ดอกไม้


Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ


                                                               บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


วันที่ : 17 สิงหาคม 2557

เรื่อง :  ความรู้  :  ประเภทของความรู้

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1


1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

     ได้ศึกษาเรื่องการใช้  KM  ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

     Knowledge  Management  หรือ  KM  เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร  ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร  มาพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้  พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้และนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน  พัฒนางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ทำให้เกิดการพัฒนาฐานความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กรอย่างต่อเนื่อง  ส่งผลให้องค์กรเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  หรือ  LO)  หรือสังคมแห่งการเรียนรู้  ที่สามารถเพิ่มขีดสมรรถนะในเชิงแข่งขันได้สูงสุด

2.  ความคาดหวังในการเรียน

     2.1  ความรู้ที่จะนำไปจัดทำ  KM  คือความรู้อะไรและได้มาจากที่ใด     

     2.2  KM  จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

    3.1  ความรู้คืออะไร  ความรู้  คือ  เนื้อหาหรือประสบการณ์

           kujiro  Nonaka  กล่าวถึงความรู้ไว้ว่า  เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนที่สุด  โดยเฉพาะในยุค  Knowledge  Based  Economy  เช่น  กลุ่ม  OECD  

           การที่องค์กรจะดำรงอยู่ได้ในยุค  Knowledge Based Economy. จำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรจะต้องปรับยุทธศาสตร์ทั้งหมดขององค์กร  การปรับยุทธศาสตร์เพื่อเข้าสู่การแข่งขันที่ต้องอาศัยความเร็ว  ความถูกต้อง  ความมีประสิทธิภาพ  ความได้เปรียบทางธุรกิจ

           ประเภทของความรู้  แบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ  


           

     1. ความรู้เด่นชัด  (Explicit  Knowledge) 

         เป็นความรู้ที่อยู่ในรูปแบบที่เป็นเอกสารหรือวิชาการ  อยู่ในตำรา  หรือคู่มือปฏิบัติงาน

     2. ความรู้ซ่อนเร้น  (Tacit  knowledge)

         เป็นความรู้ที่แฝงอยู่ในตัวคน  เป็นประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน  เป็นภูมิปัญญา

     ลักษณะเด่นของความรู้

      Pumer,  Paul  M. (1993 : 64)  ความรู้ยิ่งใช้ยิ่งมีมาก  ไม่มีขีดจำกัด  เมื่อนำความรู้ใหม่มาผสมกับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วในตัวคนก็จะเกิดความรู้ใหม่ ๆ มากขึ้นได้อีก  การสร้างความรู้ใหม่จากงานที่ทำ  และหมุนเวียนกลายเป็นวงจรความรู้ ได้ไม่จบสิ้น

      สังคมประกิต   (Socialization  Process)  คือ  กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมซึ่งดำเนินอยู่ตลอดเวลาที่มีลมหายใจ   

      จากความรู้ที่ได้รับในวันนี้ทำให้ความคาดหวังในการเรียนของข้าพเจ้าบรรลุเป้าหมายในการเรียน  1  ขัอ  คือ  ความรู้ที่นำไปจัดทำ  KM  มาจากที่ใดบ้าง  และความรู้นั้นคืออะไร  แต่ข้อที่ยังไม่บรรลุความคาดหวัง  คือ  KM  จะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

 4.  ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน

       จากประเด็นที่เรียนในวันนี้  ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า  ทุกคนมีความรู้อยู่ในตัวเอง  โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้น                         (Tacit  knowledge)  ความแตกต่างของความรู้  คือ  ความรู้เด่นชัด  (Explicit  Knowledge)  เพราะความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของแต่ละบุคคลไม่เหมือน

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

     5.1  การพัฒนาตน

            จะพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และพัฒนาความรู้เด่นชัดในตนเองและบุคคลในสังคมประกิต

     5.2  การปฏิบัติงาน

            ในฐานะที่เป็นครูจะนำความรู้ไปพัฒนาผู้เรียน  โดยส่งเสริมให้ผู้เรียนหมั่นแสวงหาความรู้  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

6.  บรรยากาศการเรียน      

     6.1  ห้องเรียนสะอาด  อากาศถ่ายเทสะดวก  มีสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย

     6.2  ความรู้สึกที่มีต่ออาจารย์  สอนสนุก  ไม่เครียด  แต่บางครั้งอาจารย์สอนเร็วจนเกินไป  ผลที่ตามมาคือเรียนไม่ทัน  อาจารย์เป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้นักศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  เช่นเดียวกัน

     6.3  ความรู้สึกที่มีต่อเพื่อน  เพื่อนนักศึกษาทุกคนมีการช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

3
0
usasst
เขียนเมื่อ

อนุทินครั้งที่7 รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

โดย นางสาวอุษา สระสันเทียะ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน รหัสนักศึกษา 57D0103126

วันที่5 ตุลาคม พ.ศ 2557 เรื่องการไปฝึกษาดูงานที่โรงเรียนเทศบาล 4

1.การเตรียมตัวล่วงหน้า

- เนื่องจากวันนี้เป็นการศึกษาดูงาน ข้าพเจ้าจึงมีความคาดหวังที่จะเห็นถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาล 4 ว่ามีกระบวนการอย่างไร และใช้ขั้นตอนใดบ้าง

2. ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

- ได้ทราบถึงกระบวนการสร้างองค์กรณ์แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา ของโรงเรียนเทศบาล 4 เพาะชำ ว่ามีการบริหารสถานศึกษาด้วยการจัดการความรู้ โดยใช้ชื่อว่า “เพาะชำโมเดล” ลักษณะของ องค์กรณ์แห่งการเรียนรู้มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่รุนแรง องค์กรณ์ที่ปรับตัวช้านั้นจะล้มหายตายจาก องค์กรณ์ที่จะอยู่รอดคือองค์กรณ์แห่งการเรียนรู้ที่มีการถ่ายทอดความรู้อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นองค์กรณ์แห่งการเรียนรู้จึงเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานจะต้องทำ เพื่อพัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรณ์แห่งการเรียนรู้ ต่อมา Model ของ Senge เป็นโมเดลที่เน้น 3 ระดับ คือ 1.ระดับองค์กรณ์ ควรมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 2.ระดับกลุ่ม เรียนรู้จากกันและกัน 3.ระดับปัจเจก ใฝ่เรียนรู้,มุ่งมั่นพัฒนาคน ฝึกฝนสร้างแผนที่ความคิด

ความรู้นั้นมี2ประเภทคือ ความรู้ภายในคือ ภูมิปัญญา ประสบการณ์ เทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละคนกับความรู้ภายนอก คือ วิชาการ กฎเกณ์ สังเคราะห์การใช้สมอง

“เพาะชำโมเดล” ประกอบไปด้วย 1.การเล่าสร้างพลัง 2.แก่นความรู้ 3.บันใดแลกเปลี่ยน 4.บันทึกแลกเปลี่ยน 5.AAR ซึ่งแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน โดยมี KV(Knowledge vision) M(Mind) 3S(Share , Show ,Support) มีวิธีการดังนี้ ตั้งทีมงาน ให้ความรู้ กำหนดวิสัยทัศน์ความรู้ ฝึกปฏิบัติและปฏิบัติจริง ติดตาม ทำต่อเนื่อง และเผยแพร่ ผลที่ได้คือ คลังความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ๆ ผลที่เกิดบุคลากรในโรงเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้เป็นทีม และคิดอย่างเป็นระบบ

3. จะนำไปประยุกต์ใช้

- จากการศึกษาดูงานวันนี้จะนำความรู้ที่ได้จาก “เพาะชำโมเดล” มาประยุกต์ใช้ในจัดการความรู้ของตนเองและองค์กรณ์ของตนเองนำไปพัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

1
0
xiaomin Li
เขียนเมื่อ

AAR

ทิศทางแนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรและการสอน

มีคนบอกว่าครูก็แค่พูดหน้าห้องเรียนให้นักเรียนฟัง ประสบการณ์ และให้นักเรียนทำตามสิ่งที่บอก นั้นคือรูปแบบการสอนแบบเก่า แต่ในโลกปัจจุบันนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้หลายทาง ครูจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเองและเทคนิการสอนให้ไปตามความต้องการของโลก Product นักเรียนที่มีคุณภาพและมีความสามารถในการประกอบอาชีพถึกเป็นประเด็นสำคัญในการจักการเรียนการสอน นักเรียนมีความรู้ ทฤษฏีอย่างเดี่ยวไม่สามารถออกไปเข็ม กับความต้องของสังคม รูปแบบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เน้นให้นักเรียนได้ฝึกฝน ปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนจะต้องมีหลักสูตร curriculum และเทคนิการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนมีทักษะ

① หลักสูตร curriculum คือ แผนประสบการณเรียนรู้ของผู้เรียนระบบที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรกระบวนการจัดการบุคคลและกระบวนนำระบบไปใช้สาขาวิชา เนื้อหาวิชา

② ทักษะ 5C 1). Creative problem solving skills (ทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ) นักเรียนมีความสามารถและชำนาญในการสร้างความรู้วิธีการใหม่ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ เพื่อเป็นแนวทางและเครื่องมือแก้ปัญหา ให้เป็น Innovator 2). Critical thinking skills ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณ มีความรถในการคิดไตร่ตรองคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อจะทำหรือเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเมื่อมีประเด็นข้อแย้งargument หรือพัฒนาให้คนไทยเป็นนักคิดอย่างมีวิจารณญาณ critical thinker 3).collaborative skills ทักษะการร่วมมือร่วมพลัง มีความสมารถทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่มเรียนรู้ประสบการย์การทำงานเป็นทีม เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันและเก็ดความสุขในการทำงาน 4). Communicativeskills ทักษะสื่อสาร มีความสมารถในการสื่อสาร มีทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียนอย่างมีคุณภาพ 5).computing skills ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ มีความสามารถในการใช้เทคโลโนยีสารสเทศ อย่างมีคุณภาพ

AAR.pdf see here 

สรูป การจัดการการสอนกรบวกการวิทยาศาสตร์ และวิธีการวิทยาศาสตร์สามารถทำให้การสอนมีผลสัมฤทธิ์มากขึ้น

4
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท