ดอกไม้


ทิพรัตน์ ใจฉ่ำ
เขียนเมื่อ

5 ธันวา "วันดินโลก" เทิดพระเกียรติมหาราชา

ในปี 2556 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดินโลก" และในปี 2558 กำหนดให้เป็น "ปีแห่งดินสากล" เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อการพัฒนาการเกษตร โภชนาการและความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อรับมือต่อความท้าทายของการเพิ่มจำนวนประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2556 ที่ประชุมใหญ่ของสมัชชาสหประชาชาติได้มีมติประกาศให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น "วันดินโลก" และในปี 2558 กำหนดให้เป็น "ปีแห่งดินสากล" เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของดินต่อการพัฒนาการเกษตร โภชนาการและความมั่นคงทางอาหารทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อรับมือต่อความท้าทายของการเพิ่มจำนวนประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมสภาโลกแห่งปฐพีวิทยา ครั้งที่ 17 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปี 2545 ซึ่งมีสมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 60,000 คน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านการพัฒนาทรัพยากรดินและการพัฒนาการเกษตร ซึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วันที่ 5 ธันวาคม จึงถูกเลือกให้เป็น "วันดินโลก" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข้อมูลจาก : ศูนย์ข่าวกระทรวงการต่างประเทศ

เขียนโดย ผู้ดูแลระบบ สสค. | 02/12/2557 15:53:06 http://www.qlf.or.th/Home/Contents/972

9
2
อ.ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์
เขียนเมื่อ

ให้นักศึกษา สมัครสมาชิกเว็บไซต์ สสค. ตามลิงค์ http://www.qlf.or.th/Home/FrontPage และศึกษาข้อมูลหัวข้อ ความรู้ นักศึกษา 1 คน ต่อ 1 หัวข้อการเรียนรู้ (ไม่ซ้ำกัน) สรุปเนื้อหาที่ได้ศึกษา พร้อมทั้งลงรายละเอียดอ้างอิงข้อมูลที่ได้ศึกษามาลงอนุทินในเชิงวิชาการ ลง webblog ของตนเองในเว็บไซต์ www.gotoknow.org

กำหนดส่งภายในวันที่ 23 มีนาคม 2558 ตั้งแต่เวลา 11.21 - 14.40 น.

14
5
wanisa pramuansin
เขียนเมื่อ

ชนิดของคำในภาษาไทย มี ๗ ชนิด

๑. คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ อาคาร สภาพ และลักษณะทั้งสิ่งมีชีวิต และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรม

๒. คำสรรพนาม คือ คำที่ใช้แทนนามในประโยคสื่อสาร เราใช้คำสรรพนามเพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำๆ

๓. คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนาม และคำสรรพนามในประโยค คำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบ และบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ

๔. คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ขยายคำอื่น ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ ให้มีความหมายชัดเจนขึ้น

๕. คำบุพบท คือ คำที่เชื่อมคำหรือกลุ่มคำให้สัมพันธ์กันและเมื่อเชื่อมแล้วทำให้ทราบว่า คำ หรือกลุ่มคำที่เชื่อมกันนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ได้แก่ ใน แก่ จน ของ ด้วย โดย ฯลฯ

๖. คำสันธาน คือ คำที่ทำหน้าที่เชื่อมคำกับคำ เชื่อมประโยคกับประโยค เชื่อมข้อความกับข้อความ หรือข้อความให้สละสลวย

๗. คำอุทาน คือ คำที่เปล่งออกมาเพื่อแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด มักจะเป็นคำที่ไม่มีความหมาย แต่เน้นความรู้สึก และอารมณ์ของผู้พูด

5
0
เมธินี มีดี
เขียนเมื่อ

คำควบกล้ำ

อักษรควบกล้ำ หมายถึง พยัญชนะ ๒ ตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระ เดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงจะออกเสียงควบกล้ำ ๒ ตัว เป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า

ประเภทของอักษรควบกล้ำ อักษรควบกล้ำแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดดังนี้ . อักษรควบแท้ อักษรควบแท้ คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัวควบ หรือ กล้ำอยู่ใน สระตัวเดียวกัน ได้แก่พยัญชนะที่ควบหรือกล้ำกับตัว ร ล ว เมื่อควบหรือกล้ำกันแล้ว จะต้องออกเสียงพร้อมกัน เป็นตัวสะกด หรือ การันต์ก็ต้องเป็นด้วย เช่น กราบ คลอง เปลี่ยนแปลง ขวาน พลาด

๒. อักษรควบไม่แท้ อักษรควบไม่แท้คือ อักษรที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัวควบหรือกล้ำอยู่ใน สระตัวเดียวกันได้แก่พยัญชนะที่ควบกับตัว และตัว นั้นจะอยู่หน้าหรือหลังก็ได้ แต่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าหรือตัวหลังเพียงตัวเดียว ตัว ไม่ออกเสียง หรือบางตัวก็ออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะตัวอื่นและจะเป็นตัวสะกดด้วยกันก็ได้ หรือจะแยกให้ตัวหน้าเป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว และให้ตัวหลังเป็นการันต์ เช่น สร้าง จริง ทราย โทรม เศร้า

4
0
อ.ชวกิจ ทองนุ้ยพราหมณ์
เขียนเมื่อ

เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) 

        เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอนตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน

         เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อการเรียนรู้

18
7
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท