ดอกไม้


sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 3

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ดร. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

เรื่อง  ทิศทางการวิจัยและพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนในศตวรรษที่ 21

สิ่งที่คาดหวัง

มีความรู้ความเข้าใจแนวทางในพัฒนาด้านหลักสูตรและการสอนให้เหมาะกับศตวรรษที่ 21

ความรู้ที่ได้รับ

การเป็นเด็กดี เด็กเก่ง เด็กมีสุขนั้นเป็นลักษณะที่ชาติต้องการซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของชาติในปัจจุบันประเทศไทยก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นยุคที่จะต้องสร้างเด็กไทยให้ยืนอยู่บนโลกได้อย่างมีความสุขและอยู่ปลอดภัยจากสิ่งต่างๆได้ ซึ่งลักษณะที่เด็กไทยพึ่งประสงค์ในยุคศตวรรษที่ 21 คือ E (L+L+I) E=Ethical จริยธรรมL=Learner เป็นผู้ใฝ่รู้ L=Leader ผู้นำ I=Innovator เปลี่ยนแปลงดังนั้นเพื่อให้สามารถพัฒนาเด็กไทยให้ได้ลักษณะดังกล่าวจึงต้องมีการพัฒนาครูให้มีศักยภาพ โดยสรุปคือ ครูต้องมีทักษะสำคัญ 7 ประการเรียกสั้นๆว่า 7Cเป็นทักษะเพื่อการเป็นครูมืออาชีพโดยทั้งหมดนี้ต้องมีการพัฒนาผ่านการสร้างหลักสูตร การที่ผู้เรียนจะเกิดทักษะการคิดที่ดีนั้นต้องผ่านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 5 Steps คือ 1.ระบุคำถาม 2.แสวงหาสารสนเทศ เป็นขั้นพิสูจน์สมมติฐาน เพื่อหาคำตอบของสมมติฐาน 3.สร้างความรู้ หรือการสรุปความรู้ที่ได้ 4.สื่อสาร เป็นการนำเสนอความรู้ที่ได้จากการสร้างความรู้ความเข้าใจ 5.ตอบแทนสังคม เป็นการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่การสอนด้วยกระบวนการ 5 ขั้น เป็นวิธีการสอนแบบสืบค้นและวิธีสอนแบบโครงงานโดยบูรณาจากเรื่องราวต่างๆซึ่งเมื่อวิเคราะห์กระบวนการขั้น 1, 2, และ 3 จากการระบุคำถามถึงการสร้างความรู้ หรือสรุปผลขั้นที่ 3 ดังกล่าว คือขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการคิดประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้ 1) ระบุคำถาม 2)[ ตั้งสมมติฐาน 3) ออกแบบรวบรวมข้อมูล4) ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล5) วิเคราะห์และสื่อความหมายข้อมูล6) แปลความหมายและสรุปส่วนขั้นที่ 4 ของกระบวนการเรียนรู้ เป็นการส่งเสริมทักษะการอ่าน พูด เขียน ขั้นที่ 5 เป็นตอบแทนสังคม ซึ่งเป็นขั้นที่ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้มีการนำผลงานไปเผยแพร่ หรือใช้ในชีวิตจริง

การนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงาน

นำความรู้ที่ได้ ทักษะการพัฒนาครูมาใช้ในการพัฒนาตนเอง เพราะทักษะครูมืออาชีพเป็นทักษะที่สำคัญที่จะเป็นตัวช่วยในการเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ต้องปฏิบัติและพึงมีได้แก่ พัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง การนำนวัตกรรมไปใช้ การประเมินตามสภาพจริง การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน การจัดการชั้นเรียน การเสริมสร้างลักษณะ และนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลอย่างมีคุณภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ใช้การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และเกิดนวัตกรรมด้วยวิจัยมาใช้ในการเรียน การสอน

6
0
sunee leknok
เขียนเมื่อ

บันทึก AAR ครั้งที่ 2

รายวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ (102611)

ผู้สอน ผศ. อดิศรเนาวนนท์

โดย นางสาวสุนีย์  เลขนอกรหัสนักศึกษา 57D0103118ระดับปริญญาโท ภาคพิเศษ สาขาหลักสูตรและการสอน

วันที่ 9 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่อง การอบรมเรื่อง Flipped Classroom

…………………………………………………………………………………………………………………………………..

ความคาดหวัง

ต้องการรู้ว่า Flipped Classroomคืออะไรมีประโยชน์อย่างไรและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่

ความรู้ที่ได้

จากการเข้าร่วมอบรมเรื่อง Flipped Classroom ทำให้รู้ถึง Type of generationว่าแต่ละช่วงวัยมีลักษณะอย่างไร ทำให้มีความรู้ ความเข้าใจบุคคลแต่ละช่วงวัยได้ง่ายโดยเริ่มจาก

  • -Babybloomerคือคนที่เกิดในปี2489 – 2507มีลักษณะเคารพกฎเกณฑ์ มีชีวิตอยู่เพื่องานมีความจงรักภักดีต่อองค์กรไม่ค่อยเปลี่ยนงาน
  • -Gen X เกิดในช่วงปี 2508 – 2522มีพฤติกรรมที่ชอบอะไรง่ายๆไม่เป็นทางการทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่พึ่งพาใครมีความคิดเปิดกว้างพร้อมปรับปรุงพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • -Gen Yเกิดในช่วงปี 2523 – 2553คนกลุ่มนี้ชอบนอกกรอบรักอิสระไม่ชอบเงื่อนไขมีความคิดเป็นตัวของตัวเองสามารถทำงานหลายๆอย่างได้ในเวลาเดียวกันเนื่องจากเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี
  • -Gen Z คนในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป หรือเด็กศตวรรษที่ 21มีอิสระในการเลือกสิ่งที่ตัวเองสนใจ มีลักษณะเป็นตัวของตัวเองต้องการดัดแปลงสิ่งต่างๆให้ตรงกับความพอใจและความต้องการของตนเองสามารถตรวจสอบความจริงเบื้องหลังได้ชอบความสนุกสนานและการเล่นเป็นส่วนหนึ่งของงานและการเรียนรู้ชีวิตและสังคมเป็นตัวของตัวเองและสามารถปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ต้องการความรวดเร็วในการสื่อสารการหาข้อมูลและคำตอบสร้างนวัตกรรมต่อทุกทุกสิ่งทุกอย่าง

Type of generationนั้นทำให้รู้ถึงความแตกต่างของบุคคลในแต่ละช่วงวัยว่ามีความต้องการไม่เหมือนกัน

ดั้งนั้นลักษณะการเรียนรู้ก็แตกต่างกันด้วย

Flipped Classroomห้องเรียนกลับด้านเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นในต่างประเทศในปัจจุบันมีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาแนวคิดของ Flipped Classroomคือ นำสิ่งที่เคยทำที่บ้านมาทำที่โรงเรียนนำสิ่งที่ทำที่โรงเรียนไปทำที่บ้าน (เรียนที่บ้าน ทำการบ้านที่โรงเรียน) เน้นการเรียนที่มีปฏิสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนผู้เรียนเป็นผู้ออกแบบหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนโดยมีการบูรณการ PBLPCL และ Essentialเข้าด้วยกัน

Essential : มีลักษณะการสอนไม่มากนักเริ่มทีละน้อยๆโดยการฝึกให้เด็กคิดและนำไปเชื่อมโยงกับสิ่งต่างๆได้

Problem based Learning (PBL) : คือการเรียนโดยผ่านงานหรือการปฏิบัติจริงโดยอาจมีการฝึกทำในลักษณะของโครงงานก็ได้โดยมีครูเป็นผู้คอยดูแล

Programmable Logic Controller (PLC) : เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการออกแบบการเรียนรู้เน้นทุกฝ่ายช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็น

โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำเน้นผู้เรียนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวผู้เรียนเองและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้จริง เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ โดยทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญของ Flipped classroom ประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้ในชีวิตและการทำงาน การเรียนรู้และนวัตกรรม และด้านสารสนเทศเทคโนโลยี

การนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

บรรยากาศในการอบรมครั้งนี้ เอื้อต่อการเรียนรู้มีทั้งสื่อ เทคโนโลยี ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจให้ผู้เรียนไม่เบื่อในทุกกิจกรรมคลิปวิดีโอต่างๆ ที่นำมาให้ดูเป็นตัวสะท้อนเปรียบเทียบเรื่องวิธีการสอนได้ดีมากทำให้มองเห็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในเรื่องการสอนของตัวเองดั้งนั้นการอบรมครั้งนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสามารถนำเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจและส่งผลตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้


4
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท