอนของตนเองให้มีประสิทธิภาพต่อไป



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
นางอัมพร นันทะเสนา
เขียนเมื่อ

ชื่อ นางอัมพร นามสกุล นันทะเสนา เลขที่ 57D0103122

รหัสวิชา 102611 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ปริญญาโท ภาคพิเศษ รุ่น 13 หมู่ 1 สาขาวิชาครุศาสตรมหาบัณฑิต โปรแกรมวิชา หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ผู้สอน ผศ. ดร.อดิศร เนาวนนท์

…………………………………………………………………………………………………………………………

บันทึกอนุทิน โครงการอบรมทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

ของ ผศ.ดร. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์

วันที่ 31 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557

1. ความรู้ที่ได้รับ

ก่อนเข้าสู่เนื้อหาการอบรมของ ผศ.ดร. พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ ได้แนะนำตัวเองก่อนและผู้ช่วยในการบรรยาย เริ่มจากการรู้จักนักศึกษาก่อน ว่ามีอาชีพอะไรกันบ้าง สอนรายวิชาใด โรงเรียนที่ท่านสอนมีการจัดการเรียนการสอนแบบใด เช่น โรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นการทราบข้อมูลเบื้องตนนักศึกษาก่อนการเข้าเนื้อหาที่จะอบรม อาจารย์ได้นำเสนอหนังสือที่น่าสนใจ และควรมีไว้ในการประกอบการศึกษา ดังนี้

1. พระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 (2545)

2. พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ A-Lและ H-Z

กลยุทธ์การเรียนการสอนที่ใช้เสริมสร้างผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีดังนี้

1. วิธีการสอน มี 3 วิธี วิธีสอนแบบสืบสวน วิธีสอนแบบโครงงาน และวิธีสอนแบบอุปนัย

2. รูปแบบการสอน มี 4 รูปแบบคือ รูปแบบการเรียนรู้แบบ CIPPA รูปแบบการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน รูปแบบการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน และรูปแบบการเรียนรู้ 7 ขั้นตอน

3. แนวการสอน มีดังนี้ การจัดการเรียนการสอนเน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ใช้โครงงานเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้วิจัยเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้กิจกรรมเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้สถานการณ์จำลองเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้เด็นประสังคมเป็นฐาน การเรียนรู้ใช้เด็นประสังคมเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เป็นฐาน และกระบวนการเรียนรู้ 5 ตอน

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการสืบสอบและกระบวนการทำโครงงาน กระบวนการวิเคราะห์ กระบวนการสื่อความหมาย กระบวนการสร้างความรู้ กรบวนการสร้างสิ่งประดิษฐ์ กระบวนการที่ครูนำไปใช้ในการเรียนกาสอน ในรายวิชาคือกรบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน(5 STEP) มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ระบุคำถาม ขั้น 2 แสวงหาสารสนเทศ ขั้น 3 สร้างความรู้ ขั้น 4 สื่อสาร ขั้น 5 ตอบแทนสังคม ในขั้นที่ 1 ระบุคำถาม ขั้น 2 แสวงหาสารสนเทศ ขั้น 3 สร้างความ เป็นบทบาทหน้าที่ครูควรรู้ เพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ขั้น 4 สื่อสาร บทบาทหลักของครูผู้สอน และ ขั้น 5 ตอบแทนสังคม บทบาทหน้าที่ครูควรรู้ให้คำปรึกษา

ก่อนพักรับประทานอาหารกลางวันอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรมร่วมกัน ดังนี้

1. กำหนดให้แต่ละกลุ่มไปรับแผ่นป้ายที่ทำจากฟิวเจอร์บอร์ดแล้วมีตัวภาษาอังกฤษ A B Cแต่ละคำจะใช้คนละสีกัน

2. อาจารย์มีคำถามให้นักศึกษาตอบ ในคำถาม 1 ข้อ อาจมีหลายคำตอบก็ได้

กิจกรรมนี้สนุกคิดว่าจะนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยที่ตนเองรับผิดชอบ บางเรื่องครูต้องบรรยายให้เข้าใจก่อนเมื่อเวลาครูถามนักเรียนจะไม่ค่อยตอบ จะนำวิธีการนี้ไปใช้ในห้องเรียน

กิจกรรมตอนบ่ายแบ่งกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่ม เปรียบเทียบการจัดการเรียนการสอนของครูว่าระหว่าง Teacher –center และ Child centered ได้ดังนี้การจัดการเรียนการสอนแบบ Teacher –center ครูจะเป็นผู้อธิบายเนื้อหาต่างๆลดบทบาทนักเรียน ครูมีบทบาทมาก การประเมินผลใช้แบบทดสอบหรือแบบฝึกที่ครูเตรียมให้ ส่วนการจัดการเรียนการสอนแบบ Child centered เด็กค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ สร้างชิ้นงาน ครูเป็นผู้ให้คำปรึกษา การสอนแบบ Child centered นักเรียนจะได้ ความรู้ การปฏิบัติจริง และคุณลักษณะอันพึงประสงค์คือทุกคนร่วมกันทำงาน หลังจากนั้นก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเพื่อต่างกลุ่มแล้วให้เพื่อนมีส่วนร่วมในการประเมินการผลการนำเสนอของกลุ่มนั้น

2. หลังจากที่ได้ฟังแล้วคิดอะไรต่อยอดนั้น

นำความรู้ที่ได้รับนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการศึกษาต่อในการทำผลงานทางวิชาการการและการทำงานหรือนำเสนอผลงานเมื่อมีการศึกษาค้นคว้าแล้วต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน

3. การนำไปประยุกต์ใช้

นำกระบวนการและรูปแบบต่างๆที่ได้รับนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนของตนเองและกิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างการอบรมนำไปใช้ในห้องเรียนที่รับผิดชอบ

บรรยากาศในการเข้าร่วมกิจกรรม

บรรยากาศในการอบรมทุกคนมีความตั้งใจพร้อมรับความรู้จากวิทยากร สนุกสนานก่อน รับประทานอาหารและตอนบ่ายมีการนำเสนอ ตอบคำถามตรงประเด็นบ้างและไม่ตรงบ้าง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
นางอัมพร นันทะเสนา
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทิน สรุปความรู้ของการเรียนและบรรยากาศในห้องเรียน วันที่ 27 กรกฎาคม 2557

ผู้เรียนทราบรายละเอียดของการเรียนรายวิชา การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ รหัสวิชา 102611การเขียนคำอธิบายรายวิชาและจุดมุ่งหมายของรายวิชามาจากคำอธิบายรายวิชา

ความหมายของสังคมแห่งการเรียนรู้ในกรอบแนวคิด คือ สังคมไทยในอนาคตจะเป็นสังคมฐานความรู้และนวัตกรรมเป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็นในการพัฒนาจะต้องส่งเสริมเพื่อให้คนไทยทุกคนมีความเสมอภาคกันอย่างต่อเนื่องและตลอดไป ดังตัวอย่างเช่น เด็กทารกที่ออกจากครรภ์มารดา เมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้นตามพัฒนาการเด็กเริ่มที่จะต้องซักถามพ่อแม่อยู่ตลอดเวลา และพ่อแม่ต้องตอบคำถาม ก็แสดงให้เห็นว่าเด็กเริ่มจะเรียนรู้ รับรู้เพื่อพัฒนาตัวเองต่อไปตามลำดับ ถ้าเราขับรถยนต์ไม่เป็นเราต้องมีการเรียนรู้สิ่งที่เราไม่เป็น อาจจะไปเรียนโรงเรียนสอบขับรถ หรือสามี ภรรยา เพื่อน สอนให้เรา เราก็จะเกิดการเรียนรู้ในวิธีการขับรถให้เป็นและปลอดภัย ดังนั้น การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนพฤติกรรมให้เกิดการเรียนรู้ จะแบ่งออกเป็นพฤติกรรมภายนอกและพฤติกรรมภายใน สังคมไทยในอนาคต มีความจำเป็นที่คนไทยทุกคน มีความเสมอภาคกัน มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตและทุกคน พร้อมที่เรียนรู้อยู่เสมอแต่จะรู้มากหรือรู้น้อยขึ้นอยู่กับการศึกษาค้นคว้าของตนเองและพฤติกรรมที่ทำให้คนเกิดการเรียนรู้ในสิ่งต่างๆนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสงสัยอยู่ตลอดเวลา และต้องหาคำตอบเพื่อให้ตนเองหายสงสัยให้ได้ ชอบถามเพื่อให้ตนเองได้มีความรู้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา

ครูผู้สอนบรรยายแล้วตั้งคำถามแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกันระหว่างครูผู้สอนและผู้เรียนพยายามตั้งคำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามช่วงแรกส่วนมากจะไม่ค่อยกล้าตอบคำถามตอนท้ายชั่วโมงนักศึกเริ่มตอบคำถาม ครูยกตัวอย่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างไร ผู้เรียนสนุกสนาน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท