อนุทินล่าสุด


ผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา                        การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

รหัสวิชา                 102611

อาจารย์ผู้สอน        ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร  เนาวนนท์

อบรมเรื่อง              หลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน AEC

บันทึกวันที่             3 สิงหาคม 2557

ผู้บันทึก                 นางสาวผกาวรรณ   สุวรรณภูมานนท์    รหัสนักศึกษา   57D0103110

                             นักศึกษาปริญญาโท สาขาหลักสูตรและการสอน (ภาคพิเศษ หมู่1)


การเตรียมตัวล่วงหน้า

            ได้ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวกับเรื่อง การจัดการความรู้ (KM) ได้ทราบว่า KM นั้น คือ เครื่องมือเพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ บรรลุเป้าหมายของงาน บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

             องค์ประกอบสำคัญของการจัดการจัดการความรู้ คือ 1.  คน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์    2.   เทคโนโลยี เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหาและแลกเปลี่ยน   3.  กระบวนการความรู้ เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้อื่นใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง

             การจัดความรู้ต้องสร้างแรงจูงใจอย่างแท้จริงต่อการดำเนินการนำไปสู่ความสำเร็จของการจัดความรู้


ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

             ในวันนี้ได้เข้ารับการอบรม เรื่อง หลักสูตรและการสอนของประเทศในอาเซียน จากเจ้าของภาษาทั้ง 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเวียดนาม ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศกัมพูชา และประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสรุปความรู้ได้ดังนี้

             -  ประเทศเวียดนาม  การศึกษาของประเทศเวียดนามจะแบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ 1.ก่อนประถมศึกษา  2.  การศึกษาสามัญ   3.   การศึกษาด้านเทคนิคและอาชีพ   4.   การศึกษายกระดับอุดมศึกษา    5.  การศึกษาต่อเนื่อง

             การศึกษาสามัญ 12 ปี ของเวียดนามมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประชาชนได้มีวิจิตญญาณในความเป็นสังคมนิยม มีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีความสามารถในด้านอาชีพ

             การสอนจะใช้เวลาในโรงเรียนครึ่งวัน โดยครูควบคุมและนำเสนอบทเรียนประมาณ 15 นาที จากนั้นนักเรียนต้องคิดหรือปฏิบัติ   และอีกครึ่งวันจะเป็นการศึกษานอกโรงเรียน

             -  ประเทศฟิลิปปินส์  การจัดหลักสูตรของประเทศนี้ มีความทันสมัยเพราะมีหลักสูตรการศึกษาที่ทันสมัยแบบเดียวกับสหรัฐอเมริกา ระบบการศึกษามีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ การศึกษาที่เป็นทางการมี  3 ระดับ ส่วนการศึกษาที่ไม่เป็นทางการรวมถึงการศึกษานอกโรงเรียน ประเทศนี้ใช้การเรียนการสอนแบบทวิภาษา คือบางวิชาจะเป็นภาษาอังกฤษ นอกนั้นเป็นภาษาฟิลิปปินส์

              -  ประเทศกัมพูชา  จัดการศึกษา  5 อันดับ แบ่งเป็น ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น  มัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา การจัดหลักสูตรมีทั้งระยะยาว ระยะสั้น เพื่อรับรองความต้องการของตลาดแรงงาน

              -  ประเทศสิงคโปร์  จัดการเรียนการสอนโดยยึดหลักความถนัดและความแตกต่างของตนเอง แบ่งเป็น ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา  หลักสูตรการเรียนการสอนของประเทศนี้ได้รับการยอมรับ ซึ่งจัดให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน


ความคิดเห็นประเด็นที่อบรม

              เมื่อทราบการจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ แล้ว ควรพัฒนาระบบการศึกษาใหม่ โดยยึดระบบการศึกษาของประเทศที่มีการพัฒนาและได้รับการยอมรับมาปรับปรุงใช้กับทุกประเทศ เพื่อให้การศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


การนำความรู้ไปใช้

             จากการอบรมในครั้งนี้ ได้ทราบถึงการจัดการเรียนการสอนของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แต่สิ่งที่มีเหมือนกัน คือ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เมื่อเรียนจบสามารถประกอบอาชีพได้ สามารถนำความรู้ในส่วนนี้ไปปรับใช้ในการสอนในห้องเรียน โดยเฉพาะกิจกรรมหน้าชั้นเรียน การสอดแทรกภาษาที่สอง ที่สาม เพื่อให้ผู้เรียนคุ้นเคย ปรับเนื้อหาการเรียนให้น้อยลง เรียนรู้จากของจริงให้มากขึ้น


บรรยากาศในการอบรม

             การเรียนในวันนี้เป็นการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่มีประสบการณ์ ได้เรียนรู้ระบบการศึกษาของประเทศเพื่อนบ้าน จากเจ้าของภาษา

             วิทยากรมีความกระตือรือร้นในการถ่ายทอดประสบการณ์ สร้างความเป็นกันเอง การอบรมไม่น่าเบื่อ ผู้เข้ารับการอบรมตั้งใจฟัง และมีการจดบันทึก ทำให้การอบรมครั้งนี้ราบรื่นไปได้ด้วยดี


ข้อเสนอแนะ

             ควรมีการอบรมหลักสูตรและการสอนในประเทศอาเซียน อีก  5 ประเทศ คือ

ประเทศบรูไน  ประเทศอินโดนีเซีย  ประเทศลาว  ประเทศมาเลเซีย  และประเทศเมียนมาร์ หรือพม่า  เพื่อทราบข้อมูล และนำมาปรับใช้ให้เหมาะสม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผกาวรรณ สุวรรณภูมานนท์
เขียนเมื่อ

                                                                            บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา                          การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

รหัสวิชา                   102611

อาจารย์ผู้สอน          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศร  เนาวนนท์

เรียนเรื่อง                 สังคมแห่งการเรียนรู้

บันทึก                      วันที่  27 กรกฎาคม 2557

ผู้บันทึก                   นางสาวผกาวรรณ   สุวรรณภูมานนท์   รหัสนักศึกษา57D0103110

                                นักศึกษาปริญญาโท  สาขาหลักสูตรและการสอน  (ภาคพิเศษ หมู่1)


ความรู้ความเข้าใจที่ได้

        ได้ทราบว่าสังคมแห่งการเรียนรู้ คือ การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทำให้เกิดการเรียนรู้  พฤติกรรมจะเปลี่ยนตามตัวชี้วัด สมรรถนะ สังคมแห่งการเรียนรู้ต้องมีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ร่วมกันแก้ปัญหา


ความคิดเห็นประเด็นที่เรียน

          การศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปตามความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก ดั งนั้นการเรียนรู้เกิดได้ตลอดเวลา และเกิดได้กับทุกคน คนทุกคนเรียนรู้ได้ไม่ใช่จากครู  แต่เรียนรู้จากการสัมผัสแหล่งข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เพราะฉะนั้นผู้เรียนต้องหมายถึงคนทุกคน และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน


การนำความรู้ไปใช้

        ต้องมีการพัฒนาการศึกษาโดยการส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ เพื่อให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างเสมอภาค เรียนรู้จากกันและกัน จะต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ กระตือรือร้นอยู่เสมอ


บรรยากาศการเรียน

        บรรยากาศในการเรียน ท่านอาจารย์กระตุ้นให้นักศึกษาได้ร่วมแสดงความคิดเห็น นักศึกษาให้ความร่วมมือ บรรยากาศในห้องเรียนเป็นกันเอง อบอุ่น ไม่ตึงเครียด

สภาพห้องเรียนมีความเหมาะสม   สะอาดเหมาะแก่การเรียนการสอน    โต๊ะเก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา     สื่อการสอนทันสมัย     แสงสว่างเพียงพอ     อากาศถ่ายเทได้สะดวก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท