อนุทิน 140175


เมธินี มีดี
เขียนเมื่อ

คำควบกล้ำ

อักษรควบกล้ำ หมายถึง พยัญชนะ ๒ ตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระ เดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงจะออกเสียงควบกล้ำ ๒ ตัว เป็นพยางค์เดียวกัน เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า

ประเภทของอักษรควบกล้ำ อักษรควบกล้ำแบ่งออกเป็น ๒ ชนิดดังนี้ . อักษรควบแท้ อักษรควบแท้ คือ อักษรควบที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัวควบ หรือ กล้ำอยู่ใน สระตัวเดียวกัน ได้แก่พยัญชนะที่ควบหรือกล้ำกับตัว ร ล ว เมื่อควบหรือกล้ำกันแล้ว จะต้องออกเสียงพร้อมกัน เป็นตัวสะกด หรือ การันต์ก็ต้องเป็นด้วย เช่น กราบ คลอง เปลี่ยนแปลง ขวาน พลาด

๒. อักษรควบไม่แท้ อักษรควบไม่แท้คือ อักษรที่เกิดจากพยัญชนะ ๒ ตัวควบหรือกล้ำอยู่ใน สระตัวเดียวกันได้แก่พยัญชนะที่ควบกับตัว และตัว นั้นจะอยู่หน้าหรือหลังก็ได้ แต่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าหรือตัวหลังเพียงตัวเดียว ตัว ไม่ออกเสียง หรือบางตัวก็ออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะตัวอื่นและจะเป็นตัวสะกดด้วยกันก็ได้ หรือจะแยกให้ตัวหน้าเป็นตัวสะกดเพียงตัวเดียว และให้ตัวหลังเป็นการันต์ เช่น สร้าง จริง ทราย โทรม เศร้า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท