ดอกไม้


นางสาว ประภาศรี แสงอนุศาสน์
เขียนเมื่อ

การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สไตล์ ศตวรรษที่ 21

การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สไตล์ ศตวรรษที่ 21 สามารถทำได้จริงหรือไม่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของไทย ไดมีพัฒนาการ มาเป็นระยะ ๆ ตามกาลเวลาในสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง การศึกษาสมัยปฏิรูปการศึกษา (2435-2475) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักสูตรพุทธศักราช 2521-2524

การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สไตล์ ศตวรรษที่ 21.doc

4
0
Nichapat Limsuk
เขียนเมื่อ

คอลลาเจน (Collagen)

                  คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนประเภทเส้นใย โดยมีโครงสร้างเป็น สายโพลีเป็ปไทด์สามสายเชื่อมกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ภายในสายของโพลีเป็ปไทด์จะเกิดการรวมกันของกรดอะมิโน (G-X-Y)n โดย G คือ ไกลซีน (Glycine) X คือโพรไลน์ (Proline) และ Y คือ ไฮโดรโพรลีน (Hydroproline) โดยไฮโดรโพรลีนเป็นโพรลีนที่มีการเติมไฮดรอกซิล (OH-) คอลลาเจนส่วนใหญ่พบในโครงสร้างสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เส้นเอ็น กระดูก ผิวหนัง ระบบท่อลำเลียงต่างๆ รวมถึงเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่อยู่รอบกล้ามเนื้อ ซึ่งพบคอลลาเจนในประมาณ 30% ของโปรตีนในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยในปัจจุบันมีการนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของยาบางชนิดในการแพทย์และเภสัชกรรม ใช้ทำเป็นเจลาตินในวุ้น และใช้ทำเป็นแคปซูล

เห็ด (Mushroom)

                     เห็ด (Mushroom) เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ที่ถือกำเนิดมากกว่า 130 ปีก่อน ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของซากพืชในธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบหลักเป็น เซลลูโลส ลิกนิน และมูลสัตว์ โดยเห็ดนั้นมีเอมไซม์อยู่หหลายชนิด ทำให้สามารถย่อยสลายวัสดดุที่มีโครงสร้างของอาหารที่ซับซ้อนได้เป็นในรูปแบบของสารอาหารที่สามารถดูดซึมได้ นอกจากนั้นเห็ดไม่เพียงแค่สามารถลดของเสียที่เกิดจากธรรมชาติได้แล้ว แต่ยังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆอีกด้วยโดยส่วนใหญ่ประโยชน์ที่ได้จากเห็ดนั้นจะเกิดจากโปรตีนจำพวกคอลลาเจนที่อยู่ในเห็ดบางชนิด นอกจากนั้นยังมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆที่ได้จากเห็ด โดยเฉพาะวิตามิน B1 และ B2 แต่เห็ดนั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่มพืชชั้นต่ำ เพราะเห็ดนั้นไม่มีคลอรฟิลล์เพื่อทำการสังเคราะห์แสงด้วยตนเอง ดังนั้นภูมิลักษณะที่เห็ดจะสามารถอยู่ได้นั้น จะต้องเป็นภูมิลักษณ์ที่มีรากพืชอยู่ ประกอบกกับสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างชื้น โดยเห็ดจะสามารถเกิดขึ้นได้ ส่วนการกระจายเห็ดนั้น จะผลิตสปอร์เพื่อทำการกระจายพันธุ์ โดยเมื่อสปอร์สร้างเสร็จ จะปลิวออกไปสู่ภายนอกเห็ด และเมื่อสปอร์เห็ดไปตกสู่ภูมิประเทศที่สามารถเจริญเติบโดตได้ ก็จะเจริญเติบโตต่อไปเป็นใยรา และทำการพัฒนาจนกลายเป็นเห็ดโคนใหม่ใน

3
0
สมเกตุ ต่วนโต
เขียนเมื่อ

การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงที่มีฐานความช่วยเหลือทางการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่น เรื่องการสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

3
0
ไพโรจน์ เดชะรัตนางกูร
เขียนเมื่อ

เรียนให้เป็นเรียน อย่างไรในยุค 3G

อดีตสักเมื่อประมาณเกือบ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาในประเทศไทยแต่ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก ยังคงจำกัดใช้ในสถานศึกษาเท่านั้น ในช่วงเวลานั้นหากเราต้องการที่จะค้นคว้าหาความรู้อะไรสักอย่างช่างเป็นเรื่องที่ลำบากยากเข็ญมาก เพราะจะต้องเข้าไปศึกษาและค้นคว้าจากห้องสมุด ที่มีหนังสือมากมายก่ายกอง ซึ่งแน่นอนว่าเนื้อหาจะไม่ทันสมัย เพราะหนังสือบางเล่มก็ตีพิมพ์มานานแล้ว ซึ่งในความจริงแล้วข้อมูลต่าง ๆ ได้มีเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน หรือหากต้องการจะติดต่อกับบุคคลอื่นก็จะต้องใช้จดหมายหรือโทรศัพท์ ซึ่งก็มีข้อดี ข้อเสียต่างกันไป เช่นถ้าเป็นการติดต่อกันด้วยจดหมายก็จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกมากแต่ก็ช้ามาก อาจจะใช้เวลาถึง 3 – 7 วันกว่าจดหมายในแต่ละฉบับจะส่งถึงมือผู้รับและในบางครั้งจดหมายก็อาจจะไม่ถึงผู้รับเพราะสูญหายระหว่างทางเช่นกัน และสำหรับโทรศัพท์ซึ่งนับว่าเป็นการติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วที่สุดในสมัยนั้นก็จะมีค่าใช้จ่ายที่แพงมากเช่นกัน โดยจะคิดเป็นนาที 3 – 21 บาทต่อนาทีเลยทีเดียว และในก่อนสมัยที่ข้อมูลข่าวสารยังได้รับการถ่ายทอดเป็นกระดาษ และหากพิจารณาภาษาที่ใช้ของทั้งโลกพบว่า การกระจายของภาษาต่าง ๆ มีมาก แต่ในปัจจุบันการกระจายของภาษาเริ่มลดน้อยลงไปมากจนในปัจจุบันเรากำลังก้าวสู่การเรียนรู้แบบสากลที่ใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารมากขึ้น

ระยะเวลาเพียง 30 ปีนับจากที่อินเทอร์เน็ตได้เข้ามาในประเทศไทย ผนวกกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น เพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ในติดต่อสื่อสารระหว่างกันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องธุรกิจ การค้า บันเทิง หรือในเรื่องของการศึกษาก็ตาม สามารถทำทุกอย่างได้ง่ายมากขึ้น การค้นคว้าหาความรู้ การหาประสบการณ์ ในปัจจุบันหากต้องการ ซื้อสินค้า บริการ หรือต้องการติดต่อสื่อสารกับใคร ก็คงจะต้องเปิดหาจากเว็บ เรียกค้นหาผ่าน Google หรือโปรแกรมค้นหาอื่น ๆ เช่น Yahoo, Bing ฯ ซึ่งทำให้ขีดความสามารถการเรียนรู้ของผู้คนที่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มีมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้การสร้างข้อมูลดิจิตอลก็สามารถทำได้ง่ายมากขึ้นตั้งแต่การถ่ายภาพนิ่งด้วยกล้องดิจิตอล การถ่ายคลิปวิดีโดด้วยโทรศัพท์มือถือ การตัดต่อ และการนำไปเผยแพร่ อีกทั้งมีการตั้งและรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายสังคม ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมาก ก่อให้เกิดการเพิ่มปริมาณของข้อมูลดิจิตอลเป็นอย่างมากสิ่งที่สำคัญน่าจะอยู่ที่การใช้ดิจิตอลอย่างมีคุณภาพ การเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่รูปแบบใหม่ เพราะทุกวันนี้เราเห็นได้ชัดว่า การใช้อินเทอร์เน็ตและดิจิตอลในกลุ่มเยาวชน ยังใช้เพื่อการบันเทิงและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่เน้นในเรื่องเพื่อการเรียนรู้หรือการใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ การเพิ่มคุณค่าจากโลกดิจิตอลจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งรีบดำเนินการ

เมื่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ของผู้คนเริ่มมากขึ้น ปริมาณการใช้พลังงานจากการดำเนินการของอุปกรณ์เหล่านี้มีมากขึ้นจนในปัจจุบันมีการใช้พลังงานเพื่อการทำงานด้วยไอซีทีเหล่านี้ก็มีมากขึ้น จนปัจจุบันมีการใช้พลังงานเพื่อการทำงานด้วยไอซีทีมากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ใช้ในการขนส่งและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอีกมาก นั่นหมายถึงว่าเราเริ่มสร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมทางกอ้อมจากการใช้พลังงานมากขึ้นนี่เอง กระแสการใช้ไอซีทีแบบกรีนจึงเป็นกระแสหนึ่ง ที่สังคมกำลังให้ความสำคัญ สังคมอยากให้ผู้คนสนใจในปัญหาสิ่งแวดล้อม หันมาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า และการทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อให้การใช้คอมพิวเตอร์และการสื่อสารที่ยังขยายตัวอีกมากในอนาคตจะไม่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อมมากเกินไป

จากการคาดคะเนแนวโน้มในการใช้ไอซีทีที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งคือ การใช้โน้ตบุ๊ก ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กมีจำนวนมากกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ นั่นหมายความว่า ผู้ใช้มีความคล่องตัวและใช้แบบติดกับตัว หรือให้เวลากับการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น อีกทั้งความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นไปตามกฏของมัวร์ กล่าวคือมีการพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นสองเท่าทุก ๆ สิบแปดเดือน ดังกราฟการพัฒนาเทคโนโลยีซีพียูของอินเทลตลอดกว่าสามสิบปีที่ผ่านมา

ที่มา : http://www.carthrottle.com/

นอกจากนี้จากข้อมูลของ Gartner (http://www.gartner.com/)">http://www.gartner.com/) บริษัทผู้ทำวิจัยพบว่า แนวโน้มทางเทคโนโลยีอัตราการเพิ่มแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล กล่าวว่า ภายในปี 2013 การเรียกค้นหรือการดูข้อมูลข่าวสารบนเว็บ ผู้คนจะเรียกดูข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือมากกว่าที่จะเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ นั้นก็หมายความว่าอุปกรณ์มือถือที่ใช้โทรศัพท์พูดคุยจะกลายเป็นคอมพิวเตอร์และจะแพร่หลายมาก มีผู้ใช้งานอย่างแพร่หลายซึ่งหากเรามองไปรอบ ๆ ตัว สิ่งที่เกือบทุกคนจะมีอยู่ก็คือโทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มักจะใช้โทรศัพท์มือถือที่เป็น Smart Phone ซึ่งสามารถเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ ยิ่งในตอนนี้ระบบการสื่อสารเป็นแบบ 3G การสื่อสารข้อมูลจะยิ่งแพร่หลายมากยิ่งขึ้น

การจัดการความรู้

ปัจจุบันในสถานศึกษาต่าง ๆ จะมีข้อมูลอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา ข้อมูลของหลักสูตร ข้อมูลวิชาการ ทะเบียนนักเรียน ผลการเรียน ดังนั้น การจัดการความรู้จึงมิได้กำหนดเฉพาะในห้องสมุดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นแหล่งความรู้จากทุกรูปแบบ ภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา ดังนั้นสถานศึกษาจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้

แหล่งความรู้ในโรงเรียนในปัจจุบันมาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งจากหนังสือ บทความ รูปภาพ วิดีโอ สื่อ ข้อมูล ข่าวสาร จากผู้บริหาร จากผู้เชี่ยวชาญ จากภูมิปัญญา ท้องถิ่นต่าง ๆ ดังนั้นการทำงานของโรงเรียนในแนวใหม่จึงเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อจะเป็นเครื่องมือในการใช้จัดการความรู้ การเข้าถึง การเรียกค้น และการใช้ประโยชน์จากแหล่งความรู้เหล่านั้น ดังนั้นโรงเรียนจะต้องปรับทัศนคติและกระบวนการคิดในเรื่องการบริหารและการจัดการความรอบรู้ เพื่อเปิดมิติใหม่สำหรับการใช้ประโยชน์จากความรู้ที่นับวันจะมีคุณค่ามากยิ่งขึ้น และสร้างฐานของสังคมความรอบรู้ต่อไป

การเรียนที่เปลี่ยนไป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าการเรียนการสอนในยุคนี้ ต่างจากอดีตมาก การสื่อสารที่มีเครือข่ายความเร็วสูงทำให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเข้าถึงแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้มากและรวดเร็ว การค้นคว้าต่าง ๆ ก็คงจะไม่ต้องไปห้องสมุดเหมือนเมื่อก่อน จนเด็กและคนรุ่นใหม่พูดกันติดปากว่า อยากรู้อะไรให้ถาม อากู๋ อากู๋ บอกได้ทุกอย่าง จนมีคำที่คนรุ่นใหม่รับรู้ว่า ปัจจุบันมีครูเหลืออยู่เพียงสามคน คนแรกคือ Google คนที่สองคือ Wikipedia และคนที่สามก็คือ Youtube การเรียนรู้สมัยนี้ต้องพึ่งเทคโนโลยีไอซีที ต้องเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาใหญ่ในการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย ทำให้เด็กในสมัยนี้ติดนิสัย C&P หรือที่เรียกกันเล่นว่า Cut (หรือ Copy) และ Paste (วาง) ทำให้ครูบาอาจารย์หลาย ๆ ท่านเกิดความกังวลว่าเด็กจะได้อะไรจากการทำแบบนี้ เพราะเด็กได้นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการคัดลอกซึ่งสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้หลาย ๆ แห่งเริ่มมีการต่อต้านและไม่อยากให้นักเรียนใช้เทคโนโลยี โดยคิดว่าจะทำให้นักเรียนคิดและไม่สามารถเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้

ดังนั้นรูปแบบของการศึกษาในยุคนี้จึงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก เราใช้สมองแก้ปัญหา เราสามารถคิดวิเคราะห์และส่งเคราะห์ได้ เราไม่จำเป็นต้องจำ ถ้าสามารถเก็บและเรียกค้นได้ง่ายและรวดเร็ว สมองจึงต้องมีไว้คิด ไว้แก้ปัญหา ไม่ได้มีไว้เพื่อจดจำ ดังนั้นความรู้ที่ถ่ายทอดออกมาได้ และจดบันทึกได้ หรือที่เรียกว่า explicit knowledge จึงเป็นความรู้ที่เราจะเรียกหามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว แต่การสร้างประสบการณ์ชีวิตหลายอย่าง เราจะต้องผ่านการฝึกฝน และการเรียนรู้ การเรียนรู้ในเรื่องชีวิต การแก้ปัญหา และหาทางริเริ่มที่สร้างสรรค์ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น การสร้างเยาวชนรุ่นใหม่จึงต้องเน้นในเรื่องเหล่านี้ให้มากขึ้น

พัฒนาการอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันมีเซิร์ฟเวอร์ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตกว่าเจ็ดร้อยล้านเซิร์ฟเวอร์ จากข้อมูลของ www.isc.org พบว่าอัตราการเติบโตยังเป็นแบบอัตราที่ก้าวหน้า และมีแนวโน้มถึงพันล้านในอีกสองสามปีข้างหน้า ซึ่งนั่นหมายถึงปริมาณข้อมูลข่าวสารในรูปแบบดิจิตอลจะเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาล

การเพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ตเป็นผลมาจากการพัฒนาเว็บสองจุดศูนย์ที่ทุกคนเป็นผู้ให้ข่าวสารและข้อมูล แทนที่จะเป็นผู้เรียกดูข้อมูลข่าวสารเพียงอย่างเดียว ทุกวันนี้มีคนโพสพล๊อก หรือเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ให้คนอื่นอ่านมากมาย มีการอัพโหลดวิดีโอ ให้คนอื่นเรียกดูได้มากกว่าแสนเรื่องต่อวัน มีการเรียกใช้เครื่องมือค้นหา เช่น Google กว่าสิบล้านครั้งต่อวัน ปริมาณการเพิ่มขึ้นของข้อมูลดิจิตอลมีมากจนอาจจะบอกได้ว่าข้อมูลที่เพิ่มขึ้นใน 1 วัน อาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษาหรือดูถึง 1 ปีก็เป็นได้


ไอซีทีกับการเรียนยุคใหม่

จากการที่อินเทอร์เน็ตได้เกิดการขยายตัวขึ้นอย่างมากและเป็นแหล่งข้อมูล ขุมความรู้อันยิ่งใหญ่ ในฐานที่เราเป็นครู เราจึงน่าที่จะใช้แหล่งเรียนรู้บนอินเทอร์เน็ตนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด กับเด็กและเยาวชนไทยแต่น่าเสียดายที่ นักเรียนและเยาวชนไทยใช้เพื่อการบันเทิงทำให้เกิดปัญหาเยาวชนกับเทคโนโลยี ทั้งเรื่องเด็กติดเกม ติดอินเทอร์เน็ต ติดแชด และการใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์จนไม่สนใจในกิจกรรมรอบตัวที่เกิดขึ้น ไปทำอะไรที่ไหนก็จะต้องถ่ายภาพ ไปเที่ยว ทานอาหารกับเพื่อน แต่กลับคุยกับเพื่อนอีกคนผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ครู อาจารย์ บ่นว่าลูกศิษย์ให้ความสนใจในการเรียนน้อยลง

หากมองดูปัญหานี้ ก็จะพบถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปมาก หากมองมาที่ครูอาจารย์ ก็พบว่าทุกวันนี้เราก็เช่นเดียวกันกับเด็กยุคนี้เหมือนกัน ทุกวันนี้ ครูจะต้องมานั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์และใช้เวลากับทำงานกับหน้าจอมากขึ้น ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน เริ่มมีการเปลี่ยนพฤติกรรมจากการใช้ปากกาเขียนลงบนกระดาษ มาเป็นการใช้แป้นพิมพ์ เขียนลงไปบนหน้าจอ เริ่มมีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เริ่มให้นักเรียนค้นหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต แทนที่การบอกและให้นักเรียนไปอ่านจากหนังสือ

จึงไม่น่าแปลกที่เด็กรุ่นใหม่จะนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือจับโทรศัพท์มือถือนั่งทำกิจกรรมต่าง ๆ คุ้นเคยกับแป้นพิมพ์ เขียนอ่านบนหน้าจอ สื่อสารกับผู้คนและสร้างสังคมกับผ่านทางโซเชียลมีเดีย ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จนคล้ายกับเป็นอีกโลกหนึ่ง ดังนั้นการเรียนการสอนในยุคใหม่จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยในนี้ จากที่อดีตเราให้ความสำคัญกับการสร้างครู สร้างวิธีการสอน จุดศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ต่าง ๆ จะอยู่กับครูผู้สอน ในปัจจุบันจุดศูนย์กลางจะมาอยู่ที่นักเรียน ต้องเปลี่ยนมาเป็นการเรียน ไม่ใช่การสอน ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นและเร็วมากขึ้น องค์ความรู้มีมากมาย จนครูไม่สามารถบอกและสอนได้หมด ผู้เรียนจะต้องแสวงหาและเรียนรู้และนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วจนไม่มีความจำเป็นที่นักเรียนจะต้องจดจำแบบในอดีต อยากได้ความรู้ในเรื่องใดก็แสวงหาผ่านทางหน้าจอได้อย่างสะดวก และแสวงหาได้ทุกเรื่องจนทำให้พฤติกรรมการแสวงหาความรู้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจากหน้ามือเป็นหลังมือ

จนมีผู้กล่าวว่า ปัจจุบันนี้นักเรียนทั้งโลกมีครูที่สำคัญสามคนที่ช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่เหมือนในปัจจุบันนี้

ครูคนแรก ที่ช่วยคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้คือ ครู Google จนมีผู้กล่าวว่าอยากรู้อะไรให้ถามครู Google ครู Google สามารถตอบได้เสมอ ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ถ้ามีจะต้องมีใน Google ด้วย แม้แต่การหาตัวบุคคล หากป้อนชื่อถามครู Google ครู Google ก็จะสามารถตอบได้อย่างรวดเร็วว่าเป็นใคร จนในปัจจุบันขุมความรู้ทั้งโลกครู Google จะไปค้นหาคำตอบมาให้

ครูคนที่สอง ก็คือครู Wikipedia ซึ่งเป็นแหล่งหาความรู้ได้ดีมาก ซึ่งได้จากคนทั้งโลกช่วยกันสร้างขุมความรู้ และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีทุกภาษา จนในปัจจุบันมีมากกว่าสามสิบล้านเรื่อง (ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Special:Statistics">http://en.wikipedia.org/wiki/Special:Statistics ข้อมูล ณ วันที่ 25 เม.ย. 57) เฉพาะภาษาอังกฤษมีมากที่สุด การเพิ่มเติมความรู้สามารถทำได้ตลอดเวลา มีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ครู Wikipedia จึงเป็นครูที่มีผู้ใช้จากทั่วโลก และจะเป็นขุมความรู้ที่จะอยู่คู่กับมวลมนุษย์ ไปอีกนาน จนครู Wikipedia สามารถให้ความรู้กับเราได้ทุกเรื่องที่เราอยากรู้

ครูคนที่สาม นับว่าเป็นครูทันสมัยที่สุดโดยจะให้ข้อมูลในรูปแบบคลิปวิดีโอ ครูคนนี้ชื่อ Youtube ปัจจุบันคลิปวิดีโอมีมากมายที่จะหาดูได้ และมีเนื้อหาหลากหลายโดยเกิดจากผู้คนนำมาใส่เก็บไว้

การศึกษา 2.0 (Education 2.0)

การศึกษาของประเทศไทยและอีกหลาย ๆ ประเทศพัฒนามาถึงในยุคอุตสาหกรรม ที่มีการผลิตแบบอุตสาหกรรม แนวความคิดหลากหลายอย่างจึงได้ฝังรากลึกลงในการศึกษา เน้นโรงเรียนเหมือนโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการผลิตแบบจำนวนมาก นักเรียนที่ผลิตออกมาก็เน้นที่จำนวน นักเรียนจึงเหมือนสินค้าที่ต้องมีสเปค หรือหลักสูตร มีการวางกรอบไว้อย่างชัดเจน มีการทดสอบ ให้ใบรับรองหรือปริญญากับผู้เรียน ซึ่งเหมือนกับการประกันสินค้า ระบบการศึกษา 2.0 น่าจะเหมือนกับการพัฒนาโปรแกรมที่ก้าวหน้าและพัฒนาให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง การศึกษา 2.0 เป็นการศึกษาที่พัฒนามาจากเวอร์ชั่นเดิมคือ 1.0 แนวคิดหลักคือ การศึกษาระบบนี้ต้องยังคงให้เข้ากับของเดิมได้ การศึกษา 2.0 จะเป็นการเสริมระบบการเรียนรู้การเรียนรู้แบบเก่า (ที่มา : http://cubiccreative.org/blog)

การศึกษา 2.0 จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องต่อไปนี้

  • 1.เป็นการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงความเฉพาะตัวตน เพราะทุกคนมีพื้นฐาน และความรู้ ภูมิหลัง ความสนใจ ความคิด ความฉลาด วัฒนธรรม ภาษา หรือแม้แต่ระดับทางสังคมที่แตกต่างกัน การศึกษาตามแนวคิดใหม่นี้จึงต้องปรับให้เข้ากับตัวตน และความเหมาะสมของบุคคล
  • 2.เป็นการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงความสามารถ และพรสวรรค์ ความเก่งเฉพาะด้านของผู้เรียน โดยไม่เน้นเฉพาะด้านวิชา ความรู้ แต่ต้องให้ความสำคัญของจิตวิญญาณและความเป็นมนุษย์
  • 3.เป็นการศึกษาที่ต้องคำนึงถึงบรรยากาศทางดิจิตอลที่อยู่รอบ ๆ ตัวข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ระบบใหม่ต้องไม่มุ่งเน้นไปที่การถ่ายทอดความรู้เข้าสู่ผู้เรียน แต่ให้ความสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ
  • 4.เป็นการศึกษาที่ต้องคำนึงว่า ความรู้จะไม่มีประโยชน์เลยถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่ได้
  • 5.การศึกษาแบบใหม่นี้มีส่วนที่ดำเนินการร่วมกับระบบเก่าได้
  • 6.การศึกษาแบบใหม่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพเช้งการลงทุน มีต้นทุนต่ำ ระบบการศึกษาเดิมมีราคาค่อนข้างแพง ระบบการศึกษาใหม่ต้องมีต้นทุนที่ถูกจนใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้ หรือคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ เรียนได้
  • 7.การศึกษาแบบใหม่ต้องได้รับการกำหนดให้ชัดเจนที่เกี่ยวกับการเกี่ยงโยง หรือสัมพันธ์กับระบบสังคม โดยต้องเป็นระบบที่ทำงานร่วมกับระบบการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นว่าในปัจจุบันนี้การเรียนการสอน และการศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตไปอย่างมาก จากที่ครู ผู้ที่คอยบอก ชี้แนะ แสดงตัวอย่างให้นักเรียน กลับกลายเป็นว่า นักเรียนสนใจศึกษาเรื่องใดสามารถศึกษาและค้นคว้าในเรื่องที่ตนเองสนใจ โดยไม่ต้องอ่านหนังแต่สามารถสืบค้นได้จากแหล่งความรู้ขนาดใหญ่ที่รวบรวมความรู้ทั้งโลกเอาไว้ โดยเก็บข้อมูล ความรู้ไว้ในลักษณะของสื่อดิจิตอลซึ่งมีขนาดเล็กลง จากในอดีตเราจะต้องหอบหนังสือเป็นตั้ง ๆ เพื่อมาเรียนหนังสือแต่ในปัจจุบันนักเรียนอาจจะถือ Tablet เพียงเครื่องเดียวแต่สามารถเก็บหนังสือที่เรียนทั้งหมดไว้ใน Tablet เครื่องนั้นได้ทั้งหมด สงสัยใคร่รู้เรื่องใดก็สามารถสืบค้นได้ทันที

ดังนั้นบทบาทของครูผู้สอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน และเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากผู้รอบรู้ กลายเป็นผู้ชี้แนะหรือแนะแนวทางให้กับผู้เรียน

ผู้เขียน ดร.ยืน ภู่วรวรรณ

เรียบเรียงใหม่ โดยนายไพโรจน์   เดชะรัตนางกูร

1
0
นายนิกร หล้าน้อย
เขียนเมื่อ

การพัฒนาบทเรียนบทเว็บ

3
0
พิมพ์ชนก โพธิ์ทอง
เขียนเมื่อ

แอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อน (hot-wire anemometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดการไหล ที่นิยมใช้วัดความเร็วลมหรือวัดการไหลของของไหลที่อยู่ในสถานะก๊าซ โครงสร้างของแอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อนประกอบด้วย เส้นลวดความต้านทานติดตั้งที่โพรบ (รูปที่ 1) โดยทั่วไปเส้นลวดความต้านทานทำจากแพลททินัมหรือทังสเตน อุปกรณ์วัดการไหลชนิดนี้ทำงานโดยอาศัยหลักการสูญเสียความร้อนของเส้นลวดที่ได้รับความร้อน เมื่อมีลมผ่านเส้นลวดความร้อนจะเย็นตัวลง โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่เกิดขึ้นที่เส้นลวดเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอัตราเร็วของลมที่เคลื่อนที่ผ่านตัววัด ข้อดีของเครื่องมือวัดชนิดนี้ คือ ให้ค่าตอบสนองการวัดที่เร็ว ละเอียด และสามารถใช้วัดกระแสลมที่มีความเร็วต่ำได้ เนื่องจากเครื่องมือวัดมีความไว (sensitivity)ต่อการตรวจจับสูง

แอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อนแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดควบคุมกระแสไฟฟ้าคงที่ และชนิดควบคุมอุณหภูมิคงที่

  • แอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อนชนิดควบคุมกระแสไฟฟ้าคงที่ เส้นลวดถูกทำให้ร้อนโดยการจ่ายกระแสไฟฟ้าคงที่ เมื่อมีลมพัดผ่านทำให้เกิดการถ่ายเทความร้อนจากเส้นลวดในลักษณะการพาความร้อน ทำให้อุณหภูมิ (temperature) ของเส้นลวดลดต่ำลง ส่งผลให้ค่าความต้านทานภายในเส้นลวดมีค่าลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานดังกล่าวแสดงความสัมพันธ์กับค่าอัตราการไหลของของไหลที่ไหลผ่านเครื่องมือวัด อย่างไรก็ตาม เครื่องมือวัดการไหลชนิดนี้ให้ค่าถูกต้อง (accuracy) ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิของไหลที่ต้องการวัดมีค่าคงที่
  • แอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อนชนิดควบคุมอุณหภูมิคงที่ เมื่อมีลมพัดผ่านเส้นลวดความร้อนจะเย็นตัวลงเนื่องจากกลไกการพาความร้อน ดังนั้น หากต้องการรักษาอุณหภูมิเส้นลวดให้คงที่ ต้องจ่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มให้กับเส้นลวดเพื่อชดเชยความร้อนที่เส้นลวดสูญเสียไป โดยค่าพลังงานกระแสไฟฟ้าที่ต้องจ่ายให้กับเครื่องมือวัดแปรผันตามความเร็วลมที่พัดผ่าน

ที่มา : http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/7252/hot-wire-anemometer-แอนนิโมมิเตอร์แบบเส้นลวดความร้อน

โดย : ผศ.ดร.นวภัทรา หนูนาค

5
0
มนันยา ไฉไลพานิช
เขียนเมื่อ

ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น

1. กราฟ

กราฟเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้จำลองปัญหาบางปัญหาโดยเขียนแผนภาพที่ประกอบด้วยจุดและเส้น ปัจจุบันมีการนำทฤษฎีกราฟมาประยุกต์ใช้ในศาสตร์สาขาต่าง ๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา เศรษฐศาสตร์ พันธุศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น

บทนิยาม กราฟ G ประกอบด้วยเซตจำนวน 2 เซต คือ

1. เซตที่ไม่เป็นเวตว่างของจุดยอด (vertex) แทนด้วยสัญลักษณ์ V(G)

2. เซตของเส้นเชื่อม (edge) ที่เชื่อมระหว่างจุดยอดแทนด้วยสัญลักษณ์ E(G)

2. ดีกรี

ดีกรีของจุดยอด

ได้

 จะเห็นว่า เส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอด a ได้แก่ เส้นเชื่อม ab และ ac ดังนั้น จำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด a คือ 2 สำหรับจุดยอด b มีเส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอด b ได้แก่ เส้นเชื่อม ba, bc และ bb เป็นวงวน เกิดกับจุดยอด b กรณีที่มีเส้นเชื่อมเป็นวงวนจะกำหนดให้นับจำนวนเส้นเชื่อมที่เกิดกับจุดยอดนั้นเพิ่มขึ้น โดยให้นับเส้นเชื่อมที่เป็นวงวน 1 วง วงวนเป็น 2 ดังนั้นจำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด b จึงเป็น 4บทนิยาม ดีกรี (Degree) ของจุดยอด V ในกราฟ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอด v

ต่อไปจะเรียกจำนวนครั้งทั้งหมดที่เส้นเชื่อมเกิดกับจุดยอดว่า ดีกรี ใช้สัญลักษณ์ deg v แทนดีกรีของจุดยอด v ตัวอย่างที่ 1 กำหนดกราฟ ดังรูป


จากรูปจะได้ว่า deg a = 2

deg b = 1

deg c = 3

deg d = 4

ตัวอย่างที่ 2 กำหนดกราฟ ดังรูป


จากรูปจะได้ว่า deg a = 5

deg b = 5

deg c = 5

deg d = 4


พิสูจน์ เนื่องจากเส้นเชื่อมแต่ละเส้นในกราฟเกิดกับจุดยอดเป็นจำนวน 2 ครั้ง ดังนั้นเส้นเชื่อมแต่ละเส้น

จะถูกนับ 2 ครั้งในผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุด

นั่นคือ ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเท่ากับสองเท่าของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ

ข้อสังเกต ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเป็นจำนวนคู่เสมอ

ตัวอย่างที่ 3 จงหาจำนวนเส้นเชื่อมของกราฟที่มีผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟเท่ากับ 22

วิธีทำ สมมติว่า กราฟมีเส้นเชื่อม n เส้น

จากทฤษฎีบท 1 ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุดจุดในกราฟเท่ากับสองเท่าของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ

ดังนั้น 22 = 2n

นั่นคือ n = 11

สรุปได้ว่า กราฟมีเส้นเชื่อม11 เส้น

ตัวอย่างที่ 4 จงหาจำนวนจุดยอดของกราฟที่มีเส้นเชื่อม 15 เส้น และมีจุดยอด 3 จุด ที่มีดีกรี 4 ส่วนจุดยอดที่เหลือมีดีกรี 3

วิธีทำ ให้ n เป็นจำนวนจุดยอดที่มีดีกรี 3

ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุดในกราฟ คือ (3)(4) + 3n

จากทฤษฎีบท 1 ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุดจุดในกราฟเท่ากับสองเท่าของจำนวนเส้นเชื่อมในกราฟ

ดังนั้น (3)(4) + 3

เพราะฉะนั้น n = 6

ดังนั้น จำนวนจุดยอดทั้งหมดของกราฟ คือ 3 + 6 = 9 จุด

วิธีทำ สมมติว่า มีดีกรีที่มีจุดยอด 4 จุด และดีกรีของจุดยอดเท่ากับ 1, 1, 2 และ 3

ดังนั้น ผลรวมของดีกรีของจุดยอดทุกจุด คือ 1 + 1 + 2 + 3 = 7

ซึ่งเป็นจำนวนคี่ ขัดแย้งกับทฤษฎีบท 1

ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะมีกราฟดังกล่าว


ตัวอย่างที่ 5 จงพิจารณาว่าเป็นไปได้หรือไม่ว่า จะมีกราฟที่มีจุดยอด 4 จุด และดีกรีของจุดยอด คือ 1, 1, 2 และ 3 ตามลำดับ

ตัวอย่างที่ 6 กำหนดกราฟ ดังรูป


จากรูปจะได้ว่า deg a = 2

deg b = 3

deg c = 0

deg d = 3

deg e = 2

ดังนั้น จุดยอด a, c และ e เป็นจุดยอดคู่

จุดยอด b และ d เป็นจุดยอดคี่

ทฤษฎีบท2 ทุกกราฟจะมีจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่

พิสูจน์ ให้ G เป็นกราฟ

ถ้า G ไม่มีจุดยอดคี่ นั่นคือ G มีจำนวนจุดยอดคี่เป็นศูนย์

จึงได้ว่าG มีจำนวนจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่

ต่อไปสมมติว่า กราฟ G มีจุดยอดคี่ k จุด คือ v1, v2, v3, …, vk

และมีจุดยอดคู่ n จุด คือ u1, u2, u3, …, un จากทฤษฎีบท 1

จะได้ว่า (deg v1 + deg v2 + … + deg vk) + (deg u1 + deg u2 + … + deg un) = 2q

เมื่อ q คือ จำนวนเส้นเชื่อมของ G

ดังนั้น deg v1 + deg v2 + … + deg vk = 2q - (deg u1 + deg u2 + … + deg un)

เนื่องจาก deg u1 + deg u2 + … + deg un ต่างก็เป็นจำนวนคู่

ดังนั้น 2q - (deg u1 + deg u2 + … + deg un) เป็นจำนวนคู่

นั่นคือ deg v1 + deg v2 + … + deg vk เป็นจำนวนคู่

แต่เนื่องจาก deg v1 + deg v2 + … + deg vk เป็นจำนวนคี่

เพราะฉะนั้น k จะต้องเป็นจำนวนคู่ จึงจะทำให้ deg v1 + deg v2 + … + deg vk

เป็นจำนวนคู่ สรุปได้ว่า กราฟ G มีจุดยอดคี่เป็นจำนวนคู่

จากตัวอย่างที่ 5 เราให้เหตุผลโดยอาศัยทฤษฎีบท 2 ดังนี้

สมมติว่า มีกราฟที่มีจุดยอด 4 จุด และดีกรีของจุดยอด คือ 1, 1, 2 และ 3

จะได้ว่า กราฟมีจุดยอดคี่เป็นจำนวน 3 จุด ซึ่งขัดแย้งกับทฤษฎีบท 2 สรุปได้ว่า ไม่มีกราฟที่มีสมบัติดังกล่าว

ตัวอย่างที่ 7 ถ้าในห้องประชุมแห่งหนึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 23 คน เป็นไปได้หรือไม่

ว่าผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนจับมือทักทายผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นเพียง 7 คนเท่านั้น

วิธีทำ แปลงปัญหาดังกล่าวเป็นกราฟ โดยให้จุดยอดแทนผู้เข้าร่วมประชุม และเส้นเชื่อมแทน การจับมือทักทายของผู้เข้าร่วมประชุม

จะได้ว่า กราฟนี้มีจุดยอด 23 จุด และจุดยอดแต่ละจุดมีดีกรี 7

นั้นคือ กราฟมีจุดยอดคี่เป็นจำนวน 23 จุด ซึ่งเป็นจำนวนคี่ ขัดแย้งกับทฤษฎีบท 2

ดังนั้น เป็นไปไม่ได้ที่ผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละคนจับมือกับคนอื่นเพียง 7 เท่านั้น

ที่มา : http://mathematics-pr.blogspot.com/p/blog-page_4945.html

7
0
นางสาวอาทิตยา จันที
เขียนเมื่อ

  เคมี

  เคมี คือ  วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของสสาร  การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในองค์ประกอบของสสารนั้น  และกลไกของปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
ความสำคัญของเคมี เคมีได้วิวัฒนาการมาจากการเข้าใจธรรมชาติ จึงมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากมาย เช่น

  - อาหาร เคมีทำให้รู้จักคุณค่าของอาหารและการถนอมอาหาร รวมทั้งการประดิษฐ์อาหารและผลิตภัณฑ์

  - เครื่องนุ่งห่ม เคมีทำให้รู้จักสีย้อมผ้า และเส้นใย

  - ยาและสุขภาพอนามัย เคมีทำให้เกิดการพัฒนาทางการแพทย์ และลดอัตราการตายของประชากร

  - ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ เคมีสร้างความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน


 
    ขอบเขตเนื้อหาที่สนใจร่วมกันระหว่างวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ และวิชาเคมี อาจแบ่งเป็น

1. เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ

2. เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับสารที่เกิดมาจาก
แร่ธาตุต่างๆ โดยตรง

3. เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงวิธีหาส่วนประกอบของสารทั้งในด้านคุณภาพวิเคราะห์ และปริมาณวิเคราะห์

4. เคมีฟิสิกส์ (Physical Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงความจริง กฎ และทฤษฎีต่างๆ ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสาร

5. ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นใน

  สิ่งมีชีวิตและสารต่างๆ ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต
นอกจากนี้ เคมียังแปรสาขาย่อยออกไปได้อีก เช่น เคมีไฟฟ้า เคมีนิวเคลียร์  เคมีธรณี เคมี-วิศวกรรม เคมีอุตสาหกรรม เคมีเภสัช เคมีเทคนิค เคมีอาหาร  เคมีเกษตร เคมีดาราศาสตร์ เคมีนิเวศวิทยา เป็นต้น

  ** ประวัติโดยย่อของเคมี **
  วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ค.ศ. 500

- ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษา
อียิปต์

- เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก)  แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว  ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง

- อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ  ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน

  ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ

  ค.ศ. 500 - ค.ศ. 1500 (ตอนต้นของยุคนี้)
- นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ค่อยพบความสำเร็จเลย

  ประมาณ ค.ศ. 1100
- ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
- เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค

  ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 - 1600)

- เป็นยุค Latrochemistry

- นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ

  ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 - 1691)

- เริ่มต้นจาก Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อเคมี"

- Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ" และ  "ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ"

- เลิกล้มทฤษฎีของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ

  ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 - 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน

  สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 - 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)

  ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป

  John Dalton (ค.ศ. 1766 - 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม  ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป  เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่น
  สสารและการจำแนกสสาร

  สสาร คือ สิ่งที่ต้องการที่อยู่ มีมวล อาจสัมผัสได้ แบ่งออก 3 สถานะ คือ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง สมบัติของสสาร แบ่งออกได้เป็น

- สมบัติทางกายภาพ หมายถึง  สมบัติของสสารที่สังเกตได้โดยไม่ต้องใช้ปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส  หรือสถานะที่อุณหภูมิปกติ ปริมาณการละลายน้ำ การนำความร้อนและไฟฟ้า เป็นต้น

- สมบัติทางเคมี  เป็นสมบัติของสสาร  ซึ่งทราบโดยการสังเกตปฏิกิริยาของสารเมื่อสัมผัสกับสารเคมี เช่น  ไฮโดรเจนไหม้ไฟในออกซิเจน กรดสะเทินกับเบส เป็นต้น

  การเปลี่ยนแปลงของสสาร จำแนกออกเป็น

- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็น การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนองค์ประกอบของสาร  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร เช่น การหลอมเหลว การระเหย เป็นต้น

- การเปลี่ยนแปลงทางเคมี  เป็นการเปลี่ยนแปลงในสาร  ซึ่งองค์ประกอบของมันเปลี่ยนไปจากสารหนึ่งไปเป็นอีกสารหนึ่ง เช่น  การรวมตัวของซัลเฟอร์กับออกซิเจนเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น

  การจำแนกสาร สามารถจำแนกได้เป็น

1. สารวิวิธพันธ์ คือ สสารที่มีส่วนต่างๆ และสมบัติแตกต่างกัน เช่น หินแกรนิต ดินปืน น้ำโคลน

2. สารเอกพันธ์ คือ สสารที่มีสมบัติเหมือนกันโดยตลอด แบ่งออกได้เป็น สารละลาย และสารบริสุทธิ์

  - สารละลาย คือ ของผสมที่มีเนื้อเดียวกันตลอด เช่น  น้ำตาลละลายน้ำ อากาศเป็นสารละลายของแก๊สต่างๆ โลหะผสม เช่น ทองเหลือง  (ทองแดงกับสังกะสี) จัดว่าเป็นสารละลายของแข็ง

  - สารบริสุทธิ์ คือ สารที่มีสมบัติอย่างเดียวกัน และมีองค์ประกอบที่แน่นอนอย่าง-เดียวกัน เช่น น้ำตาล น้ำ เกลือแกง ทองแดง โดยสารบริสุทธิ์แบ่งออกเป็น สารประกอบและธาตุ

  สารประกอบ คือ  สารบริสุทธิ์ ซึ่งสารอาจถูกแยกออกเป็นสารอื่นๆ 2 สาร หรือมากกว่า  โดยวิธีเคมีธรรมดา เช่น น้ำ เพราะสามารถแยกออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน

  ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถแยกสลายด้วยวิธีเคมีธรรมดา โดยมีธาตุร้อยละโดยมวลดังนี้


 
    โลหะ หมายถึง  ธาตุที่มีสมบัตินำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวสูง  เหนียวตีเป็นแผ่นได้ โลหะไม่รวมตัวกับโลหะ  แต่จะรวมตัวกับอโลหะเกิดสารประกอบได้

  อโลหะ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีสมบัตินำไฟฟ้าและความร้อน จุดหลอมเหลวและความหนาแน่นต่ำ สามารถรวมตัวกันเองเกิดเป็นสารประกอบได้

  กึ่งโลหะ หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติระหว่างโลหะกับอโลหะ

ข้อมูลจาก:http://www.kroobannok.com/blog/33026

5
0
Sukanya Pochawai
เขียนเมื่อ

Smartphone อวัยวะลำดับที่ 33 ของทุกคน

                 Smart Phone หมายถึงโทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถพิเศษเพิ่มเติมของ PDA เข้าไป ทำให้สามารถมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น รับส่งอีเมล์ มีปฏิทิน จัดทำตารางนัดหมาย และ contact เป็นต้น เรียกได้ว่า Smart Phone เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดย่อมเลยทีเดียว

      Smart Phone ที่คนทุกเพศทุกวัยใช้  ปัจจุบันประสิทธิภาพมากกว่าการเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่  มีการประยุกต์ใช้สมาร์ทโฟนให้กลายเป็นเครื่องมือนำทางของคนตาบอด โดยใช้ความสามารถของการสั่งงานด้วยเสียงและการระบุตำแหน่งด้วยระบบhttp://www.com5dow.com/%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C-IT/287-GPS-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html">GPS                          

      Smart Phone ทำหน้าที่เหมือนเป็นคอมพิวเตอร์มือถือ ลักษณะเด่นของ Smart Phone มีระบบปฏิบัติการเฉพาะที่ทำให้ Smart Phone มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง  ระบบปฏิบัติการบน Smart Phone เราเรียกว่า OS และเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำให้ Smart Phone สามารถติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ได้  ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมใช้งานบน Smart Phone ได้แก่ Symbian OS, Windows Mobile, Palm OS หรือแม้กระทั่ง Linux OS  

       โทรศัพท์แบบ Smart Phone เช่น samsung galaxy s5, iphone5S, OPPO, Nokia lumia, HTC 

Smartphone อวัยวะชิ้นที่ 33 หรือ สิ่งเสพติด?

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/pasud/20130709/515945/Smartphone-%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-33-%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%9E%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94-.html">ที่มา: รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ ; กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันที่ 9 ก.ค. 2556

ในสังคมของเราในปัจจุบัน โทรศัพท์ Smartphone ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ในชีวิตเรา จะเรียกว่าเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งก็ได้  หรือ บางครั้งเราอาจจะมองว่าเป็นสิ่งเสพติดของคนยุคใหม่ก็ได้ ดังนั้น สัปดาห์นี้เรามาดูปรากฏการณ์นี้ที่กำลังลามไปทั่วโลก   ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการของเราในการที่จะเชื่อมต่อหรือ connect     กับโลก กับสังคม หรือ กับผู้อื่นตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวยิ่งชัดเจนในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เราเรียกกันว่าเป็นพวก Gen Y ในปี 2012 บริษัท CISCO ได้จัดทำวิจัยขึ้นมาชิ้นหนึ่ง โดยการสอบถามคนรุ่นใหม่ช่วงอายุระหว่าง 18 ถึง 30 กว่า 1,800 คนจาก 18 ประเทศทั่วโลก และพบกว่าโทรศัพท์มือถือได้กลายเป็นอวัยวะอีกชิ้นหนึ่งของคนรุ่นใหม่จริงๆ  จะเห็นได้เลยว่าเจ้า Smartphone ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในชีวิตคนรุ่นใหม่ แม้กระทั่งช่วงเวลาส่วนตัวสุดไม่ว่าจะเป็นตอนเช้า บนเตียง หรือ ในห้องน้ำ ซึ่งเมื่อมองไปรอบๆ ตัวเราก็เป็นแบบนั้นจริงๆ  ลูกๆ วัยรุ่นของผมนั้นเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาสิ่งแรกที่ควานหาหรือเรียกหาคือโทรศัพท์มือถือ หรือ คนที่รู้จักหลายคนก็เล่าให้ฟังว่ามือถือกลายเป็นอุปกรณ์บนที่นอนอีกชิ้นนอกเหนือจากหมอนและผ้าห่ม ที่ร้ายกว่านั้นคือบางคนถึงขั้นเป็นริดสีดวงเพราะนำมือถือเข้าห้องน้ำไปด้วย

5
0
นางสาว ประภาศรี แสงอนุศาสน์
เขียนเมื่อ

                                         

                               

การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สไตล์ ศตวรรษที่ 21

          เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในวงการการศึกษาเป็นอย่างมาก ในศตวรรษก่อนหน้านั้นมีทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสอนใหม่ ๆ เกิดขึ้น ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมและก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructivism) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ รวมไปถึงผลการวิจัยทางด้านสมอง (Brain research) ซึ่งให้มุมมองเกี่ยวกับการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากเดิม จากการสอนที่เน้นให้ครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยอาศัยความสามารถและจิตวิทยาการสอนส่วนตัว มาเป็นการให้ครูนำความรู้ทางด้านจิตวิทยาของการเรียนรู้มาใช้ในการจัดเตรียมการสอนการสอน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี (Instruction) ดังนั้นการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติและกระทำด้วยตนเอง

        การจัดการเรียนรู้แนวใหม่ สไตล์ ศตวรรษที่ 21 สามารถทำได้จริงหรือไม่ เนื่องจากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และเข้ามามีบทบาทในการเรียนรู้มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของไทย ไดมีพัฒนาการ มาเป็นระยะ ๆ ตามกาลเวลาในสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัย สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง การศึกษาสมัยปฏิรูปการศึกษา (2435-2475) สมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง หลักสูตรพุทธศักราช 2521-2524

        หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524

(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) มาจนถึงหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และไดเปลี่ยนเป็นหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรดังกล่าว เป็นหลักสูตรแกนกลางที่ใช้ในการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนไทย และถึงแม้ว่าจะมีการจัดอบรมครูเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานหลายต่อหลายครั้ง ก็ยังไม่สามารถทำให้ครูเข้าใจถึงหลักสูตรแกนกลางอย่างถ่องแท้ว่าควรจะพัฒนาผู้เรียนไปในทิศทางใดจึงจะเหมาะสม ถูกต้อง และให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามความต้องการได้

        หากจะพูดถึงผู้เรียนในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนหลักสูตรบ่อยครั้งและใช้หลักสูตรไม่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริง และสภาพท้องถิ่น ส่งผลให้เด็กและเยาวชนขาดแรงจูงใจในการศึกษา ขาดต้นแบบที่ดี มีความมั่นใจในตนเองในทางที่ผิด มีค่านิยมและพฤติกรรมตามเพื่อนในกลุ่ม เห็นคุณค่าของวัตถุ ผู้มีทรัพย์สินและอำนาจมากกว่าความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ เด็กและเยาวชนจึงมีค่านิยมรักความสะดวกสบายมากกว่าความพยายาม ขาดวินัยและไม่ชินกับการทำงานหนัก บริโภคข้อมูลข่าวสารและสื่อสารสนเทศอย่างไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหามากมายตามมา เช่น ขาดแบบแผนการดำเนินชีวิต ใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อโฆษณา บริโภคสินค้าฟุ่มเฟือยและมีการเลียนแบบพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสม เป็นหน้าที่ของครูที่จะจัดการเรียนรู้แนวใหม่ เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานทางการศึกษาเสียที คำว่า “โรงเรียนมาตรฐานสากล” เข้ามีมีบทบาทมาก เนื่องจาก ปี 2558 ที่จะถึงนี้ ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคประชาคมอาเซียนซึ่งการจัดการเรียนรู้จะต้องเปลี่ยนแปลงไป ครูต้องเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามมาตรฐานสากล มีคำถามเกิดขึ้นว่า การจัดการเรียนรู้จะเป็นไปได้หรือไม่ ในเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

                แนวคิดในศตวรรษที่ 20 ที่กล่าวถึง ความหมายของการเรียนการสอน เอาไว้ว่า

        1. การเรียนการสอนต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียน

        2. การเรียนการสอนเป็นการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติต่าง ๆ โดยมีการเตรียมการ วางแผนตามหลักวิชา มีขั้นตอนและกระบวนการสอนที่เป็นแบบแผนชัดเจน มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม โดยให้ครู เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ และทักษะต่าง ๆ

การนำทฤษฎี หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสอนจากอดีต มาสู่ศตวรรษที่ 21 แนวคิดเหล่านั้นยังมีอิทธิพลต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เพียงแต่ครูผู้สอนจะนำทฤษฎีการเรียนรู้เหล่านั้น มาสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนอย่างไร

             ทิศนา แขมมณี รองศาสตราจารย์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึง ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอนว่า “ทฤษฎีการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 20 นั้น เริ่มมีลักษณะของความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการทดลองตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นลำดับ และสามารถจัดทฤษฎีการเรียนรู้เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 4 กลุ่ม คือ

1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)

2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม หรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism)

3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)

4. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสาน (Eclecticism)”

ซึ่งทฤษฎีเหล่านี้ ครูหลายท่านสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้

หากกล่าวถึงศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าทายความสามารถของครู เพราะเป็นยุคที่ต้องเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ สามารถรับรู้ได้เพียงแค่คลิกที่ปลายนิ้ว ครูจำเป็นต้องปรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต มีทักษะชีวิต ทักษะการคิด และทักษะทางด้านไอที อย่างถูกต้องและเหมาะสม

The Flipped Classroom หรือ การจัดการเรียนรู้แบบ “พลิกกลับ” คือวิธีการเรียนแนวใหม่ที่พลิกจากการเรียนในตำราการเรียนการสอนแบบเดิม ๆ คือ เริ่มจากครูผู้สอน สอนในห้องเรียน ให้นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง มาเปลี่ยนเป็นการจัดการเรียนรู้แบบพลิกกลับนั้น คือ ให้ผู้เรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองผ่าน “เทคโนโลยี” ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรมโดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน จะเน้นให้ผู้เรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ทำให้ผู้เรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่จะเรียนแบบเดิม ๆ

เกิดคำถามขึ้นมาอีกว่า “การจัดการเรียนการสอนแบบพลิกกลับนั้น ในประเทศไทยทำได้หรือไม่” คำตอบที่ได้คือ ทำได้หากเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ในเรื่องการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนรู้ที่ทันสมัยให้กับโรงเรียนทุกโรงเรียน ไม่ว่าจะในตัวเมือง หรือนอกเมือง ทุกโรงเรียนต้องได้รับการจัดสรรอุปกรณ์อย่างครบถ้วน เท่าเทียม ตามจำนวนนักเรียนที่มีอยู่จริง ความร่วมมือจากครูผู้สอน ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยอมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ซึ่งเชื่อว่าครูไทยมีความรู้ ความสามารถมากในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่แพ้ชาติใดในโลกอย่างแน่นอน การเรียนรู้แบบพลิกกลับนั้น ต้องให้ผู้เรียนเกิดทักษะในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

1. ทักษะพื้นฐาน (Core Skills) ได้แก่ สื่อสารสองภาษา การดำเนินงาน การแก้ปัญหา การใช้ ICT และการทำงานร่วมกับผู้อื่น

2. ทักษะการเรียนรู้และพัฒนาตน (Personal Learning & Development Skills) ได้แก่ เห็นคุณค่าและเชื่อมั่นในตนเอง ตระหนักรู้ในตนและรู้จักตนเอง มีทัศนะเชิงบวกต่อการเรียนรู้ จัดการหรือควบคุมตนเองได้ และคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล

3. ทักษะพลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Citizenship Skills) ได้แก่ มีส่วนร่วมกับกิจกรรมชุมชนหรือสังคม เคารพความหลากหลาย มีบทบาทหรือมีส่วนร่วมในการสร้างให้เกิดความเท่าเทียม ความยุติธรรมในสังคม ศึกษาหรือเห็นปัญหาในสังคม และลงมือทำเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เข้าใจว่าสิทธิมาพร้อมความรับผิดชอบและปฏิบัติตามนั้น และมีขันติต่อความหลากหลายไม่เลือกปฏิบัติ

4. ทักษะการทำงาน (Employability Skills) ได้แก่ วางแผนงานหรือกิจกรรมได้ มีทักษะการจัดการตนเองและผู้อื่น ตรงเวลา มีวินัย ทำงานด้วยตนเองได้ จัดลำดับความสำคัญของงานและทำงานได้ตามเวลา สามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ตั้งใจเตรียมการล่วงหน้าและยืดหยุ่น และมีจริยธรรมในการทำงาน

ในศตวรรษที่ 20 ทักษะที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิด คือ ทักษะพื้นฐาน แต่เมื่อจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ผู้เรียนจะต้องมีทักษะด้านต่าง ๆ ดังกล่าวเพิ่มขึ้น ทักษะที่เกิดขึ้นล้วนแต่เป็นทักษะที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน และเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอน
         
http://wachum.org/dewey/300/edthai2.pdf
         
http://www.kroobannok.com/blog/29716

5
0
นายบุญมี มุคสิงห์
เขียนเมื่อ

หัวข้องานวิจัยที่ตั้งใจจะศึกษาคือ

พัฒนาระบบการยืนยันตัวตนผู้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อนำมาใช้เสริมแรงการเรียนการสอน ของนักเรียน ซึ่งมีส่วนที่ ต้องศึกษา และประยุกต์หลายส่วน คือ

1. การจัดการระบบ การยืนยันตัวตน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต  ซึ่งจะต้องทำการบริหารจัดการ การกำหนดสิทธิ์ ของผู้ใช้ โดยแยกตามกลุ่มและประเภทผู้เรียน ตามพฤติกรรมการเรียน เพื่อเป็นการเสริมแรง

2. รูปแบบการเสริมแรง ที่ต้องนำมาใช้กับนักเรียน ทั้งการเสริมแรงทางลบ และการเสริมแรงทางบวก

3. การพัฒนาบทเรียน ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อนำบทเรียนมาใช้พัฒนาผู้เรียน โดยใช้ระบบการเสริมสร้างที่พัฒนาขึ้น

5
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท